project Covid-19 ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง

ช่วยทันที ฮีโร่ไทยต้านโควิด

จัดหาชุดคลุมปฏิบัติการ (Protective Coverall) ตามมาตรฐานของแพทย์ ส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ขณะปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากชุดคลุมปฏิบัติการส่วนใหญ่ที่บุคลากรทางการแพทย์ได้รับบริจาค ไม่ได้มาตรฐาน และไม่สามารถใช้ได้จริงใน ICU หรือ COVID-19 ward

Duration 1 เดือน Area ทั่วประเทศ

Current donation amount

1,313,993 THB

Target

1,188,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 111%
จำนวนผู้บริจาค 940

สำเร็จแล้ว

Project updates

จัดหาซื้อชุดคลุมปฏิบัติการเพิ่ม

20 July 2020

ช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2563 ทางโครงการ "ช่วยทันที ฮีโร่ไทยต้านโควิด" ได้รับแจ้งจาก บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด ว่าไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบได้มากเพียงพอ โดยสามารถผลิตชุดคลุมปฏิบัติการได้ทั้งหมด 1,845 ชุด จากเป้าหมาย 2,000 ชุด

ประกอบกับการที่ทางโครงการ สามารถระดมทุนได้ทั้งหมด 1,288,993 บาท ทำให้โครงการมีเงินที่ได้จากการระดมทุนคงเหลือทั้งหมด 189,467.65 บาท

ทางโครงการจึงได้ติดต่อ บริษัท ทองไทยการทอ จำกัด เพื่อผลิตชุดคลุมปฏิบัติการ (Protective Coverall) ตามมาตรฐานของแพทย์ ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน AAMI PB70 Level 2 จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถใช้ใน Ward, ER และ ICU เบื้องต้นได้เพิ่มเติม จำนวน 383 ชุด เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการบริษัท ทองไทยการทอ จำกัด เพิ่มให้เป็น 390 ชุด จึงทำให้ต้นทุนต่อชุดอยู่ที่ 494 บาท


ภาพ: การทดสอบตามมาตรฐาน AAMI PB70 Level 2 จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ ทางโครงการจะดำเนินการจัดส่งชุดปฏิบัติการในรอบถัดไป มอบให้โรงพยาบาลเพิ่มเติม ดังนี้

  1. โรงพยาบาลสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ (100 ชุด)
  2. โรงพยาบาลระยอง จ.ระยอง (135 ชุด)
Read more »
See all project updates
"2,792 ราย" คือจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่สะสมในประเทศไทย และในจำนวนนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อมากถึง 103 ราย

(ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ณ วันที่ 20 เมษายน 2563)

โดยเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการตรวจรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ประกอบกับไวรัสโควิด-19 แพร่กระจายเชื้อได้ง่าย และผู้ป่วยมีระยะเวลาเข้ารับการรักษาที่ยาวนานกว่าโรคระบาดอื่น ๆ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีความจำเป็นต้องใช้ชุดคลุมปฏิบัติการเพื่อป้องกันเชื้อโรคเป็นจำนวนมาก

โครงการนี้ เกิดจากการร่วมมือของหลายฝ่าย โดยมีตัวแทนจากโครงการ COVID-19 Round Table เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ (1) อาจารย์แพทย์ เพื่อขอองค์ความรู้ในการพัฒนาชุด PPE ให้ได้ตามมาตรฐาน (2) โรงพยาบาลต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ทางโครงการมีความประสงค์มอบชุดปฏิบัติการ (3) บริษัทผู้ผลิตชุด PPE ที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาชุด PPE ให้ได้ตามมาตรฐาน และ (4) เพจถามอีก กับอิก Tam-Eig เป็น Influencer ทางด้านการเงินและการลงทุน จะเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทาง Social Media โดยคุณอิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข, ที่ปรึกษาทางด้านการเงิน และพิธีกรด้านเศรษฐกิจและการลงทุนช่อง ไทยรัฐทีวี ช่อง 32, และ TNN ช่อง 16 เป็น Anchor หลัก


