project เด็กและเยาวชน

MIGRANTS LEARNING CENTER

Education scholarship for foreign workers’ children – 400 baht that change life

Duration 1 year Area Khanom, Nakhon Si Thammarat province

Current donation amount

89,940 THB

Target

132,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 68%
จำนวนผู้บริจาค 53

สำเร็จแล้ว

Project updates

จัด 10 กิจกรรม ให้ความรู้สิทธิมนุษยชน และสุขภาวะ แก่เด็กและผู้ปกครอง

20 July 2020

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ มูลนิธิฯ จึงขอปรับแผนการใช้เงินเป็นการจัดกิจกรรม 10 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 เวทีประชุมสร้างความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ และแนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติในชุมชน เมื่อวันที่ 30 – 31 มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ ห้องประชุมรู้รักสามัคคี ที่ว่าการอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ : แกนนำอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติในพื้นที่อำเภอขนอม จำนวน 45 คน โดยมีการจัดการประชุม 2 วัน คือวันที่ 30 มกราคม 2563 เป็นการประชุม เพื่อวางแผนและเตรียมงานประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 16 คน และวันที่ 31 มกราคม 2563 มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กและแกนนำอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งสิ้น 32 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : ผู้เข้าร่วมมาจากหน่วยงานทั้งฝ่ายการศึกษา โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก กศน. ฝ่ายงานด้านการปกครอง ผู้บังคับใช้กฎหมาย ฝ่ายงานบริการด้านสุขภาพ โรงพยาบาล ผู้ประกอบการแพปลา สมาคมประมงอำเภอขนอม ได้ทำความเข้าใจถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติร่วมกัน และได้รับรู้ถึงภาระกิจงานของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ ทำให้เห็นถึงช่องทางการหนุนเสริม ที่แต่ละหน่วยงานจะให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ และการจัดการหลักสูตรการเรียนการสอน ทักษะชีวิตและการรับรองวุฒิบัตรเมื่อเรียนจบ ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองสนับสนุนให้เด็กได้เรียนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความร่วมมือในการส่งต่อเด็กที่มีความต้องการเข้าสู่การเรียนในระบบ และนอกระบบซึ่งทาง กศน.อำเภอขนอมได้นำหลักสูตรการเรียนการสอนและทักษะชีวิตที่มีอยู่มาพัฒนาให้เข้ากับบริบทและวิถีชีวิตของเด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ ในเวทีมีข้อเสนอถึงการจัดเวทีพูดคุยเพื่อหาความร่วมมือในเรื่องการศึกษาเด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะร่วมกัน เพื่อจะได้ลงรายละเอียดในการทำงานให้ชัดเจนขึ้น รวมถึงการเสนอให้จัดทำข้อมูลData base เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลก่อนเริ่มโครงการ จะได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงว่าจะเป็นอย่างไร เพื่อเป็นบทเรียนและรูปแบบการทำงานในอำเภอขนอม (ขนอมโมเดล) ในส่วนของผู้ปกครองและอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ ที่เข้าร่วมประชุม มีความพึงพอใจและมีความหวัง พลังใจในการที่จะขับเคลื่อนงานศูนย์เด็กฯ โดยมีภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้การสนับสนุน การประชุมร่วมกันทำให้ทุกฝ่ายได้รับฟังเสียงและความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นการลดช่องว่างในการเชื่อมต่องานกับภาคีเครือข่าย และทำให้ผู้เข้าร่วมได้ทำความรู้จักกันและมีสัมพันธภาพอันดีต่อกัน จะช่วยเอื้อต่อการประสานงานในการดำเนินงานโครงการได้ดีต่อไปในอนาคต

กิจกรรมที่ 2 ประสานและประชุมหารือเรื่องการศึกษาศูนย์การเรียนฯ กับผู้ปกครองแกนนำแรงงานข้ามชาติ เมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : พ่อแม่ผู้ปกครอง อาสาสมัคร โดยวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ผู้เข้าร่วม 13 คน และวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ผู้เข้าร่วม 13 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : ผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัครเกิดการร่วมกลุ่มปรึกษาหารือร่วมกันถึงแนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติใน 3 เรื่อง คือ

  1. การสร้างความตระหนักให้กับผู้ปกครองในเรื่องการศึกษาลูกหลานแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะเห็นความสำคัญถึงอนาคตของเด็ก เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติในชุมชนที่ไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาทั้งในและนอกระบบ มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นแรงงานเด็ก และอยู่เพียงลำพังในบ้านพักที่ไม่ปลอดภัย จะต้องทำการประชาสัมพันธ์ผ่านผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัครเพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องการศึกษาและส่งลูกหลานเข้ามาเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กข้ามชาติ ที่สอนโดยครูเมียนมาร์และได้เรียนตามแบบเรียนของการศึกษาของเมียนมาร์ แม้จะยังไม่มีวุฒิบัตรรับรองแต่การส่งลูกหลานเข้ามาเรียนก็จะทำให้เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้ในภาษาของตนเองได้
  2. การทำความเข้าใจกับผู้ปกครองที่ส่งลูกเรียนในระบบการศึกษาของไทย ให้เห็นความสำคัญของภาษาของตนเอง หากต้องกลับไปอยู่ที่ประเทศต้นทาง แต่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ในภาษาของตนเอง เด็กจะใช้ชีวิตอยู่บนความยากลำบาก เพื่อให้ผู้ปกครองส่งลูกมาเรียนภาษาพม่าที่ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติอำเภอขนอมในช่วงปิดภาคเรียนเดือนเมษายน หรือแม้หากเด็กต้องออกจากระบบโรงเรียนของไทย ซึ่งอาจมีปัจจัยมากมายที่ไม่เอื้อให้พวกเขาไปต่อได้ เด็กก็จะมีทางเลือกทางการศึกษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพวกเขาได้ในอนาคต
  3. การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ฯ และการระดมทุนให้ศูนย์ฯ ยังคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน จะทำอย่างไร ซึ่งผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัครยังขาดทักษะและวิธีการที่จะปฏิบัติ จึงเสนอความต้องการที่จะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาถึงวิธีการของศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติอื่นๆ ที่สามารถจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติได้ เพื่อที่จะนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทในชุมชนอำเภอขนอม

กิจกรรมที่ 3 การศึกษาดูงานรูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 โดยได้ดูงาน 2 แห่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติวัดโพหวาย ตำบลบางกุ้งและศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติวัดสมหวัง ตำบลวัดประดู่

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : ผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัคร จำนวน 10 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : สรุปการศึกษาดูงานทั้ง 2 แห่ง ความคิดเห็นของผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัคร มองว่าศูนย์การเรียนฯ วัดโพหวายจะมีต้นทุนและความช่วยเหลือจากคนที่มีกำลังและมีเครดิตทางสังคมค่อนข้างมาก ซึ่งห่างไกลจากศูนย์การเรียนฯ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ให้ความสนใจศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติวัดสมหวังมาก เพราะมีบริบทใกล้เคียงกัน ทำให้ผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัครรู้สึกมีพลังใจและมีความหวังที่จะนำแนวทางของศูนย์ฯวัดสมหวังมาลองปรับใช้ในพื้นที่ โดยมีแผนในเรื่องการเก็บข้อมูลความต้องการด้านการศึกษาของผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติ และการประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติอำเภอขนอมให้เป็นที่รู้จักในชุมชน โดยอยากให้ทางเจ้าหน้าที่โครงการฯมูลนิธิรักษ์ไทยหนุนเสริมในเรื่องทักษะต่างๆ ทั้งเรื่องวิธีการเก็บข้อมูล การวางแผนประชาสัมพันธ์กับผู้ปกครองเพื่อให้ส่งเด็กมาเรียน และทักษะการระดมทุน รวมถึงในเรื่องการบริหารจัดการในเรื่องการเงิน รวมถึงการผลักดันให้เด็กและครูไปสอบวัดระดับการศึกษาที่ประเทศต้นทาง และจะได้รับวุฒิบัตรเมื่อเรียนจบ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะจูงใจให้ผู้ปกครองอยากส่งลูกหลานมาเรียน และในเรื่องการอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและครูผู้สอนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้ปกครองและชุมชนเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นในศูนย์การเรียนฯแห่งนี้ และต้องสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากยิ่งขึ้นเช่นกัน

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประชุมหารือเรื่องการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จัดขึ้นในวันที่ 13-14 เมษายน พ.ศ.2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : ผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ วันที่ 13 เมษายน ผู้เข้าร่วม 11 คน และวันที่ 14 เมษายน ผู้เข้าร่วม 8 คน ซึ่งมีคนเก่า 5 คน และคนใหม่ที่เข้ามาร่วมประชุม 6 คน และเจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทย 2 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : ร่วมกันกำหนดทิศทางในการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงหาแนวทางการป้องกันการติดเชื้อฯและหาแนวทางการแก้ไขต่างๆ ร่วมกันในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินนี้

กิจกรรมที่ 5 อบรมทักษะชีวิตเด็ก สิทธิเด็ก สำหรับเด็กข้ามชาติในชุมชน ในวันที่ 15-16 เมษายน พ.ศ.2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : เด็กผู้ติดตามแรงงานช้ามชาติ จำนวน 32 คน เป็นชาย 17 คน หญิง 15 คน โดยอบรมในศูนย์การเรียนฯ เด็กข้ามชาติที่มีเด็กมารวมตัวกัน แต่เน้นการเว้นระยะห่างในช่วงอบรม

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติมีความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพ และมีความรู้และการป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่ถูกต้อง รวมถึงได้รับรู้ถึงสิทธิเด็กขั้นพื้นฐานที่ตนเอง มีทั้งรายเก่าและรายใหม่ ในส่วนของรายเก่าจะทำการทบทวนข้อมูลความรู้ที่เคยผ่านการอบรม และให้ความรู้กับรายใหม่ให้มีความเข้าใจและตระหนักถึงการป้องกัน เพราะยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่เว้นระยะห่าง

กิจกรรมที่ 6 โมบายความรู้เคลื่อนที่อบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักในเรื่องสุขภาวะสำหรับผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติ ในวันที่ 18-20 เมษายน พ.ศ.2563 ที่ห้องพักแพปลาในอำเภอขนอม

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : จำนวน 58 คน เป็นชาย 24 คน เป็นหญิง 34 คน เป็นแรงงานข้ามชาติ 49 คน เป็นคนไทย 7 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : ผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติและคนไทยในชุมชนยังเข้าไม่ถึงข้อมูลความรู้ในเรื่องโควิด-19 ได้ชัดเจน รู้แต่ว่ามีการระบาด แต่ก็ยังใช้ชีวิตปกติ หลายคนจะใส่หน้ากากอนามัยเฉพาะเวลาออกจากบ้านเพราะกลัวถูกตำรวจจับ ไม่ได้กลัวติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และยังไม่รู้วิธีการล้างมือที่ถูกต้อง หลายคนยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่เว้นระยะห่าง เนื่องจากสื่อต่างๆ ที่ประกาศให้เฝ้าระวังหรือการป้องกันไม่มีภาษาแรงงานข้ามชาติ พม่า มอญ การจัดกิจกรรมให้ความรู้โดยใช้สื่อที่เป็นภาษาพม่าและมีล่ามช่วยแปลภาษาเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ทำให้แรงงานข้ามชาติมีข้อมูลและทักษะในการป้องกันเพิ่มมากขึ้น เริ่มให้ความสนใจในเรื่องการป้องกันไวรัสโควิด-19 เพราะเป็นสถานการณ์ที่ทุกคนต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด รวมถึงได้มีการแจกหน้ากากผ้า สบู่ ที่ได้รับจากโครงการ นธส.และผู้บริจาคต่างๆ ทำให้แรงงานมีความพึงพอใจมาก เพราะหน้ากากแพงและมีแค่คนละ 1 ชิ้น โดยแกนนำอาสาสมัครเด็กเป็นผู้ช่วยในการอบรมในครั้งนี้ ช่วยให้ข้อมูลเรื่องโควิด-19 ร่วมกัน และให้ข้อมูลการล้างมือและการใช้ผ้าปิดปากได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่ 7 โมบายความรู้เคลื่อนที่ทักษะชีวิตเด็ก สิทธิเด็ก สำหรับเด็กข้ามชาติในชุมชน ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ณ ชุมชนที่พักแรงงานข้ามชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในช่วงCOVID-19 และสิทธิเด็กขั้นพื้นฐาน

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติจำนวน 20 คน เป็นชาย 15 คน เป็นหญิง 5 คน อบรมตามแพห้องพักของเด็กๆ แบบกลุ่มย่อย เนื่องจากสถานการณ์โควิด ลดความเสี่ยงในการรวมตัว

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : ให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันCOVID-19 โดยเฉพาะการป้องกันที่ง่ายและประหยัดที่สุดคือการล้างมือ และการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ให้เด็กๆ มีความตระหนักและให้ความสำคัญไม่ประมาท เพราะเด็กๆ ส่วนใหญ่ในชุมชนยังเล่นกันเป็นกลุ่มไม่เว้นระยะห่าง เนื่องจากความเป็นเด็กและผู้ใหญ่เองก็เห็นว่าสถานการณ์เบาบางลง จึงไม่ให้ความสำคัญมากนัก การอบรมในครั้งนี้จึงเป็นการกระตุ้นเตือนให้เด็กๆ มีความระมัดระวังปกป้องตนเอง การสวมใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ และการเว้นระยะห่าง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาวะ อีกทั้งเชื่อมโยงในการชวนคุยในเรื่องสิทธิเด็ก โดยเฉพาะสิทธิในด้านสุขภาพ หากเกิดเจ็บป่วยไม่สบายจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และเข้าสู่กระบวนการรักษาสถานบริการโรงพยาบาลตามสิทธิอย่างไร เพราะสิทธิด้านสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องได้รับอย่างเท่าเทียมกัน

กิจกรรมที่ 8 อบรมความรู้ทักษะชีวิตเด็ก สุขภาวะ ในศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติสำหรับเด็กข้ามชาติ

ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในช่วงCOVID-19 การล้างมือที่ถูกวิธีเพื่อป้องกันCOVID-19 และสิทธิเด็กขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะสิทธิด้านสุขภาพ

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติจำนวน 20 คน เป็นชาย 10 คน เป็นหญิง 10 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : การจัดกิจกรรมอบรมในศูนย์การเรียนฯ เป็นการจัดกิจกรรมที่สืบเนื่องจากวันนี้คุณครูได้นัดเด็กมาพบกันเพื่อเข้ามาแลกเปลี่ยนสถานการณ์COVID-19 ที่ผ่านมา เป็นการติดตามเด็กไปด้วย เพื่อไม่ให้เด็กหายไปจากระบบการเรียนของศูนย์ เพราะโรงเรียนได้ปิดตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน และถือโอกาสมาทบทวนการเรียนกัน ซึ่งเด็กที่เข้ามาร่วมมีทั้งเด็กที่ปัจจุบันกำลังเรียนอยู่ในศูนย์ฯ และเด็กที่เคยเรียนและออกไปเรียนต่อในระบบ รวมถึงเด็กที่อยู่บ้านไม่ได้เรียน แต่ช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กทุกคนอยู่บ้าน ปิดภาคเรียน เมื่อมีกิจกรรมที่ศูนย์ฯ จึงเข้ามาร่วมกิจกรรม จึงทำให้วันนี้เด็กๆ มีความสุขที่ได้พบเพื่อนเก่าๆ ที่เคยเรียนด้วยกัน รวมถึงวันนี้ทางมูลนิธิรักษ์ไทยได้จัดกิจกรรมอบรมร่วมด้วย และที่เด็กๆ ชอบที่สุดคือกิจกรรมช่วยกันกรอกแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือใส่ขวดและทุกคนได้รับกลับไปใช้ที่บ้าน ทำให้รู้สึกดีใจที่ได้รับของที่ทำด้วยมือของตนเองไปใช้เอง อีกทั้งยังมีทีมสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้เข้าไปถ่ายทำคลิปวีดีโอและสัมภาษณ์เด็กๆ เครือข่ายคนทำงานเยาวชนโครงการ สสส.เข้ามาเยี่ยมเยือนเด็กๆ จึงทำให้กิจกรรมวันนี้คึกคักมาก เด็กๆ ตื่นเต้นและสนุกในการทำกิจกรรม มีเด็กหลายคนมีความเปลี่ยนแปลงจากที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจไม่กล้า

กิจกรรมที่ 9 โมบายความรู้เคลื่อนที่อบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักในเรื่องสุขภาวะสำหรับผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติ ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ณ ห้องพักแพปลาในอำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช

ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ : ผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ จำนวน 22 คน เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 19 คน มีรายเก่าที่เคยผ่านการอบรมCOVID-19 แล้ว 3 ราย และรายใหม่ 19 ราย

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : แรงงานข้ามชาติได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันที่ถูกต้องในเรื่องการป้องกันโควิด-19 รู้ถึงสิทธิสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ โดยใช้สื่อที่เป็นภาษาพม่าและมีล่ามช่วยแปลภาษาเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ทำให้แรงงานข้ามชาติมีข้อมูลและทักษะในการป้องกันเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการลงพื้นที่โมบายให้ความรู้ตามที่พักแรงงานข้ามชาติ ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี ได้โอกาสในการคุยในเรื่องของการจัดการเรียนรู้ของเด็กข้ามชาติลูกหลานของพวกเขา ทำให้ผู้ปกครองบางรายที่ยังไม่นำลูกเข้าสู่ระบบการศึกษาเกิดความต้องการให้ลูกได้เรียน จึงทำให้เห็นว่าการสร้างความไว้วางใจก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองจะส่งลูกเข้าเรียนที่ศูนย์การเรียนฯ ได้

กิจกรรมที่ 10 อบรมทักษะชีวิตเด็กในเรื่องสุขภาวะ อนามัยเจริญพันธ์ การปกป้องตนเองไม่ตกเป็นเหยื่อหรือถูกละเมิด ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ได้รับผลประโยชน์: เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติจำนวน 22 คน เป็นชาย 14 คน เป็นหญิง 8 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง: เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอนามัยเจริญพันธ์ ทักษะการปกป้องตนเองไม่ตกเป็นเหยื่อหรือถูกละเมิด ไม่ให้ถูกอนาจารหรือความรุนแรงทางเพศทั้งผู้ชายและผู้หญิง เนื่องจากเด็กๆ หลายคนเริ่มเข้าสู่วัยที่เกิดสัญญานของการเป็นหนุ่มเป็นสาว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพทางเพศทางสรีระที่ถูกต้อง สุขอนามัยความสะอาด และการท้องไม่พร้อม

สัมภาษณ์เด็กที่ได้รับประโยชน์


ดช.วันทา(น้องสามสิบ)
อายุ 14 ปี

น้องสามสิบเคยเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ตอนอายุ 9-12 ปี และปัจจุบันได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดกระดังงา อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโรงเรียนของภาครัฐ แต่เขาจะแวะเวียนมาที่ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติเกือบทุกวัน และไม่เคยพลาดทุกกิจกรรมที่มูลนิธิรักษ์ไทยจัด

คำถาม : อะไรที่ทำให้รู้ประทับใจกับศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติแห่งนี้ ?

น้องสามสิบ : ที่นี่มีเพื่อนๆ ที่พูดภาษาเดียวกัน ได้ทำกิจกรรมด้วยกัน สนุกดี กลับจากโรงเรียนหนูก็มารดน้ำต้นไม้ให้ศูนย์ฯเกือบทุกวัน บ้านอยู่ใกล้ด้วย เดินมาได้ปลอดภัย เวลาพี่ๆรักษ์ไทยมาทำกิจกรรมอะไรก็อยากมาร่วม บางทีเวลาพี่เขามาทำกิจกรรมหรือมาอบรมให้ความรู้ที่ศูนย์ฯ ก็ให้หนูช่วยเป็นล่ามให้ด้วย เพราะน้องๆ บางคนฟังภาษาไทยไม่รู้เรื่อง

คำถาม : รู้สึกอย่างไรเมื่อต้องช่วยพี่เขาเป็นล่ามแปลภาษา?

น้องสามสิบ : หนูชอบ สนุกดี และก็ภูมิใจ ได้ความรู้ในสิ่งที่พี่เขาอบรมให้น้องๆ มากขึ้นด้วย อยากทำอีก เวลาพี่ๆ รักษ์ไทยมา ถ้าหนูอยู่หนูก็จะมาที่ศูนย์ฯ ทุกครั้ง มาช่วยทุกอย่างที่ทำได้

คำถาม : รู้สึกว่าเราโชคดีไหมที่พูดได้และอ่านได้หลายภาษา?

น้องสามสิบ : ก็โชคดีนะที่เคยได้เข้ามาเรียนที่ศูนย์นี้ด้วย ตอนนี้หนูพูดได้ 3 ภาษาเลยนะ ภาษามอญ ภาษาพม่า และภาษาไทย ดีใจที่มีโอกาสได้เข้ามาเรียนที่ศูนย์เด็กข้ามชาติฯ ทำให้ตนเองได้อ่านภาษาพม่าได้ และตอนที่เรียนที่ศูนย์เด็กข้ามชาติได้มีครูจาก กศน.อำเภอขนอม มาสอนภาษาไทยพื้นฐาน ก-ฮ ด้วย จึงมีพื้นฐานเมื่อได้มีโอกาสเข้าเรียนที่โรงเรียนไทย

คำถาม : อยากบอกอะไรไหม?

น้องสามสิบ : อยากขอบคุณมูลนิธิรักษ์ไทยที่ทำให้มีศูนย์เด็กข้ามชาติแบบนี้ใกล้บ้าน ทำให้เด็กๆ อย่างพวกหนูได้มีพื้นที่ปลอดภัย ได้เรียน ได้เล่น ได้ทำกิจกรรมสนุกๆ มากมาย อยากให้เปิดศูนย์ฯ ตลอดไป น้องๆ คนอื่นจะได้มีโอกาสเหมือนหนูบ้าง

Read more »
See all project updates

Khanom is the northernmost district of Nakhon Si Thammarat province. It is a place with rich natural and marine resources which have been providing income to local fishermen for a long time.

Today there are more than 1,000 foreign workers in the area, many of them are illegal labors. A research study shows that foreign workers living in Khanom district came to Thailand with their families including babies and young children. There are currently about 200 children (new born – 18 years old) in the area. They are either traveled from their home country together with their parents or were born in Thailand. Raks Thai Foundation has initiated a Learning Center project for foreign worker’s children since 2005. In the beginning there were about 80 students, however, the number has decreased to just 25 students overtime due to financial problems of the parents, which inevitably forced the children to leave school and to enter the illegal job market.


Raks Thai Foundation's Learning Center, Nakhon Si Thammarat province is acting like a foster home for these children and help integrate back to the state’s education system when they are ready.


“I left my dream behind to support my other 2 siblings”

Yeesip was a student at Raks Thai Foundation's Learning Center in 2009. She believes that good education will give her better opportunities in life. She does not want to end up being a labor worker like her parents. Sadly reality is not as beautiful as a dream. Her father had a new family and her mother had passed away too soon. Yeesip at the age of 16 had to leave school and start working to support the other younger siblings; Samsip and Nam-oy. With Yeesip’s hardwork and additional support from aid organizations, today Nam-oy can go to school. However, the future of Yeesip and Samsip are unclear.  


Project’s purposes

1. To provide support to children of foreign workers in receiving standard education at local institutions 2. To provide shelter and safe-zone for children, to be the consultation and recreational center for the children 3. To act like an educational institution with a family-input content to provide life-skill knowledge and integration to new culture and social setting. 4. To raise awareness among private and public organizations about educational support needed for children of foreign workers

1. To provide support to children of foreign workers in receiving standard education at local institutions

2. To provide shelter and safe-zone for children, to be the consultation and recreational center for the children

3. To act like an educational institution with a family-input content to provide life-skill knowledge and integration to new culture and social setting.

4. To raise awareness among private and public organizations about educational support needed for children of foreign workers

“It is not beyond our power to create a world in which all children have access to a good education. Those who do not believe this have small imaginations.” -Nelson Mandela-

จัด 10 กิจกรรม ให้ความรู้สิทธิมนุษยชน และสุขภาวะ แก่เด็กและผู้ปกครอง

20 July 2020

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ มูลนิธิฯ จึงขอปรับแผนการใช้เงินเป็นการจัดกิจกรรม 10 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 เวทีประชุมสร้างความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ และแนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติในชุมชน เมื่อวันที่ 30 – 31 มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ ห้องประชุมรู้รักสามัคคี ที่ว่าการอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ : แกนนำอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติในพื้นที่อำเภอขนอม จำนวน 45 คน โดยมีการจัดการประชุม 2 วัน คือวันที่ 30 มกราคม 2563 เป็นการประชุม เพื่อวางแผนและเตรียมงานประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 16 คน และวันที่ 31 มกราคม 2563 มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กและแกนนำอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งสิ้น 32 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : ผู้เข้าร่วมมาจากหน่วยงานทั้งฝ่ายการศึกษา โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก กศน. ฝ่ายงานด้านการปกครอง ผู้บังคับใช้กฎหมาย ฝ่ายงานบริการด้านสุขภาพ โรงพยาบาล ผู้ประกอบการแพปลา สมาคมประมงอำเภอขนอม ได้ทำความเข้าใจถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติร่วมกัน และได้รับรู้ถึงภาระกิจงานของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ ทำให้เห็นถึงช่องทางการหนุนเสริม ที่แต่ละหน่วยงานจะให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ และการจัดการหลักสูตรการเรียนการสอน ทักษะชีวิตและการรับรองวุฒิบัตรเมื่อเรียนจบ ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองสนับสนุนให้เด็กได้เรียนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความร่วมมือในการส่งต่อเด็กที่มีความต้องการเข้าสู่การเรียนในระบบ และนอกระบบซึ่งทาง กศน.อำเภอขนอมได้นำหลักสูตรการเรียนการสอนและทักษะชีวิตที่มีอยู่มาพัฒนาให้เข้ากับบริบทและวิถีชีวิตของเด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ ในเวทีมีข้อเสนอถึงการจัดเวทีพูดคุยเพื่อหาความร่วมมือในเรื่องการศึกษาเด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะร่วมกัน เพื่อจะได้ลงรายละเอียดในการทำงานให้ชัดเจนขึ้น รวมถึงการเสนอให้จัดทำข้อมูลData base เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลก่อนเริ่มโครงการ จะได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงว่าจะเป็นอย่างไร เพื่อเป็นบทเรียนและรูปแบบการทำงานในอำเภอขนอม (ขนอมโมเดล) ในส่วนของผู้ปกครองและอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ ที่เข้าร่วมประชุม มีความพึงพอใจและมีความหวัง พลังใจในการที่จะขับเคลื่อนงานศูนย์เด็กฯ โดยมีภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้การสนับสนุน การประชุมร่วมกันทำให้ทุกฝ่ายได้รับฟังเสียงและความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นการลดช่องว่างในการเชื่อมต่องานกับภาคีเครือข่าย และทำให้ผู้เข้าร่วมได้ทำความรู้จักกันและมีสัมพันธภาพอันดีต่อกัน จะช่วยเอื้อต่อการประสานงานในการดำเนินงานโครงการได้ดีต่อไปในอนาคต

กิจกรรมที่ 2 ประสานและประชุมหารือเรื่องการศึกษาศูนย์การเรียนฯ กับผู้ปกครองแกนนำแรงงานข้ามชาติ เมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : พ่อแม่ผู้ปกครอง อาสาสมัคร โดยวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ผู้เข้าร่วม 13 คน และวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ผู้เข้าร่วม 13 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : ผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัครเกิดการร่วมกลุ่มปรึกษาหารือร่วมกันถึงแนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติใน 3 เรื่อง คือ

  1. การสร้างความตระหนักให้กับผู้ปกครองในเรื่องการศึกษาลูกหลานแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะเห็นความสำคัญถึงอนาคตของเด็ก เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติในชุมชนที่ไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาทั้งในและนอกระบบ มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นแรงงานเด็ก และอยู่เพียงลำพังในบ้านพักที่ไม่ปลอดภัย จะต้องทำการประชาสัมพันธ์ผ่านผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัครเพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องการศึกษาและส่งลูกหลานเข้ามาเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กข้ามชาติ ที่สอนโดยครูเมียนมาร์และได้เรียนตามแบบเรียนของการศึกษาของเมียนมาร์ แม้จะยังไม่มีวุฒิบัตรรับรองแต่การส่งลูกหลานเข้ามาเรียนก็จะทำให้เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้ในภาษาของตนเองได้
  2. การทำความเข้าใจกับผู้ปกครองที่ส่งลูกเรียนในระบบการศึกษาของไทย ให้เห็นความสำคัญของภาษาของตนเอง หากต้องกลับไปอยู่ที่ประเทศต้นทาง แต่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ในภาษาของตนเอง เด็กจะใช้ชีวิตอยู่บนความยากลำบาก เพื่อให้ผู้ปกครองส่งลูกมาเรียนภาษาพม่าที่ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติอำเภอขนอมในช่วงปิดภาคเรียนเดือนเมษายน หรือแม้หากเด็กต้องออกจากระบบโรงเรียนของไทย ซึ่งอาจมีปัจจัยมากมายที่ไม่เอื้อให้พวกเขาไปต่อได้ เด็กก็จะมีทางเลือกทางการศึกษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพวกเขาได้ในอนาคต
  3. การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ฯ และการระดมทุนให้ศูนย์ฯ ยังคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน จะทำอย่างไร ซึ่งผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัครยังขาดทักษะและวิธีการที่จะปฏิบัติ จึงเสนอความต้องการที่จะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาถึงวิธีการของศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติอื่นๆ ที่สามารถจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติได้ เพื่อที่จะนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทในชุมชนอำเภอขนอม

กิจกรรมที่ 3 การศึกษาดูงานรูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 โดยได้ดูงาน 2 แห่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติวัดโพหวาย ตำบลบางกุ้งและศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติวัดสมหวัง ตำบลวัดประดู่

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : ผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัคร จำนวน 10 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : สรุปการศึกษาดูงานทั้ง 2 แห่ง ความคิดเห็นของผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัคร มองว่าศูนย์การเรียนฯ วัดโพหวายจะมีต้นทุนและความช่วยเหลือจากคนที่มีกำลังและมีเครดิตทางสังคมค่อนข้างมาก ซึ่งห่างไกลจากศูนย์การเรียนฯ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ให้ความสนใจศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติวัดสมหวังมาก เพราะมีบริบทใกล้เคียงกัน ทำให้ผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัครรู้สึกมีพลังใจและมีความหวังที่จะนำแนวทางของศูนย์ฯวัดสมหวังมาลองปรับใช้ในพื้นที่ โดยมีแผนในเรื่องการเก็บข้อมูลความต้องการด้านการศึกษาของผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติ และการประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติอำเภอขนอมให้เป็นที่รู้จักในชุมชน โดยอยากให้ทางเจ้าหน้าที่โครงการฯมูลนิธิรักษ์ไทยหนุนเสริมในเรื่องทักษะต่างๆ ทั้งเรื่องวิธีการเก็บข้อมูล การวางแผนประชาสัมพันธ์กับผู้ปกครองเพื่อให้ส่งเด็กมาเรียน และทักษะการระดมทุน รวมถึงในเรื่องการบริหารจัดการในเรื่องการเงิน รวมถึงการผลักดันให้เด็กและครูไปสอบวัดระดับการศึกษาที่ประเทศต้นทาง และจะได้รับวุฒิบัตรเมื่อเรียนจบ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะจูงใจให้ผู้ปกครองอยากส่งลูกหลานมาเรียน และในเรื่องการอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและครูผู้สอนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้ปกครองและชุมชนเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นในศูนย์การเรียนฯแห่งนี้ และต้องสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากยิ่งขึ้นเช่นกัน

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประชุมหารือเรื่องการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จัดขึ้นในวันที่ 13-14 เมษายน พ.ศ.2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : ผู้ปกครองและแกนนำอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ วันที่ 13 เมษายน ผู้เข้าร่วม 11 คน และวันที่ 14 เมษายน ผู้เข้าร่วม 8 คน ซึ่งมีคนเก่า 5 คน และคนใหม่ที่เข้ามาร่วมประชุม 6 คน และเจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทย 2 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : ร่วมกันกำหนดทิศทางในการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงหาแนวทางการป้องกันการติดเชื้อฯและหาแนวทางการแก้ไขต่างๆ ร่วมกันในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินนี้

กิจกรรมที่ 5 อบรมทักษะชีวิตเด็ก สิทธิเด็ก สำหรับเด็กข้ามชาติในชุมชน ในวันที่ 15-16 เมษายน พ.ศ.2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : เด็กผู้ติดตามแรงงานช้ามชาติ จำนวน 32 คน เป็นชาย 17 คน หญิง 15 คน โดยอบรมในศูนย์การเรียนฯ เด็กข้ามชาติที่มีเด็กมารวมตัวกัน แต่เน้นการเว้นระยะห่างในช่วงอบรม

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติมีความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพ และมีความรู้และการป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่ถูกต้อง รวมถึงได้รับรู้ถึงสิทธิเด็กขั้นพื้นฐานที่ตนเอง มีทั้งรายเก่าและรายใหม่ ในส่วนของรายเก่าจะทำการทบทวนข้อมูลความรู้ที่เคยผ่านการอบรม และให้ความรู้กับรายใหม่ให้มีความเข้าใจและตระหนักถึงการป้องกัน เพราะยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่เว้นระยะห่าง

กิจกรรมที่ 6 โมบายความรู้เคลื่อนที่อบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักในเรื่องสุขภาวะสำหรับผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติ ในวันที่ 18-20 เมษายน พ.ศ.2563 ที่ห้องพักแพปลาในอำเภอขนอม

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : จำนวน 58 คน เป็นชาย 24 คน เป็นหญิง 34 คน เป็นแรงงานข้ามชาติ 49 คน เป็นคนไทย 7 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : ผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติและคนไทยในชุมชนยังเข้าไม่ถึงข้อมูลความรู้ในเรื่องโควิด-19 ได้ชัดเจน รู้แต่ว่ามีการระบาด แต่ก็ยังใช้ชีวิตปกติ หลายคนจะใส่หน้ากากอนามัยเฉพาะเวลาออกจากบ้านเพราะกลัวถูกตำรวจจับ ไม่ได้กลัวติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และยังไม่รู้วิธีการล้างมือที่ถูกต้อง หลายคนยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่เว้นระยะห่าง เนื่องจากสื่อต่างๆ ที่ประกาศให้เฝ้าระวังหรือการป้องกันไม่มีภาษาแรงงานข้ามชาติ พม่า มอญ การจัดกิจกรรมให้ความรู้โดยใช้สื่อที่เป็นภาษาพม่าและมีล่ามช่วยแปลภาษาเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ทำให้แรงงานข้ามชาติมีข้อมูลและทักษะในการป้องกันเพิ่มมากขึ้น เริ่มให้ความสนใจในเรื่องการป้องกันไวรัสโควิด-19 เพราะเป็นสถานการณ์ที่ทุกคนต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด รวมถึงได้มีการแจกหน้ากากผ้า สบู่ ที่ได้รับจากโครงการ นธส.และผู้บริจาคต่างๆ ทำให้แรงงานมีความพึงพอใจมาก เพราะหน้ากากแพงและมีแค่คนละ 1 ชิ้น โดยแกนนำอาสาสมัครเด็กเป็นผู้ช่วยในการอบรมในครั้งนี้ ช่วยให้ข้อมูลเรื่องโควิด-19 ร่วมกัน และให้ข้อมูลการล้างมือและการใช้ผ้าปิดปากได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่ 7 โมบายความรู้เคลื่อนที่ทักษะชีวิตเด็ก สิทธิเด็ก สำหรับเด็กข้ามชาติในชุมชน ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ณ ชุมชนที่พักแรงงานข้ามชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในช่วงCOVID-19 และสิทธิเด็กขั้นพื้นฐาน

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติจำนวน 20 คน เป็นชาย 15 คน เป็นหญิง 5 คน อบรมตามแพห้องพักของเด็กๆ แบบกลุ่มย่อย เนื่องจากสถานการณ์โควิด ลดความเสี่ยงในการรวมตัว

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : ให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันCOVID-19 โดยเฉพาะการป้องกันที่ง่ายและประหยัดที่สุดคือการล้างมือ และการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ให้เด็กๆ มีความตระหนักและให้ความสำคัญไม่ประมาท เพราะเด็กๆ ส่วนใหญ่ในชุมชนยังเล่นกันเป็นกลุ่มไม่เว้นระยะห่าง เนื่องจากความเป็นเด็กและผู้ใหญ่เองก็เห็นว่าสถานการณ์เบาบางลง จึงไม่ให้ความสำคัญมากนัก การอบรมในครั้งนี้จึงเป็นการกระตุ้นเตือนให้เด็กๆ มีความระมัดระวังปกป้องตนเอง การสวมใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ และการเว้นระยะห่าง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาวะ อีกทั้งเชื่อมโยงในการชวนคุยในเรื่องสิทธิเด็ก โดยเฉพาะสิทธิในด้านสุขภาพ หากเกิดเจ็บป่วยไม่สบายจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และเข้าสู่กระบวนการรักษาสถานบริการโรงพยาบาลตามสิทธิอย่างไร เพราะสิทธิด้านสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องได้รับอย่างเท่าเทียมกัน

กิจกรรมที่ 8 อบรมความรู้ทักษะชีวิตเด็ก สุขภาวะ ในศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติสำหรับเด็กข้ามชาติ

ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในช่วงCOVID-19 การล้างมือที่ถูกวิธีเพื่อป้องกันCOVID-19 และสิทธิเด็กขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะสิทธิด้านสุขภาพ

ผู้ได้รับผลประโยชน์ : เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติจำนวน 20 คน เป็นชาย 10 คน เป็นหญิง 10 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : การจัดกิจกรรมอบรมในศูนย์การเรียนฯ เป็นการจัดกิจกรรมที่สืบเนื่องจากวันนี้คุณครูได้นัดเด็กมาพบกันเพื่อเข้ามาแลกเปลี่ยนสถานการณ์COVID-19 ที่ผ่านมา เป็นการติดตามเด็กไปด้วย เพื่อไม่ให้เด็กหายไปจากระบบการเรียนของศูนย์ เพราะโรงเรียนได้ปิดตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน และถือโอกาสมาทบทวนการเรียนกัน ซึ่งเด็กที่เข้ามาร่วมมีทั้งเด็กที่ปัจจุบันกำลังเรียนอยู่ในศูนย์ฯ และเด็กที่เคยเรียนและออกไปเรียนต่อในระบบ รวมถึงเด็กที่อยู่บ้านไม่ได้เรียน แต่ช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กทุกคนอยู่บ้าน ปิดภาคเรียน เมื่อมีกิจกรรมที่ศูนย์ฯ จึงเข้ามาร่วมกิจกรรม จึงทำให้วันนี้เด็กๆ มีความสุขที่ได้พบเพื่อนเก่าๆ ที่เคยเรียนด้วยกัน รวมถึงวันนี้ทางมูลนิธิรักษ์ไทยได้จัดกิจกรรมอบรมร่วมด้วย และที่เด็กๆ ชอบที่สุดคือกิจกรรมช่วยกันกรอกแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือใส่ขวดและทุกคนได้รับกลับไปใช้ที่บ้าน ทำให้รู้สึกดีใจที่ได้รับของที่ทำด้วยมือของตนเองไปใช้เอง อีกทั้งยังมีทีมสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้เข้าไปถ่ายทำคลิปวีดีโอและสัมภาษณ์เด็กๆ เครือข่ายคนทำงานเยาวชนโครงการ สสส.เข้ามาเยี่ยมเยือนเด็กๆ จึงทำให้กิจกรรมวันนี้คึกคักมาก เด็กๆ ตื่นเต้นและสนุกในการทำกิจกรรม มีเด็กหลายคนมีความเปลี่ยนแปลงจากที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจไม่กล้า

กิจกรรมที่ 9 โมบายความรู้เคลื่อนที่อบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักในเรื่องสุขภาวะสำหรับผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติ ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ณ ห้องพักแพปลาในอำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช

ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ : ผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติเมียนมาร์ จำนวน 22 คน เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 19 คน มีรายเก่าที่เคยผ่านการอบรมCOVID-19 แล้ว 3 ราย และรายใหม่ 19 ราย

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง : แรงงานข้ามชาติได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันที่ถูกต้องในเรื่องการป้องกันโควิด-19 รู้ถึงสิทธิสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ โดยใช้สื่อที่เป็นภาษาพม่าและมีล่ามช่วยแปลภาษาเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ทำให้แรงงานข้ามชาติมีข้อมูลและทักษะในการป้องกันเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการลงพื้นที่โมบายให้ความรู้ตามที่พักแรงงานข้ามชาติ ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี ได้โอกาสในการคุยในเรื่องของการจัดการเรียนรู้ของเด็กข้ามชาติลูกหลานของพวกเขา ทำให้ผู้ปกครองบางรายที่ยังไม่นำลูกเข้าสู่ระบบการศึกษาเกิดความต้องการให้ลูกได้เรียน จึงทำให้เห็นว่าการสร้างความไว้วางใจก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองจะส่งลูกเข้าเรียนที่ศูนย์การเรียนฯ ได้

กิจกรรมที่ 10 อบรมทักษะชีวิตเด็กในเรื่องสุขภาวะ อนามัยเจริญพันธ์ การปกป้องตนเองไม่ตกเป็นเหยื่อหรือถูกละเมิด ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ได้รับผลประโยชน์: เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติจำนวน 22 คน เป็นชาย 14 คน เป็นหญิง 8 คน

สิ่งที่ได้ผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง: เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอนามัยเจริญพันธ์ ทักษะการปกป้องตนเองไม่ตกเป็นเหยื่อหรือถูกละเมิด ไม่ให้ถูกอนาจารหรือความรุนแรงทางเพศทั้งผู้ชายและผู้หญิง เนื่องจากเด็กๆ หลายคนเริ่มเข้าสู่วัยที่เกิดสัญญานของการเป็นหนุ่มเป็นสาว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพทางเพศทางสรีระที่ถูกต้อง สุขอนามัยความสะอาด และการท้องไม่พร้อม

สัมภาษณ์เด็กที่ได้รับประโยชน์


ดช.วันทา(น้องสามสิบ)
อายุ 14 ปี

น้องสามสิบเคยเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ตอนอายุ 9-12 ปี และปัจจุบันได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดกระดังงา อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโรงเรียนของภาครัฐ แต่เขาจะแวะเวียนมาที่ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติเกือบทุกวัน และไม่เคยพลาดทุกกิจกรรมที่มูลนิธิรักษ์ไทยจัด

คำถาม : อะไรที่ทำให้รู้ประทับใจกับศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติแห่งนี้ ?

น้องสามสิบ : ที่นี่มีเพื่อนๆ ที่พูดภาษาเดียวกัน ได้ทำกิจกรรมด้วยกัน สนุกดี กลับจากโรงเรียนหนูก็มารดน้ำต้นไม้ให้ศูนย์ฯเกือบทุกวัน บ้านอยู่ใกล้ด้วย เดินมาได้ปลอดภัย เวลาพี่ๆรักษ์ไทยมาทำกิจกรรมอะไรก็อยากมาร่วม บางทีเวลาพี่เขามาทำกิจกรรมหรือมาอบรมให้ความรู้ที่ศูนย์ฯ ก็ให้หนูช่วยเป็นล่ามให้ด้วย เพราะน้องๆ บางคนฟังภาษาไทยไม่รู้เรื่อง

คำถาม : รู้สึกอย่างไรเมื่อต้องช่วยพี่เขาเป็นล่ามแปลภาษา?

น้องสามสิบ : หนูชอบ สนุกดี และก็ภูมิใจ ได้ความรู้ในสิ่งที่พี่เขาอบรมให้น้องๆ มากขึ้นด้วย อยากทำอีก เวลาพี่ๆ รักษ์ไทยมา ถ้าหนูอยู่หนูก็จะมาที่ศูนย์ฯ ทุกครั้ง มาช่วยทุกอย่างที่ทำได้

คำถาม : รู้สึกว่าเราโชคดีไหมที่พูดได้และอ่านได้หลายภาษา?

น้องสามสิบ : ก็โชคดีนะที่เคยได้เข้ามาเรียนที่ศูนย์นี้ด้วย ตอนนี้หนูพูดได้ 3 ภาษาเลยนะ ภาษามอญ ภาษาพม่า และภาษาไทย ดีใจที่มีโอกาสได้เข้ามาเรียนที่ศูนย์เด็กข้ามชาติฯ ทำให้ตนเองได้อ่านภาษาพม่าได้ และตอนที่เรียนที่ศูนย์เด็กข้ามชาติได้มีครูจาก กศน.อำเภอขนอม มาสอนภาษาไทยพื้นฐาน ก-ฮ ด้วย จึงมีพื้นฐานเมื่อได้มีโอกาสเข้าเรียนที่โรงเรียนไทย

คำถาม : อยากบอกอะไรไหม?

น้องสามสิบ : อยากขอบคุณมูลนิธิรักษ์ไทยที่ทำให้มีศูนย์เด็กข้ามชาติแบบนี้ใกล้บ้าน ทำให้เด็กๆ อย่างพวกหนูได้มีพื้นที่ปลอดภัย ได้เรียน ได้เล่น ได้ทำกิจกรรมสนุกๆ มากมาย อยากให้เปิดศูนย์ฯ ตลอดไป น้องๆ คนอื่นจะได้มีโอกาสเหมือนหนูบ้าง

Budget plan

รายการจำนวนจำนวนเงิน(บาท)
1.เงินเดือนครูพม่า 1 คน เดือนละ 5,500 บาท x 12 เดือน12 เดือน66,000
2. ค่าเช่าสถานที่เดือนละ 3,000 บาท x 12 เดือน12 เดือน36,000
3. ค่าน้ำค่าไฟเดือนละประมาณ 500 บาท x 12 เดือน12 เดือน6,000
4. ค่าน้ำดื่มเด็กเดือนละ 500 บาท x 12 เดือน12 เดือน6,000
5. อุปกรณ์เครื่องเขียน(สมุดดินสอปากกา) 500 บาท x 12 เดือน12 เดือน6,000
6.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

12,000
รวมทั้งหมด
132,000

หมายเหตุ: ราคาดังกล่าว มาจากการสำรวจราคาโดยประมาณ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้