project เด็กและเยาวชน

มอบถ้วยอนามัยและผ้าอนามัยให้นักเรียนในเขตประเวศ เขตสวนหลวง และเขตบางขุนเทียน

ชวนบริจาค ‘ถ้วยอนามัย และ ผ้าอนามัย' ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนเขตประเวศ เขตสวนหลวง และ เขตบางขุนเทียน เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีของน้องๆ และลดปริมาณขยะพลาสติกในประเทศไทย การระดมทุนครั้งที่ 1 ที่ผ่านมาโครงการได้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขอนามัยผู้หญิงและการมีประจำเดือนผ่านการอบรมและผ่านการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสัมภาษณ์เพื่อให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย ได้ช่วยเหลือผู้หญิงกว่า 300 คน การชวนบริจาครอบนี้มีเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการผลักดันนโยบายผลิตภัณฑ์ประจำเดือนฟรีของ กทม. ต่อไป

Duration 31 ม.ค. 2566 ถึง 31 ธ.ค. 2568 Area ระบุพื้นที่: เขตประเวศ เขตสวนหลวง เขตบางคอแหลม และ เขตบางขุนเทียน (ท่าข้าม) กรุงเทพ

Current donation amount

14,815 THB

Target

2,750,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 1%
จำนวนผู้บริจาค 52

สำเร็จแล้ว

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ชวนบริจาค ‘ถ้วยอนามัย และ ผ้าอนามัย' ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนเขตประเวศ เขตสวนหลวง และ เขตบางขุนเทียน เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีของน้องๆ และลดปริมาณขยะพลาสติกในประเทศไทย

สินค้าจำเป็นที่สร้างภาระรายจ่ายแก่ผู้หญิงคือ 'ผ้าอนามัย' แม้ประเทศไทยยังไม่มีการเก็บสถิติจำนวนผู้หญิงที่เผชิญปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัยอย่างเป็นทางการ แต่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีผู้หญิงในประเทศไทยจำนวนมากกำลังเผชิญปัญหานี้ การเข้าถึงผ้าอนามัยนั้นพบว่าจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึง 2,520 บาทต่อปี ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปี พ.ศ. 2565 ระบุว่า ร้อยละ 88 ของบัญชีเงินฝากทั้งหมด 117.55 ล้านบัญชีที่มีเงินจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท หรือ 103.11 ล้านบัญชีนั้น มีเงินฝากเฉลี่ยต่อบัญชีอยู่ที่ 4,240 บาท เทียบเคียงกับค่าใช่จ่ายผ้าอนามัยตลอดชีวิตที่สูงถึง 98,280 บาทตลอดวัยประจำเดือนเฉลี่ย 39 ปี

จึงเป็นที่มาของการก่อตั้งโครงการ "Youngfun (ยังฝัน)” ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับประจำเดือนของผู้หญิง พร้อมกับแก้ปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม

การระดมทุนครั้งที่ 1 ในปีที่ผ่านมาโครงการได้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขอนามัยผู้หญิงและการมีประจำเดือนผ่านการอบรมและผ่านวิดีโอต่างๆพร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสัมภาษณ์เพื่อให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย จากนั้นโครงการได้รวบรวมยอดบริจาค และเดินทางไปบริจาคถ้วยอนามัยตามชุมชนต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาโครงการได้นำร่องไปแล้วกับผู้หญิงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสถานกักกันเด็กและเยาวชนหญิง ในชุมชนและในโรงเรียนภายใต้เขตดุสิตและเขตราชเทวี ซึ่งโครงการได้ดูแลและช่วยเหลือผู้หญิงกว่า 300 คน

การชวนบริจาค ‘ถ้วยอนามัย และ ผ้าอนามัย' รอบนี้จึงถือเป็นครั้งที่ 2 โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันนโยบายผลิตภัณฑ์ประจำเดือนฟรีของกทม. โดยในครั้งนี้โครงการยังฝันจะลงพื้นที่ให้ความรู้และบริจาคทั้งถ้วยอนามัยและผ้าอนามัยแก่เด็กนักเรียนหญิงในโรงเรียนมัธยมภายใต้ เขตประเวศ เขตสวนหลวง และ เขตบางขุนเทียน เพื่อเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการผลักดันนโยบายภาครัฐฯต่อไป

ประจำเดือนทำให้เด็กผู้หญิง 8 ใน 10 คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องขาดเรียน เพราะเขามีความกังวลมาก ไม่มีความมั่นใจ เนื่องจากเข้าไม่ถึงผ้าอนามัย…ถ้าเดือนไหนซื้อผ้าอนามัย 2-3 ห่อ เท่ากับเดือนนั้นเขาจะมีเงินสำหรับซื้อข้าวหรือสำหรับเรียนน้อยลง” คุณวรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ ผู้ก่อตั้งสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) กล่าว

สำหรับการทำงานร่วมกับกลุ่มลูกเหรียงที่ผ่านมานั้น ทางโครงการได้อบรมความรู้เรื่องการมีประจำเดือน ระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง และการใช้งานถ้วยอนามัยยังฝันให้แก่เด็กผู้หญิงและตัวแทนชุมชนในจังหวัดยะลา นอกจากนี้ยังร่วมกับมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง(สคส.) เข้าไปมอบความรู้และมอบถ้วยอนามัยให้แก่กลุ่มคุณแม่วัยใสใน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชัยนาท และร่วมมือกับสำนักงานเขตดุสิตเพื่อให้ความรู้และนำร่องถ้วยอนามัยในชุมชนแออัดต่างๆ รวมทั้งร่วมมือกับโรงเรียนมีชัยพัฒนา

สานฝัน จิตต์มิตรภาพ ผู้ก่อตั้งโครงการยังฝันกล่าวว่า ถ้วยอนามัย 1 ถ้วย สามารถรองรับประจำเดือนได้นาน 6 ชั่วโมง ใช้ซ้ำได้ในแต่ละวันและมีอายุการใช้งาน 3-5 ปี ซึ่งนอกจากจะประหยัดยังช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกจากการใช้ผ้าอนามัย เพราะผ้าอนามัย 1 แผ่นสร้างขยะเท่ากับถุงพลาสติก 4 ถุง และอาจต้องใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 800 ปี ขณะที่ถ้วยอนามัยที่ทำจากซิลิโคนทางการแพทย์และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

นอกเหนือจากการรับบริจาคเงิน โครงการยังฝัน ยังมีการจัดจำหน่าย 'ถ้วยอนามัย' (Menstrual Cup) ที่ราคาเท่าทุน และ 1 ถ้วยอนามัยที่จำหน่ายได้โครงการจะบริจาคอีก 1 ถ้วยให้แก่กลุ่มผู้หญิงที่ขาดแคลนอีกด้วย เพื่อจะช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขอนามัยผู้หญิงและมอบสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้หญิงไทยทุกคน ที่ผ่านมาโครงการยังฝันได้สร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมจนได้รับรางวัล “Best Social Change Maker” ในงาน Thailand Influencer Awards 2022 ตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 18 ท่านจากภาคธุรกิจและภาครัฐ โดยพิจารณาจาก:

  • Creativity รูปแบบความคิดสร้างสรรค์
  • Strategy กลยุทธ์แคมเปญ
  • Result ผลลัพธ์ด้านการเข้าถึงและการสร้างคุณค่า
  • Social Conscience สำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

โครงการยังฝัน เชื่อว่า: 

1.สุขอนามัยที่ดีคือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ (Basic Human Right) ในปัจจุบันยังมีผู้หญิงจำนวนมากที่ถูกลิดรอนสิทธินี้ หากเราช่วยให้ผู้หญิงรอดพ้นจากการถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานได้ เราก็จะช่วยเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) ในสังคมมากยิ่งขึ้น

2. ผู้หญิงต้องมีทางเลือก ปัจจุบันผลิตภัณฑ์รองรับประจำเดือนในตลาดกว่า 90% คือผ้าอนามัย และตลาดนี้ก็ถือครองโดย

3 แบรนด์เท่านั้น ทำให้ผ้าอนามัยมีราคาแพง (ผู้หญิงจ่ายเฉลี่ย 210 บาทต่อเดือนเพื่อซื้อผ้าอนามัย) ยังฝัน เชื่อว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้หญิงเรามีทางเลือก นั่นคือการเพิ่มพลังอำนาจให้เรา เพราะเรามีสิทธิที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ตัวเราเองได้

การดำเนินการประกอบด้วย 3 ขั้นตอน: 

1. การระดมทุน

a. ผ่าน แคมเปญ "ซื้อ 1 บริจาค 1” (ซื้อถ้วยอนามัย 1 ชิ้น เราบริจาคอีก 1 ชิ้นในนามคุณ) ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัย (Empower Active Citizens to Create a Sustainable & Responsible Consumption Mindset) 

b. “รับบริจาคเงิน” ผ่านเทใจดอทคอม Taejai.com (บริจาคเงินจำนวนใดก็ได้เพื่อสนับสนุนโครงการ โดยเงินบริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้) เทใจดอทคอม (Taejai.com) เป็นหน่วยงานระดมทุนที่ก่อตั้งมากว่า 10 ปี แล้วโดย มูลนิธิเพื่อคนไทย และ สถาบัน ChangeFusion. ผู้บริจาคจะสามารถติดตามผลการดำเนินการและพูดคุยกับโครงการผู้รับบริจาคได้โดยตรง

2. ประสานงานกับเขตประเวส เขตสวนหลวง และ เขตบางขุนเทียน

a. เพื่อจัดตารางการเข้าอบรมส่งเสริมความรู้เรื่องสุขอนามัยของผู้หญิงและการมีประจำเดือนให้แก่เด็กนักเรียนในเขตนั้น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการตีตราผิดๆเกี่ยวประจำเดือน (Period Stigma) และให้ทางเลือกที่มาพร้อมความรู้แก่ผู้หญิงทุกคน 

b. เพื่อประสานวิธีการแจกถ้วยอนามัยและผ้าอนามัยให้แก่นักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ ภายใต้เขตนั้น ๆ 

3. เก็บข้อมูลการดำเนินงาน 

เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณทั้งในเรื่องความพึงพอใจในการใช้งานถ้วยอนามัยและผ้าอนามัย และความรู้ความเข้าใจของนักเรียนภายหลังการอบรมให้ความรู้โดยโครงการยังฝัน เป้าหมายเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนานโยบายของกทม.ต่อไป 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

Sahnfun Chittmittrapap (สานฝัน จิตต์มิตรภาพ) 


ไม่มีข้อมูล

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ผ้าอนามัย 3.5บาทต่อชิ้น 350,000 1,225,000.00
2 ถ้วยอนามัย 350 บาท ต่อ ชิ้น 3100 1,085,000.00
3 ค่าขนส่ง 40,000.00
4 ค่าสื่อการสอน และเดินทางวิทยากร 150,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
2,500,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
250,000.00

ยอดระดมทุน
2,750,000.00