บรรยายภาพ: ตัวอย่างชุด PPE

ชุดคลุมปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สวมใส่ปกปิดร่างกาย ป้องกันการสัมผัสกับเชื้อโรคและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เป็นชุดที่ออกแบบและผลิตภายใต้คำแนะนำของอาจารย์แพทย์ และได้รับการผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน AAMI PB70 Level 2 จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถใช้ใน Ward, ER และ ICU เบื้องต้นได้


บรรยายภาพ: เอกสารการทดสอบตามมาตรฐาน AAMI PB70 Level 2 จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย

แนวทางการทำงาน

  • เริ่มระดมทุนผ่านช่องทาง “ถามอีก กับอิก Tam-Eig” และเครือข่ายต่าง ๆ ของสมาชิกในทีม
  • ติดตามประสานงานกับโรงพยาบาลในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามที่ระบุ
  • ดำเนินการผลิตชุดคลุมปฏิบัติการตามมาตรฐานทางการแพทย์
  • จัดส่งชุดคลุมปฏิบัติการให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ผ่านบริการขนส่งของไปรษณีย์ไทย ซึ่งอาสาเป็นสื่อกลางในการส่งมอบสิ่งของให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
  • โรงพยาบาลส่งภาพถ่ายเป็นหลักฐานการรับมอบชุดคลุมปฏิบัติการ เพื่อให้ทีมเจ้าของโครงการทำรายงานผลการดำเนินงานส่งมอบชุด

รายชื่อโรงพยาบาล

  1. โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร (200 ชุด)
  2. โรงพยาบาลตากสิน กรุงเทพมหานคร (100 ชุด)
  3. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี (100 ชุด)
  4. โรงพยาบาลยะลา จ.ยะลา (100 ชุด)
  5. โรงพยาบาลบางละมุง จ.ชลบุรี (100 ชุด)
  6. โรงพยาบาลสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ (100 ชุด)
  7. โรงพยาบาลปัตตานี จ.ปัตตานี (100 ชุด)
  8. โรงพยาบาลสงขลา จ.สงขลา (100 ชุด)
  9. โรงพยาบาลวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี (100 ชุด)
  10. โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ (100 ชุด)
  11. โรงพยาบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ (100 ชุด)
  12. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จ.นครราชสีมา (100 ชุด)
  13. โรงพยาบาลพุทธโสธร จ.ฉะเชิงเทรา (100 ชุด)
  14. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จ.นครปฐม (100 ชุด)
  15. โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส (100 ชุด)
  16. โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ (100 ชุด)
  17. โรงพยาบาลสุรินทร์ จ.สุรินทร์ (100 ชุด)
  18. โรงพยาบาลราชบุรี จ.ราชบุรี (100 ชุด)
  19. โรงพยาบาลขอนแก่น จ.ขอนแก่น (100 ชุด)

**กรณีได้รับเงินมากกว่าที่ตั้งเป้า จะขยายโครงการบริจาค ให้โรงพยาบาลอื่นเพิ่มเติม

ประโยชน์ของโครงการ

  1. ชุดคลุมปฏิบัติการช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งถือเป็นผู้ที่อยู่แนวหน้าในการรับมือกับโรคระบาด ได้ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และสามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างเต็มศักยภาพในขณะปฏิบัติหน้าที่
  2. การประชาสัมพันธ์โครงการส่วนหนึ่ง เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และผลกระทบในมุมต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนตระหนักมากยิ่งขึ้น
  3. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย และรับมือกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

สมาชิกในทีม

  1. นายบรรพต ธนาเพิ่มสุข ที่ปรึกษาการเงิน
    ผู้ร่วมก่อตั้ง ถามอีก กับอิก Tam-eig, พิธีกรด้านเศรษฐกิจและการลงทุนไทยรัฐทีวี ช่อง 32, และ TNN ช่อง 16
  2. น.ส.วารีภรณ์ นิวาสสวัสดิกุล CPA
    ผู้ร่วมก่อตั้ง ถามอีก กับอิก Tam-eig
  3. น.ส.ณัฐยา ชูสุทธิ์
    สมาชิกโครงการ COVID-19 Round Table 

ภาคี


โครงการ COVID-19 Round Table (https://www.covid19roundtable.com) เกิดจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มแพทย์ วิศวกร Makers Developers และ องค์กรต่าง ๆ ที่ร่วมกันพัฒนา Platform เพื่อเป็นตัวกลางในการรวบรวมข้อมูล ประสานงาน และส่งเสริมห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในการส่งมอบอุปกรณ์/เครื่องใช้ในโรงพยาบาลที่จำเป็นไปยังโรงพยาบาลที่มีความต้องการ โดยมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุด และเป็นอีกหนึ่งแรงในการสนับสนุนบุคลากรทางการปฏิบัติหน้าที่ในแนวหน้า ของวิกฤตการณ์ COVID-19

เริ่มการผลิตชุดคลุมปฏิบัติการ ครั้งที่1

25 May 2020

หลังจากการเปิดระดมทุนได้ตามเป้าหมาย ทางโครงการได้เริ่มดำเนินการผลิตชุมคลุมปฏิบัติการ เพื่อจัดส่งไปยังโรงพยาบาล 19 แห่งทั่วประเทศ

ภาพการผลิต

การตัดเย็บชุด

การตรวจสอบคุณภาพการผลิตทุกชุดให้ได้ตามมาตรฐาน

ชุดคลุมปฏิบัติการที่สำเร็จแล้ว

บรรจุใส่ห่อ และดำเนินการจัดส่งต่อไป



ส่งมอบชุดปฏิบัติการ 18 โรงพยาบาลแล้ว

29 June 2020

หลังจากการจัดหาชุดปฏิบัติการในรอบแรก ขณะนี้ทางโครงการได้ดำเนินการส่งมอบชุดปฏิบัติการให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศไปแล้ว 18 แห่ง มีภาพกิจกรรม ต่อไปนี้

โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 200 ชุด

โรงพยาบาลตากสิน จำนวน 100 ชุด 

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จำนวน 100 ชุด 


โรงพยาบาลยะลา จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลบางละมุง จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลสมุทรปราการ จำนวน100 ชุด  

โรงพยาบาลปัตตานี จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลสงขลา จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลวารินชำราบ จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลนครพิงค์ จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลหัวหิน จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลพุทธโสธร จำนวน 100 ชุด  

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จำนวน 100 ชุด  
โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 100 ชุด  

โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 100 ชุด 

จัดหาซื้อชุดคลุมปฏิบัติการเพิ่ม

20 July 2020

ช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2563 ทางโครงการ "ช่วยทันที ฮีโร่ไทยต้านโควิด" ได้รับแจ้งจาก บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด ว่าไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบได้มากเพียงพอ โดยสามารถผลิตชุดคลุมปฏิบัติการได้ทั้งหมด 1,845 ชุด จากเป้าหมาย 2,000 ชุด

ประกอบกับการที่ทางโครงการ สามารถระดมทุนได้ทั้งหมด 1,288,993 บาท ทำให้โครงการมีเงินที่ได้จากการระดมทุนคงเหลือทั้งหมด 189,467.65 บาท

ทางโครงการจึงได้ติดต่อ บริษัท ทองไทยการทอ จำกัด เพื่อผลิตชุดคลุมปฏิบัติการ (Protective Coverall) ตามมาตรฐานของแพทย์ ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน AAMI PB70 Level 2 จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถใช้ใน Ward, ER และ ICU เบื้องต้นได้เพิ่มเติม จำนวน 383 ชุด เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการบริษัท ทองไทยการทอ จำกัด เพิ่มให้เป็น 390 ชุด จึงทำให้ต้นทุนต่อชุดอยู่ที่ 494 บาท


ภาพ: การทดสอบตามมาตรฐาน AAMI PB70 Level 2 จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ ทางโครงการจะดำเนินการจัดส่งชุดปฏิบัติการในรอบถัดไป มอบให้โรงพยาบาลเพิ่มเติม ดังนี้

  1. โรงพยาบาลสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ (100 ชุด)
  2. โรงพยาบาลระยอง จ.ระยอง (135 ชุด)

Budget plan

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
1. ชุดคลุมปฏิบัติการ ชุดละ 497.55 บาท2,000 ชุด995,100
2. ประมาณการณ์ค่าขนส่ง 
*กรณีไม่สามารถจัดส่งทางไปรษณีย์ไทยแบบไม่มีค่าใช้จ่าย
19 โรงพยาบาล84,900
3. ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

108,000
รวมเป็นเงิน
1,188,000