cover_1

สร้างฝายแกนดินซีเมนต์ ต้านภัยแล้งแบบมีส่วนร่วมชุมชนต้นน้ำน่าน

มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนมูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน
Environment
Other

Donations for the project will นำไปก่อสร้างขยายฝายแกนดินซีเมนต์ to ชุมชนที่อยู่ใกล้ลำน้ำมวบ18ชุมชน

Period of time

Apr 10, 2024 - Aug 31, 2024

Location

ลำน้ำมวบ Amphoe Santi Suk, Nan

SDG Goals

NO POVERTYGOOD HEALTH AND WELL-BEINGCLEAN WATER AND SANITATIONCLIMATE ACTIONPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

Beneficiary groups of the project

Community
18แห่ง

ลำน้ำมวบจะประสบปัญหาแห้งขอดในหน้าแล้ง ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนจนถึงช่วงเดือนพฤษภาคม ทุกปีชาวบ้านช่วยกันนำกระสอบทรายมากั้นลำน้ำ พอถึงฤดูฝนน้ำหลากก็จะถูกน้ำพัดหายไปหมด ฝายแกนดินซีเมนต์จะช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนให้กับ 18 หมู่บ้าน 1,650 หลังคาเรือน

Social issues

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

พื้นที่ของจังหวัดน่านส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เขาสูงชัน การกักเก็บน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภคเพื่อการเกษตรเป็นไปได้ค่อนข้างยากลำบาก ดังนั้นการขาดแคลนน้ำจึงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนโดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง

อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ประกอบด้วยพื้นที่ 3 ตำบล มีประชากรราว 15,681 คน มี “ลำน้ำมวบ” ไหลผ่าน ซึ่งน้ำจะไหลลงที่ลำน้ำยาวและไหลลงไปยังแม่น้ำน่าน ลำน้ำมวบจึงนับว่าเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่ชาวบ้านทั้ง 3 ตำบล 18 หมู่บ้านใช้ประโยชน์จากลำน้ำแห่งนี้ในการดำรงชีวิต ผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน รวมถึงการทำการเกษตร 

ลำน้ำมวบจะประสบปัญหาแห้งขอดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนจนถึงช่วงหน้าแล้ง ทุกปีชาวบ้านจะช่วยกันบรรจุกระสอบทรายมากั้นลำน้ำ แต่พอถึงฤดูฝนน้ำหลากก็จะถูกน้ำพัดหายไปหมด และของบประมาณมาซื้อกระสอบทราย กระสอบปุ๋ยเป็นประจำทุกปี บางปีที่แล้งมากๆ น้ำไม่พอใช้ต้องมีการเปิดปิดน้ำเป็นช่วงเวลา หน่วยงานท้องถิ่นต้องใช้รถขนน้ำไปให้บริการตามหมู่บ้าน

มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนวัดโป่งคำ ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ มีแผนก่อสร้างขยายฝายแกนดินซีเมนต์ในพื้นที่ลำน้ำมวบกระจายในทุกตำบล จำนวน 4 จุด ได้แก่

  • จุดที่ 1 บ้านห้วยแฮ้ว ตำบลพงษ์
  • จุดที่ 2 บ้านโป่งคำ ตำบลดู่พงษ์
  • จุดที่ 3 บ้านน้ำโซ้ง ตำบลดู่พงษ์
  • จุดที่ 4 บ้านป่าอ้อย ตำบลป่าแลวหลวง

การสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์จึงเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำได้เป็นอย่างดี จะช่วยยกระดับน้ำใต้ดินให้สูงขึ้น สระเก็บน้ำที่อยู่บริเวณใกล้เคียงมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น เกษตรกรทั้งสองฟากฝั่งได้อาศัยน้ำในการทำการเกษตร พื้นดินยังมีความชุ่มชื้น ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ และเป็นต้นทุนน้ำดิบหล่อเลี้ยงชีวิตให้ชุมชน มีความแข็งแรงทนทาน อีกทั้งยังมีราคาถูกใช้ต้นทุนในการก่อสร้างต่ำ สามารถสร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ระยะเวลาเพียง 5 – 15 วัน และมีประสิทธิภาพในการชะลอและเก็บกักน้ำได้เป็นอย่างดี คนในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการก่อสร้าง และซ่อมแซมได้ด้วยตัวเอง เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น 

