logo

มูลนิธิสร้างสรรค์ชีวิต

กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วมกับเทใจ2564

โครงการที่เปิดรับบริจาค

ยังไม่เปิดโครงการ

เกี่ยวกับองค์กร

ที่มูลนิธิสร้างสรรค์ชีวิต เราทำงานร่วมกับพันธมิตรระดับโลกและผู้นำในพื้นที่ เพื่อนำพาวิสัยทัศน์ ความใส่ใจ และคุณค่ามาสู่ชุมชนและสังคมที่เราได้ร่วมงานงานด้วย พันธกิจของเรา คือการเชื่อมโยงเด็กและผู้ปกครองที่ด้อยโอกาสในเมืองและชนบทของประเทศไทย ให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่สำคัญต่อการมีอิสรภาพและการป้องกันการค้ามนุษย์ การเพิ่มการเข้าถึงการศึกษา การเปิดเส้นทางสู่การได้รับการยอมรับเป็นพลเมือง และการดูแลแบบองค์รวมจะช่วยทำลายวงจรความยากจนและการเอารัดเอาเปรียบ เราไม่เพียงแต่เล็งเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ แต่เรากำลังทำให้มันเกิดขึ้นประสบการณ์ของมูลนิธิโครงการทุนการศึกษาในกรุงเทพมหานครเพื่อผู้ย้ายถิ่นฐานและเยาวชนไทย ในทางทฤษฎี ประเทศไทยให้การศึกษาฟรีถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างไรก็ตาม สำหรับครอบครัวที่ยากจน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าชุดเครื่องแบบนักเรียนที่บังคับ ค่าอาหาร และค่ากิจกรรมนอกหลักสูตรล้วนมีส่วนทำให้เด็กหลายคนหมดโอกาสทางการศึกษาหรือต้องออกจากโรงเรียนหลังจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทย ส่งผลให้พวกเขาสามารถหางานได้เพียงเฉพาะกลุ่มงานที่มีรายได้น้อยตามมา เด็กเหล่านี้ที่ไม่ได้จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายมักจะเติบโตขึ้นมาแบบที่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จต่ำมาก ทั้งยังต้องเผชิญความเสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบมากขึ้น ปัจจุบันมูลนิธิสร้างสรรค์ชีวิต ได้มอบทุนการศึกษา คำปรึกษา และทรัพยากรที่จำเป็นแก่นักเรียนเป็นจำนวน 22 คนแล้วในกรุงเทพฯ ​ โครงการทุนการศึกษาเพื่อเด็กชาวเขาภาคเหนือ ในบรรดาชาวเขา การแต่งงานและการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรถือเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ครอบครัว เนื่องจากเด็ก ๆ เหล่านั้น สามารถช่วยงานในไร่ในสวนได้ [1] ฉะนั้น เด็กผู้หญิงที่มีการศึกษาดีจึงมีโอกาสที่จะต้องแต่งงานในวัยเยาว์น้อยกว่า เพราะพวกเขาจะมีความสามารถและโอกาสในการพัฒนาชีวิตของตนและครอบครัวให้มีคุณภาพและเจริญรุ่งเรืองต่อไป [2]ปัจจุบันมูลนิธิสร้างสรรค์ชีวิตได้มอบทุนการศึกษา คำปรึกษา และทรัพยากรที่จำเป็นแก่นักเรียนเป็นจำนวนถึง 34 คนแล้วในภาคเหนือของประเทศไทยโครงการอ่านเขียนสำหรับผู้ใหญ่เพื่อแม่ชาวเขา ผู้หญิงชาวเขา เช่น ชาวปวากาเญอ ชาวม้ง และชาวลีซู มักเติบโตมากับความท้าทายจากการไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ โดยส่วนใหญ่มักใช้เพียงภาษาพูดในภาษาท้องถิ่นของตนเท่านั้น ทั้งนี้ ความสามารถทางภาษาไทยที่จำกัดจะส่งผลให้เขาเหล่านี้ไม่สามารถผ่านขั้นตอนการขอและได้รับสัญชาติไทยได้เลย [3] การอ่านออกเขียนได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ อีกทั้งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศ แต่อย่างไรก็ตาม UNESCO ระบุว่าในโลกนี้ยังมีคนที่อายุมากกว่า 15 ปีที่ไม่สามารถอ่านเขียนหนังสือได้ถึง 781 ล้านคนและมากกว่า 63% ของจำนวนดังกล่าวเป็นผู้หญิง ​ "ผู้หญิงแต่ละคนที่สามารถอ่านออกเขียนได้ถือเป็นชัยชนะต่อความยากจน" - นายพลบันคีมุน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ​ ในปี 2564 มูลนิธิสร้างสรรค์ชีวิตจะเริ่มจัดการศึกษาแก่ผู้หญิงที่เน้นเรื่องของการอ่านและเขียนภาษาไทยสโมสรภาษาอังกฤษ มูลนิธิของเราจัดชมรมและค่ายภาษาอังกฤษสำหรับเด็กในรูปแบบต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันเราได้ร่วมมือกับโรงเรียนห้วยโค้งในการจัดค่ายภาษาอังกฤษปีละ 2 ครั้งให้แก่นักเรียนมากถึง 200 คน เป้าหมายของเราคือการสร้างโอกาสให้นักเรียนเหล่านี้ได้มีประสบการณ์ตรงกับเจ้าของภาษา ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้เรียนรู้และฝึกฝนภาษาอังกฤษจากการเรียนในค่ายที่โรงเรียน นอกจากการสอนภาษาอังกฤษทั่วไปแล้ว มูลนิธิของเรา ยังสามารถดูแลนักเรียนในโครงการทุนการศึกษาของเรา ช่วยให้พวกเขาได้พบปะกับเพื่อน ๆ อีกทั้งยังสามารถช่วยให้นักเรียนเหล่านี้สามารถติดต่อกับคุณครูของพวกเขาได้อีกด้วย

เป้าหมาย SDGs

QUALITY EDUCATION

กลุ่มเป้าหมาย

เด็กและเยาวชน
คนชายขอบ

ติดต่อ

โครงการทั้งหมด (4)