project โควิด-19 เด็กและเยาวชน

#พาน้องกลับห้องเรียน จัดซื้ออุปกรณ์การเรียนออนไลน์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้ได้กลับมาเข้าห้องเรียนอีกครั้ง

ระดมทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนออนไลน์เพื่อส่งมอบให้นักเรียนได้ยืมเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ช่วยเหลือนักเรียนให้ได้กลับมาเข้าห้องเรียนอีกครั้งจำนวน 200 คน โดย Toolmorrow insKru วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์

ระยะเวลาโครงการ 05 ส.ค. 2564 ถึง 31 ต.ค. 2564 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

89,617 บาท

เป้าหมาย

550,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 16%
จำนวนผู้บริจาค 83

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

พาน้องกลับห้องเรียนแล้วกว่า 142 คน ทั่วประเทศ

18 มกราคม 2022

เนื่องจากการระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 ทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่งคือการขาดอุปกรณ์การเรียนและอินเทอร์เน็ต ทาง Toolmorrow, insKru, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เทใจ และ Saturday School ได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนอย่างเร่งด่วนจึงเกิดเป็นโครงการ "พาน้องกลับห้องเรียน" ขึ้น

ขณะนี้ทางโครงการได้ส่งมอบอุปกรณ์การเรียนเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอสรุปผลโครงการ ดังนี้


กรกฎาคม 2564

เปิดลงทะเบียนโรงเรียนที่ต้องการอุปกรณ์การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวม 42 โรงเรียน

สิงหาคม-กันยายน 2564
เปิดรับบริจาค ได้ยอดบริจาค 82,444 บาท บุคคลทั่วไป 80,655 บาท และ Little Builder 1,789 บาท (เงินที่โครงการยังใช้ไม่หมด อีก 1,798.00 บาท)

ตุลาคม 2564
ได้รับการสนับสนุนมือถือ+ซิมจากโครงการ "Free School-in-a-Box" 130 เครื่อง, ได้รับบริจาคอุปกรณ์จากบุคคลทั่วไป 4 เครื่อง, จัดซื้อซิมเพิ่ม 4 อัน และจัดซื้อแท็บเล็ต+ซิม 8 เครื่อง

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2564
จัดส่งให้นักเรียน 142 คน 20 โรงเรียน รวม 15 จังหวัดทั่วประเทศ

มกราคม 2565
สรุปบัญชีคงเหลือเงิน 31,656.10 บาท จะนำไปเป็นงบประมาณดูแลรักษาอุปกรณ์ และจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม

ลิงค์ต่าง ๆ

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์

คนที่ 1 ครูข้าว นางสาวนริศรา มากมี คุณครูจากโรงเรียนบ้านหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร


คนที่ 2 ครูชัช นายชัชวาล สะบูดิง คุณครูจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์9 33 หมู่ 8 อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ระดมทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนออนไลน์เพื่อส่งมอบให้นักเรียนได้ยืมเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ช่วยเหลือนักเรียนให้ได้กลับมาเข้าห้องเรียนอีกครั้งจำนวน 200 คน โดย Toolmorrow insKru วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

     Saturday School ดําเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 6 ปี ร่วมกับโรงเรียนต่างๆ และอาสาสมัครผ่านการทํากิจกรรมนอกหลักสูตรใน 27 พื้นที่/โรงเรียน ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อเด็กๆได้รับ กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมบนพื้นที่ที่เอื้ออํานวยให้เกิดการเรียนรู้ จะทําให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถพัฒนาไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งจะนํา ไปสู่การเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อพัฒนาศักยภาพและกลับมาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนของเด็กต่อไป


     ปัจจุบันการระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 ส่งผลให้นักเรียนกว่าหลายแสนคน เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา เนื่องจากไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่งคือการขาดอุปกรณ์การเรียน อินเทอร์เน็ต และเงินจ่ายค่าเทอม ข้อมูลจากกองทุนเสมอภาคทางการศึกษา คาดการณ์ว่าสิ้นปี 64 