ตัวอย่างความสำเร็จ: ฝายแกนดินซีเมนต์วัดโป่งคำ

ฝายแกนดินซีเมนต์วัดโป่งคำ ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จช่วงกลางเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ CSR จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวมทั้งได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรในการก่อสร้างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลดู่พงษ์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยมีนายช่างผู้ชำนาญงานจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่เข้ามาให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการสร้างฝาย ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้การประสานการดำเนินงานของพระครูสุจิณนันทกิจ เจ้าอาวาสวัดโป่งคำ และนายอำเภอสันติสุข ตลอดจนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นทั้งแรงงานและกำลังในด้านเสบียงอาหาร

ฝายแกนดินซีเมนต์ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องบ้านโป่งคำนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ มีน้ำเอ่อขึ้นไปถึง 500 เมตร ชาวบ้านได้ประโยชน์ 300 ครัวเรือน เป็นพื้นที่ 500 กว่าไร่ พื้นที่มีความชุ่มชื้นกลับมา สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรหลังฤดูทำนาได้ ลดปัญหาการขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง เมื่อถึงฤดูน้ำหลากฝายจะจมน้ำ สามารถนำไปเป็นโมเดลในการสร้างฝายอื่นๆ ในลำน้ำสาขาหลักของจังหวัดน่านต่อไป  

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. สร้างความเข้าใจชุมชนและกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ ทำประชาคม ดำเนินกิจกรรม (ปัจจุบันได้ดำเนินการประชาคมหมู่บ้านครบทั้ง 4 พื้นที่เรียบร้อยแล้ว) 
  2. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการขออนุญาตก่อสร้างและประสานงานขอสนับสนุนงบประมาณ (ทางมูลนิธิฯ ได้จัดทำหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์สนับสนุนเครื่องจักรกลในการก่อสร้างไปยังทั้ง 3 อบต. เรียบร้อยแล้ว)
  3. ดำเนินการกิจกรรมตามแผนงานดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้เวลาก่อสร้าง ประมาณ 7-10 วัน ต่อฝาย
    - งานเครื่องจักรกล : ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน และองค์การบริหารส่วนตำบลดู่พงษ์ ตำบลพงษ์ ตำบลป่าแลวหลวง
    - แรงงาน : ประชาชนในพื้นที่ร่วมดำเนินการ
  4. จัดตั้งคณะกรรมการและกองทุนดูแลบำรุงรักษาฝาย

เราเชื่อว่าหากเกิดฝายแกนดินซีเมนต์จะทำให้ลดความขาดแคลนน้ำของชาวบ้านกว่า 1,650 ครัวเรือน และส่งผลให้ชาวบ้านทำการเกษตรได้และที่สำคัญทำให้ พื้นที่ต้นน้ำมีความชุ่มชื้นกลับมา เพิ่มพื้นที่สีเขียวมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ลดปัญหาหมอกควันและไฟป่าและ ลดปัญหาน้ำท่วมในตัวเมืองน่าน

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน วัดโป่งคำ อ.สันติสุข จ.น่าน

Approaches to addressing issues

  1. ระดมทุนก่อสร้างขยายฝายแกนดินซีเมนต์ในพื้นที่ลำน้ำมวบ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในลำน้ำ ให้ชาวบ้านมีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคตลอดปี ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำการเกษตรได้มากขึ้น และลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

  2. พื้นที่ต้นน้ำมีความชุ่มชื้นกลับมา เพิ่มพื้นที่สีเขียวมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ลดปัญหาหมอกควันและไฟป่า และลดปัญหาน้ำท่วมในตัวเมืองน่าน

Operational Plan

  1. ดำเนินการกิจกรรมตามแผนงานดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้เวลาก่อสร้าง ประมาณ 7-10 วัน ต่อฝาย

  2. จัดตั้งคณะกรรมการและกองทุนดูแลบำรุงรักษาฝาย

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก สูตรไฮบริด

2,840ถุง472,600.00
ท่อ PVC ชั้น 13.5 ขนาด 6"

12ท่อน16,380.00
ข้องอ 90 PVC ขนาด 6"

4ตัว1,120.00
กาวประสานท่อ ขนาด 500 กรัม

4กระป๋อง1,200.00
แผ่นใยสังเคราะห์

เบอร์ 400 ก./ตารางเมตร (x10 ชั้น)

2,840ตารางเมตร299,200.00
เหล็กข้ออ้อย SD40 12 มม. 10 ม.

212เส้น49,460.00
ทรายละเอียด

10คิว14,040.00
น้ำมันเชื้อเพลิง

รถเทเลอร์ 1 คัน, รถขุดตักตีนตะขาบ 3 คัน, รถบรรทุก 1 คัน

4,800ลิตร146,000.00
Total Amount1,000,000.00
Taejai support fee (10%)100,000.00
Total amount raised
1,100,000.00

Project manager

มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน

มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon