ความเคลื่อนไหว

  • Project update > อาสาปกป้องพ่อแม่ปลาในฤดูวางไข่ สร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง (จ.กาญจนบุรี)

    อาสาสร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง กาญจนบุรี

    9 April 2024

    โครงการอาสาปกป้องพ่อแม่ปลาในฤดูวางไข่ สร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง จ.กาญจนบุรี ได้ดำเนินการตลอดช่วงเวลาฤดูปลาวางไข่หรือฤดูฝน ครอบคลุมเวลาตั้งแต่ 16 มิถุนายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566 โดยแบ่งการทำงานเป็นครั้ง ๆ จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 4-5 วัน ซึ่งแต่ละครั้งได้มีการเปิดรับอาสาสมัครครั้งละ 10-15 คน เข้ามาขับเคลื่อนการทำงานภาคสนาม ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนเขาแหลม อุทยานแห่งชาติเขาแหลม กลุ่มคนอาสาเพื่อแผ่นดิน เป็นต้น

    รูปแบบการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนโดยอาสาสมัครแบ่งออกเป็น 3 ช่วง

    ช่วงที่ 1 ช่วงต้นฤดูกาล พวกเรามุ่งเน้นการลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์ เตรียมอุปกรณ์ และมีการฝึกปฏิบัติงานให้กับอาสาสมัครที่เข้ามาใหม่ รวมทั้งการเรียนรู้และทำความเข้าใจสภาพพื้นที่ที่มีความหลากหลาย

    ช่วงที่ 2 ช่วงกลางฤดูกาล มุ่งเน้นการทำงานแข่งกับเวลา ออกเรือไปเพื่อช่วยเหลือปลาผ่าน 3 ภารกิจย่อย ได้แก่

    1. ค้นหาอุปกรณ์ทำการประมงผิดกฎหมายออกจากลำน้ำ
    2. ตัด แกะ ปลดปล่อย ช่วยชีวิตปลาออกจากอุปกรณ์ประมงผิดกฎหมายคืนสู่ลำน้ำ
    3. เก็บกู้อุปกรณ์ทำการประมงผิดกฎหมายออกจากลำน้ำ

    ช่วงที่ 3 ช่วงท้ายฤดูกาล เน้นการเข้าพื้นที่เพื่อหาความร่วมมือ ประชุมร่วม ประเมินข้อมูลการทำงานเพื่อวางแผน และส่งข้อมูลให้หน่วยงานในความรับผิดชอบนำไปใช้ในการแก้ปัญหาระยะยาวต่อไป

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

    “ เราเห็นคนที่ทำงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จริง ที่มีใจแต่ขาดการสนับสนุนในหลายๆ อย่าง เราได้ใช้ชีวิตกับพี่ๆ น้องๆ อาสากลุ่มใบไม้ ให้ความรู้สึกเหมือนไปทำงานกับญาติพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องมากกว่า เพราะทุกคนใส่ใจดูแลกันมากๆ ประทับใจสุดๆ เป็นพื้นที่ปลอดภัยสุด อยากมีโอกาสได้เจอทุกคนอีก ได้เรียนรู้จักการให้มากกว่าการรับไปด้วยกันอีก ขอบคุณประสบการณ์ครั้งนี้จริงๆ ที่หลังจากนี้ทุกครั้งที่เราหาปลาเราคงมีจิตสำนึกส่วนนี้ฝังอยู่ในใจและถ่ายทอดต่อไปให้คนรอบตัวได้รู้และได้ตระหนักจริงๆ ” คุณไอรินทร์ สมสรรพมงคล อาสาสมัครโครงการ

    “ เป็นช่วงเวลา 4 วัน 3 คืน ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตา โดยเป็นการนอนแพแบบไม่มีไฟฟ้า ต้องตักน้ำจากแม่น้ำมาอาบ นี่ยังไม่รวมกับทางขึ้นลงแพที่ลาดชันพอฝนตกดินก็เละและลื่น งานอาสานี้เป็นมากกว่างานอาสาคือความสัมพันธ์ เราได้มานั่งคุยกัน ปรึกษากัน ช่วยเหลือกัน และใช้เวลาร่วมกันในการทำสิ่งที่เป็นเป้าหมายเดียวกัน และทำให้รู้ว่าคนทำงานตรงนี้ต้องมีคุณภาพชีวิตแบบนี้อยู่ตลอด ไม่ใช่แค่เรื่องคุณภาพชีวิต แต่ยังมีเรื่องของความพร้อมของสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน มันน่าเศร้าใจที่ไม่มีอะไรเลยสักอย่างที่ ‘มากเพียงพอ’ จะใช้ มันน่าเศร้าใจมากเลยที่งานอนุรักษ์มันดู ‘ไม่สำคัญพอ’ ที่จะได้รับการสนับสนุนทั้งกำลังคน อุปกรณ์ และงบประมาณ ” คุณชนากานต์ จิตรหาญ อาสาสมัครโครงการ

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    พื้นที่ป่าเกิดพื้นที่ปลอดภัยของปลา สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ครอบคลุมพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี200,000 ไร่พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ในบริเวณผืนน้ำได้รับการปกป้องจากการออกทำงาน ลาดตระเวณ ทั้งจากอาสาสมัคร และจากเจ้าหน้าที่ภาคสนามจากหน่วยประมงฯ และอุทยานฯ โดยได้มีการสนับสนุนทรัพยากรทำงาน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เสบียง ไฟฉาย กระเป๋ากันน้ำ ยารักษาโรค จากการดำเนินงานของโครงการ
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม







    Read more
  • Project update > ซ่อมแซมแพเพื่องานป้องกันทรัพยากรทางน้ำ ห้วยบิคลี่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

    ซ่อมแซมแพที่ปากน้ำห้วยบิคลี่ กาญจนบุรี

    9 April 2024

    ในการซ่อมแซมแพครั้งนี้ เป็นแพอาสาสมัครที่ใช้ร่วมกันทำงานเพื่องานป้องกันทรัพยากรทางน้ำ ทั้งพ่อแม่พันธุ์ปลาในธรรมชาติ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่าในพื้นที่ โดยพื้นที่ตั้งของแพอยู่ที่ปากห้วยบิคลี่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

    ในช่วงก่อนฤดูฝนเราได้เดินทางเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจความเสียหาย ประเมินการทำงาน ค่าใช้จ่าย และวางแผนการทำงานเพื่อการซ่อมแซมแพให้แล้วเสร็จก่อนช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงฤดูปลาวางไข่ที่จะมีอาสาสมัครและหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาทำงานภาคสนาม โดยมีทีมอาสาสมัครกลุ่มใบไม้จำนวน 6 คน เข้าพื้นที่สำรวจ และวางแผนการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยประมงฯ

    เดือนมิถุยายน-กรกฎาคม เป็นช่วงวางแผนระดมทรัพยากรการทำงาน และเปิดรับทีมอาสาสมัครที่มีทักษะช่าง โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอาสาด้วยสองมือ ได้ติดต่อเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัคร โดยในครั้งนี้มีทีมช่างอาสาเข้าร่วมวางแผนการทำงาน

    • เริ่มจากการรื้อถอนโครงสร้างที่มีการผุพัง โดยใช้อาสาสมัครร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ประมง ร่วมกันรื้อแพเก่าที่ได้รับความเสียหาย ใช้เวลา 3 วัน ในการทำงาน
    • ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอาสาด้วยสองมือ นำทีมช่างอาสาจำนวน 15 คน เข้าร่วมปฏิบัติงาน ในการทำโครงสร้าง เปลี่ยนเสา คาน โครงสร้างสำคัญของแพ โดยขณะทำงานได้รับความร่วมมือจากหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) จนแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำงาน
    • การเข้าพื้นที่ทำงานของอาสาสมัคร ร่วมกับชาวบ้าน ช่างจากหน่วยประมง ในการก่อสร้างผนัง โต๊ะ ห้องน้ำ สุขภัณฑ์ โดยมีการจัดซื้ออุปกรณ์ วัสดุก่อสร้างในการทำงานเข้าไปเพิ่ม รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมในการซ่อมแซมแพ

    จนถึงช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน เป็นผู้ดูที่ปลาและสัตว์น้ำจะเริ่มวางไข่ ทีมอาสาได้เข้าพื้นที่ทำโครงการเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้พ่อแม่พันธุ์ปลา แพแห่งนี้ก็ได้ซ่อมแซมจนแล้วเสร็จ สามารถใช้งานได้ รองรับการทำงานของอาสาสมัครไม่น้อยกว่าปีละ 50 คน ด้วยดี

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

    “ ดีใจที่เห็นแพมีความแข็งแรงมั่นคง เพราะเป็นหนึ่งในอาสาสมัครที่ได้เข้าร่วมภารกิจทำงานกับกลุ่มใบไม้มาตั้งแต่แรก ๆ เห็นการทรุกโทรม ผุพังของแพ พร้อม ๆ กับประโยชน์ที่แพได้รองรับ ดูแล คนทำงาน ที่สามารถช่วยเหลืองานอนุรักษ์แม่ปลา เมื่อแพได้ถูกซ่อมแซมจึงทำให้เกิดความมั่นใจว่าการทำงานจะเกิดความยั่งยืน ทั้งต่อปลา แม่น้ำ และต่อเครือข่ายอาสาสมัครคนทำงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่ ” คุณบัวลูกแก้ว ศักดิ์ชัชวาล อาสาสมัครที่ใช้งานแพ 

    “ รู้สึกได้ใช้ทักษะและความตั้งใจของตัวเอง ในการทำประโยชน์ เพราะการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสถานที่ แพทำงาน จำเป็นต้องมีความเข้าใจงานช่าง รู้จักวัสดุ ในครั้งนี้มีโอกาสเข้าร่วมตั้งแต่การสำรวจความเสียหายและวางแผนการทำงานร่วมกับกลุ่มใบไม้และพี่ ๆ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลแพ เมื่อแพซ่อมแซมเสร็จก็เหมือนเราได้เห็นความสำเร็จไปด้วย และเชื่อว่าแพที่ช่วยกันซ่อมจะสามารถใช้งานเกิดประโยชน์ และพร้อมรองรับการทำงานของผู้คนได้อีกหลายปี ” คุณอาทร จักรวาลมลฑล อาสาสมัครที่ใช้งานแพ

    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






    Read more
  • Project update > ผู้นำการเปลี่ยนแปลง Teach For Thailand 2023

    ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา 2566

    9 April 2024

    ในปี 2566 มีผู้สมัครโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 10 รวม 1,281 คน โดยผ่านการคัดเลือกและเข้าสอนในโรงเรียนรวม 80 คน

    ปัจจุบันในภาคเรียนที่ 2/2566 เรามีครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ 129 คน ทำงานใน 5 ภาค 54 โรงเรียน และพัฒนานักเรียนอยู่ 13,081 คน

