project กลุ่มคนเปราะบาง

ถุงต่อชีวิต Bag for life

จากการที่แรงงานนอกระบบซึ่งเป็นสมาชิกของเราออกไปประกอบอาชีพในช่วงการระบาดของโควิด19พวกเขาพบกับปัญหา การสัมผัสกับผู้ป่วยโควิด19จนต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน หรือบางครอบครัวเสี่ยงสูงต้องกักตัว เป็นเหตุให้ต้องหยุดงานกะทันหันโดยไม่ทันเตรียมตัว ทำให้ขาดแคลนอาหาร และยารักษาโรค ทางมูลนิธิเห็นว่าควรมีการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่สมาชิกในภาวะที่ยากลำบากไม่สามารถออกมาทำงานได้และไม่มีเงินเก็บไม่มีรายได้ในการเลี้ยงตนเองและครอบครัว โดยการส่งต่อถุงยังชีพแก่สมาชิกเครือข่าย 1 ชุดต่อ1ครอบครัว

ระยะเวลาโครงการ 01 พ.ค. 2565 ถึง 31 ก.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

27,470 บาท

เป้าหมาย

219,450 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 13%
จำนวนผู้บริจาค 57

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

มอบถุงยังชีพให้กับแรงงานนอกระบบภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ

21 สิงหาคม 2023

โครงการถุงต่อชีวิต Bag For life เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือแรงงานนอกระบบ ให้หลายภูมิภาคของประเทศไทย จากการดำเนินงานโครงการถุงต่อชีวิต Bag for life ผ่านทางเทใจได้รับเงินบริจาคจำนวน 27,470 บาท รวมกับเงินบริจาคของทางชาวบ้านภายในชุมชน และเงินสบทบทุนเพิ่มเติมจากนายจ้าง สามารถแบ่งเป็นถุงยังชีพให้กับแรงงานนอกระบบทั้งหมดจำนวน 388 ครัวเรือน ใน 3 ภาคที่เป็นเครือข่าย

การดำเนินโครงการได้มีการมอบถุงยังชีพในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2565 ให้แก่ครอบครัวของสมาชิกเครือข่ายแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงเป็นโรคโควิด19 และผู้ที่ต้องกักตัวที่บ้านในพื้นที่ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ โดยพื้นที่ภาคกลางมีการมอบถุงยังชีพ ดังนี้ จังหวัดราชบุรี มีผู้ที่ได้รับถุงยังชีพจำนวน 80 ครัวเรือน จังหวัดสุพรรณบุรี 30 ครัวเรือน และจังหวัดสมุทรสงครามจำนวน 10 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 120 ครัวเรือน

ในพื้นที่ภาคใต้มีการมอบถุงยังชีพ ดังนี้ จังหวัดสงขลาในตัวเมืองจำนวน 100 ครัวเรือน ในอำเภอสทิงพระ จำนวน 50 ครัวเรือน และจังหวัดปัตตานี จำนวน 93 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 243 ครัวเรือน

และในพื้นที่ภาคเหนือมีการแบ่งทำกิจกรรมแจกถุงยังชีพ 2 รอบ เดือนพฤศจิกายน 2565 มีการมอบถุงยังชีพให้แก่สมาชิกและคนในชุมชนที่เป็นเครือข่ายแรงงานนอกระบบภายในจังหวัดเชียงราย จำนวน 15 ครัวเรือน และในเดือนธันวาคม 2565 มีการแจกถุงยังชีพในพื้นที่จังหวัดพะเยา 10 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 25 ครัวเรือน

จากการดำเนินโครงการถุงต่อชีวิต Bag for life ทำให้พบว่าในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด19 ที่ภาครัฐปรับนโยบายของโรคให้กลายเป็นโรคประจำถิ่น ส่งผลกระทบต่อแรงงานนอกระบบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องกักตัวเพื่อรอดูอาการว่าจะติดเชื้อหรือไม่ และส่งผลไปยังครอบครัวของผู้ที่ต้องกักตัว เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน เพราะเมื่อแรงงานต้องกักตัวและหยุดงานทำให้ไม่มีรายได้เข้ามาภายในครอบครัว โครงการนี้จึงได้เข้าไปช่วยเหลือให้ครอบครัวสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของอาหาร จากการที่ต้องหยุดทำงานระหว่างการกักตัวมากขึ้น

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

ในช่วงสถานการณ์โควิด 2 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างหนัก หลายครั้งหลายคราวทั้งเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตเนื่องจากพบคลัสเตอร์ของสะพานปลา จ. สมุทรสาคร การล๊อคดาวน์ในพื้นที่ออกไปส่งของไม่ได้ ลูกค้าปิดร้านจำนวนมาก ไม่สั่งซื้อสินค้า ทำให้สมาชิกทั้งกลุ่มขาดแคลนรายได้ งานลดลงมากกว่า 50% จนไปถึงช่วงระบาดหนักที่สุด บางวันไม่มีงานเลย ไม่มีรายได้ สมาชิกต้องออกไปรับจ้างทั่วไปหาเงินค่าอาหารเลี้ยงครอบครัว

ในรอบแรกช่วงเดือนมกราคม ปีที่แล้ว (พ.ศ.2564) ทางมูลนิธิฯได้นำถุงยังชีพมาแจก ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกไปได้มาก จนมาถึงเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 เกิดเหตุการณ์ครอบครัวของประธานกลุ่มติดเชื้อโควิดทั้งครอบครัวถึง 5 คน และแพร่กระจายไปยังสมาชิกที่มาทำงานรวมกันที่กลุ่มอีก 4 ครอบครัว และผู้ที่เสี่ยงสูงอีก 10 กว่าคน บางครอบครัวมีความเดือดร้อนอย่างหนัก เช่น ครอบครัวที่เป็นคนโสด ครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคนต้องดูแลเลี้ยงดู ไม่มีอาหาร ไม่สามารถออกมาซื้อของใช้จำเป็นได้

 “ ตอนที่ยังทำงานได้เราก็ไม่คิดถึงถุงยังชีพหรอก ไม่คาดคิดว่าวันหนึ่งเราจำต้องรอให้เพื่อนมาช่วย แต่มันเกิดขึ้นจริงๆนะ สำหรับพวกเราที่ทำวันกินวัน พอสะดุดเราคิดไม่ออกเลยนะว่าจะช่วยกันได้ไหม อยู่แบบไม่มีข้าวกิน ไม่มีเงิน ไปไหนไม่ได้มันลำบากจริงๆ ทางหน่วยงานรัฐก็ให้ความช่วยเหลือเราไม่ทัน เพราะคนติดเชื้อช่วงนั้นเยอะมาก และเมื่อทางโครงการถุงต่อชีวิตที่ทางมูลนิธิฯได้ทำร่วมกับทางเทใจได้เอาถุงยังชีพมาให้คนที่ติดเชื้อโควิด และคนที่ต้องกักตัว ช่วยให้เรามีอาหาร ลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้มาก ต้องขอขอบคุณผู้ที่บริจาคเงินทุกคน เทใจ และมูลนิธิฯมากๆ ค่ะ ” คุณนลินทิพย์ กิจเครือ ประธานกลุ่มปลาหวานเพชรสมุทร 

 “ ในช่วงโควิดที่ผ่านมาเราเห็นสถานการณ์ของชาวบ้านในพื้นที่ที่ต้องต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทั้งจากที่ร้านต่างๆ ตลาดต่างๆ ต้องปิดตัวลง ชาวบ้านไม่มีงานทำพอไม่มีงานทำก็ไม่มีรายได้ และที่เราเห็นความเดือดร้อนของชาวบ้านที่เป็นแรงงานนอกระบบที่สุดคือจากการที่เขาต้องกักตัว เขาเป็นคนเลี้ยงดูคนในครอบครัว พอต้องกักตัว 14 วัน 7 วัน ก็ไม่ได้ทำงาน ไม่มีเงินไปใช้จ่าย ไม่มีเงินไปซื้ออาหาร พอเราเอาถุงยังชีพไปให้ก็ทำให้เขาพอมีกินไปได้ อย่างน้อยๆก็ 1 อาทิตย์ที่ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอาหาร

แล้วที่ประทับใจที่สุดคือเราได้ช่วยชาวบ้านที่เขาขายข้าว เพราะในตอนที่นำเงินบริจาคจากเทใจไปทำถุงยังชีพ ก็เห็นว่ามีชาวบ้านกลุ่มที่เขาปลูกข้าว ขายข้าวสารซึ่งก็เดือดร้อนเหมือนกัน การที่เราเอาเงินบริจาคไปซื้อข้าวจากเขาเพื่อเอาไปทำถุงยังชีพให้กับชาวบ้านอีกกลุ่มที่เดือดร้อน ก็เหมือนเราได้ช่วยทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งกลุ่มผลิตข้าวและกลุ่มที่เดือดร้อนจากโควิด สำหรับเราการที่ได้ทำโครงการถุงต่อชีวิต Bag For life ในครั้งนี้ถือว่าประทับใจมากเพราะได้ช่วยเหลือแรงงานนอกระบบที่เดือดร้อนทั้งสองกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่เป็นผู้ผลิตและกลุ่มแรงงานที่ต้องกักตัวจากโรคโควิด-19 ด้วย ต้องขอบคุณผู้ให้บริจาคทุกคน และทางเทใจที่เป็นแพลตฟอร์มดีๆ ที่ส่งต่อความสุขทำให้แรงงานนอกระบบที่เดือดร้อนต้องได้รับการช่วยเหลือค่ะ ” นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ ผู้ประสานงานมูลนิธิฯ ภาคใต้ 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
แรงงานแรงงานนอกระบบที่ต้องกักตัว หรือมีผู้ที่อยู่ในครอบครัวต้องกักตัว ในพื้นที่ภาคกลาง ใต้และเหนือ 388 ครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวด้านอาหารได้เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1 อาทิตย์ในระหว่างที่กักตัว เพราะไม่ได้ทำงานและไม่มีรายได้
รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : การบริจาคของทางภาคเหนือ

 ภาพ : สินค้าที่นำมาใช้ในการทำถุงยังชีพบริจาค

 ภาพ : ชาวบ้านในพื้นที่มีการช่วยเหลือกันผ่านการนำถุงยังชีพไปมอบให้แก่บ้านที่มีผู้กักตัวภายในพื้นที่ของตัวเอง

 ภาพ : มีการวางแผนภายในพื้นที่สำหรับการช่วยเหลือกันเองของชาวบ้านที่จะนำของไปมอบ

 ภาพ : หลังจากการวางแผนชาวบ้านก็รับถุงยังชีพไปเพื่อนำไปมอบให้กับสมาชิกในชุมชน

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

กลุ่มสมาชิกแรงงานนอกระบบ เช่น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่แผงลอย ช่างเสริมสวย หมอนวด และมอเตอร์ไซด์รับจ้าง เมื่อติดเชื้อโควิดต้องหยุดงานกะทันหันโดยไม่ทันเตรียมตัว จึงไม่มีอาหาร และยารักษาโรค ทำให้การกักตัวของผู้ติดเชื้อในชุมชนไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ติดเชื้อยังออกมาซื้อของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เท่ากับการกักตัวไม่มีผลอะไรและยังทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโควิดเพิ่มขี้น การติดเชื้อในชุมชนเพิ่มจำนวนขึ้น

ความช่วยเหลือของคุณจะทำให้แรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบ สามารถบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าในช่วงรักษาตัวหรือ การกักตัวจากโรคโควิด19 ให้ได้รับอาหาร และยารักษาโรคซึ่งเป็นปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นมีความสำคัญในการดำรงชีวิต อย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ความเดือดร้อนที่กำลังประสบอยู่ ช่วยแก้ไขปัญหาการไม่มีเงินสำรองสำหรับจัดหาสิ่งของดังกล่าวให้แก่ตนเองและครอบครัว สร้างกำลังใจให้กับครอบครัวเหล่านั้นให้กลับมาดำเนินชีวิตตามปกติได้ต่อไป

นอกจากนี้ผู้นำและสมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันจัดหาสิ่งของจำเป็นให้เพื่อนเป็นการสร้างความสามัคคีและความเสียสละแสดงออกของพลังที่จะร่วมพัฒนาเครือข่ายได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างของภายในถุงยังชีพ


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ผู้นำกลุ่ม แจ้งข้อมูลสมาชิกที่ติดโควิด หรือกักตัว มายังสำนักงานภูมิภาค ผ่านทางโซเชียลเนทเวอร์ค ดำเนินการ
  2. จัดหาสิ่งของตามรายการที่แจ้งไว้และนำไปส่งให้กับผู้ป่วยและผู้ที่กักตัว ภายใน1-2 วันนับจากวันที่แจ้ง
  3. นำถุงยังชีพไปส่งมอบ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ

มูลนิธิฯ ดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบทั้งในเขตเมืองและชนบทโดยเน้นการส่งเสริมและพัฒนางานที่มีคุณค่า (Decent work) และการคุ้มครองทางสังคม (Social protection) แก่กลุ่มแรงงานนอกระบบ ในรูปแบบของการพัฒนาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Economic security) ควบคู่กับการพัฒนาความมั่นคงทางสังคม (Social security)

มอบถุงยังชีพให้กับแรงงานนอกระบบภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ

21 สิงหาคม 2023

โครงการถุงต่อชีวิต Bag For life เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือแรงงานนอกระบบ ให้หลายภูมิภาคของประเทศไทย จากการดำเนินงานโครงการถุงต่อชีวิต Bag for life ผ่านทางเทใจได้รับเงินบริจาคจำนวน 27,470 บาท รวมกับเงินบริจาคของทางชาวบ้านภายในชุมชน และเงินสบทบทุนเพิ่มเติมจากนายจ้าง สามารถแบ่งเป็นถุงยังชีพให้กับแรงงานนอกระบบทั้งหมดจำนวน 388 ครัวเรือน ใน 3 ภาคที่เป็นเครือข่าย

การดำเนินโครงการได้มีการมอบถุงยังชีพในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2565 ให้แก่ครอบครัวของสมาชิกเครือข่ายแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงเป็นโรคโควิด19 และผู้ที่ต้องกักตัวที่บ้านในพื้นที่ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ โดยพื้นที่ภาคกลางมีการมอบถุงยังชีพ ดังนี้ จังหวัดราชบุรี มีผู้ที่ได้รับถุงยังชีพจำนวน 80 ครัวเรือน จังหวัดสุพรรณบุรี 30 ครัวเรือน และจังหวัดสมุทรสงครามจำนวน 10 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 120 ครัวเรือน

ในพื้นที่ภาคใต้มีการมอบถุงยังชีพ ดังนี้ จังหวัดสงขลาในตัวเมืองจำนวน 100 ครัวเรือน ในอำเภอสทิงพระ จำนวน 50 ครัวเรือน และจังหวัดปัตตานี จำนวน 93 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 243 ครัวเรือน

และในพื้นที่ภาคเหนือมีการแบ่งทำกิจกรรมแจกถุงยังชีพ 2 รอบ เดือนพฤศจิกายน 2565 มีการมอบถุงยังชีพให้แก่สมาชิกและคนในชุมชนที่เป็นเครือข่ายแรงงานนอกระบบภายในจังหวัดเชียงราย จำนวน 15 ครัวเรือน และในเดือนธันวาคม 2565 มีการแจกถุงยังชีพในพื้นที่จังหวัดพะเยา 10 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 25 ครัวเรือน

จากการดำเนินโครงการถุงต่อชีวิต Bag for life ทำให้พบว่าในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด19 ที่ภาครัฐปรับนโยบายของโรคให้กลายเป็นโรคประจำถิ่น ส่งผลกระทบต่อแรงงานนอกระบบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องกักตัวเพื่อรอดูอาการว่าจะติดเชื้อหรือไม่ และส่งผลไปยังครอบครัวของผู้ที่ต้องกักตัว เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน เพราะเมื่อแรงงานต้องกักตัวและหยุดงานทำให้ไม่มีรายได้เข้ามาภายในครอบครัว โครงการนี้จึงได้เข้าไปช่วยเหลือให้ครอบครัวสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของอาหาร จากการที่ต้องหยุดทำงานระหว่างการกักตัวมากขึ้น

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

ในช่วงสถานการณ์โควิด 2 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างหนัก หลายครั้งหลายคราวทั้งเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตเนื่องจากพบคลัสเตอร์ของสะพานปลา จ. สมุทรสาคร การล๊อคดาวน์ในพื้นที่ออกไปส่งของไม่ได้ ลูกค้าปิดร้านจำนวนมาก ไม่สั่งซื้อสินค้า ทำให้สมาชิกทั้งกลุ่มขาดแคลนรายได้ งานลดลงมากกว่า 50% จนไปถึงช่วงระบาดหนักที่สุด บางวันไม่มีงานเลย ไม่มีรายได้ สมาชิกต้องออกไปรับจ้างทั่วไปหาเงินค่าอาหารเลี้ยงครอบครัว

ในรอบแรกช่วงเดือนมกราคม ปีที่แล้ว (พ.ศ.2564) ทางมูลนิธิฯได้นำถุงยังชีพมาแจก ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกไปได้มาก จนมาถึงเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 เกิดเหตุการณ์ครอบครัวของประธานกลุ่มติดเชื้อโควิดทั้งครอบครัวถึง 5 คน และแพร่กระจายไปยังสมาชิกที่มาทำงานรวมกันที่กลุ่มอีก 4 ครอบครัว และผู้ที่เสี่ยงสูงอีก 10 กว่าคน บางครอบครัวมีความเดือดร้อนอย่างหนัก เช่น ครอบครัวที่เป็นคนโสด ครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคนต้องดูแลเลี้ยงดู ไม่มีอาหาร ไม่สามารถออกมาซื้อของใช้จำเป็นได้

 “ ตอนที่ยังทำงานได้เราก็ไม่คิดถึงถุงยังชีพหรอก ไม่คาดคิดว่าวันหนึ่งเราจำต้องรอให้เพื่อนมาช่วย แต่มันเกิดขึ้นจริงๆนะ สำหรับพวกเราที่ทำวันกินวัน พอสะดุดเราคิดไม่ออกเลยนะว่าจะช่วยกันได้ไหม อยู่แบบไม่มีข้าวกิน ไม่มีเงิน ไปไหนไม่ได้มันลำบากจริงๆ ทางหน่วยงานรัฐก็ให้ความช่วยเหลือเราไม่ทัน เพราะคนติดเชื้อช่วงนั้นเยอะมาก และเมื่อทางโครงการถุงต่อชีวิตที่ทางมูลนิธิฯได้ทำร่วมกับทางเทใจได้เอาถุงยังชีพมาให้คนที่ติดเชื้อโควิด และคนที่ต้องกักตัว ช่วยให้เรามีอาหาร ลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้มาก ต้องขอขอบคุณผู้ที่บริจาคเงินทุกคน เทใจ และมูลนิธิฯมากๆ ค่ะ ” คุณนลินทิพย์ กิจเครือ ประธานกลุ่มปลาหวานเพชรสมุทร 

