ศิลปะหัดสร้างรายได้สำหรับเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว

สร้างทักษะอาชีพด้านศิลปะให้แก่เด็กพิการทางการเคลื่อนไหว 50 คนได้เรียนรู้การทำธุรกิจ สร้างรายได้ เพื่อให้เด็กเหล่านี้พึ่งพาตนเองในอนาคต
ระยะเวลาโครงการ สิงหาคม – ธันวาคม 2562 พื้นที่ดำเนินโครงการ บ้านสวนเชฟคานิ : ลาดพร้าว ซอย 1 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ยอดบริจาคขณะนี้
46,313 บาทเป้าหมาย
46,250 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
เด็กผู้พิการทางการเคลื่อนไหว 30 คน ได้ร่วมกิจกรรมศิลปะทำถุง และหารายได้
โครงการเปิดโอกาสให้เด็กพิการ และไม่พิการได้เรียนรู้การสร้างงานศิลปะร่วมกัน (Inclusive learning) จากวิทยากรที่เป็นศิลปินผู้พิการทางการเคลื่อนไหว กับคุณ Popsnapshot ที่มีแรงบันดาลใจ กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ความรู้เทคนิคการใช้สี การเล่าเรื่องผ่านงานศิลปะ ฝึกสมาธิ และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ตลอดจนการผลิตและขายสินค้า นอกจากนั้นเด็กเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม
การดำเนินงาน
มูลนิธิซายมูฟเม้นท์ เป็นผู้เชื่อมโยงงาน ได้รับเงินสนับสนุนจากเทใจดอทคอม โดยให้เด็กได้เข้าถึงงานศิลปะ พร้อมกับผู้ปกครองและอาสาสมัคร โดยผลงานของเด็กๆ จะนำไปส่วนหนึ่งของการทำถุงผ้า เป็นสินค้าที่จะช่วยระดมทุนให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่สื่อทาง Social media เพื่อประกอบอาชีพจริง และสามารถสร้างรายได้ด้วยตนเอง
ผู้ร่วมกิจกรรม
- เด็กพิการทางการเคลื่อนไหว จำนวน 30 คน และเด็กไม่พิการพร้อมผู้ปกครอง
- อาสาสมัครช่วยจัดกิจกรรม จำนวน 10 คน
- ตัวแทนผู้สนับสนุนกิจกรรม 3 คน
ผลที่ได้รับ
มูลนิธิฯ จำหน่ายถุงผ้ามากกว่า 500 ใบ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2562 ผ่านงานแสดงสินค้า 3 งาน และช่องทาง Social media ของมูลนิธิฯ และของเด็กและครอบครัว โดยมีผู้สนับสนุนสินค้าทั้งบุคคลและองค์กร
ความประทับใจจากผู้ร่วมโครงการ
ด.ญ. ณภัทร ศรีทองเหลือง (น้องขลุ่ย)
"ศิลปะทำให้เขารู้สึกอิสระ ไม่มีขอบเขต น้องชอบมากและมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำ แม้จะทำไม่เป็นรูป แต่น้องกลับมีความสุข" (สัมภาษณ์คุณแม่)
ด.ช. อิธราณุวัฒฐ์ ศรลัมพ์ (น้องเกรท)
"เกรทพูกว่าเค้ารู้สึกสนุก ชอบ มันสุดยอด และมีเพื่อนเยอะแยะ เกรทนำความรู้ไปฝึกฝนที่บ้านเพิ่มเติมเพื่อขายในอนาคต" (สัมภาษณ์ผู้ปกครอง)
นายคงพัฒน์ ปัณฑะจักร์ (ซุ่น)
"การเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ มีประโยชน์ในเรื่องการใช้เวลา ฝึกสมาธิ ฝึกการรอคอย ฝึกการทำงานเป็นทีม และส่งเสริมการมีรายได้" (สัมภาษณ์คุณแม่)
ด.ญ.บุญยวีร์ หลีสกุล (แบมแบม) และ ด.ช.บารมี หลีสกุล (บิ๊กเบณ)
"พี่แบมแบมกับบิ๊กเบณบอกว่ารู้สึกดี สนุกเมื่ได้วาดรูปและระบายสี ทำให้มีสมาธิ" (สัมภาษณ์คุณแม่)
พราะเราอยากให้เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวได้ไปต่อ
ได้ทำในสิ่งที่รัก
ได้มีอาชีพที่พอเลี้ยงตังเองได้
ประเทศไทยเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวมีจำนวนกว่า 500,000 คน
บางส่วนจะได้รับการรักษาและการศึกษาขั้นพื้นฐานตามสิทธิ์ที่พึงได้รับจากภาครัฐแล้ว
ทว่าในชีวิตจริง เด็กเหล่านี้ยังต้องเติบโตและใช้ชีวิตอย่างอิสระด้วยตนเอง หากวันหนึ่งที่ไม่มีใครดูแลเด็กคนนี้ควรอาชีพที่สามารถหาเลี้ยงตนเองได้
Zy Movement Foundation มีความเชื่อมั่นว่า เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการเรียนรู้ แม้ว่าจะไม่สามารถใช้ร่างกายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สามารถหาวิธีเรียนรู้ และต่อยอดนำไปใช้ชีวิตอิสระได้ หากได้รับแรงบันดาลใจ และการสนับสนุนจากสังคม
โครงการ Art for Independent living workshop : ศิลปะบำบัดหัดสร้างรายได้ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวสามารถเรียนรู้งานศิลปะ เพื่อนำไปประกอบอาชีพได้จริง โดยเราคุณป๊อป PopSnapshot ศิลปิน และเจ้าของธุรกิจที่มีความพิการทางการเคลื่อนไหวเหมือนกัน มาสร้างความมั่นใจให้เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวให้เปิดกว้างสู่การใช้ชีวิตต่อไปในวันข้างหน้า ผ่านกิจกรรมที่ได้รับ ต่อไปนี้
- การสร้างผลงาน - จัด Workshop สร้างงานศิลปะ วาดภาพ ระบายสี เพื่อนำผลงานไปสกรีนลงบนกระเป๋าผ้า โดยมีวิทยากร คุณป๊อป PopSnapshot และจำหน่ายผ่าน Facebook และงานแสดงสินค้า
- การขาย - เปิดโอกาสให้แชร์โพสต์ขายสินค้า และร่วมขายสินค้าที่บูธของมูลนิธิซายมูฟเม้นท์
- สินค้า : เด็กๆ จะสามารถผลิตสินค้าได้คนละ 20 ใบ หรือทั้งหมด 200 ใบ
- ค่าตอบแทน - ทางมูลนิธิจะช่วยขายสินค้า และสรุปยอดทุกวันสุดท้ายของเดือน จากนั้นมูลนิธิฯ จ่ายค่าตอบแทนการขายตามข้อตกลง
เกิดความร่วมมือของทั้ง 3 กลุ่ม
- เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวได้เรียนรู้ทักษะการทำธุรกิจ จากจุดเริ่มต้น เพื่อนำไปเป็นแนวทางการประกอบอาชีพในอนาคต ลดแนวคิดการพึ่งพิงตลอดชีวิต เปลี่ยนเป็นความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตอย่างอิสระ ประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเอง
- ผู้ปกครองของเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวได้เรียนรู้ผ่านโครงการ และนำไปต่อยอดเป็นอาชีพร่วมกับเด็กๆ และสามารถสร้างรายได้สนับสนุนครอบครัวต่อไป
- องค์กรต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจและสังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่เด็กพิการทางการเคลื่อนไหว และสร้างโอการในการสร้างอาชีพ เพื่อดำรงชีวิตอิสระในสังคมได้ต่อไปในอนาคต
ขั้นตอนการทำงาน
กิจกรรมเปิดโอกาสให้เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวเข้าร่วม เดือนละ 10 คน (รวมกิจกรรม 5 เดือน = 50 คน) เข้าร่วมพร้อมผู้ปกครอง 1 คน และอาสาสมัคร กิจกรรมละ 3 คน
ตารางการดำเนินกิจกรรม
ช่วงเวลา | กิจกรรม |
09.30 น. - 10.00 น. | พูดคุย สร้างความเข้าใจในงาน |
10.00 น. - 12.00 น. | เริ่มลงมือวาดภาพ |
12.00 น. - 13.00 น. | พักเที่ยง |
13.00 น. - 15.00 น. | นำผลงานมาเข้าสู่ขั้นตอนเตรียมไฟล์ก่อนนำมาสกรีน และแนะนำขั้นตอนการสกรีน |
15.00 น. - 15.30 น. | สรุปงานกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การขายออนไลน์ จัดแสดงโชว์ |
สนใจเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ Facebook Page : Zy Movement Foundation
ประโยชน์ของโครงการ
- สร้างโอกาสผ่านการเรียนรู้ทางศิลปะ เพื่อนำไปต่อยอดแนวคิดการทำธุรกิจหรือประกอบอาชีพในอนาคตได้จริง
- เด็กๆ ได้ใช้ศิลปะบำบัดอารมณ์ และจิตใจ
- ผู้ปกครองสามารถนำไปสร้างรายได้ร่วมกับเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนครอบครัวต่อไป
- แสดงให้สังคมได้เห็นถึงความสามารถที่เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวที่สามารถพัฒนาต่อยอด ให้เติบโตได้อย่างอิสระ และมีความเท่าเทียมในสังคม
สมาชิกภายในทีม
ZMF staffs
นายวอลเตอร์ ลี ประธานมูลนิธิซาย มูฟเม้นท์
นางสาวปาลิตา ศิริวรรณาพงษ์ (น้ำตาล) เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ
นางสาวอรวรรณ คุ่ยขบวน (รุ้ง) เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
มูลนิธิซาย มูฟเม้นท์ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2553 มีการดำเนินงานในทุกมิติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว 450,000 คนในประเทศไทย และกว่า 10 ล้านคนในอาเซียน ภายใต้ 4 วัตถุประสงค์หลัก
- ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความพิการด้านการเคลื่อนไหวให้ได้รับโอกาสในการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ มีแรงบันดาลใจ พร้อมมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง จนสามารถดำรงชีวิตอย่างอิสระได้
