cover_1

แสงไฟส่องสว่างในพื้นที่ช้างป่า 3 หมู่บ้าน 2 อำเภอ จังหวัดกาญจนบุรี

พิเชฐ นุ่นโตพิเชฐ นุ่นโต
Animals
Environment

Donations for the project will จัดซื้ออุปกรณ์และแสงไฟส่องสว่าง to ชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าใน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี3หมู่บ้าน

project succeeded
Successfully

Period of time

Nov 9, 2021 - Aug 31, 2022

Location

บ้านภูเตย Chalae, Amphoe Thong Pha Phum, Kanchanaburi 71180บ้านสะพานลาว Sahakon Nikhom, Amphoe Thong Pha Phum, Kanchanaburi 71180บ้านปากเหมือง Dan Mae Chalaep, Amphoe Si Sawat, Kanchanaburi 71250

SDG Goals

LIFE ON LAND

Beneficiary groups of the project

Agriculturist
100คน
เครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าชุมชน
30คน
Community
3แห่ง

เครือข่ายเสียงคนเสียงช้างระดมทุนเพื่อสนับสนุนแสงไฟและอุปกรณ์สำหรับเฝ้าระวังช้างป่าใน 3 หมู่บ้าน ของ อ. ทองผาภูมิและศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสียหายจากความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าทั้งทางร่างกายและทรัพย์สินของชุมชนในพื้นที่เกษตรกรรมที่ชิดกับแนวป่า

ไฟส่องสว่างนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นระหว่างที่ชาวบ้านเดินทางออกไปเฝ้าไร่ พร้อมกับที่เครือข่ายทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชนจะสามารถรับข่าวสารการพบเจอช้างป่าและเข้าไปผลักดันช้างโดยมีระยะที่มองเห็นช้างป่าในไร่ตอนกลางคืนที่ไกลขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้นทั้งคนและช้าง

Social issues

 

ปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่ 

    ปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่หนึ่งในนั้นก็มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของช้าง กินอาหารหลากหลายมากขึ้น ขยายพื้นที่หากินมากขึ้นโดยเฉพาะพืชไร่และพืชสวนของชุมชน ซึ่งเป็นอาหารกลุ่มใหม่ของช้างป่า  ในด้านของช้าง ช้างอาจมีความเสี่ยงรับสารพิษจากยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีจากการกินมันสำปะหลังหรือข้าวโพดในพื้นที่เกษตรกรรม และเสี่ยงอันตรายจากการตอบโต้แบบใช้ความรุนแรงของเกษตรกรบางกลุ่ม  ในส่วนของชุมชน เกษตรกรได้รับความเสียหายทั้งทางเกษตรและทรัพย์สิน เกิดผลกระทบด้านวิถีความเป็นอยู่และส่งผลต่อสุขภาพจิต เช่น การไปเฝ้าไร่ในเวลากลางคืน ต้องอดนอน ทำให้ช่วงเวลากลางวันไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและสุขภาพทรุดโทรม การเปลี่ยนเวลากรีดยางเป็นช่วงกลางวันทำให้ได้ปริมาณยางน้อยกว่าการกรีดยางในช่วงเย็นหรือกลางคืน ส่งผลถึงรายได้ที่ควรจะได้รับ กลับได้น้อยลงหรือในบางราย รายได้ขาดหายไปเนื่องจากไม่กล้าเข้าไปกรีดยาง

    ปัจจุบัน จากการสำรวจของทีมงานในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่ามีอย่างน้อย 3 หมู่บ้านในอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่เกษตกรรมมากกว่า 7,000 ไร่  พบความเสียหายของพืชเกษตรทั้งหมด 84 ครั้ง เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด และข้าว มีทรัพย์สินเสียหายถึง 18 ครั้ง เช่น ถังน้ำและท่อประปา  พืชเกษตรบางส่วนได้รับการเยียวยาจากทางภาครัฐแล้ว แต่การเยียวยาที่ได้มาก็ไม่เพียงพอสำหรับชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ได้รับผลกระทบ และการดูแลดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้ความเสียหายจากช้างป่าลดน้อยลงแต่อย่างใด  ดังนั้น หากให้ไล่เรียงปัญหาที่พบซึ่งเป็นที่มาของโครงการระดมทุนครั้งนี้จะรายการดังต่อไปนี้

1. ช้างป่าออกนอกป่ามาหากินพืชไร่พืชสวนในพื้นที่ชุมชน สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางเกษตรกรและทรัพย์สินของชุมชน
2. การอยู่ในพื้นที่ที่มีช้างป่าสร้างความกลัวและความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิต
3. พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีแสงไฟส่องสว่างระหว่างหมู่บ้านไปยังพื้นที่เกษตรกรรม
4. ปัญหาความปลอดภัยของเส้นทางช้างป่าและเส้นทางชุมชน (พื้นที่หากินของช้างป่าอยู่ใกล้โรงเรียน ใกล้ศูนย์เด็กเล็ก)
5. ชุมชนและเกษตรกรไม่ทราบวิธีการที่จะปกป้องชีวิตและทรัพย์สินหรือวิธีการผลักดันช้างป่าอย่างปลอดภัยเมื่อเจอช้างป่า
6. ระบบเยียวยาความเสียหายของภาครัฐจากช้างป่าที่ยังไม่ประสิทธิภาพ และตอบสนองได้ตรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
7. ระบบการเฝ้าระวังช้างป่าของภาครัฐที่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ไม่สามารถให้การสนับสนุนการเฝ้าระวังช้างป่าของชุมชนให้เกิดขึ้นได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ กำลังคนและระยะทางในการดำเนินการ

 

Approaches to addressing issues

  1. วิธีการแก้ไขปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่     แนวทางการเฝ้าระวังและผลักดันช้างควรอยู่ในแนวทาง "คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย ไม่ใช้ความรุนแรง" ตามเกณฑ์งานวิจัยเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าอย่างสันติ version 1.0 ของเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง โดยการเพิ่มแสงสว่างในพื้นที่เกษตรกรรม จุดเฝ้าระวัง ตามรอยต่อระหว่างป่าและชุมชน  ให้มีการติดตั้งไฟโซล่าเซลล์เพื่อป้องกันช้างป่าเข้าพื้นที่เบื้องต้น และใช้สำหรับเพิ่มทัศนวิสัยให้กับเกษตรกรที่เฝ้าระวังช้างบริเวณไร่ของตน ทำให้ทราบจำนวนช้างหรือมองเห็นช้างได้ระยะไกลขึ้น ชัดเจนขึ้น และลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างคนกับช้าง จากนั้นจึงแจ้งเตือนไปยังเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชนเพื่อมาทำการผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรกรรม     อีกส่วนหนึ่งคือ "การจัดตั้งทีมเฝ้าระวังของแต่ละชุมชน" และใช้วิธีการคืนช้างสู่ป่าอย่างสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง โดยการรักษาระยะห่างระหว่างทีมกับช้างป่า เพิ่มความสว่างให้กับทีม และพาหนะที่ใช้ในการผลักดัน เน้นการใช้แสงไฟเป็นหลัก ประกอบกับเสียงคนในการผลักดันช้างป่า ส่งผลให้ช้างป่าเดินทางไปในทิศทางที่กำหนดได้  การเฝ้าระวังผลักดันช้างด้วยวิธีนี้จะช่วยให้คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย คืนช้างสู่ป่าได้อย่างสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง แต่กลุ่มเฝ้าระวังผลักดันช้างป่าก็จำเป็นที่จะต้องมีประสบการณ์หรือเรียนรู้หลักการเฝ้าระวังช้างก่อนปฏิบัติการ และระหว่างปฏิบัติการก็ต้องรอบคอบ มีสติและไม่ประมาทด้วยเช่นกัน

  2. ระดมทุนเพื่อ จัดซื้ออุปกรณ์และแสงไฟส่องสว่างเพื่อช่วยเหลือชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อุปกรณ์ที่จะระดมทุนสำหรับการเฝ้าระวังช้างป่า อุปกรณ์เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังช้างป่าอย่างสันติวิธีอ้างอิงจากประสบการณ์การใช้งานเฝ้าระวังของชาวบ้านที่ได้เฝ้าระวังช้างป่าอยู่ในพื้นที่ และได้ทำการผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรของตนอย่างสำเร็จ ทางเครือข่ายมีความจำเป็นต้องขอระดมทุนสนับสนุนอุปกรณ์โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. สำหรับเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยช้างป่าจำนวน 100 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้านภูเตย หมู่บ้านสะพานลาว อำเภอทองผาภูมิ และหมู่บ้านปากเหมือง อำเภอศรีสวัสดิ์      1.1 ไฟฉายเทอร์โบไลท์ (Turbo-light) รุ่น S-240-Big W590 P70.2 20w ไฟฉายแรงสูงแบบพกพา ส่องไฟได้สว่างมากกว่า 500 เมตร ชาร์จไฟผ่าน USB จำนวน 100 ชุด เพื่อให้แสงสว่างเวลาเดินทางและระหว่างการผลักดันช้างป่า     1.2 ไฟโซล่าร์เซลล์ติดไร่ JD Solar light 400w ติดตั้งแผงไฟโซล่าเซลล์ ขนาด 400 วัตต์ จำนวน 100 ชุด ในพื้นที่รอยต่อระหว่างป่าและชุมชน เพื่อเสริมทัศนคติในระหว่างการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าเข้าพื้นที่ และลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างคนกับช้าง     1.3 ไฟแผงติดรถ 100 ชุด Super LED Bar 300w 12V สำหรับติดไถของเกษตรกรที่เดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยงในเวลากลางคืน 100 ชุด 2. สำหรับทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน ทีมหลัก ทีมละ 3 คน ของ 3 หมู่บ้าน จำนวน 5 ทีม ได้แก่ ทีมสะพานลาว ทีมดงเล็ก ทีมภูเตย ทีมทุ่งเกษตร และทีมเขาพระอินทร์  อุปกรณ์ของทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชนจะใช้จากที่ระดมทุนสำหรับเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยจะใช้อุปกรณ์ดังต่อไปนี้     2.1 ไฟแผงติดรถ Super LED Bar 300w 12V ติดตั้งบนยานพาหนะที่ใช้ในการเฝ้าระวัง เพื่อความปลอดภัยระหว่างเดินทางและปฏิบัติงานเฝ้าระวังในตอนกลางคืน     2.2 ไฟฉายเทอร์โบไลท์ รุ่น S-240-Big W590 P70.2 20w สำหรับการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรกรรม     2.3 วิทยุสื่อสารจำนวน 30 เครื่อง Spender D2452 Plus เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านนั้นไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ วิทยุสื่อสารจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานสื่อสารระหว่างทีมเฝ้าระวังกับชุมชน     2.4 ค่าน้ำมันและเสบียงสำหรับทีมเฝ้าระวังช้างป่าทั้งหมด 15 คนจาก 5 ทีม 3 หมู่บ้าน

Operational Plan

  1. จัดซื้ออุปกรณ์และแสงไฟส่องสว่างเพื่อช่วยเหลือชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

  2. การบรรเทาปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่ใน 3 หมู่บ้าน 2 อำเภอ จังหวัดกาญจนบุรีจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน  1. การสนับสนุนอุปกรณ์เฝ้าระวังช้างป่าให้กับเกษตรกรและหาแนวร่วม/เครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน 1.1 ประชาสัมพันธ์กับผู้นำหมู่บ้านและลูกบ้านถึงที่มาและความสำคัญ และแนวทางการทำงานของโครงการใน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านภูเตย บ้านสะพานลาวในอำเภอทองผาภูมิ และบ้านปากเหมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจในการใช้ชีวิตร่วมกับช้างป่าโดยเน้นไปที่สันติวิธี คือ "ไม่ใช้ความรุนแรง และปลอดภัยทั้งคนและช้าง" 1.2 รวบรวมข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า เพื่อระบุพื้นที่เกษตรกรรมเป้าหมายสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ และหาบุคคลที่จะเป็นแนวร่วมในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน 1.3 อบรมวิธีการติดตั้งและใช้งานแสงไฟโซล่าร์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังช้างป่า พร้อมไปกับการระบุจุดเฝ้าระวังช้างป่า ตั้งช่องทางการสื่อสารการพบเจอช้างป่าผ่านวิทยุสื่อสารและแอพพลิเคชั่น LINE และมอบอุปกรณ์ส่องสว่างให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า 2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อบรรเทาปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่โดยกลุ่มเฝ้าระวังชุมชน 2.1 หลังจากที่ได้ระบุบุคคลหรือกลุ่มที่จะเข้ามาเป็นกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่าแล้วในทั้ง 3 หมู่บ้านแล้ว กลุ่มเฝ้าระวังจะออกปฏิบัติการผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรกรรมให้กลับเข้าป่าหรือพื้นที่อนุรักษ์หลังจากที่ได้รับแจ้งจากชุมชนหรือเกษตรกรที่เฝ้าระวังอยู่ในภายในไร่ของตนผ่านวิทยุสื่อสาร ช่องทาง LINE หรือโทรศัพท์สายตรง 2.2 กลุ่มเฝ้าระวังไปพื้นที่ตามที่ได้รับแจ้งช่าว และทำการผลักดันช้างออกจากพื้นที่เกษตรกรรมโดยรักษาระยะห่างระหว่างคนกับช้าง ไม่ใช้ความรุนแรงในที่นี้คือไม่ใช้อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อทั้งคนและช้าง 2.3 เครือข่ายกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่า 3 หมู่บ้านสรุปผลการดำเนินงานเฝ้าระวังช้างป่าในช่วงปลายโครงการเพื่อถอดบทเรียนการดำเนินการและวางแผนการจัดการปัญหาช้างป่าในระยะถัดไป

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
ไฟฉายเทอร์โบไลท์ (Turbo-light) รุ่น S-240-Big W590 P70.2 20w

ส่องไฟได้สว่างมากกว่า 500 เมตร ชาร์จไฟผ่าน USB และได้รับการยอมรับจากชาวบ้านที่เฝ้าระวังช้างป่าว่าสามารถทำให้ช้างออกจากไร่ได้ ชิ้นละ 700 บาท

100ชิ้น70,000.00
ไฟแผงสำหรับติดไร่ JD Solar light 400w

สำหรับเกษตรกรที่ต้องอยู่เฝ้าไร่ในตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการเฝ้าระวัง ชุดละ 1,090 บาท

100ชิ้น109,000.00
ไฟแผงสำหรับติดรถ Super LED Bar 300w 12V

มี 2 แผง สำหรับติดรถไถหรือรถกระบะของเกษตรกรระหว่างการเดินทางเข้าไร่ในตอนกลางคืนและทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน ชุดละ 600 บาท

100ชิ้น60,000.00
วิทยุสื่อสาร Spender D2452 Plus

สำหรับการสื่อสารระหว่างการเฝ้าระวังช้างป่า เครื่องละ 1,990 บาท

30เครื่อง59,700.00
ค่าน้ำมันและเสบียงสำหรับการเฝ้าระวังช้างป่า

สำหรับทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน 5 ทีม 3 หมู่บ้าน เป็นเวลา 90 วัน เฉลี่ยวันละ 450 บาท

15คน40,500.00
Total Amount339,200.00
Taejai support fee (10%)33,920.00
Total amount raised
373,120.00

Project manager

พิเชฐ นุ่นโต

พิเชฐ นุ่นโต

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon