project สิ่งแวดล้อม

เปลี่ยนความมืดมิดให้เป็นแสงสว่าง ร่วมสนับสนุนโซลาเซลล์ให้ผู้พิทักษ์ป่าในหน่วยที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง

ส่งกำลังใจและความห่วงใยเอื้ออาทรจากสังคมเมืองไปสู่กลางผืนป่า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิทักษ์ป่าในจุดสกัดบริเวณตะเข็บชายแดนที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงให้ดีขึ้น

Area พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า 30 แห่ง

Current donation amount

77,988 THB

Target

429,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 18%
จำนวนผู้บริจาค 112

สำเร็จแล้ว

Project updates

จัดส่งโซลาเซลล์เอนกประสงค์ ให้หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 5 แห่ง

22 February 2023

หลังจากโครงการระดมทุนได้สำเร็จตามเป้าหมาย เป็นจำนวนเงิน 77,988 บาท ก็ได้เริ่มทำการจัดหาชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ พร้อมค่าขนส่ง ดังนี้

  • จัดหาชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ พร้อมค่าขนส่ง จำนวน 3 ชุด
  • ปรับปรุงระบบโซลาเซลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา 3 จุดสกัด
  • จัดซื้อชุดโซลาเซลแบบพกพา จำนวน 1 ชุด
  • ค่าธรรมเนียมในการให้บริการเทใจดอทคอม 10% เป็นเงิน 7,798.80 บาท

รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 77,988 บาท

พร้อมทั้งสนับสนุนให้กับ หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 5 แห่ง ได้แก่

  1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ จำนวน 1 ชุด
  2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าขุนน้ำยม จังหวัดพะเยา ชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ จำนวน 1 ชุด
  3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท จ.ลำปาง ชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ จำนวน 1 ชุด
  4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา จ.ศรีสะเกษ ปรับปรุงระบบโซลาเซล จำนวน 3 จุดสกัด
  5. หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า ชุดโซลาเซลแบบพกพา จำนวน 1 ชุด

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 " ขอบคุณผู้สนับสนุนและฝ่ายแผนฯเป็นอย่างสูงครับ "

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์  ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้พิทักษ์ป่าในหน่วย
ที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
ที่อยู่ห่างไกล ทุรกันดาร และยังไม่มีไฟฟ้าใช้
จุดสกัด ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 5 แห่ง1. เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ผู้พิทักษ์ป่าในหน่วยที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง
ได้ใช้ในการปฏิบัติงานดูแลทรัพยากรป่าและสัตว์ป่า
และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันเฝ้าป่า รักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย
4. ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยดีขึ้น

รูปภาพกิจกรรม

Read more »
See all project updates

พื้นที่ป่าในประเทศไทย ที่ถูกอนุรักษ์รักษาไว้เพื่อเป็นบ้านแหล่งอาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่าคือพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า อันได้แก่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 62 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 96 แห่ง แต่ละแห่งจะมีหน่วยพิทักษ์ป่าและจุดสกัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ในจุดที่มีความล่อแหลมต่อการบุกรุกป่าและลักลอบล่าสัตว์ป่า ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 493 หน่วยพิทักษ์ป่า และ 149 จุดสกัด ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ป่าห่างไกล ทุรกันดาร มีเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าประจำหน่วยละ 3 – 9 คน หลายแห่งโดยเฉพาะจุดสกัดไม่มีอาคารถาวร มีเพียงเพิงพักที่ปลูกสร้างกันเองอย่างง่าย ๆ พอให้เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติงานดูแลป่าและสัตว์ป่าให้กับพวกเรา ในจำนวนนี้ ยังมีจุดสกัดกว่า 71 แห่ง ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกใดๆ กลางคืนผู้พิทักษ์ป่าต้องจุดเทียนหรือตะเกียง อยู่กับความมืดมิดและเงียบเหงากลางผืนป่า



สำหรับในการดำเนินการโครงการแรก โครงการส่งโซลาเซลล์ช่วยคนเฝ้าป่าในจุดสกัดบริเวณตะเข็บชายแดนที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง เราสามารถช่วยสนับสนุนชุดโซลาเซลพร้อมทีวีและจานดาวเทียม ไปให้กับจุดสกัด 11 แห่งแล้ว รอยยิ้มยามหลอดไฟเปิดขึ้นนั้น สว่างไสวกว่าแสงไฟยิ่งนัก ความยินดีเมื่อรู้ว่าต่อไปจะสามารถชาร์จแบตโทรศัทพ์เพื่อโทรหาหรือส่งข่าวคราวทุกข์สุขให้ครอบครัวลูกเมียได้บ้างนั้นเต็มตื้นขึ้นในหัวใจ และยามเปิดทีวีหลังเลิกงานมีโอกาสได้ดูบอล ดูมวย ดูข่าวสารบ้านเมืองได้บ้างนั้นทำให้ยามค่ำคืนกลางป่าไม่มืดมิดและเงียบเหงาจนเกินไป ทำให้มีกำลังใจสำหรับการพิทักษ์รักษาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าไว้ให้ลูกหลานไทยต่อไป แม้ว่าภารกิจนั้นจะเหนื่อยยาก ลำบาก ต้องเสี่ยงภัยอยู่ท่ามกลางอันตรายจากผู้ร้ายที่จ้องจะลักลอบตัดไม้หรือล่าสัตว์ป่าอยู่ตลอดเวลา เสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ และต้องห่างไกลครอบครัว มีสภาพความเป็นอยู่ที่ต้องอดทน เสียสละ เพื่อภารกิจดูแลป่าไม้และสัตว์ป่าให้คนไทย



การช่วยสนับสนุนให้ผู้พิทักษ์ป่า ถือเป็นการส่งกำลังใจและความห่วงใยเอื้ออาทรจากสังคมเมืองไปสู่กลางผืนป่า เพื่อให้ผู้พิทักษ์ป่าตระหนักว่าอาชีพของเขามีความสำคัญยิ่งใหญ่ และขอบคุณในความเสียสละของพวกเขา โครงการนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อหวังจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิทักษ์ป่าให้ดีขึ้น สร้างรอยยิ้มและกำลังใจ และสร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันเฝ้าป่า ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ และรักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยดีขึ้น และอยู่คู่คนไทยตลอดไป

วัตถุประสงค์

  1. จัดหาชุดโซลาเซลเอนกประสงค์ พร้อมอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับผู้พิทักษ์ป่า ในหน่วยที่ไม่มีไฟฟ้าอีก 30 แห่ง
  2. สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิทักษ์ป่าให้ดีขึ้น เพื่อส่งเสริมกำลังใจในการปฏิบัติภารกิจเฝ้าป่า
  3. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันเฝ้าป่า รักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยดีขึ้น

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ติดต่อประสานงานกับพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า รวบรวมข้อมูลจุดสกัด หน่วยพิทักษ์ป่า และหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า ที่ไม่มีไฟฟ้า ความเป็นอยู่ลำบาก ทุรกันดาร หรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยชายแดน
  2. จัดหาอุปกรณ์โซลาเซลล์ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่    

ความต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตอนกลางคืน


ประโยชน์ของโครงการ

  1. เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในหน่วยงานห่างไกล ทุรกันดาร หรืออยู่ชายแดนได้มีไฟฟ้าใช้ในการปฏิบัติงานดูแลทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันเฝ้าป่า รักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย 
  4. ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยดีขึ้น

ทีมงาน

  1. นางวัลยา ไชยภักดี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนแผนงานและงบประมาณ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  2. ด.ญ.นันท์นภัส ไชยภักดี  
  3. ทีมงานน้องๆ ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า 
  4. หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 20 แห่ง

พื้นที่ดำเนินการ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่า 20 แห่ง 30 พื้นที่

  1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน
    • จุดสกัดอูนู จำนวน 5 คน
    • จุดสกัดจอปร่าคี จำนวน 5 คน
    • จุดสกัดขุนแม่สอง จำนวน 5 คน
    • จุดสกัดขุนแม่เหลอ จำนวน 5 คน
  2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน จ.แม่ฮ่องสอน
    •  จุดสกัดแสนคำลือ จำนวน 3 คน
    • จุดสกัดบ้านไม้ซางหนาม จำนวน 3 คน
  3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า จ.แม่ฮ่องสอน
    • จุดตรวจร่วมเส้นทางตรวจการณ์ห้วยต้นนุ่น จำนวน 7 คน
  4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ จ.แม่ฮ่องสอน
    • จุดสกัดบูรณาการบ้านแม่ยะน้อย-ห้วยหวาย จำนวน 3 คน
  5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม จ.ลำปาง
    • จุดสกัดเสลียมหวาน จำนวน 5 คน
    • จุดสกัดแม่กำพร้า จำนวน 5 คน
  6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก
    • จุดสกัดมอตาลัว จำนวน 5 คน
    • จุดสกัดบ่อน้ำร้อน จำนวน 4 คน
  7. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก จ.ตาก
    • ด่านตรวจ หน่วยพิทักษ์ป่าทีชอแม จำนวน 5 คน
  8. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงและภูทอง จ.พิษณุโลก
    • จุดสกัดห้วยหม้อ จำนวน 7 คน
  9. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน จ.มุกดาหาร
    • จุดสกัดปุ่งน้ำเค็ม จำนวน 6 คน
    • จุดสกัดดงหางกวาง จำนวน 6 คน
  10. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จ.อุบลราชธานี
    • จุดสกัดพิทักษ์ไพร จำนวน 4 คน
  11. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต จ.เลข
    • จุดสกัด (ชั่วคราว ห้วยย่างชิ้น) จำนวน 8 คน
    • จุดสกัดชั่วคราว (อ่างเก็บน้ำน้ำเลย) จำนวน 5 คน
  12. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำนางรอง จ.บุรีรัมย์
    • จุดสกัดตลาดควาย จำนวน 4 คน
  13. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จ.บุรีรัมย์
    • จุดสกัดเทพารักษ์ จำนวน 5 คน
    • จุดสกัดถลุงมาศ จำนวน 5 คน
  14. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเหรง จ.สงขลา
    • จุดสกัดโตนเรือ จำนวน 5 คน
  15. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากะทูน จ.นครศรีธรรมราช
    • จุดสกัด ที่ กท.1 (คลองคันเถร) จำนวน 6 คน
  16. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน จ.ระนอง
    • จุดสกัดปลายควนแดน จำนวน 6 คน
    • จุดสกัดบ้านทับส้มขาม จำนวน 6 คน
  17. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ-นาสัก จ.ชุมพร
    • จุดสกัดปลายคลองวิสัย จำนวน 6 คน
  18. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จ.ระนอง
    • จุดสกัดวังผักบุ้ง จำนวน 7 คน
  19. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน จ.สุราษฎร์ธานี
    • จุดสกัดบ้านยวนสาว จำนวน 6 คน
  20. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จ.สุราษฎร์ธานี
    • หน่วยพิทักษ์ป่า (ชั่วคราว) ถ้ำเจียร์ จำนวน 6 คน

จัดส่งโซลาเซลล์เอนกประสงค์ ให้หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 5 แห่ง

22 February 2023

หลังจากโครงการระดมทุนได้สำเร็จตามเป้าหมาย เป็นจำนวนเงิน 77,988 บาท ก็ได้เริ่มทำการจัดหาชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ พร้อมค่าขนส่ง ดังนี้

  • จัดหาชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ พร้อมค่าขนส่ง จำนวน 3 ชุด
  • ปรับปรุงระบบโซลาเซลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา 3 จุดสกัด
  • จัดซื้อชุดโซลาเซลแบบพกพา จำนวน 1 ชุด
  • ค่าธรรมเนียมในการให้บริการเทใจดอทคอม 10% เป็นเงิน 7,798.80 บาท

รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 77,988 บาท

พร้อมทั้งสนับสนุนให้กับ หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 5 แห่ง ได้แก่

  1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ จำนวน 1 ชุด
  2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าขุนน้ำยม จังหวัดพะเยา ชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ จำนวน 1 ชุด
  3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท จ.ลำปาง ชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ จำนวน 1 ชุด
  4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา จ.ศรีสะเกษ ปรับปรุงระบบโซลาเซล จำนวน 3 จุดสกัด
  5. หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า ชุดโซลาเซลแบบพกพา จำนวน 1 ชุด

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 " ขอบคุณผู้สนับสนุนและฝ่ายแผนฯเป็นอย่างสูงครับ "

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์  ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้พิทักษ์ป่าในหน่วย
ที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
ที่อยู่ห่างไกล ทุรกันดาร และยังไม่มีไฟฟ้าใช้
จุดสกัด ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 5 แห่ง1. เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ผู้พิทักษ์ป่าในหน่วยที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง
ได้ใช้ในการปฏิบัติงานดูแลทรัพยากรป่าและสัตว์ป่า
และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันเฝ้าป่า รักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย
4. ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยดีขึ้น

รูปภาพกิจกรรม

Budget plan


รายละเอียดจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ พร้อมค่าขนส่ง
ชุดละประมาณ 13,000 บาท
30 แห่ง390,000

ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway 
ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า


39,000
รวม
429,000