 “ ในช่วงโควิดที่ผ่านมาเราเห็นสถานการณ์ของชาวบ้านในพื้นที่ที่ต้องต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทั้งจากที่ร้านต่างๆ ตลาดต่างๆ ต้องปิดตัวลง ชาวบ้านไม่มีงานทำพอไม่มีงานทำก็ไม่มีรายได้ และที่เราเห็นความเดือดร้อนของชาวบ้านที่เป็นแรงงานนอกระบบที่สุดคือจากการที่เขาต้องกักตัว เขาเป็นคนเลี้ยงดูคนในครอบครัว พอต้องกักตัว 14 วัน 7 วัน ก็ไม่ได้ทำงาน ไม่มีเงินไปใช้จ่าย ไม่มีเงินไปซื้ออาหาร พอเราเอาถุงยังชีพไปให้ก็ทำให้เขาพอมีกินไปได้ อย่างน้อยๆก็ 1 อาทิตย์ที่ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอาหาร

แล้วที่ประทับใจที่สุดคือเราได้ช่วยชาวบ้านที่เขาขายข้าว เพราะในตอนที่นำเงินบริจาคจากเทใจไปทำถุงยังชีพ ก็เห็นว่ามีชาวบ้านกลุ่มที่เขาปลูกข้าว ขายข้าวสารซึ่งก็เดือดร้อนเหมือนกัน การที่เราเอาเงินบริจาคไปซื้อข้าวจากเขาเพื่อเอาไปทำถุงยังชีพให้กับชาวบ้านอีกกลุ่มที่เดือดร้อน ก็เหมือนเราได้ช่วยทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งกลุ่มผลิตข้าวและกลุ่มที่เดือดร้อนจากโควิด สำหรับเราการที่ได้ทำโครงการถุงต่อชีวิต Bag For life ในครั้งนี้ถือว่าประทับใจมากเพราะได้ช่วยเหลือแรงงานนอกระบบที่เดือดร้อนทั้งสองกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่เป็นผู้ผลิตและกลุ่มแรงงานที่ต้องกักตัวจากโรคโควิด-19 ด้วย ต้องขอบคุณผู้ให้บริจาคทุกคน และทางเทใจที่เป็นแพลตฟอร์มดีๆ ที่ส่งต่อความสุขทำให้แรงงานนอกระบบที่เดือดร้อนต้องได้รับการช่วยเหลือค่ะ ” นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ ผู้ประสานงานมูลนิธิฯ ภาคใต้ 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
แรงงานแรงงานนอกระบบที่ต้องกักตัว หรือมีผู้ที่อยู่ในครอบครัวต้องกักตัว ในพื้นที่ภาคกลาง ใต้และเหนือ 388 ครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวด้านอาหารได้เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1 อาทิตย์ในระหว่างที่กักตัว เพราะไม่ได้ทำงานและไม่มีรายได้
รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : การบริจาคของทางภาคเหนือ

 ภาพ : สินค้าที่นำมาใช้ในการทำถุงยังชีพบริจาค

 ภาพ : ชาวบ้านในพื้นที่มีการช่วยเหลือกันผ่านการนำถุงยังชีพไปมอบให้แก่บ้านที่มีผู้กักตัวภายในพื้นที่ของตัวเอง

 ภาพ : มีการวางแผนภายในพื้นที่สำหรับการช่วยเหลือกันเองของชาวบ้านที่จะนำของไปมอบ

 ภาพ : หลังจากการวางแผนชาวบ้านก็รับถุงยังชีพไปเพื่อนำไปมอบให้กับสมาชิกในชุมชน

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าถุงยังชีพ ถุงละ 299 บาทต่อ 1 ถุง 1 ครอบครัว 500 149,500.00
2 ค่าเดินทางสำหรับนำถุงยังชีพไปส่งให้ผู้กักตัวที่บ้าน ครั้งละ 100 บาท 500 50,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
199,500.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
19,950.00

ยอดระดมทุน
219,450.00