    ตลอดทั้งปี 2566 เรามีครูผู้นำฯ ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2565 จนถึงภาคเรียนปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 182 คน ทำงานใน 5 ภูมิภาค 60 โรงเรียน และมีนักเรียนที่ได้รับประโยชน์ในทุกภาคเรียนรวมทั้งสิ้น 36,040 คน (เรียนกับครูผู้นำฯ ไปแล้ว 22,959 คน กำลังเรียนอีก 13,081 คน)

    เรามุ่งมั่นว่าในปี 2567 ไปจนถึง ปี 2569 เราจะคัดสรรครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 300 คน เพื่อเข้าถึงนักเรียน 100,000 คน ใน 175 โรงเรียน และเครือข่ายศิษย์เก่าจะเข้าถึงนักเรียนได้อีก 500,000 คน โดยเราวางเป้าหมายที่จะขยายการทำงานผ่าน 3 เสาหลัก

    1. Grow เติบโตและขยายผลกระทบเชิงบวกจากการทำงานของเราผ่านการเข้าถึงเด็กนักเรียนให้ได้มากขึ้น โดยเรามีแผนจะขยายการทำงานไปสู่ชั้นประถม จากที่ปัจจุบันครูผู้นำฯ สอนเพียงระดับมัธยมต้น
    2. Accelerate เร่งขยายผลกระทบเชิงบวกจากการทำงานของศิษย์เก่าฯ ผ่านการสร้างความร่วมมือในกลุ่มศิษย์เก่า แทนการทำงานแบบต่างคนต่างทำหรือการเริ่มจากศูนย์ เพื่อให้เกิดโครงการที่พร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกได้รวดเร็วขึ้น
    3. Imprint มุ่งมั่นผลักดันการศึกษาและเป็นแบบอย่างให้ชุมชน ด้วยการแบ่งปันแนวทางปฏิบัติและเครื่องมือต่างๆ ที่เราได้พัฒนามาตลอดระยะเวลาหลายปี ผ่านการทำงานของครูผู้นำฯ และศิษย์เก่าฯ
    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

     “ ครูเขาไม่ได้เดินเข้ามาสอนแล้วออกไป แต่เป็นครูในทุก ๆ สถานที่ ทุกช่วงเวลาของชีวิต ตอนเรียนม. 2 ทางโรงเรียนได้รับครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เข้ามาเป็นครั้งแรก คือครูแขและครูกอล์ฟ ผมจึงได้รู้จักมูลนิธินี้ผ่านครูทั้งสองคน จากที่เคยออกไปเล่นช่วงเวลาพัก ก็ใช้เวลาว่างตรงนั้นมาพูดคุยกับครูแขครูกอล์ฟแทน เพราะได้แลกเปลี่ยนและมีกิจกรรมให้ทำตลอด ทำให้ผมได้ซึมซับกระบวนการ วิธีการทำงาน และการใช้ชีวิตแบบใหม่ ๆ กระบวนการสอนของครูแข เป็นการสอนที่ให้เด็กได้ลงมือทำและเรียนรู้ไปด้วยตัวเอง จากที่ไม่ชอบวิชานี้ กลายเป็นพวกผมชอบวิชาภาษาอังกฤษกันมาก ๆ ตอนม. 3 ครูแขได้ให้นักเรียนไปลองสัมภาษณ์ชาวต่างชาติ เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่สำหรับพวกผมเพราะตามปกติแล้วแทบไม่มีโอกาสได้เจอคนต่างชาติเลย และพี่แขพี่กอล์ฟไม่ได้สอนแค่คำศัพท์เท่านั้น แต่ยังสอนทักษะการตัดวิดีโอคลิปอีกด้วย แนวคิดของครูแขครูกอล์ฟที่ผมยังจดจำมาใช้จนวันนี้ คือการให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสการเรียนรู้เท่ากัน ” น้องนรากร แก้วมณี (บีท) นักเรียนโรงเรียนวัดสังฆราชาที่ได้เรียนกับ ‘ครูแข’ ภรปภัช พิศาลเตชะกุล และ ‘ครูกอล์ฟ’ ศุภเกียรติ คุ้มหอยกัน ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ปัจจุบัน บีทกำลังสอบใบประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูและฝึกสอนที่โรงเรียนวัดสังฆราชา

     “ ครูแพรวมีวิธีการสอนที่เข้าใจเด็ก เด็กคนไหนเรียนรู้ได้เยอะก็สนับสนุน เด็กกลุ่มไหนเรียนรู้ช้า ก็จะค่อย ๆ สอนจากขั้น 1 ไป 2 ทำให้เด็กตามคนอื่นทัน และไม่หงุดหงิดเวลาเด็กตามไม่ทัน เห็นน้องพยายามเข้าใจความต่างของนักเรียน เราก็คิดว่าบางทีเราก็ไม่เข้าใจเวลาเด็กทำไม่ได้ แต่จริง ๆ เด็กแค่มีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน อย่างครูแพรวมีประสบการณ์ชีวิตเยอะ ก็จะไม่ได้เน้นสอนแต่วิชาการอย่างเดียว ในด้านการจัดการเรียนการสอน ก็มีลำดับชัดเจน มีการนำเข้าสู่บทเรียน และใช้สื่อหลากหลาย เช่น บางครั้งครูแพรวก็ใช้คลิปเสียงมาสอนภาษา กระบวนการเรียนการสอนใช้เทคโนโลยี เป็นประโยชน์และทันสมัย เราไม่ได้เป็นครูพี่เลี้ยงที่สอนเขาอย่างเดียว หลายครั้งเราก็ได้เรียนรู้จากเขาด้วย ” ครูกัญญา พุทธินาม (ตู่) ครูภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านเจดีย์แม่ครัว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นครูพี่เลี้ยงของครูแพรว ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 9

     “ พี่รู้จักโครงการ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ช่วงปี 63-64 ได้รู้ว่าครูที่มาสอนมาในชื่อ ‘ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง’ พอได้ฟังคำนี้แล้วมันมีพลัง อย่างมีน้องคนนึงจบจากรัฐศาสตร์ แล้วมาสอนคณิตศาสตร์ ตอนแรกเราคิดว่าวิชานี้จะเป็นข้อจำกัดของเด็กสายนี้ไหม ที่เขาไม่ถนัด แต่น้องเขาก็มุ่งมั่น ทำได้ดี พาทุกคนก้าวข้ามตรงจุดนี้ ทำให้เห็นว่าคนคนหนึ่งสามารถเรียนรู้ได้มากมาย ถ้าเราใส่ใจ นอกจากครูทีชจะเป็นผู้นำทางวิชาการแล้ว เขายังทำให้เด็กยอมรับ และกับครูพี่เลี้ยงก็ทำงานกันได้โอเค การร่วมงานกับเพื่อนครูก็ดี และเขาก็มีบ้านพักอยู่ใกล้โรงเรียน เมื่อมีกิจกรรมต่างๆในชุมชนก็มาร่วม อย่างกิจกรรมลงทะเบียนแอพ Thai D ของกระทรวงมหาดไทย มีการมาใช้พื้นที่ของโรงเรียน ให้นักเรียนและคนในพื้นที่มาลงทะเบียนใช้บัตรประชาชนผ่านทางออนไลน์ ครูทีชก็มาช่วยลงทะเบียนให้นักเรียน มีครูคนหนึ่งสอนคณิตศาสตร์ เขาก็ใช้ทุนชุมชนมาเกื้อกูลการศึกษาพานักเรียนไปเรียนที่สถานประกอบการทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แล้วสอนวางแผนทางการเงิน การลงทุน เจ้าของกิจการเองก็ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็กในชุมชน เราอยากให้เด็กมีเหตุผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน โดยใช้ทุกวิชาเป็นสื่อพาเด็กไปถึงจุดนั้น นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้เด็กมุ่งมั่นและมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะของศตวรรษที่ 21 ซึ่งตรงนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตัวครูผู้นำ พอได้เข้ามาก็มีโอกาสพัฒนาตนเอง เป็นผู้นำนำการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดา แต่เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ จึงสามารถส่งต่อไปถึงเด็กได้ ครูแต่ละคนมีแนวคิด เจตคติที่ดี จึงพาจนเองเข้ามาสู่เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ” ผอ. ศิริพงษ์ จำใช้ ผู้อำนวยการโรงเรียนชิตใจชื่น จังหวัดปราจีนบุรี

    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





    Read more
  • Project update > เย็บ ลด กดทับ-ที่นอนป้องกันแผลกดทับเพื่อผู้ป่วยติดเตียงบนดอย

    มอบที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียง

    3 April 2024

    โครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงยากไร้ ได้เข้าถึงและมีที่นอนป้องกันแผลกดทับใช้ ทดแทนที่นอนป้องกันแผลกดทับไฟฟ้าแบบเป่าลมที่มีราคาสูง อีกทั้งยังเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และตอบโจทย์การใช้งานจริง

    ขณะนี้โครงการได้จัดทำการผลิตที่นอนป้องกันแผลกดทับไปแล้ว เป็นจำนวน 60 ผืน โดยได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาจิตอาสา ปี 2 คณะคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 5 คน เป็นผู้เย็บที่นอนฯ โดยนักศึกษาฯ ใช้เวลาเย็บในช่วงปิดภาคเรียนการศึกษา และทั้งนี้นักศึกษาจิตอาสาฯ จะยังคงทำการเย็บที่นอนป้องกันแผลกดทับต่อไปให้แล้วเสร็จ

    สำหรับที่นอนป้องกันแผลกดทับจำนวน 60 ผืน ที่เย็บเสร็จแล้วนั้น มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย ( ป่วยให้ยืม@ติดดอย ) ได้ทำการส่งมอบให้กับ รพ.สต. แม่ยาว จำนวน 50 ผืน และ ผู้ญาติป่วยติดเตียงที่ติดต่อเข้ามาขอรับโดยตรง ทั้งในพื้นที่ อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอแม่สรวย อีกจำนวน 9 ผืน และอีก 1 ผืน เก็บไว้เป็นตัวอย่างเพื่อการเผยแพร่ความรู้กับกลุ่ม อสม. ในจังหวัดเชียงราย

    และจากสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ ยังคงมีผู้ป่วยฯ ที่มีความต้องการใช้ที่อนป้องกันแผลกดทับ อีกจำนวนมาก มูลนิธิฯ จะยังคงทำระดมทุน/ทรัพยากรในการผลิตและทำการเย็บที่นอนฯ เพื่อส่งต่อให้กับ รพ.สต.ในพื้นที่เป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป

    สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการในครั้งนี้

    • ความสนใจและความร่วมมือจากภาคประชาชน ทำให้เกิดจิตอาสาในพื้นที่เพิ่มขึ้น 
    • ได้รับความสนใจจากหน่วยงานท้องถิ่นนอกพื้นที่เป้าหมาย เข้าขอรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ และอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ และ อสม. ในพื้นที่
    • ผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับ มีสภาพแผลฯ ที่ดีขึ้น และไม่เกิดแผลกดทับใหม่ขึ้นอีก ที่นอนมีการระบายอากาศได้ดี ดูแลง่าย ผู้ป่วยหลับสบายพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    ผู้พิการและผู้ป่วยผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ยาว อ.แม่สรวย จังหวัดเชียงราย40 คนภาวะแผลกดทับที่เกิดขึ้นจากเดิมมีสภาพแผลที่ดีขึ้น มีการระบายอากาศอับชื้นได้ดี ไม่เกิดแผลกดทับกับผู้ป่วยติดเตียงรายใหม่
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






