project สิ่งแวดล้อม

เทใจให้ทะเล | taejai4ocean

ร่วมฟื้นฟูป่าชายเลนด้วยการปลูกต้นไม้เพิ่ม 22,000 ต้น เพื่อสร้างแหล่งอาหาร เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดิน เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

Duration 5 ธันวาคม 2563 - 8 มิถุนายน 2564 Area ป่าชายเลนคลองทองหลาง ตำบลหล่อยูงอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงาและป่าชายเลนคลองพารา ตำบลป่าคลอกอำเภอถลางจังหวัดภูเก็ต(อ่าวพังงาตอนใน)

Current donation amount

374,332 THB

Target

363,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 103%
จำนวนผู้บริจาค 178

สำเร็จแล้ว

Project updates

สรุปกิจกรรมเทใจให้ทะเล

15 July 2022

เดิมโครงการนี้ มีแผนงานที่จะจัดกิจกรรมเพาะพันธุ์กล้าไม้และปลูกป่าชายเลน จำนวน 20,000 ต้น ให้เสร็จภายในระยะเวลาช่วงสั้นๆ และจัดกิจกรรมร่วมกับทีมงานเทใจและพันธมิตรในจังหวัดภูเก็ต พังงา แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังขยายตัวในจังหวัดภูเก็ตและพังงา จึงจำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบ ให้สอดคล้องกับตามมาตรการและนโยบายของจังหวัดภูเก็ต และพังงาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 โครงการจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้อยลง และขยายช่วงเวลาในการดำเนินกิจกรรมให้ทอดยาวขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มจำนวนครั้งของกิจกรรม ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมประมาณ 12 เดือน ตั้งแต่ 28 ก.ค 2564 – 17 มิถุนายน 2565 มีการดำเนินกิจกรรม 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.กิจกรรมปลูกป่าชายเลนในพื้นที่เสื่อมโทรม 5 ครั้ง จำนวน 9,250 ต้น 2.กิจกรรมจัดทำแปลงเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลน 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้นจำนวน 13,391 ต้น 3.กิจกรรมการติดตามและการสำรวจ ได้ต้นไม้ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้นจำนวน 22,641 ต้น มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน 22,000 ต้น

สถานที่ในการดำเนินกิจกรรมได้แก่ บริเวณพื้นที่หัวเกาะแก้ว และบริเวณกุโบร์บ้านอ่าวกุ้ง ในแปลงป่าเฉลิมพระเกียรติฯของชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมผ่านหน้าเพจของชุมชน “รักษ์อ่าวกุ้งรักษ์ปะการัง ป่าชายเลน” ประกอบด้วยกลุ่มจิตอาสา ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม รวมทั้งหมด 394 คน

ผู้ได้รับผลประโยชน์ ชาวบ้านบ้านอ่าวกุ้งและประชาชนในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 1,374 คน

สิ่งที่ได้รับผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง

  1. มีป่าชายเลนเพิ่มขึ้น 22,641 ต้น ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ในระยะยาวในฐานะแหล่งอาหารและการดำเนินชีวิต /เพิ่มความหลากหลายของระบบนิเวศ
  2. เกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักเรื่องป่าชายเลนเพิ่มขึ้น เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคนต่างวัยในชุมชนเพื่อรักษาและปกป้องป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง ตลอดจนแนวทางความร่วมมือของชุมชนกับพันธมิตรเพื่อรักษาและปกป้องป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง

ปัญหาที่พบ  

  1. ฝูงลิงแสมมาถอน กินฝักอ่อนกล้าไม้ป่าชายเลน
  2. ฝักไม่ยึดจมดิน ฝักลอยน้ำ ต้นกล้าค่อนข้างบอบช้ำ เริ่มเน่าเปื่อย
  3. ต้นไม้ค่อนข้างเติบโตช้าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับบริเวณแปลงเพาะพันธุ์ ทั้งนี้อาจเนื่องจากสภาพแวดล้อมบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่โล่ง เตียน และมีลักษณะดินทรายปนโคลน 

ความประทับใจจากผู้รับประโยชน์จากโครงการ

ผลกระทบที่เกิดขั้นจากโครงการ

ภาพประกอบ

กิจกรรมปลูกป่าชายเลน - วันที่ 5และ 6 มิถุนายน 2565
ปลูกต้น ถั่วทะเล 2,900 ต้น แสม 1,850 ต้นและโกงกาง 1,100 ต้น ปลูกด้วยฝักรวม 5,850 ต้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและสมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน รวม 55 คน บริเวณที่ปลูก แปลงป่าเฉลิมพระเกียรติบริเวณหลังกุโบร์บ้านอ่าวกุ้ง โดยปลูกเสริมในพื้นที่ว่างและพื้นที่ที่เสื่อมโทรม




กิจกรรมติดตาม สำรวจ -วันที่ 6 มิถุนายน 2565
สำรวจติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่กลุ่มอนุรักษ์ได้นำไปปลูกบริเวณหัวเกาะแก้ว และแปลงเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ประธาน กรรมการ อนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง และสมาคมความมั่นคงด้านอาหาร ผู้นำศาสนา รวม 17 คน 



กิจกรรมเพาะพันธุ์กล้าไม้ วันที่ 17และ 19 มิถุนายน 2565 

  • เพาะชำกล้าไม้ด้วยฝักถั่วทะเลจำนวน 2,950 ต้น
  • สถานที่ ณ ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและสมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน รวม 43 คน



ป้ายแสดงพื้นที่แปลงเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลนเพื่อทุกคน,กฏ กติกา การใช้ทรัพยากรชายฝั่ง

Read more »
See all project updates

โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อต้องการฟื้นฟูป่าชายเลนที่มีสภาพเสื่อมโทรมจากการบุกรุกทำลาย ที่มีสาเหตุหลักมาจากการขยายตัวของกิจกรรมพัฒนาการท่องเที่ยวที่ไม่ยั่งยืน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการขยายตัวของเมือง 

วิธีการฟื้นฟูผ่านกิจกรรมสำคัญได้แก่ 

  1. กิจกรรมการเพาะพันธุ์ต้นกล้าไม้ป่าชายเลน 
  2. กิจกรรมการปลูกต้นไม้เสริมในพื้นที่ที่เสื่อมโทรม เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสมบูรณ์ขึ้น 

กิจกรรมนี้จะส่งผลโดยตรงต่อสมาชิกในชุมชนรอบป่าชายเลน เน้นหนักไปที่กลุ่มผู้หญิงและเด็ก เนื่องจากกลุ่มนี้ได้พึ่งพิงป่าชายเลนในฐานะแหล่งอาหารของครอบครัวและอาชีพเสริม ทั้งการจับสัตว์น้ำ เช่น หอยจุ๊บแจง หอยแครง กุ้งเคย ปูดำ ปลากระบอก พืชผักเช่น ผักหวานป่า ยอดลำเพ็งตลอดจนถึงสมุนไพรต่างๆ เช่น ใบขลู่ เป็นต้น 

นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ป้องกันคลื่นลมและภัยธรรมชาติดังเช่นการป้องกันชุมชนให้รอดพ้นจากภัยสึนามิเมื่อปี พ.ศ. 2547 ตลอดจนการลดปริมาณคาร์บอนให้กับโลก ซึ่งป่าชายเลนสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 6,200 กิโลกรัม/ไร่/ปี มากกว่าป่าบกที่เก็บกักคาร์บอนได้ 1,300 กิโลกรัม/ไร่/ปีเท่านั้น โดยคาดว่ามีผู้หญิงและเด็กได้รับผลประโยชน์โดยตรงจำนวน 1,000 คน จาก 200 ครอบครัว พื้นที่ดำเนินการได้แก่พื้นที่อ่าวพังงา(ตอนใน) ประกอบด้วยป่าชายเลนคลองทองหลางครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบลได้แก่ หล่อยูงอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงาและป่าชายเลนคลองพารา ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีเนื้อที่รวมกันทั้ง 2 พื้นที่กว่า 5,700 ไร่


ปัญหาป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย สาเหตุหลักมาจากแผนการพัฒนาของจังหวัดภูเก็ตและปริมณฑลที่มุ่งตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่ใช่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีกิจกรรมสำคัญได้แก่ กิจกรรมการท่องเที่ยวที่รองรับนักท่องเที่ยวกว่า 17 ล้านคนต่อปี และมีแผนที่จะขยายมากขึ้น เช่น การผลักดันให้ภูเก็ตและอ่าวพังงาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ำโลกหรือมารีน่าฮับ กิจกรรมดังกล่าวล้วนนำมาสู่การดำเนินการที่คุกคามและซ้อนทับพื้นที่ป่าชายเลนและความขัดแย้งกับชุมชนที่เพิ่มขึ้นทุกวัน 

ขณะเดียวกันที่ผ่านมา ผู้หญิงและเด็กไม่มีส่วนร่วมในการออกแบบหรือพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน ทั้งที่ผู้หญิงเป็นผู้ที่มีบทบาทหลักและมีองค์ความรู้เรื่องป่าชายเลนในฐานะพื้นที่สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารของครอบครัวและชุมชน ที่ผ่านมาทางชุมชนและเครือข่ายชุมชนชายฝั่งอ่าวพังงา ได้ลุกขึ้นแสดงตัวเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบการใช้และบริหารจัดการป่าชายเลน โดยร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พยายามสร้างกลไกการมีส่วนร่วม นำเสนอแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน จนป่าชายเลนเริ่มกลับมามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นได้ผลระดับหนึ่ง แต่ทิศทางใหญ่ของการพัฒนาจังหวัดและของประเทศยังไม่เปลี่ยน ทิศทางการพัฒนาป่าชายเลนของหน่วยงานภาครัฐเองยังย้อนแย้งกันจำเป็นจะต้องมีการผลักดันและรณรงค์ให้เกิดผลกระทบในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมปลูกป่าชายเลนเพื่อสร้างพื้นที่อาหารให้ผู้หญิงและเด็กในอ่าวพังงา จึงเป็นปฏิบัติการของชุมชน เป็นปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดสรรและออกแบบป่าชายเลนภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะไปพร้อมๆ กัน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. จัดประชุมสมาชิกในชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง – จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจ กำหนดและวางแผนกิจกรรมร่วมกัน พร้อมกับจัดตั้งเป็นคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรรม 1 ชุด ที่ประกอบไปด้วย สมาชิกในชุมชน กลุ่มผู้หญิง เด็กและเยาวชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง 
  2. เก็บเมล็ดพันธุ์ป่าชายเลนในพื้นที่ป่าชายเลนและชายฝั่ง – คณะทำงานและสมาชิกในชุมชนร่วมกันสำรวจและเก็บรวบรวมเมล็ดหรือฝักของพันธุ์ไม้ในป่าชายเลนและริมชายฝั่ง เช่น โกงกาง แสมดำ แสมขาว แสมทะเล ตะบูน ลำพู ลำแพน ฯลฯ เพื่อจะนำมาเพาะเป็นกล้าไม้พร้อมปลูก จำนวน 2 พื้นที่
  3. เพาะพันธุ์เป็นต้นกล้าไม้ป่าชายเลน - นำเมล็ดพันธุ์หรือฝักพันธุ์ไม้ในป่าชายเลนและริมชายฝั่ง มาเพาะพันธุ์เป็นต้นกล้าในแปลงเพาะพันธุ์ของชุมชน โดยการบรรจุใส่ถุงที่ย่อยสลายได้
  4. นำไปปลูกในพื้นที่เสื่อมโทรม -คณะทำงาน สมาชิกในชุมชนและผู้สนใจ ร่วมกันนำพันธุ์ไม้จากแปลงพันธุ์ของชุมชน ไปปลูกในพื้นที่เสื่อมโทรม พร้อมทั้งบันทึกจัดทำเป็นฐานข้อมูล ทั้งชนิดและความหลากหลายของพันธุ์ไม้ที่นำมาปลูก จำนวนที่ปลูก จับพิกัดพื้นที่ปลูกด้วย GPS จำนวน 2 พื้นที่
  5. มีการเฝ้าติดตามผล – คณะทำงานจะมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง โดยการเข้าไปสำรวจการเปลี่ยนแปลง มีการวัดการเจริญการเติบโตของต้นไม้ อัตราการเจริญเติบโต การเปรียบเทียบความแตกต่างของชนิดพันธุ์ไม้ ฯลฯ พร้อมกับบันทึกเป็นข้อมูลของชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง  
  6. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโดยชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลประจำเดือนเป็นฐานในการประเมินผลเพื่อวิเคราะห์ วางแผนการพัฒนาพื้นที่ต่อไปในอนาคต

ผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับ

  • มีป่าชายเลนเพิ่มขึ้น จำนวน 22,000 ต้นในพื้นที่ 20 ไร่
  • สัตว์น้ำและพืชผักในป่าชายเลนเพิ่มขึ้นจากเดิม 30%
  • เด็กและเยาวชน จำนวน 400 คน เห็นความสำคัญของป่าชายเลนและมีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่ป่าชายเลนของชุมชน
  • ผู้หญิง จำนวน 600 คน จับสัตว์น้ำและหาอาหารจากป่าชายเลนได้มากขึ้น

เจ้าของโครงการ

คุณวรวัฒน์ สภาวสุ และะปาลิดา ธนาเมธปิยา ร่วมกับสมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน

ปลูกต้นไม้และเพาะพันธุ์ต้นกล้า ในป่าชายเลน 2,200 ต้น

15 September 2021

เดิมโครงการนี้ มีแผนงานที่จะจัดกิจกรรมเพาะพันธุ์กล้าไม้และปลูกป่าชายเลน จำนวน 20,000 ต้น ให้เสร็จภายในระยะเวลาช่วงสั้นๆ และจัดกิจกรรมร่วมกับทีมงานเทใจและพันธมิตรในจังหวัดภูเก็ต พังงา แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังขยายตัวในจังหวัดภูเก็ตและพังงา จึงจำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบ ให้สอดคล้องกับตามมาตรการและนโยบายของจังหวัดภูเก็ต และพังงาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 โครงการจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้อยลง และขยายช่วงเวลาในการดำเนินกิจกรรมให้ทอดยาวขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มจำนวนครั้งของกิจกรรม โดยมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1.กิจกรรมเทใจให้ป่าชายเลน@บ้านอ่าวกุ้ง วันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ณ ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมผ่านหน้าเพจของชุมชน “รักษ์อ่าวกุ้งรักษ์ปะการัง ป่าชายเลน” ประกอบด้วยกลุ่มจิตอาสา ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม รวม 75 คน

ชาวบ้านร่วมกันปลูกป่าชายเลน

เด็กๆ มาร่วมช่วยปลูกป่าชายเลน

เตรียมกล้าไม้เพื่อปลูกป่า

นักอนุรักษ์รุ่นเยาว์มีความสุข

แลกเปลี่ยนประสบการณ์อนุรักษ์ป่าชายเลน

2.กิจกรรมปลูกป่าชายเลนและเพาะพันธุ์กล้าไม้ วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม 2564 ณ ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำทางศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกในชุมชน จำนวน 50 คน 

ติดตามต้นไม้ที่ปลูก 

3.กิจกรรมแม่พันธุ์แห่งแผ่นดิน วันที่ 12 สิงหาคม 2564 ณ ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกในชุมชน ตัวแทนจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 45 คน

เพาะต้นกล้าจากลูกลำแพนทะเล

อนุรักษ์ไม่ใหญ่ แม่พันธุ์แห่งแผ่นดิน

4. กิจกรรมปลูกป่าชายเลน วันที่ 25 สิงหาคม 2564 ณ ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง กลุ่มเยาวชน จำนวน 33 คน

นั่งเรือไปปลูกป่าชายเลน

ปลูกป่าชายเลนครั้งแรกในชีวิตของเด็ก

ปลูกป่าชายเลนเพิ่ม

สรุปผลการดำเนินการปลูกป่าและเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลน เมื่อ 28 ก.ค – 25 ส.ค.2564

  • ต้นไม้ที่ปลูกจากฝัก ได้แก่ ต้นแสมดำ 100 ต้น ถั่วขาว 1,500 ต้น โกงกางใบใหญ่ 600 ต้น รวมทั้งหมด 2,200 ต้น
  • เพาะพันธุ์กล้าไม้แสมดำ 500 ต้น

5 เดือนผ่านไป เกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ปลูกต้นไม้ของ "เทใจให้ทะเล"

14 December 2021

28 -30 กันยายน 2564

  • เตรียมพื้นที่ ทำแปลงเพาะพันธุ์กล้าไม้ตามธรรมชาติ


1 ตุลาคม 2564

  • เพาะชำกล้าไม้ด้วยฝักถั่วทะเลจำนวน 7,931 ต้น และ เมล็ดพันธุ์แสมดำจำนวน 2,000 เมล็ด ณ ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต พร้อมทำคอกล้อมแปลงเพาะพันธุ์เพื่อป้องกันลิงแสมเข้าไปรื้อทำลาย
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและสมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน รวม 83 คน


5 ตุลาคม 2564

  • ปลูกต้นโกงกางด้วยฝัก 1,200 ต้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและสมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน รวม 20 คน บริเวณที่ปลูก “หัวเกาะแก้ว”

16 ตุลาคม 2564

  • สำรวจติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่กลุ่มอนุรักษ์ได้นำไปปลูกบริเวณหัวเกาะแก้ว และแปลงเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ประธาน กรรมการ อนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้นำศาสนาและ สมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน รวม 5 คน
    - ต้นไม้ที่ปลูกด้วยฝัก บริเวณหัวเกาะแก้ว อัตราการรอด 80 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาฝูงลิงแสมมาถอน กินฝัก ฝักไม่ยึดจมดิน ฝักลอยน้ำ
    - ต้นไม้ที่เพาะในแปลงเพาะตามธรรมชาติต้นถั่วทะเล อัตราการรอด 90 เปอร์เซ็นต์
    - ต้นไม้ที่เพาะในแปลงเพาะตามธรรมชาติ "แสมดำ" 2,000 ต้น ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เนื่องจากสภาพต้นกล้าค่อนข้างบอบช้ำ เริ่มเน่าเปื่อย เหลือรอดรอดเหลือแค่ 10 ต้น


3 พฤศจิกายน 2564

  • สำรวจติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่กลุ่มอนุรักษ์ได้นำไปปลูกบริเวณหัวเกาะแก้ว และแปลงเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ประธาน กรรมการ อนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง และสมาคมความมั่นคงด้านอาหาร ผู้นำศาสนา รวม 5 คน 
    - ต้นไม้ที่ปลูกด้วยฝัก บริเวณหัวเกาะแก้ว อัตราการรอด 80 เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้ค่อนข้างเติบโตช้าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับบริเวณแปลงเพาะพันธุ์ ทั้งนี้อาจเนื่องจากสภาพแวดล้อมบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่โล่ง เตียน และมีลักษณะดินทรายปนโคลน
    - ต้นไม้ที่เพาะในแปลงเพาะตามธรรมชาติต้นถั่วทะเล อัตราการรอด 90 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่พร้อมที่จะนำไปปลูก
    - ต้นไม้ที่เพาะในแปลงเพาะตามธรรมชาติ “แสมดำ” 2,000 ต้น เหลือรอดรอดเหลือแค่ 10 ต้น ต้นยังเล็กไม่พร้อมที่จะนำไปปลูก

9 ธันวาคม 2564

  • สำรวจติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่กลุ่มอนุรักษ์ได้นำไปปลูกบริเวณหัวเกาะแก้ว และแปลงเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ประธาน กรรมการ อนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชน บ้านอ่าวกุ้ง ผู้นำศาสนา และสมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามันรวม 3 คน
    - ต้นไม้ที่ปลูกด้วยฝัก บริเวณหัวเกาะแก้ว อัตราการรอด 80 เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้ค่อนข้างเติบโตช้าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับบริเวณแปลงเพาะพันธุ์ ทั้งนี้อาจเนื่องจากสภาพแวดล้อมบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่โล่ง เตียน และมีลักษณะดินทรายปนโคลน
    - ต้นไม้ที่เพาะในแปลงเพาะตามธรรมชาติต้นถั่วทะเล อัตราการรอด 90 เปอร์เซ็นต์ ต้นกล้าขึ้นสวยงาม มีใบเขียวแตกยอด 3 – 4 พร้อมที่จะนำไปปลูกได้
    - ต้นไม้ที่เพาะในแปลงเพาะตามธรรมชาติ “แสมดำ” 2,000 ต้น เหลือรอดรอดเหลือแค่ 10 ต้น ต้นยังเล็กไม่พร้อมที่จะนำไปปลูก


สรุปผลการดำเนินการปลูกป่าและเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลน ตั้งแต่ 28 ก.ค – 9 ธ.ค. 2564

  • คงเหลือต้นไม้ ที่ต้องปลูกให้ได้ตามเป้า 6,169 ต้น ซึ่งทางสมาคมจะจัดปลูกต้นไม้ที่เหลือภายในเดือนธันวามคม 2564 โดยการเปิดระดมจิตอาสาเพิ่อช่วยนำกล้าไม้ที่เพาะพันธุ์ไว้ลงปลูกในพื้นที่ว่างเปล่าต่อไป


สรุปกิจกรรมเทใจให้ทะเล

15 July 2022

เดิมโครงการนี้ มีแผนงานที่จะจัดกิจกรรมเพาะพันธุ์กล้าไม้และปลูกป่าชายเลน จำนวน 20,000 ต้น ให้เสร็จภายในระยะเวลาช่วงสั้นๆ และจัดกิจกรรมร่วมกับทีมงานเทใจและพันธมิตรในจังหวัดภูเก็ต พังงา แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังขยายตัวในจังหวัดภูเก็ตและพังงา จึงจำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบ ให้สอดคล้องกับตามมาตรการและนโยบายของจังหวัดภูเก็ต และพังงาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 โครงการจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้อยลง และขยายช่วงเวลาในการดำเนินกิจกรรมให้ทอดยาวขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มจำนวนครั้งของกิจกรรม ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมประมาณ 12 เดือน ตั้งแต่ 28 ก.ค 2564 – 17 มิถุนายน 2565 มีการดำเนินกิจกรรม 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.กิจกรรมปลูกป่าชายเลนในพื้นที่เสื่อมโทรม 5 ครั้ง จำนวน 9,250 ต้น 2.กิจกรรมจัดทำแปลงเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลน 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้นจำนวน 13,391 ต้น 3.กิจกรรมการติดตามและการสำรวจ ได้ต้นไม้ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้นจำนวน 22,641 ต้น มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน 22,000 ต้น

สถานที่ในการดำเนินกิจกรรมได้แก่ บริเวณพื้นที่หัวเกาะแก้ว และบริเวณกุโบร์บ้านอ่าวกุ้ง ในแปลงป่าเฉลิมพระเกียรติฯของชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมผ่านหน้าเพจของชุมชน “รักษ์อ่าวกุ้งรักษ์ปะการัง ป่าชายเลน” ประกอบด้วยกลุ่มจิตอาสา ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม รวมทั้งหมด 394 คน

ผู้ได้รับผลประโยชน์ ชาวบ้านบ้านอ่าวกุ้งและประชาชนในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 1,374 คน

สิ่งที่ได้รับผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง

  1. มีป่าชายเลนเพิ่มขึ้น 22,641 ต้น ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ในระยะยาวในฐานะแหล่งอาหารและการดำเนินชีวิต /เพิ่มความหลากหลายของระบบนิเวศ
  2. เกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักเรื่องป่าชายเลนเพิ่มขึ้น เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคนต่างวัยในชุมชนเพื่อรักษาและปกป้องป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง ตลอดจนแนวทางความร่วมมือของชุมชนกับพันธมิตรเพื่อรักษาและปกป้องป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง

ปัญหาที่พบ  

  1. ฝูงลิงแสมมาถอน กินฝักอ่อนกล้าไม้ป่าชายเลน
  2. ฝักไม่ยึดจมดิน ฝักลอยน้ำ ต้นกล้าค่อนข้างบอบช้ำ เริ่มเน่าเปื่อย
  3. ต้นไม้ค่อนข้างเติบโตช้าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับบริเวณแปลงเพาะพันธุ์ ทั้งนี้อาจเนื่องจากสภาพแวดล้อมบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่โล่ง เตียน และมีลักษณะดินทรายปนโคลน 

ความประทับใจจากผู้รับประโยชน์จากโครงการ

ผลกระทบที่เกิดขั้นจากโครงการ

ภาพประกอบ

กิจกรรมปลูกป่าชายเลน - วันที่ 5และ 6 มิถุนายน 2565
ปลูกต้น ถั่วทะเล 2,900 ต้น แสม 1,850 ต้นและโกงกาง 1,100 ต้น ปลูกด้วยฝักรวม 5,850 ต้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและสมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน รวม 55 คน บริเวณที่ปลูก แปลงป่าเฉลิมพระเกียรติบริเวณหลังกุโบร์บ้านอ่าวกุ้ง โดยปลูกเสริมในพื้นที่ว่างและพื้นที่ที่เสื่อมโทรม




กิจกรรมติดตาม สำรวจ -วันที่ 6 มิถุนายน 2565
สำรวจติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่กลุ่มอนุรักษ์ได้นำไปปลูกบริเวณหัวเกาะแก้ว และแปลงเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ประธาน กรรมการ อนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง และสมาคมความมั่นคงด้านอาหาร ผู้นำศาสนา รวม 17 คน 



กิจกรรมเพาะพันธุ์กล้าไม้ วันที่ 17และ 19 มิถุนายน 2565 

  • เพาะชำกล้าไม้ด้วยฝักถั่วทะเลจำนวน 2,950 ต้น
  • สถานที่ ณ ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและสมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน รวม 43 คน



ป้ายแสดงพื้นที่แปลงเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลนเพื่อทุกคน,กฏ กติกา การใช้ทรัพยากรชายฝั่ง

Budget plan


รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
กล้าไม้ป่าชายเลนพร้อมปลูก ต้นละ 15 บาท
(ประกอบด้วยฝัก ถุง ดินเพาะ )
22,000 ต้น330,000
ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ระบบตรวจสอบติดตามโครงการ และดูแลแพลตฟอร์ม)

33,000

รวม363,000