- ให้ความรู้ และสร้างกำลังใจให้กับครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวมีความพิการด้านการเคลื่อนไหว
- ผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการแพทย์ด้านการรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวทั้งในและต่างประเทศ
- เผยแพร่ข้อมูล สร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้แก่สังคม ในการมอบความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมให้กับเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว ต่อยอดไปจนสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้
ภาคี
นายกฤชติณท์ วสนาท - ศิลปินผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และเจ้าของแบรนด์ Pop snapshot
เด็กผู้พิการทางการเคลื่อนไหว 30 คน ได้ร่วมกิจกรรมศิลปะทำถุง และหารายได้
โครงการเปิดโอกาสให้เด็กพิการ และไม่พิการได้เรียนรู้การสร้างงานศิลปะร่วมกัน (Inclusive learning) จากวิทยากรที่เป็นศิลปินผู้พิการทางการเคลื่อนไหว กับคุณ Popsnapshot ที่มีแรงบันดาลใจ กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ความรู้เทคนิคการใช้สี การเล่าเรื่องผ่านงานศิลปะ ฝึกสมาธิ และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ตลอดจนการผลิตและขายสินค้า นอกจากนั้นเด็กเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม
การดำเนินงาน
มูลนิธิซายมูฟเม้นท์ เป็นผู้เชื่อมโยงงาน ได้รับเงินสนับสนุนจากเทใจดอทคอม โดยให้เด็กได้เข้าถึงงานศิลปะ พร้อมกับผู้ปกครองและอาสาสมัคร โดยผลงานของเด็กๆ จะนำไปส่วนหนึ่งของการทำถุงผ้า เป็นสินค้าที่จะช่วยระดมทุนให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่สื่อทาง Social media เพื่อประกอบอาชีพจริง และสามารถสร้างรายได้ด้วยตนเอง
ผู้ร่วมกิจกรรม
- เด็กพิการทางการเคลื่อนไหว จำนวน 30 คน และเด็กไม่พิการพร้อมผู้ปกครอง
- อาสาสมัครช่วยจัดกิจกรรม จำนวน 10 คน
- ตัวแทนผู้สนับสนุนกิจกรรม 3 คน
ผลที่ได้รับ
มูลนิธิฯ จำหน่ายถุงผ้ามากกว่า 500 ใบ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2562 ผ่านงานแสดงสินค้า 3 งาน และช่องทาง Social media ของมูลนิธิฯ และของเด็กและครอบครัว โดยมีผู้สนับสนุนสินค้าทั้งบุคคลและองค์กร
ความประทับใจจากผู้ร่วมโครงการ
ด.ญ. ณภัทร ศรีทองเหลือง (น้องขลุ่ย)
"ศิลปะทำให้เขารู้สึกอิสระ ไม่มีขอบเขต น้องชอบมากและมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำ แม้จะทำไม่เป็นรูป แต่น้องกลับมีความสุข" (สัมภาษณ์คุณแม่)
ด.ช. อิธราณุวัฒฐ์ ศรลัมพ์ (น้องเกรท)
"เกรทพูกว่าเค้ารู้สึกสนุก ชอบ มันสุดยอด และมีเพื่อนเยอะแยะ เกรทนำความรู้ไปฝึกฝนที่บ้านเพิ่มเติมเพื่อขายในอนาคต" (สัมภาษณ์ผู้ปกครอง)
นายคงพัฒน์ ปัณฑะจักร์ (ซุ่น)
"การเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ มีประโยชน์ในเรื่องการใช้เวลา ฝึกสมาธิ ฝึกการรอคอย ฝึกการทำงานเป็นทีม และส่งเสริมการมีรายได้" (สัมภาษณ์คุณแม่)
ด.ญ.บุญยวีร์ หลีสกุล (แบมแบม) และ ด.ช.บารมี หลีสกุล (บิ๊กเบณ)
"พี่แบมแบมกับบิ๊กเบณบอกว่ารู้สึกดี สนุกเมื่ได้วาดรูปและระบายสี ทำให้มีสมาธิ" (สัมภาษณ์คุณแม่)
แผนการใช้เงิน
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
1.ค่าวิทยากรที่มีความพิการทางการเคลื่อนไหว 2,500 บาท และค่าเดินทาง : 1,000 บาท | 1 ครั้ง | 3,500 |
2.ค่าเดินทางครอบครัวน้องพิการ : 300 บาท / ครอบครัว | 10 ครอบครัว | 3,000 |
3.ค่าอุปกรณ์ : 150 บาท / คน | 10 คน | 1,500 |
4.ค่าอาหารกลางวัน : 50 บาท / คน | 25 คน | 1,250 |
รวมค่าใช้จ่ายต่อการจัดกิจกรรม 1 ครั้ง | 9,250 | |
รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรม เดือนสิงหาคม – ธันวาคม (5 ครั้ง) | 46,250 |
เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อคน 925บาท
(รวมค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจเป็นเงินโดยประมาณ 4,625 บาท)