     แม้ว่าประกาศจากกระทรวงในการอนุโลมให้โรงเรียนสามารถนำงบมาใช้ซื้ออินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ได้ แต่ผลสำรวจพบว่า งบที่โรงเรียนมีเพียงพอแค่เป็นค่าอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ทาง Toolmorrow insKru วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ จึงได้รวมตัวกันเพื่อใช้จุดแข็งของตัวเองในการหาทางช่วยเหลือนักเรียนอย่างเร่งด่วนในเรื่องของอุปกรณ์การเรียน


     จึงเกิดเป็นโครงการ #พาน้องกลับห้องเรียน โดย

  • ทีม insKru ซึ่งเป็น community ครูในการแบ่งปันไอเดียการสอน ได้ทำการเปิดรับความต้องการของนักเรียนผ่านครูในเครือข่าย
  • ทาง Toolmorrow และ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวบรวมเสียงสะท้อนของครูถึงสาเหตุที่นักเรียนไม่สามารถเข้าเรียนได้ มาแต่งเพลง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาในสังคม
  •  มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ จะเชิญชวนคนผู้ที่สนใจร่วมบริจาคอุปกรณ์มือ 2 และบริจาคเงินผ่านเทใจ เพื่อจัดส่งให้นักเรียนยืมเรียน โดยมีระบบตรวจสอบอย่างเข้มข้น ทั้งการเซ็นรับรองของผู้อำนวยการโรงเรียน หลักฐานจากนักเรียนในการได้รับอุปกรณ์ในการยืมเรียน และการตรวจสอบการใช้เงินของโครงการ 


เราตั้งเป้าหมายว่า โครงการนี้จะสามารถช่วยเหลือนักเรียนให้ได้กลับมาเข้าห้องเรียนอีกครั้งจำนวน 200 คน



ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

โครงการ #พาน้องกลับห้องเรียน มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจความต้องการอุปกรณ์

ทีมงานจะส่งแบบสำรวจความต้องการรับอุปกรณ์ไปยังเครือข่ายครูจากทั่วประเทศ จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลกลับมาทีมงานจะพิจารณาข้อมูลโดยคัดเลือกส่งมอบอุปกรณ์ไปยังจังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้มก่อน และสีแดงตามลำดับ จากนั้นทีมงานคัดกรองและตรวจสอบข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตนของคุณครูและโรงเรียนอีกครั้งก่อนส่งมอบ

โดยคุณครูสามารถแจ้งข้อมูลความต้องการมาให้ทางโครงการและช่วยเป็นตัวกลางในการประสานให้อุปกรณ์ถึงมือนักเรียนได้ที่ลิงค์นี้📍 https://bit.ly/3iYREXQ


ขั้นตอนที่ 2 เปิดรับบริจาคอุปกรณ์ 

สิ่งที่เราจะทำขนานกันไป คือ การเปิดรับบริจาคอุปกรณ์ จากนั้นจะมีการโทรนัดหมายเพื่อสอบถามข้อมูลและแจ้งที่อยู่ในการจัดส่งอุปกรณ์ จากนั้นทีมงานจะรับอุปกรณ์มาตรวจสอบครั้งที่ 1 ก่อนส่งไปให้กลุ่มอาสาสมัคร เพื่อเซ็ทเครื่องและลงโปรแกรมที่จำเป็น พร้อมทั้งลงเลขทะเบียนเครื่อง

หากใครที่พอมี Laptop / Tablet / Smart Phone เครื่องเก่า สามารถดูรายละเอียดการรับบริจาคได้ที่นี่📍 https://bit.ly/BacktoSchool_Phrase1


ขั้นตอนที่ 3 เปิดรับบริจาคเงินทุน

ในส่วนของเงินทุนนั้น เมื่อทีมงานได้รับมอบจะบริจาคเข้ามูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ จากนั้นทีมงานจะนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ และส่งไปให้กลุ่มอาสาสมัคร เพื่อเซ็ทเครื่องและลงโปรแกรมที่จำเป็น พร้อมทั้งลงเลขทะเบียนเครื่อง จากนั้นจะทยอยส่งมอบเดือนละ 2 ครั้ง ตัดรอบทุกวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน


ขั้นตอนที่ 4 สรุปยอดทางการเงิน

เมื่อโครงการสิ้นสุด จะมีการสรุปยอดการใช้เงิน ผ่านช่องทาง Facebook ของมูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ 

ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

ดำเนินโครงการโดย มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (Saturday School) มีเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของเยาวชน และเติบโตไปพร้อมกับสังคมที่เกื้อกูลชีวิตอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานความเชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้ และจะประสบความสําเร็จได้หากพวกเขาและคนรอบข้างมองเห็นศักยภาพนั้นและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเต็มที่ และเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการทํางานร่วมกับผู้อื่น มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบชีวิตตนเอง โรงเรียน และสังคมรอบข้าง ที่จะนํามาซึ่งการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน

ร่วมกับ Toolmorrow, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล, ก่อการครู และ inskru


พาน้องกลับห้องเรียนแล้วกว่า 142 คน ทั่วประเทศ

18 มกราคม 2022

เนื่องจากการระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 ทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่งคือการขาดอุปกรณ์การเรียนและอินเทอร์เน็ต ทาง Toolmorrow, insKru, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เทใจ และ Saturday School ได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนอย่างเร่งด่วนจึงเกิดเป็นโครงการ "พาน้องกลับห้องเรียน" ขึ้น

ขณะนี้ทางโครงการได้ส่งมอบอุปกรณ์การเรียนเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอสรุปผลโครงการ ดังนี้


กรกฎาคม 2564

เปิดลงทะเบียนโรงเรียนที่ต้องการอุปกรณ์การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวม 42 โรงเรียน

สิงหาคม-กันยายน 2564
เปิดรับบริจาค ได้ยอดบริจาค 82,444 บาท บุคคลทั่วไป 80,655 บาท และ Little Builder 1,789 บาท (เงินที่โครงการยังใช้ไม่หมด อีก 1,798.00 บาท)

ตุลาคม 2564
ได้รับการสนับสนุนมือถือ+ซิมจากโครงการ "Free School-in-a-Box" 130 เครื่อง, ได้รับบริจาคอุปกรณ์จากบุคคลทั่วไป 4 เครื่อง, จัดซื้อซิมเพิ่ม 4 อัน และจัดซื้อแท็บเล็ต+ซิม 8 เครื่อง

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2564
จัดส่งให้นักเรียน 142 คน 20 โรงเรียน รวม 15 จังหวัดทั่วประเทศ

มกราคม 2565
สรุปบัญชีคงเหลือเงิน 31,656.10 บาท จะนำไปเป็นงบประมาณดูแลรักษาอุปกรณ์ และจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม

ลิงค์ต่าง ๆ

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์

คนที่ 1 ครูข้าว นางสาวนริศรา มากมี คุณครูจากโรงเรียนบ้านหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร


คนที่ 2 ครูชัช นายชัชวาล สะบูดิง คุณครูจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์9 33 หมู่ 8 อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส


แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 แท็บเล็ต รุ่น Lenovo Tab M7 (2nd Gen) ราคาเครื่องละ 3,690 บาท 100 เครื่อง 369,000.00
2 ปากกาทัชสกรีน สำหรับ Lenovo Tab M7 ราคาด้ามละ 130 บาท 100 ชุด 13,000.00
3 ค่าขนส่ง (เครื่องใหม่) เที่ยวละ 150 บาท มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (ปทุมธานี) - บ้านนักเรียน (กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดพื้นที่สีแดง) 100 เครื่อง 15,000.00
4 ค่าขนส่ง (เครื่องรับบริจาค) เที่ยวละ 150 บาท มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (ปทุมธานี) - บ้านอาสาสมัครที่ลงโปรแกรม (กรุงเทพฯ ปริมณฑล), บ้านอาสาสมัครที่ลงโปรแกรม มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (ปทุมธานี), มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (ปทุมธานี) - บ้านนักเรียน (กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดพื้นที่สีแดง) 100 เครื่อง 45,000.00
5 ค่ากล่องลัง พลาสติกกันกระแทก และลงรหัสเครื่อง กล่องละ 40 บาท 200 กล่อง 8,000.00
6 ค่าซิมอินเทอร์เน็ต 10 Mbps 3 เดือน ราคาซิมละ 500 บาท 100 ซิม 50,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
500,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
50,000.00

ยอดระดมทุน
550,000.00