    Read more
  • Project update > ส่งน้องเข้าห้องเรียนธรรมชาติ

    ส่งน้องเข้าเรียนธรรมชาติที่ป่าชายเลนบางปู

    28 March 2024

    โครงการ “ส่งน้องเข้าเรียนธรรมชาติ” ดำเนินการในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567 โดยมีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม จำนวน 28 คน ครู 3 คน รวมทั้งสิ้น 31 คน ในรูปแบบโปรแกรมหลักสูตรธรรมชาติศึกษา ระยะเวลาครึ่งวัน ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกฯ (บางปู) จ.สมุทรปราการ

    รูปแบบกิจกรรมมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เริ่มด้วยการแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มย่อย เพื่อให้เข้าถึงนักเรียนทุกคน และนำไปสู่กิจกรรมเกมถามตอบเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนที่บางปู เป็นการประเมินความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของนักเรียน และทำความรู้จักเกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลนผ่านการบรรยายเนื้อหา ก่อนพานักเรียนสำรวจและเรียนรู้ในห้องเรียนธรรมชาติป่าชายเลน เปิดรับประสบการณ์ใหม่จากทรัพยากรของจริงผ่านการสังเกตด้วยตา สัมผัสด้วยมือ การฟัง และการชิม รวมถึงการชี้ให้เห็นถึงปัญหาขยะตามแนวชายฝั่งทะเล นักเรียนจึงได้ช่วยกันเก็บขยะตามแนวป่าชายเลนเพื่อลดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ จากนั้นมาสรุปบทเรียนความรู้จากป่าชายเลนร่วมกันผ่านการทำใบงาน

    ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการทำกิจกรรม นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ในป่าชายเลน และตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการดำรงอยู่ของระบบนิเวศป่าชายเลนเพิ่มขึ้น เมื่อประเมินจากการตอบคำถามก่อนการบรรยายเปรียบเทียบกับข้อมูลที่นักเรียนตอบในใบงาน สรุปว่านักเรียนได้เห็นถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่จริง รวมถึงผลกระทบของขยะในระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับชาติ และได้ช่วยกันระดมความคิดเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

     “ กิจกรรมสนุกและได้ความรู้ ทั้งเรื่องต้นไม้ และสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงขยะทะเลที่มาจากแม่น้ำมาอยู่ที่บางปู และส่งผลกระทบต่อวาฬบรูด้าที่กินขยะทะเลแล้วกลายเป็นซากโครงกระดูกให้มาศึกษาที่บางปู ” เด็กหญิงธัญสิริ หวังดีน้องข้าวหอม

     “ กิจกรรมสนุก นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม กิจกรรมน่าสนใจได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นตนเอง วิทยากรให้ความรู้ได้ครอบคลุม พูดเพราะ อธิบายเก่ง นักเรียนเข้าใจง่าย และสิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม คือ ต้องการให้ขยายกลุ่มนักเรียนให้เพิ่มขึ้นในระดับชั้นอื่น เพราะเนื้อหาดีมาก นักเรียนในระดับชั้นอื่นจะได้รู้จักท้องถิ่นของตนเอง ” นางสาวพิชญ์นรี แสนขัติ

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    เด็กและเยาวชนเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม จ.สมุทรปราการ 28 คนเด็กนักเรียนได้เรียนรู้ สัมผัส ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนผ่านประสบการณ์ตรง ตระหนักรู้ถึงผลเสียของขยะที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ และร่วมระดมความคิดเพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม








    Read more
  • Project update > ปันสุขให้น้อง ผ่านการปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่ม

    ปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่มโรงเรียนวัดกาหลง

    28 March 2024

    วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โครงการได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่ม ณ โรงเรียนวัดกาหลง ตำบลเปร็ง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ดำเนินการปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่มคือช่าง จำนวน 3 คน และมีผู้ที่ได้รับประโยช์คือนักเรียนโรงเรียนวัดกาหลง จำนวน 117 คน รวมถึงบุคลากรทางการศึกษาภายในโรงเรียนอีกจำนวน 10 คน

    สิ่งที่ได้รับจากการดำเนินการปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่ม คือการที่นักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนได้มีเครื่องกรองน้ำดื่มที่สะอาดไว้บริโภค เนื่องจากก่อนหน้าที่จะทำการดำเนินการ ระบบน้ำของเครื่องกรองน้ำที่มีอยู่ไม่ทำงานในการกรองน้ำออกมา แต่ถ้าหากปรับปรุงเสร็จ ก็จะทำให้ระบบน้ำของเครื่องทำงาน และเกิดการกรองน้ำออกมา ทำให้นักเรียน รวมถึงบุคลากรภายในโรงเรียนวัดกาหลงได้มีน้ำสะอาดในการบริโภค

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    เด็กและเยาวชนเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดกาหลง จ.สมุทรปราการ117 คนเด็กนักเรียนมีน้ำดื่มที่สะอาดในการบริโภค
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






    Read more
  • Project update > ส่งเด็กเก่งให้ไปต่อ!! ทุนการศึกษาเพื่อเด็กเรียนดี สู้ชีวิตเพราะความยากจน ปี2

    เด็กนักศึกษาได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 7 คน

    28 March 2024

    มูลนิธิเรดิออนฯ เริ่มเปิดรับสมัครเด็กทุนในโครงการ Hope Scholarship ปี 4 โครงการมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยเรามุ่งเน้นเด็กที่มีความมุ่งมั่นในการกลับไปพัฒนาชุมชน และส่งมอบโอกาสที่ตัวเองได้รับไปยังผู้อื่นอีกมากมายในอนาคต

    ในปี 2023 มูลนิธิเรดิออนฯ ได้เริ่มเปิดรับสมัครนักเรียน/นักศึกษาทั่วประเทศ โดยประชาสัมพันธ์ผ่านมามหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงทางสื่อต่างๆ ของทางมูลนิธิฯ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้สมัครขอทุนจำนวนทั้งหมด 197 คน มีผู้ผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์รอบแรก จำนวน 60 คน โดยมีการสัมภาษณ์รอบแรกในระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2566 และมีผู้ผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์รอบสุดท้าย ในวันที่ 17 มิถุนายน 2566 จำนวน 16 คน โดยเกณฑ์การตัดสินใจที่เราพิจารณาจะเน้นเรื่องของความมุ่งมั่นในการเรียนที่จะทำให้ความฝันเป็นจริง และหัวใจที่อยากกลับไปพัฒนาชุมชนไม่ว่าจะเป็นชุมชนของตัวเอง หรือชุมชนที่ขาดโอกาสอีกมากมายในประเทศไทย

    โดยมีผู้ได้รับทุนการศึกษาในโครงการ Hope Scholarship ปี 4 จำนวนทั้งหมด 7 คน แบ่งเป็นทุนการศึกษา 10,000 บาท/เทอม จำนวน 3 คน และทุนการศึกษา 5,000 บาท/เทอม จำนวน 4 คน ซึ่งทุนการศึกษาที่เรามอบให้นี้เป็นทุนการศึกษาให้เปล่าที่จะครอบคลุมตลอดจนจบการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเหล่านี้สามารถมุ่งมั่นตั้งใจเรียนและทำตามความฝันได้ โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการศึกษา เนื่องจากยอดระดมทุนที่ได้รับผ่านทางเทใจ จำนวน 69,475 บาท ทางมูลนิธิเรดิออนฯ จึงสมทบยอดทุนการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ครบตามจำนวนทุน 400,000 บาท

    และในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มูลนิธิได้จัดค่ายอาสาสำหรับนักศึกษาในโครงการ Hope Scholarship ภายใต้ธีม "Medical Mission Trip" ในระหว่างวันที่ 21-24 ธันวาคม 2566 ค่ายอาสาที่เราให้น้องๆ ในโครงการทุนของเราได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือทีมแพทย์อาสาจากประเทศสิงคโปร์ ในการเปิด Mobile Clinic ในชุมชนเข็กน้อย เราได้เห็นถึงความมุ่งมั่น หัวใจที่เสียสละ และพร้อมที่จะเรียนรู้ของน้องๆ ทุกคน และเราเชื่อว่าน้องๆ ทุกคนจะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคมในอนาคต

    ค่ายครั้งนี้ทำให้เราเห็นว่า โอกาสที่เรามอบให้กับน้องๆ ทุกคน กำลังเติบโต และผลิบาน นอกจากน้องๆ จะได้ช่วยเหลือทีมแพทย์อาสาแล้ว หนึ่งในเด็กทุนที่กำลังจะเรียนจบทันตแพทยศาสตร์ ยังได้ใช้ทักษะที่ได้เรียนมาช่วยตรวจเช็คฟันให้กับเด็กๆ ในโครงการของมูลนิธิ รวมถึงได้อบรมให้ความรู้กับเด็กๆ ในชุมชนเกี่ยวกับการแปรงฟันที่ถูกต้อง ร่วมกับทีมนักศึกษาทุนด้วยกัน

    มูลนิธิเรดิออนฯ ขอขอบคุณทุกการบริจาค ทุกการสนับสนุนที่ได้รับผ่านเทใจดอทคอมที่เป็นส่วนหนึ่งในการมอบโอกาสทางการศึกษาและสนับสนุนเด็กเก่งในโครงการ Hope Scholarship ปี 4 จำนวนทั้งหมด 7 คน ให้ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และทำตามความฝันของตัวเองได้ รวมถึงท่านได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเปลี่ยนแปลง เพราะเราเชื่อว่าเด็กเหล่านี้เมื่อเรียนจบไปแล้วในอนาคต พวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมของประเทศไทยให้ดีขึ้นได้ และเราเชื่อว่ายังมีนักเรียน/นักศึกษาอีกมาก ที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษานี้ เราจึงเดินหน้าดำเนินโครงการในปีต่อๆ ไป เพื่อให้เด็กที่มุ่งมั่นและตั้งใจได้เรียนต่อ และสานฝันของพวกเขาให้เป็นจริง

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

    “ ความความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิเรดิออนฯ ปีที่ผ่านมา ดิฉันรู้สึกขอบคุณที่เปิดโอกาสให้กับดิฉันในวันนั้นสำหรับดิฉันทุนนี้เข้ามาเพื่อเติมเต็มเสมือนเเสงเทียนที่จุดประกายความหวังขึ้นมาอีกครั้ง ขอบคุณที่มอบโอกาสให้ดิฉันได้เดินทางตามความฝันที่วาดไว้ตอนนี้ดิฉันเดินมาครึ่งทางเเล้วนะคะ ” นางสาวฮุสนา โบอุมา นักศึกษาจากสาขาการพัฒนาเด็กปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยชุมชนปัตตานี (ศูนย์สายบุรี)

    “ หนูขอขอบคุณทางมูลนิธิเรดิออน และขอบคุณผู้ที่สนับสนุนทุนการศึกษาทุกท่านนะคะ ที่มอบทุนการศึกษาให้หนู ขอบคุณที่ทางมูลนิธิได้มอบโอกาสนี้ให้กับหนู ทุนการศึกษานี้เปรียบดังน้ำ ที่หยดลงมาช่วยให้ต้นไม้นี้ เติบโตได้อย่างงอกงามยิ่งขึ้น จากดินที่แห้งแล้งกลับกลายเป็นดินที่ชุ่มชื้น และดูแลต้นไม้ต้นนี้ด้วยความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ ซึ่งมูลนิธิเรดิออนมิใช่เพียงผู้ที่ให้โอกาสในการศึกษา แต่เปรียบดั่งครอบครัวของหนูด้วยค่ะ ” นางสาวศศินา ยิ้มย่อง นักศึกษาจากสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาทักษิน วิทยาเขตพัทลุง

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    เด็กและเยาวชนนักศึกษาในโครงการ Hope Scholarship ปี4 ในหลายจังหวัด ทั่วประเทศ
    7 คน
    • เด็กนักศึกษาในโครงการได้รับทุนการศึกษาสำหรับเรียนต่อในระดับปริญญาตรี โดยได้รับการสนับสนุนตลอดจนจบการศึกษา
    • นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการลงพื้นที่เป็นอาสาสมัคร เพื่อเรียนรู้งานพัฒนาชุมชน เรียนรู้บริบทของสังคม และได้เห็นสังคมในมุมมองที่แตกต่างออกไปผ่านค่ายอาสาที่ผ่านมา ทำให้น้องๆ ได้เห็นความยิ่งใหญ่และคุณค่าของการให้ การช่วยเหลือ และความรักที่พวกเขาสามารถส่งต่อให้กับชุมชนได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






    Read more
  • Project update > ปันน้ำใจ คนไร้บ้าน

    มอบสิ่งของสาธารณูปโภคแก่มูลนิธิสดชื่นสถาน

    28 March 2024

    โครงการปันน้ำใจ คนไร้บ้านได้เปิดระดมทุนผ่านทางเว็บไซต์เทใจดอทคอม เพื่อนำเงินไปจัดซื้อเครื่องอุปโภคที่ขาดแคลน เนื่องจากพื้นที่ที่สนใจเป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มคนไร้บ้านเป็นจำนวนมาก และมีเครื่องอุปโภคที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และทางโครงการได้บรรลุเป้าหมายตามจำนวนเงินที่ตั้งไว้ได้สำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็ว โดยหลังจากได้เงินครบตามจำนวนก็ได้นำไปซื้อเครื่องอุปโภคตามแผนงบประมาณที่ตั้งไว้อย่างตั้งใจ เพื่อที่จะดำเนินการไปส่งมอบโดยตัวแทนโครงการ

    ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้ดำเนินโครงการปันน้ำใจ คนไร้บ้าน ได้นำสิ่งของสาธารณูปโภค เช่น ผ้าอนามัย น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่อาบน้ำ และแชมพูสระผม ได้เข้าไปส่งมอบสิ่งของต่างๆ ให้กับตัวแทนมูลนิธิสดชื่นสถานที่บริเวณแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

    ท้ายสุดทางโครงการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการได้ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งหากมีโอกาสก็อยากจะกลับมาเปิดระดมทุนกับทางเว็บไซต์เทใจดอทคอมอีกครั้ง

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

    “ รู้สึกขอบคุณและดีใจที่โครงการปันน้ำใจ คนไร้บ้านได้เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนสิ่งของจำเป็น ซึ่งอยากให้มีการจัดทำโครงการแบบนี้อีก เพราะเป็นสิ่งของที่มีความจำเป็นแต่มักถูกมองข้ามและยังไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าความจำเป็นและไม่พอต่อคนไร้บ้านในพื้นที่ ” คุณเอ เจ้าหน้าที่ดูแลโครงการในพื้นที่

    “ รู้สึกดีเพราะมาใช้งานประจำ บริจาคเยอะก็ทำให้ได้มาใช้งานได้บ่อยๆ ” คุณบี คนไร้บ้านที่เข้ามาใช้บริการ

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    กลุ่มคนเปราะบางกลุ่มคนไร้บ้านที่มาใช้บริการสดชื่นสถาน บริเวณแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร150 คนกลุ่มคนไร้บ้านได้รับและใช้บริการเครื่องอุปโภคที่จำเป็น มีสุขอนามัย ความสะอาด ที่ดีขึ้น
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





    Read more
  • Project update > สนับสนุนกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

    ดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ ปี 2565-66

    27 March 2024

    กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

    ครั้งที่วันที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม
    1มิถุนายน 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    งานวิจัยปัญหาพิเศษ หัวข้อการสำรวจปรสิตในนกป่าที่ได้รับการช่วยเหลือ 
    215 กรกฎาคม 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาการปรับสภาพนกในกรงเลี้ยงและการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในสัตว์ปีก
    328 กรกฎาคม 2566บุคคลทั่วไปและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่Bird walk & Open house เยี่ยมชมกระบวนการฟื้นฟูนกป่าภายในหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ตั้งแต่การรับนกจนถึงการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ
    43 สิงหาคม 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาและติดตามอาการนกกลุ่มนกเค้า
    5กรกฎาคม - ธันวาคม 2566อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลสัตวแพทย์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

    กิจกรรมภาคสนาม-ปฏิบัติการในกระบวนวิชา

    • ทักษะปฏิบัติทางคลินิกช้างและสัตว์ป่า เพื่อฝึกฝนทักษะปฏิบัติการทางคลินิกและการแก้ปัญหาสุขภาพนกป่า
    • ปัญหาคลินิกปฏิบัติช้างและสัตว์ป่า ศึกษาการจัดเลี้ยงนกป่าที่ได้รับการฟื้นฟู การวินิจฉัยและการสังเกตพฤติกรรมนกป่า ขั้นตอนการฟื้นฟูนกป่า และการจัดการนกธรรมชาติในภาคเหนือ
    • พฤติกรรมและการจับบังคับสัตว์สำหรับสัตวแพทย์ ศึกษาพฤติกรรมสัตว์ปีกและงู รวมทั้งการจับบังคับและการตรวจร่างกาย
    • การจับบังคับสัตว์สำหรับพยาบาลสัตว์ ศึกษาการจับบังคับนกป่าเพื่อให้การช่วยเหลือและการทำหัตถการทางคลินิก เช่น การเก็บตัวอย่างเลือด

    การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือในปี 2566

    ลำดับที่เดือนจำนวนนกที่รับเข้า (ตัว)จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ (ตัว)
    1มกราคม181
    2กุมภาพันธ์104
    3มีนาคม141
    4เมษายน281
    5พฤษภาคม384
    6มิถุนายน344
    7กรกฎาคม334
    8สิงหาคม1616
    9กันยายน112
    10ตุลาคม200
    11พฤศจิกายน175
    12ธันวาคม712
    รวม
    24654
    จำนวนนกที่ได้รับการช่วยเหลือของปี 2565-2566 

    สัดส่วนหลังการรักษานกจนสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ของปี 2565-2566 

    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม


















    Read more
  • Project update > ช่วยสุนัข-แมวแก่และพิการกับ มูลนิธิเดอะวอยซ์

    ช่วยเหลือสุนัขและแมวที่พิการให้มีชีวิตต่อ 42 ตัว

    27 March 2024

    มูลนิธิเดอะวอยซ์นำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนไปช่วยเหลือสุนัขและแมวยากไร้ที่อยู่ในการดูแล 42 ชีวิต ในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2566 เพื่อเป็นค่าอาหาร ค่ายารักษาพยาบาลต่างๆ ดูแลช่วยเหลือสุนัขและแมวพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มูลนิธิจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อให้สัตว์พิการเหล่านี้มีให้ชีวิตต่อไป


    ยกตัวอย่างเคสน้องข้าวมันไก่ สุนัขพิการที่เกิดจากพยาธิเม็ดเลือด ไม่ได้พิการจากอุบัติเหตุ เราไปพบเค้านอนอยู่ริมถนนอย่างน่าเวทนา ขยับตัวไม่ได้ แมลงวันตอม และเค้าก็นอนอยู่ด้วยความทรมานที่เคยเดินได้ แต่ไม่สามารถลุกขึ้นอีกแล้ว หนำซ้ำจากความพิการ คือขับถ่ายเองไม่ได้ ต้องดูแลด้วยการบีบกระตุ้น และยังมีน้องแมวโร้ด ถูกรถชนตั้งแต่วัยเพียง 2 เดือน หลังหัก ไม่สามารถผ่าตัดได้ ไม่สามารถขับถ่ายเองได้ ต้องใช้ชีวิตเป็นแมวพิการไปตลอดชีวิต

    และยังมีสัตว์ตัวอื่นๆที่เราต้องช่วยบีบขับถ่ายเหมือนกัน ที่ผ่านมามูลนิธิได้ช่วยเหลือสัตว์พิการและชรามาอย่างต่อเนื่อง และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกเดือน ด้วยความพิการและชราสัตว์เหล่านี้จึงต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ จนกว่าจะหมดลมหายใจ

    ความประทับใจ


    คุณเก๋ ชลลดา สิริสันต์
    ประธานมูลนิธิเดอะวอยซ์(เสียงจากเรา) และเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ดำเนินการทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือสัตว์มาร่วม 12 ปี
    "รู้สึกดีที่ได้ช่วยน้องๆสัตว์ยากไร้ ให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พวกเค้าพิการและแก่ชรา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่สามารถอยู่ข้างถนนได้อีกแล้ว เราคงทนไม่ได้ถ้าต้องเห็นเค้านอนหายใจรวยรินอย่างโดดเดี่ยวที่ข้างทาง ไม่ใช่ทุกคนที่รักและเมตตาพวกเค้า บางคนเมินเฉยกับสิ่งมีชีวิตที่กำลังจะตายต่อหน้าเลยด้วยซ้ำ บางเคสที่เราช่วยมา เค้านอนทุกข์ทรมานมานานกว่าเราจะพบและได้ช่วย บางเคสก็สายเกินไปที่ช่วยมาและหมดลมหายใจ ดั้งนั้นเคสที่มูลนิธิช่วยมาแล้ว เราทำทุกอย่าง ทั้งรักษา ดูแลเค้าให้ดีที่สุดและให้เค้าได้มีความสุขที่สุดเท่าที่สามารถ ขอบคุณเทใจที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้โอกาสคนเข้ามารู้จักเรา และบริจาคช่วยเหลือในกลุ่มสัตว์ชราและพิการค่ะ" 

    ผลกระทบที่เกิดขึ้น

    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลง
    สุนัขและแมวยากไร้ที่โรงแรมบ้านเพราะรักในมูลนิธิเดอะว๊อยซ์42 ตัวสัตว์พิการ และชรา ได้รับการดูแล และให้การรักษาอย่างถูกสุขลักษณะ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

    ภาพประกอบ

    Read more