cover_1

โปลิศน้อย หุ่นยนต์ที่ปรึกษาเพื่อผู้หญิง

DTACDTAC
Youth
Eldery

Donations for the project will นำไปพัฒนาระบบโปลิศน้อย to กลุ่มผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรง1กลุ่ม

project succeeded
Successfully

Period of time

May 20, 2018 - Sep 30, 2018

Location

Nationwide in Thailand

SDG Goals

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGINDUSTRY, INNOVATION AND INFRASTRUCTUREPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

Beneficiary groups of the project

กลุ่มผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรง
1กลุ่ม

1 ใน 3 ของผู้หญิงและ 1 ใน 4 ของชายไทย ยังตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศและร่างกาย ร่วมช่วยเหลือผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว

Social issues

1 ใน 3 ของผู้หญิงและ 1 ใน 4 ของชายไทย
ยังตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศและร่างกาย
แล้วทำไมพวกเขาจึงไม่กล้าแจ้งความ...

ข่าวความรุนแรงที่มีต่อผู้หญิงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน จากข่าวหนังสือพิมพ์ในปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีคดีเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวถึง 466 คดี และคดีที่ถึงขั้นเสียชีวิตคิดเป็น 83% ของทั้งหมด ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงยังพบอีกว่า แต่ละปีมีผู้หญิงถูกข่มขืนไม่น้อยกว่า 30,000 ราย แต่มีเพียง 4,000 รายที่ตัดสินใจเข้าแจ้งความ นอกจากนี้ยังมีความรุนแรงอีกหลากหลายรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากคนใกล้ชิด

สถิติฆ่ากันตายในครอบครัวในประเทศไทย มีมากกว่า 200 ครั้ง/ ปี และผู้หญิงที่ถูกคนรักใช้ความรุนแรง 16% รวมถึงมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า

ทว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิงและ 1 ใน 4 ของชายไทย ยังตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศและร่างกาย แล้วทำไมพวกเขาจึงไม่กล้าแจ้งความ...

การทำงานของแชทบอทโปลิศน้อย

แชทบอทโปลิศน้อย (AI Chat Bot) คือ เครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยลดความรุนแรงต่อผู้ถูกกระทำทุกเพศ ทุกวัย ทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย เป็นสื่อกลางที่ช่วยเปิดพื้นที่ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการให้คำปรึกษาด้านกฏหมาย ข้อมูลและความช่วยเหลือต่างๆ เคียงข้างผู้ถูกกระทำ เพื่อลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ทำให้ผู้ถูกกระทำสามารถพูดคุย และขอข้อมูลถึงทางออกด้านกฎหมาย สิทธิทางสังคม สวัสดิภาพ รวมทั้งการบำบัดและเยียวยาบาดแผลใจโดยไม่ต้องปิดบังและอับอายอีกต่อไป ด้วยการปรึกษาผ่านโซเชียลมีเดีย อย่าง LINE และ Facebook Messenger

แชทบอทโปลิศน้อยจะถูกติดตั้งเข้าไปใน LINE และ Facebook โดยใช้เทคโนโลยี AI Chatbot ที่สามารถโต้ตอบด้วยภาษามนุษย์ ทำให้ผู้ประสบปัญหาสามารถเข้าไปพูดคุย ซักถามเป็นการส่วนตัวได้ โดยแชทบอทโปลิศน้อยจะสามารถตอบคำถาม พร้อมกับเสนอคำแนะนำและทางเลือกต่างๆ ให้ เช่น การแจ้งความ ข้อกฏหมาย การขอที่พักชั่วคราว เป็นต้น ซึ่งโครงการนี้เป็นการร่วมมือระหว่างตำรวจ กลุ่มเครือข่ายที่ทำงานด้านผู้หญิงและเด็ก และผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์

เป้าหมาย

  1. เพื่อสร้างช่องทางการช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ให้มีความรู้ในการป้องกันตนเอง การขอความช่วยเหลือ และการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
  2. เพื่อสร้างวิธีการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ กับเหยื่อและการจัดเก็บข้อมูลของเหยื่อ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. พัฒนาโปรแกรมที่สามารถให้ข้อมูลแก่ผู้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว โดยจะใช้เทคโนโลยี AI Chatbot ที่จะสามารถสื่อสารโต้ตอบกับเหยื่อได้ทันที
  2. ทำการศึกษาความต้องการ รูปแบบการใช้ประโยชน์ ฯลฯ ในกลุ่มเป้าหมาย โดยนำโปรแกรม AI Chatbot นี้ไปเปิดใช้การใน LINE@ และนำผลการศึกษานี้ไปพัฒนาโปรแกรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่อไป

**บริจาค 2,000 บาท ขึ้นไป รับสิทธิ dtac reward (เฉพาะลูกค้าดีแทคเท่านั้น)**

เจ้าของโครงการ

พ.ต.ท.หญิง เพรียบพร้อม เมฆิยานนท์
สารวัตร กลุ่มงานส่งเสริมงานสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

องค์กรที่ร่วมสนับสนุน

   

Approaches to addressing issues

  1. ระดมทุนเพื่อพัฒนาระบบและทำการทดสอบโปรแกรมโปลิศน้อยกับผู้ใช้งานจริง ทำให้ระบบสามารถโต้ตอบ ช่วยเหลือ และให้ข้อมูลแก่ผู้ถูกกระทำได้อย่างถูกต้อง ร่วมสร้างโปลิศน้อย หุ่นยนต์ที่ปรึกษาเพื่อผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อ อีกหนึ่งช่องทางเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงทุกรูปแบบ

Operational Plan

  1. สัปดาห์ที่ 1-2 การวางแผนโครงการ กำหนดแผนในการใช้ทรัพยากรและระยะเวลาในการดำเนินโครงการ รวมไปถึงแผนการพัฒนาโปรแกรม ผลลัพท์ที่จะได้และการตรวจสอบความถูกต้องในแต่ละระยะการพัฒนา ระยะเวลาในการวางแผนโครงการ

  2. สัปดาห์ที่ 1-4 พัฒนาโปรแกรม

  3. สัปดาห์ที่ 3-10 จัดเก็บข้อมูล

  4. สัปดาห์ที่ 7-10 นำ prototype ไปทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่าง

  5. สัปดาห์ที่ 11 ประเมินผลการทดลองใช้โปรแกรม โดยการจัด public forum ให้แก่กลุ่มที่ทำงานด้านเด็กและสตรี

  6. สัปดาห์ที่ 12-14 ปรับปรุงพัฒนาโปรแกรมหลังจากได้รับ feedback จาก public forum

  7. สัปดาห์ที่ 15-17 ประเมินผล

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
ค่าดำเนินการพัฒนาโปรแกรม และการเก็บข้อมูล

เช่น การลงพื้นที่สัมภาษณ์เจ้าพนักงานและกลุ่มเป้าหมาย

2สัปดาห์20,000.00
ค่า packgage LINE@

Platform สำหรับการใช้โปรแกรม

1ครั้ง23,975.00
ค่าประชาสัมพันธ์โปรแกรม

1ครั้ง14,025.00
จัด public forum

เพื่อประเมินผล และรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มเป้าหมายหลังจากการทดลองใช้โปรแกรม

1สัปดาห์30,000.00
ค่าเดินทางสำหรับนักพัฒนาโปรแกรม และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ

1ครั้ง32,000.00
Total Amount120,000.00
Taejai support fee (10%)12,000.00
Total amount raised
132,000.00

Project manager

DTAC

DTAC

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon