cover_1

พาพญาแร้งที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติกลับคืนป่าเมืองไทย

Donations for the project will ช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูและวางแผนเพาะพันธุ์ to ประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย6ตัว

project succeeded
Successfully

Period of time

Jan 31, 2023 - Feb 29, 2024

Location

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและพื้นที่โดยรอบ Lan Sak, Amphoe Lan Sak, Uthai Thani 61160สวนสัตว์นครราชสีมา Chai Mongkhon, Amphoe Mueang Nakhon Ratchasima, Nakhon Ratchasima 30000

SDG Goals

LIFE ON LAND

Beneficiary groups of the project

Animal
6ตัว

เกือบ 30 ปี ที่พญาแร้งหายไปจากป่าเมืองไทย

ในวันนี้พวกเราพยายามวางแผนเพาะพันธุ์พญาแร้งที่เหลืออยู่ในกรงเลี้ยงจำนวน 6 ตัว เพื่อหวังว่าสักวันในผืนป่าประเทศไทยจะมีพญาแร้งโผบินอีกครั้ง แต่โจทย์นี้ไม่ง่าย เพราะการจะทำให้สัตว์ที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติกลับคืนมา ยากกว่าการทำให้มันหายไป

Social issues

 

สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ

14 กุมภาพันธ์ 2535 กลางป่าห้วยขาแข้ง พญาแร้งฝูงหนึ่งกำลังจิกทึ้งกินซากเก้ง โดยที่พวกมันไม่รู้เลยว่านั่นคืออาหารมื้อสุดท้ายในชีวิต เนื่องจาพรานกลุ่มหนึ่งวางยาเบื่อในซากเก้ง เพื่อหวังว่าให้เสือโคร่งมากิน ซึ่งนับเป็นโชคร้ายของพญาแร้งที่ลงมากินทำให้พวกมันตายยกฝูง และส่งผลให้สายพันธุ์ของพวกมัน ‘สูญพันธุ์จากธรรมชาติ ’ 

สิ่งที่หายไปไม่ใช่เพียงแค่นกหนึ่งชนิด แต่คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนเทศบาลและกองควบคุมโรคของผืนป่า

ความพยายามที่จะให้พญาแร้งให้กลับมาโบยบิน

หลายภาคส่วนช่วยกันฟื้นฟูประชากรพญาแร้งและเพาะขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์กินซาก (Scavenger) ทำให้เกิดการหมุนเวียนของห่วงโซ่อาหารที่สำคัญในระบบนิเวศซึ่งเป็นการเสริมสร้างความสมดุลของระบบนิเวศผืนป่ามรดกโลก โดยบูรณาการองค์ความรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยง การฟื้นฟูถิ่นอาศัย การสำรวจและวิจัย รวมถึงการสร้างความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่เพื่อเป็นต้นแบบในการฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในพื้นที่ธรรมชาติ

ปัจจุบันประเทศไทยมีพญาแร้งในกรงเลี้ยงที่ได้มาจากการพลัดหลงจากการอพยพผ่านประเทศไทยทั้งหมด 6 ตัว นำมาดูแลเพื่อฟื้นฟูสภาพที่สวนสัตว์นครราชสีมา จำนวน 4 ตัว (2 คู่) และอยู่ในกรงฟื้นฟูขนาด 20 x 40 เมตร สูง 20 เมตร บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จำนวน 2 ตัว (1 คู่) ถือเป็นโอกาสดีในการที่จะฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในธรรมชาติถิ่นอาศัยเดิมในผืนป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง (หากพญาแร้งคู่นี้ไม่สามารถจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ได้จะมีการนำพญาแร้งจากสวนสัตว์นครราชสีมาเข้าคู่แทน) 

ถ้าพญาแร้งวางไข่และฟักเป็นตัวสำเร็จ ลูกนกจะถูกฝึกที่กรงฟื้นฟูที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยฝึกเรื่องอาหารให้เขารู้ว่าอะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ ให้รู้ว่ามีอาหารอะไรในธรรมชาติบ้าง ฝึกกล้ามเนื้อในการบิน จนกระทั่งพร้อมปล่อยออกจากกรงฟื้นฟู พร้อมติดตั้งระบบติดตามด้วยสัญญาณวิทยุหรือดาวเทียม เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับอนาคต

ซึ่งการเตรียมการทั้งหมดนี้ ถ้าปัจจัยที่ทำให้พญาแร้งสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติคือมนุษย์ การที่จะปล่อยพญาแร้งกลับไปโดยที่ยังไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ ก็อาจมีค่าเท่ากับการปล่อยพญาแร้งกลับไปตายเหมือนเดิม “มูลนิธิสืบนาคะเสถียร" จึงได้เข้ามามีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการเรียนรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พญาแร้งให้กับเยาวชนและผู้คนในท้องที่ รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อให้พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อพญาแร้ง สร้างเครือข่ายอนุรักษ์และอาสาสมัครดูแลพญาแร้งก่อนปล่อย และงานระดมทุน เพื่อช่วยให้โครงการสามารถดำเนินงานตามแผน อีกทั้งยังต้องทำงานแข่งกับเวลา เพราะพญาแร้งแต่ละตัวมีอายุ 20 ปีขึ้น 

การเรียนรู้และความตระหนักเป็นอีกส่วนสำคัญในการอนุรักษ์พญาแร้ง

การจัดค่ายให้กับเยาวชนจากชุมชนโดยรอบพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (กลุ่มเป้าหมาย 10 โรงเรียน) ถือเป็นการเตรียมพร้อม เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ปลูกจิตสำนึกให้พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อพญาแร้ง ไม่ใช่มองว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความตายอย่างที่ผ่านมา อีกทั้งเยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูประชากรพญาแร้ง ให้ได้กลับมาโบยบินอย่างอิสระบนท้องฟ้าไทย และเพื่อเติมเต็มจิ๊กซอว์ของบทบาททางนิเวศที่หายไปจากผืนป่าตะวันตก

อย่างไรก็ดี โครงการ “การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย” ยังต้องการเงินสนับสนุนโครงการอยู่มาก ซึ่งทุกท่านสามารถมีส่วนร่วมเพื่อให้โครงการฯ บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ โดยการบริจาคให้กับโครงการฯ นั้นจะผลต่อพญาแร้งทั้ง 6 ตัวโดยตรงและกิจกรรมปลูกฝังการอนุรักษ์พญาแร้งให้กับเยาวชน

ค่าใช้จ่ายในการดูแลพญาแร้ง 6 ตัว และกิจกรรมอื่นๆ

  • ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก เฉลี่ย 10,000 บาท/ตัว
  • ค่าอาหาร/ค่าขนส่งอาหาร เฉลี่ย 3,000 บาท/เดือน
  • ค่าประอุบัติเหตุผู้ดูแลพญาแร้ง 6,000/ปี
  • ซ่อมแซมกรงพญาแร้ง 50,000 บาท/ปี
  • เคลียร์แนวกันไฟรอบพื้นที่กรงฟื้นฟูพญาแร้ง 20,000 บาท/ปี 
  • ค่ายเยาวชนร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายรอบห้วยขาแข้ง เฉลี่ย 10,000 บาท/โรงเรียน

Approaches to addressing issues

  1. หลายภาคส่วนช่วยกันฟื้นฟูประชากรพญาแร้งและเพาะขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์กินซาก (Scavenger) ทำให้เกิดการหมุนเวียนของห่วงโซ่อาหารที่สำคัญในระบบนิเวศ

  2. บูรณาการองค์ความรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยง การฟื้นฟูถิ่นอาศัย การสำรวจและวิจัย รวมถึงการสร้างความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่

  3. ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการเรียนรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พญาแร้งให้กับเยาวชนและผู้คนในท้องที่ รวมถึงประชาชนทั่วไป

  4. จัดค่ายให้กับเยาวชนจากชุมชนโดยรอบพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (กลุ่มเป้าหมาย 10 โรงเรียน) เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ปลูกจิตสำนึกให้พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อพญาแร้ง

Operational Plan

  1. Oct 2024 - Dec 2020

    ระยะที่ 1 ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน ดำเนินการประชุมวางแผนจัดทำโครงการ (ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

  2. Jan 2024 - Sep 2023

    ระยะที่ 2 ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี 9 เดือน อยู่ระหว่างดำเนินการ ศึกษาพฤติกรรมและเก็บข้อมูลอื่นๆ ของพญาแร้งในกรงเลี้ยง จับคู่ผสมพันธุ์ ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินผล ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ และผลิตสื่อความรู้เกี่ยวกับพญาแร้ง จัดกิจกรรมด้านการศึกษา เช่น จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนพญาแร้งคืนถิ่นให้กับโรงเรียนรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นิทรรศการพญาแร้งให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชม สำรวจประชากรนกกลุ่มแร้ง โดยเน้นชนิดเป้าหมาย 2 ชนิด คือพญาแร้ง และแร้งเทาหลังขาว บริเวณพื้นที่ป่าอนุรักษ์กลุ่มป่าพนมดงรัก – ผาแต้ม ประกอบด้วยพื้นที่อนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาพระวิหาร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุญฑริก-ยอดมน อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย

  3. Oct 2024 - Sep 2025

    ระยะที่ 3 ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี อยู่ระหว่างดำเนินการ ฝึกเตรียมการปล่อยพญาแร้งคืนสู่ธรรมชาติ พร้อมทั้งติดตามประเมินผลหลังการปล่อย หมายเหตุ: เงินที่ได้รับสนับสนุนในครั้งนี้จะถูกใช้ในการดำเนินงานระยะที่ 2-3 ของโครงการ

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
ค่าอาหาร/ค่าขนส่งอาหาร

เฉลี่ย 3,000 บาท : เดือน : ตัว จำนวน 6 ตัว

12เดือน36,000.00
ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก

เฉลี่ย 10,000 บาท : ตัวปี จำนวน 6 ตัว

12เดือน60,000.00
ค่าประอุบัติเหตุผู้ดูแลพญาแร้ง

12เดือน6,000.00
ค่ายเยาวชนร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายรอบห้วยขาแข้ง

10โรงเรียน100,000.00
เคลียร์แนวกันไฟรอบพื้นที่กรงฟื้นฟูพญาแร้ง

1ครั้ง20,000.00
ซ่อมแซมกรงพญาแร้ง

1ครั้ง50,000.00
Total Amount272,000.00
Taejai support fee (10%)27,200.00
Total amount raised
299,200.00

Project manager

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เป็นองค์กรด้านสิ่งแวด้อมที่ให้ความสำคัญกับการปกป้องป่าผืนใหญ่และแหล่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่า และความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอันดับแรก รองลงมาให้ความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดพันธุ์ที่สำคัญและถูกคุกคาม ในการทำงานที่ต้องตัดสินใจให้อยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่รอบด้าน หรือหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องมีวิธีแก้ไขผลกระทบที่สามารถปฏิบัติได้จริงและเป็นที่ยอมรับ อย่างไรก็ตามสมควรคงระบบนิเวศตามธรรมชาติที่มีอยู่ทั้งกระบวนการและให้ดำเนินการบูรณะถิ่นที่อยู่อาศัยและความหลากหลายทางชีวภาพเมื่อมีความจำเป็นและเป็นไปได้ โดยการทำงานภายใต้ภารกิจดังนี้ 1. สนับสนุนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ห้วยขาแข้ง – ทุ่งใหญ่ฯ ให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล และขยายการทำงานสู่พื้นที่โดยรอบ 2. เฝ้าระวังสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย ปกป้องผืนป่า สัตว์ป่า ร่วมขับเคลื่อนและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ 3. สร้างการรับรู้และความร่วมมือของเครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 4. มุ่งสู่การเป็นองค์กรธรรมาภิบาล โครงการของมูลนิธิสืบฯ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ เช่น 1. การสนับสนุนแนวทาง SMART Patrol ในผืนป่าตะวันตก เพื่อเป็นฐานข้อมูลของชนิดที่สำคัญและมาตรการการหยุดยั้งการล่า และได้ขยายผลไปยังพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ ทั่วประเทศ 2. การฟื้นฟูประชากรกวางผาโดยการปล่อยคืนจากแหล่งเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงที่สำเร็จในการอยู่รอดระยะแรกแล้ว 3. การรณรงค์เพื่ออนุรักษ์นกชนหิน การผลักดันให้เป็นสัตว์สงวน 4. การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งอย่างเป็นรูปธรรม อยู่ในขั้นตอนการจับคู่ผสมพันธุ์ และการขยายพันธุ์พญาแร้งในกรงเลี้ยงก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ 5. การอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือปลา อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและทาความเข้าใจกับชุมชน

View Profile

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon