project เด็กและเยาวชน

สร้างโค้ชสอนเด็กให้เอาชีวิตรอดจากน้ำ

ชวนสร้างโค้ชสอนเด็กให้เอาชีวิตรอดจากน้ำในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสอนเทคนิคการช่วยชีวิตเด็กที่จมน้ำและการทำ CPR ที่ถูกต้อง แก่โค้ช 70 คน

Duration 1 ปี Area ยะลา ปัตตานี นราธิวาส

Current donation amount

151,100 THB

Target

150,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 101%
จำนวนผู้บริจาค 46

สำเร็จแล้ว

Project updates

ไลฟ์โค้ช : ต้องรอด

2 October 2020

สร้างโค้ชสอนว่ายน้ำให้เอาชีวิตรอด ช่วยชีวิตคนจมน้ำ และการกู้ชีพฉุกเฉิน

สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้จึงได้ร่วมกับ กลุ่มเทใจ จัดโครงการ พัฒนาครูผู้สอน เรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการกู้ชีพกู้ภัยเบื้องต้น โดยโครงการในระยะแรกมีเป้าหมาย สร้างวิทยากรแกนนำจำนวน 20 คน เพื่อให้วิทยากรแกนนำเหล่านี้ จะนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อให้กับคุณครู จาก 36 โรงเรียน ซึ่งเป็นครูแกนนำ จากโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ซึ่งกระจายพื้นที่ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อให้คุณครูแกนนำ นำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อกับเด็กนักเรียนในแต่ละโรงเรียนเป็นลำดับต่อไป นอกจากนี้ในระยะยาว สมาคมมีความคาดหวัง ที่จะขยายผล โครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ รวมทั้งโครงการเรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉิน ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป



กำหนดการวันที่ 25-27 พ.ค. 2561

วันที่ 25 พ.ค61

8.00-8.30 น. เปิดตัวโครงการไลฟ์โค้ชต้องรอด

8.30-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ

12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 

13.30 – 16.30 น. การช่วยชีวิตคนจมน้ำ : การกู้ชีพฉุกเฉิน และ การทำ CPR 

วันที่ 26 พ.ค. 61

8.00-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ

12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 

13.30 – 16.30 น. การช่วยชีวิตคนจมน้ำ : ทักษะการเป็นครูวิทยากร

วันที่ 27 พ.ค. 61

8.00-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ

12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 

13.30 – 15.00 น. มอบใบประกาศนียบัตรจากโครงการ และปิดโครงการ


กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมดังนี้

1. ครูและเยาวชนแกนนำจำนวน 20 คน 

2. เด็กและเยาวชนในพื้นที่จำนวน 10 คน

3. วิทยากรการฝึกอบรมจากสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ จำนวน 4 คน

4. วิทยากรการฝึกอบรมเรื่องการกู้ชีพฉุกเฉิน จำนวน 4 คน

ผลที่เกิดขึ้น

1. เด็กและเยาวชนซึ่งว่ายน้ำไม่เป็นสามารถว่ายน้ำได้และมีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากภัยน้ำจำนวน 18 คน คิดเป็น 100%

2. ครูและวิทยากรแกนนำผ่านการทดสอบระดับ 1 จำนวนทั้งสิ้น 10 คน คิดเป็น 56 %

3. ครูและวิทยากรแกนนำผ่านการทดสอบระดับ 2 จำนวนทั้งสิ้น 8 คน คิดเป็น 44 %

4. ครูแกนนำมีความรู้เรื่องการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด การช่วยชีวิตทางน้ำ การกู้ชีพฉุกเฉิน และมีทักษะที่จะสามารถนำไปถ่ายทอดต่อได้

Read more »
See all project updates

ทำไมเด็กต้องมีทักษะเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ?

    เพราะ...20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับเหตุการณ์ภัยพิบัติบ่อยครั้ง สร้างความเสียหายทางเศษฐกิจหลายหมื่นล้านบาท ที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับเหตุการณ์ภัยธรรมชาติอีกในอนาคต (ข้อมูลจาก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย)

    เพราะ... สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีเหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย  ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรง เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2560 มีฝนตกหนักส่งผลให้ปริมาณแม่น้ำสายหลัก ได้แก่ แม่น้ำสุไหงโก-ลก น้ำท่วมพื้นที่ 13 อำเภอ 74 ตำบล 470 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล 44 ชุมชน มีผู้ประสบอุทกภัย 36,605 ครัวเรือน 145,686 คน

     เพราะ...น้ำท่วมยังทำให้เด็กและผู้ใหญ่จมน้ำเสียชีวิต ไม่ร่วมกับ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปี 2560 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึง 708 คน โดยพบมากสุดในช่วงปิดเทอม 3 เดือน (มีนาคมพฤษภาคม) และเกือบครึ่งเป็นกลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปีมากที่สุด

  

     เด็กๆใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีจำนวนของเด็กอายุ 0 – 18 ปี มากกว่า 660,000 คน คิดเป็นสัดส่วนประชากร 33% ซึ่งถือได้ว่ามีสัดส่วนประชากรซึ่งเป็นเด็กมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศเด็กเหล่านี้จะต้องเข้าใกล้พื้นที่ที่มีน้ำท่วม หรือเล่นในบริเวณที่มีน้ำท่วมแต่ละปีมีเด็กๆ ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วม ไม่มากก็น้อย ในปีล่าสุด จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลามีเด็กเสียชีวิตจากน้ำท่วมในพื้นที่จำนวนจังหวัดละ 1 คน ทั้งนี้ยังไม่นับรวมเด็ก ๆ ที่เผชิญกับเหตุการณ์จมน้ำทั้งจมน้ำเอง และอยู่ในเหตุการณ์ที่เพื่อนจมน้ำ นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา


จากสถิติดังกล่าวรวมทั้งสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งเผชิญอยู่ทุกๆปี จึงเป็นเหตุสำคัญที่สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้หรือกลุ่มลูกเลี้ยงร่วมกับ Save The Children ได้จัดโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติโดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะสร้างความอยู่รอดปลอดภัยให้กับเด็กๆใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆโดยโครงการ ดำเนินการตามเสาหลัก 3 ด้านของกรอบโรงเรียนปลอดภัยกล่าวคือ 1 ด้านกายภาพ 2 ด้านการเตรียมความพร้อมอาทิเช่นการจัดทำแผนเผชิญเหตุและการซ้อมแผนเผชิญเหตุและ 3 ด้านการให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้เด็กๆ มีความพร้อมในการเผชิญกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ซึ่งโครงการ ดำเนินการมาแล้วเป็นเวลา 2 ปี ในพื้นที่ 36 โรงเรียน ครอบคลุมทั้งจังหวัดยะลาปัตตานีและนราธิวาส และจะการถอดบทเรียนการทำงาน รวมทั้งจากข้อมูลทางสถิติ โครงการจึงเห็นความสำคัญของการสอนให้เด็กและเยาวชน มีทักษะเชิงลึก ในการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด การช่วยเหลือเพื่อนเมื่อจมน้ำ และการกู้ชีพฉุกเฉิน 


สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้จึงได้ร่วมกับ  สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ ครูพายุ ครูสอนว่ายน้ำ ปลุกพลังเปลี่ยนไทย เทใจดอทคอม จัดโครงการ พัฒนาครูผู้สอน เรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการกู้ชีพกู้ภัยเบื้องต้นโดยโครงการในระยะแรกมีเป้าหมาย สร้างวิทยากรแกนนำจำนวน 70 คนในประเด็นดังกล่าว

และเพื่อให้โครงการขยายไปครอบคลุม เราจึงต้องการสระว่ายน้ำเคลื่อนที่เพื่อให้วิทยากรแกนนำเหล่านี้ จะนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อให้กับคุณครู จาก 36 โรงเรียน ซึ่งเป็นครูแกนนำ จากโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 และเด็กว่า 2400 คน ซึ่งกระจายพื้นที่ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อให้คุณครูแกนนำ นำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อกับเด็กนักเรียนในแต่ละโรงเรียนเป็นลำดับต่อไป นอกจากนี้ในระยะยาว สมาคมมีความคาดหวัง ที่จะขยายผล โครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ รวมทั้งโครงการเรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉิน ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1.  เพื่อพัฒนาให้เกิดครูแกนนำในเรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด, ทักษะการว่ายน้ำช่วยชีวิต การช่วยเหลือคนจมน้ำ และการกู้ชีพฉุกเฉินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เอง ซึ่งครูเหล่านี้จะเป็นนักสื่อสารสาธารณะที่ทำให้ทุกคนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญต่อการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด
  2.  กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารเรื่องทักษะการเอาชีวิตรอดนั่นเป็นสิ่งสำคัญของ เด็กใน 3 จังหวัดชายแดนที่ควรมีทุกคน
  3.  พัฒนาสื่อเพื่อให้ครูแกนนำนำวีดีโอดังกล่าวไปใช้สอนหรือเผยแผร่ให้กับผู้ปกครอง โรงเรียนและหัวหน้าชุมชมเห็นความสำคัญของทักษะดังกล่าว ผ่านทาง social media ของโครงการ


กลุ่มเป้าหมาย

  1. ครูและเยาวชนแกนนำจำนวน 70 คน
  2. ครูและนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 36 โรงเรียนและเด็ก 2,000 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับระยะสั้น

  1. เกิดครูแกนนำจำนวน 70 คน
  2. เด็กและเยาวชนมีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากภัยน้ำจำนวน 2400 คน
  3. ครูแกนนำมีความรู้เรื่องการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด การช่วยชีวิตทางน้ำ การกู้ชีพฉุกเฉิน และมีทักษะที่จะสามารถนำไปถ่ายทอดต่อได้
  4. ปัญหาเด็กจมน้ำได้รับการสื่อสารทำให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาวะทางกายดังกล่าว

องค์กรภาคี

  • สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ (TLSS)
  • ชมรมไลฟ์การ์ด ภูเก็ต (PSLST)
  • ครูพายุ สวิม
  • ห้องหุ้นสุข
  • เทใจดอทคอม
  • Save The Children
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • โครงการปลุกพลังเปลี่ยนไทย
  • สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง)

ไลฟ์โค้ช : ต้องรอด

2 October 2020

สร้างโค้ชสอนว่ายน้ำให้เอาชีวิตรอด ช่วยชีวิตคนจมน้ำ และการกู้ชีพฉุกเฉิน

สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้จึงได้ร่วมกับ กลุ่มเทใจ จัดโครงการ พัฒนาครูผู้สอน เรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการกู้ชีพกู้ภัยเบื้องต้น โดยโครงการในระยะแรกมีเป้าหมาย สร้างวิทยากรแกนนำจำนวน 20 คน เพื่อให้วิทยากรแกนนำเหล่านี้ จะนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อให้กับคุณครู จาก 36 โรงเรียน ซึ่งเป็นครูแกนนำ จากโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ซึ่งกระจายพื้นที่ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อให้คุณครูแกนนำ นำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อกับเด็กนักเรียนในแต่ละโรงเรียนเป็นลำดับต่อไป นอกจากนี้ในระยะยาว สมาคมมีความคาดหวัง ที่จะขยายผล โครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ รวมทั้งโครงการเรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉิน ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป



กำหนดการวันที่ 25-27 พ.ค. 2561

วันที่ 25 พ.ค61

8.00-8.30 น. เปิดตัวโครงการไลฟ์โค้ชต้องรอด

8.30-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ

12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 

13.30 – 16.30 น. การช่วยชีวิตคนจมน้ำ : การกู้ชีพฉุกเฉิน และ การทำ CPR 

วันที่ 26 พ.ค. 61

8.00-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ

12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 

13.30 – 16.30 น. การช่วยชีวิตคนจมน้ำ : ทักษะการเป็นครูวิทยากร

วันที่ 27 พ.ค. 61

8.00-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ

12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 

13.30 – 15.00 น. มอบใบประกาศนียบัตรจากโครงการ และปิดโครงการ


กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมดังนี้

1. ครูและเยาวชนแกนนำจำนวน 20 คน 

2. เด็กและเยาวชนในพื้นที่จำนวน 10 คน

3. วิทยากรการฝึกอบรมจากสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ จำนวน 4 คน

4. วิทยากรการฝึกอบรมเรื่องการกู้ชีพฉุกเฉิน จำนวน 4 คน

ผลที่เกิดขึ้น

1. เด็กและเยาวชนซึ่งว่ายน้ำไม่เป็นสามารถว่ายน้ำได้และมีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากภัยน้ำจำนวน 18 คน คิดเป็น 100%

2. ครูและวิทยากรแกนนำผ่านการทดสอบระดับ 1 จำนวนทั้งสิ้น 10 คน คิดเป็น 56 %

3. ครูและวิทยากรแกนนำผ่านการทดสอบระดับ 2 จำนวนทั้งสิ้น 8 คน คิดเป็น 44 %

4. ครูแกนนำมีความรู้เรื่องการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด การช่วยชีวิตทางน้ำ การกู้ชีพฉุกเฉิน และมีทักษะที่จะสามารถนำไปถ่ายทอดต่อได้

Budget plan


รายการบาท
1.ค่าเดินทางวิทยากร (กทม.) 4 คน x 5,000 บาท20,000
2.ค่าเดินทางวิทยากร (ภูเก็ต) 4 คน x 3,000 บาท12,000
3.ค่าที่พักวิทยากร 4 ห้อง 4 คืน x 650 บาท10,400
4.ช่วยเหลือค่าเดินทางผู้เข้าร่วม 70 คน x 300 บาท21,000
5.ค่าอาหารและอาหารว่างผู้เข้าร่วม วิทยากรและทีมงาน  80 คน x 4 วัน x 175 บาท64,000
6.ค่าผลิตไวนิลโครงการ1,500
7.ค่าใช้บริการสระว่ายน้ำ6,000
8.ค่าบริหารจัดการ15,100
หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ลูกเหรียง 24, ทหาร 10, ครู รร DRR 36 = รวม 70 คน150,000