project Covid-19 ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง

Khlong Toei Community Waiting Area for COVID patients

Since April 21, 2021, the number of new and confirmed COVID patients in the Khlong Toei Community has reached 50 cases from 926 people tested. The number will rise higher as social distancing is almost impossible. A typical Khlong Toei household can consist of 2-13 people living in cramped quarters with no room to self isolate. To alleviate this issue, the community needs to create a separate Community Waiting Area to prevent further spread of the virus.

Duration 30 April 2021 - 30 June 2021 Area Khlong Toei, Bangkok

Current donation amount

3,579,827 THB

Target

2,000,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 179%
จำนวนผู้บริจาค 4,381

สำเร็จแล้ว

Project updates

สรุปกระบวนการทำงานศูนย์พักคอยในชุมชนคลองเตย

28 August 2021

การดำเนินงานของโครงการ ได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบเป็น 3 ส่วน และมีผลการดำเนินการ ดังนี้

  1. การทำข้อมูลและการติดตามผู้ติดเชื้อรายชุมชน รับผิดชอบโดย คลองเตยดีจัง ทำงานในส่วนของ 1) ระบบฐานข้อมูล 2) การส่งต่อกรณีเร่งด่วน
  2. "ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) วัดสะพานรับผิดชอบโดยคณะสงฆ์วัดสะพานและคณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชน ทำงานในส่วน 1) ระบบการส่งตัวผู้ป่วยจากชุมชนมาที่วัดสะพาน 2) ระบบการดูแลผู้ติดเชื้อในวัด 3) ระบบการส่งต่อผู้ติดเชื้อจากศูนย์พักคอยไปโรงพยาบาลสนาม
  3. ความช่วยเหลือเรื่องอาหาร รับผิดชอบโดยวัดสะพาน คลองเตยดีจัง และมูลนิธิดวงประทีป โดยเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร ถุงยังชีพ และอื่น ๆ ให้กับชุมชน

ตารางแสดงผลการดำเนินการ

สัมภาษณ์ความประทับใจจากจิตอาสา และผู้ป่วยที่ได้รับความช่วยเหลือ


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ สามารถแบ่งตามบทบาทหน้าที่งานที่รับผิดชอบ 3 ส่วน ดังนี้

1. การทำข้อมูลและการติดตามผู้ติดเชื้อรายชุมชน รับผิดชอบโดย คลองเตยดีจัง

1.1 ระบบฐานข้อมูล

1) Case manager คือ ระบบติดตามผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง มีบทบาทหน้าที่ดังนี้ 1) ดูแลภาพรวมของพื้นที่ รับผิดชอบ โดยการทำความเข้าใจธรรมชาติ เงื่อนไข ข้อจำกัดของชุมชนที่ดูแล และมองให้เห็นภาพรวมความวิกฤตของชุมชนและรายเคสว่าเรื่องไหนควรคุยกับใครในชุมชน 2) ติดตามดูแล ให้ความช่วยเหลือ case worker ในทีม เพื่อให้การทำงานราบรื่น และช่วยประสานความช่วยเหลือเร่งด่วน/ฉุกเฉิน 3) จัดการข้อมูลรายชื่อทั้งหมดในชุมชน และส่งต่อ/อัพเดทข้อมูลความช่วยเหลือมาที่ data center

2) case worker คือ ระบบติดตามผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงรายคน มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1) สร้างความสัมพันธ์ ความช่วยเหลือ และติดตามผลผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยงเป็นรายคน เพื่อทำงานเชิงรุก 2) ระบุกลุ่มเสี่ยง ประสานความช่วยเหลือ และจำกัดวงของการแพร่เชื้อ

3) สายด่วนโควิดคลองเตย คือ เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินสำหรับให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเบื้องต้น เช่น ตอบคำถามเรื่องการตรวจคัดกรอง การฉีดวัคซีน การประเมินอาการเจ็บป่วย การหาเตียงโรงพยาบาล รวมถึงความช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น คนในบ้านเจ็บป่วยหายใจไม่ออก

4) Data Center คือ ระบบฐานข้อมูลกลางสถานะและจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1) ติดตามและรับข้อมูลรายชื่อผู้ติดเชื้อจากผลตรวจเชิงรุกจากรถพระราชทาน สายด่วนคลองเตย (Hotline คลองเตย) ระบบติดตามผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง (Case Manager) 2) แยกรายชื่อแต่ละชุมชนเพื่อเช็คกับฐานข้อมูลเดิมว่ามีชื่อซ้ำหรือไม่ และอัปเดตรายชื่อผู้ติดเชื้อขึ้นฐานข้อมูลกลางเพื่อให้ทีมติดตาม (Case Manager) ของแต่ละชุมชนประสานงานต่อไป 3) ติดตามดูแล และให้ความช่วยเหลือ case manager เพื่อให้งานราบรื่น และช่วยประสานความช่วยเหลือเร่งด่วน/ฉุกเฉิน 4) ประสานงานกับทีมกลางและเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือกรณีเร่งด่วน/ฉุกเฉิน

การทำข้อมูลและการติดตามผู้ติดเชื้อรายชุมชน ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2564 รับผิดชอบโดย คลองเตยดีจัง


1.2 การส่งต่อกรณีเร่งด่วน

การส่งต่อกรณีเร่งด่วนเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการหนัก เช่น หายใจ ไม่ออกค่าออกซิเจนต่ำ ฯ ให้ได้รับความช่วยเหลือเร็วที่สุด เช่น การจัดหาเตียงในโรงพยาบาลสนาม ซึ่งตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 8 มิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการส่งต่อความช่วยเหลือเตียงสนามรวม 73 คน ดังนี้

2. ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) วัดสะพาน รับผิดชอบโดย คณะสงฆ์วัดสะพานและคณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชน

 ศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด 19 ในชุมชนระหว่างรอส่งตัว มีคณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชนคลองเตยเป็นคณะผู้ดูแลในภาพรวม โดยมีท่านเจ้าอาวาสวัดสะพานพระพิศาลธรรมานุสิฐ (สมบูรณ์ กุลวฑฺฒโน) เป็นประธานและมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชนในชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ ศบส.41 สำนักงานเขต 10 เขต ตัวแทนจาก พม. และหน่วยสนับสนุนจากภายนอก ซึ่งมีตัวแทนของกลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขเป็นหลักในการประสานกับหน่วยงานด้านการสาธารณสุขต่างๆ กับทาง สปคม. กรมควบคุมโรค กรมอนามัย สำนักอนามัยของ กทม. และอื่น ๆ

โครงสร้างบทบาทหน้าที่ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว

ในส่วนของหน่วยปฏิบัติการมีอยู่สองส่วน คือ 1) ศูนย์ข้อมูลและประสานงานที่มีมูลนิธิดวงประทีปและทีมคลองเตยดีจังเป็นผู้ดำเนินการหลัก และ2) ศูนย์พักคอยในชุมชนมีพระครูพิพิธวรกิจจานุการ (มานิตย์ เขมคุตฺโต) วัดสะพานเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ซึ่งศูนย์พักคอยนี้กำหนดชื่อทางการว่า "ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) เปิดรับผู้ป่วยชุดแรกเข้าพักตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 โดยมีจำนวนผู้เข้ามาใช้ศูนย์พักคอยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2564 รวมทั้งหมด 879 คน ดังนี้

ระบบการทำงานของศูนย์พักคอยฯ

2.1 ระบบการส่งตัวผู้ป่วยจากชุมชนมาที่วัดสะพาน

มีการประสานงานกับผู้นำของชุมชนต่าง ๆ ทั้งที่ผ่านทางกลุ่มไลน์ hotline คลองเตย และการประสานงานโดยตรง ในกรณีที่พบผู้ติดเชื้อในชุมชนและรถรับส่งของโรงพยาบาลไม่สามารถมารับได้ทันการณ์ ประธานชุมชนหรือผู้ป่วยต้องการจะมาพักที่ศูนย์พักคอยฯ สามารถประสานงานมาที่ท่านเจ้าอาวาสวัดสะพานหรือพระครูพิพิธวรกิจจานุการ (มานิตย์ เขมคุตฺโต) ได้โดยตรงจะมีทีมรถรับส่งของกลุ่มอาสาสมัครในชุมชนคลองเตยหลายทีมที่เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการส่งตัว อาทิ ทีมรถกู้ภัยของทีมกระต่ายคลองเตย ทีมกู้ภัยของชุมชนล็อค 123 และทีมกู้ภัยของมูลนิธิดวงประทีปไปรับตัวมาส่งที่ศูนย์พักคอยฯ โดยในชั้นต้นจะพักรอไม่เกิน 24 ชั่วโมง ยกเว้นในบางกรณีที่ยังไม่สามารถหาโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลที่เหมะสมกับสภาพความเจ็บป่วยได้อาจจะรอนานกว่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถบริหารจัดการรายบุคคลได้ภายใน 3 วัน โดยแยกผู้ติดเชื้อชาย หญิง และดูแลเบื้องต้นเพื่อรอการส่งตัวไปรักษาต่อ ซึ่งมีมาตรการสำคัญเบื้องต้นในการดูแล คือ การแยกผู้ติดเชื้อกับสมาชิกในครอบครัวและชุมชนเพื่อลดการกระจายแพร่เชื้อโควิด-19

2.2 ระบบการดูแลผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอยฯ

อาคารที่พักของผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอยฯ ปรับมาจากอาคารพักเรียนของพระสงฆ์ที่ศึกษาธรรมะของวัดสะพานเพื่อใช้รองรับผู้ติดเชื้อในพื้นที่ โดยมีจำนวนเตียงเตรียมรับจำนวน 150 เตียง มีการเปิดให้บริการแล้วจำนวน 100 เตียง ในช่วงแรกใช้ชั้น 5 7 และชั้น 8 เป็นที่พักคอยรอส่งตัวผู้ป่วย กรณีที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นจะมีการขยายลงมาจนถึงชั้น 3 ในส่วนของผู้ดูแลมีพระคิลานุปัฎฐากซึ่งเป็นพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) ดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกับแกนนำชุมชน และใช้ลิฟท์ควบคุมการขึ้นลงภายในอาคารสำหรับผู้ติดเชื้อ ซึ่งมีการทำความสะอาดทุก 2-3 ชั่วโมง โดยจิตอาสาหรือพระคิลานุปัฏฐาก ส่วนผู้ดูแลอาคารจะใช้บันไดเท่านั้นและมีการควบคุมจำนวนคนเข้าออกภายในอาคารอย่างเคร่งครัด ส่วนด้านการกำจัดขยะมีได้ดำเนินการ 2 ทาง คือ 1) จัดจ้างบริษัทเอกชนซึ่งมีการสวมชุดป้องกันตนเองอย่างรัดกุม และ 2) การบริหารจัดการภายใต้ส่วนราชการ คือ ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ของทางสำนักงานเขตคลองเตย ส่วนการลำเลียงขยะรายวันจากอาคารศูนย์พักคอยด้านบนนั้นจะเป็นหน้าที่ของพระคิลานุปัฏฐาก พระคิลานธรรม และจิตอาสาในพื้นที่

2.3 ระบบการส่งต่อผู้ติดเชื้อจากศูนย์พักคอยไปโรงพยาบาลสนาม

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะได้รับการประสานหาเตียงจากโรงพยาบาลที่ไปตรวจหาเชื้อเพื่อส่งต่อไปรับการรักษาตามอาการ บางกรณีผู้ป่วยอาจจะมีการประสานไปทางโรงพยาบาลที่มีเตียงว่างด้วยตนเองผ่านช่องทางต่าง ๆ อีกทางหนึ่งด้วย ในบางช่วงเวลาที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากจะมีรถจากทางกองทัพประสานส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ทางหน่วยงานประสานหาเตียงรอรับการส่งต่อไว้

3. ความช่วยเหลือเรื่องอาหาร รับผิดชอบโดยวัดสะพาน คลองเตยดีจัง และมูลนิธิดวงประทีป

ภาพประกอบโครงการ

เตียงและอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยในศูนย์พักคอย

สายด่วนโควิดคลองเตย

การส่งต่อกรณีเร่งด่วน

การแจกถุงยังชีพให้ชุมชน

การส่งน้ำดื่มให้ชุมชนบ้านมั่นคง

การส่งน้ำดื่มให้ชุมชนล็อค 6

ส่งข้าวกล่องให้ชุมชน

Read more »
See all project updates

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ชุมชนคลองเตยตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2564 เป็นต้นมา ทำให้มีจำนวนยอดผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่และผู้ป่วยสะสมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 50 คน จากการตรวจ 926 คน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะชุมชนคลองเตยเป็นชุมชนแออัดที่มีประชากรอยู่มาก บ้านหนึ่งหลังอยู่ด้วยกันตั้งแต่ 2-13 คน ไม่มีห้องกั้นในการกักตัวผู้ติดเชื้อหรือผู้เสี่ยงสูง ยิ่งทำให้เกิดผู้เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเชื้อใช้เวลาในการแพร่นานและไม่แสดงอาการของโรคทันที ทำให้ผู้ติดเชื้อไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อจึงเกิดการแพร่กระจายไปยังคนรอบข้างได้ง่ายทำให้เกิดผู้เสี่ยงจำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องมีที่พักผู้ป่วยแยกออกมาจากบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปติดผู้อื่นขณะที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านและในชุมชนที่ค่อนข้างแออัด

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

วันอังคารที่ 27 เม.ย. 64 ที่ผ่านมา สปคม. เข้าไปตรวจคัดกรองเชิงรุกที่วัดสะพาน คลองเตย โดยมีผู้ว่า กทม. เข้าไปเยี่ยมและได้สนับสนุนเรื่องการทำสถานที่สำหรับให้ผู้ป่วยมา "พักคอย" ระหว่างรอส่งผู้ป่วยต่อไปยังโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการระบาดในชุมชนและสะดวกในการมารับของรถพยาบาล



ทางพื้นที่ได้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชนคลองเตย (คตช.คลองเตย)

มีท่านเจ้าอาวาสวัดสะพานเป็นประธาน มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ

  1. ประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนในชุมชน
  2. หน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งได้แก่ ศบส.41 และ 10 สำนักงานเขต พม.
  3. หน่วยสนับสนุนจากภาคนอก ซึ่งมีทีมวิจัย สวสส. จาก สป. กระทรวงสาธารณสุข เป็นหลักในการประสาน กับทาง สปคม. กรมควบคุมโรค กรมอนามัย สำนักอนามัยของ กทม. และอื่น ๆ

คตช.คลองเตย ได้มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการสองหน่วย คือ

  1. ศูนย์ข้อมูลและประสานงาน ที่มีมูลนิธิดวงประทีปและทีมคลองเตยดีจังเป็นผู้ดำเนินการหลัก และ
  2. ศูนย์พักคอยในชุมชน มี พระอาจารย์มานิต วัดสะพาน เป็นผู้อำนวยการศูนย์

ซึ่งศูนย์พักคอยนี้ กำหนดชื่อทางการกันว่า "ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) ซึ่ง นพ.วิรุฬ สวสส. ได้ร่วมเป็นคณะทำงานของศูนย์ร่วมกับพระอาจารย์มานิตและสถาปนิกที่เป็นคนในชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาระบบจากกรมควบคุมโรค และทางสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ที่จะไปช่วยให้คำแนะนำในพื้นที่ในวันที่ 29 เม.ย. 64 




ขั้นตอนการดำเนินโครงการ


ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

  1. เจ้าอาวาสวัดสะพาน
  2. ศบส.41
  3. 10 สำนักงานเขต พม.
  4. ทีมวิจัย สวสส. จาก สป. กระทรวงสาธารณสุข

โครงการกำลังดำเนินการอยู่ ในขณะที่เคสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3 May 2021

เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้โครงการจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โครงการจึงขอขยายงบประมาณจากเดิม และเพื่อความโปร่งใส โครงการจะแจกแจงรายละเอียดการใช้งบประมาณตามมาอีกครั้ง   


สรุปกระบวนการทำงานศูนย์พักคอยในชุมชนคลองเตย

28 August 2021

การดำเนินงานของโครงการ ได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบเป็น 3 ส่วน และมีผลการดำเนินการ ดังนี้

  1. การทำข้อมูลและการติดตามผู้ติดเชื้อรายชุมชน รับผิดชอบโดย คลองเตยดีจัง ทำงานในส่วนของ 1) ระบบฐานข้อมูล 2) การส่งต่อกรณีเร่งด่วน
  2. "ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) วัดสะพานรับผิดชอบโดยคณะสงฆ์วัดสะพานและคณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชน ทำงานในส่วน 1) ระบบการส่งตัวผู้ป่วยจากชุมชนมาที่วัดสะพาน 2) ระบบการดูแลผู้ติดเชื้อในวัด 3) ระบบการส่งต่อผู้ติดเชื้อจากศูนย์พักคอยไปโรงพยาบาลสนาม
  3. ความช่วยเหลือเรื่องอาหาร รับผิดชอบโดยวัดสะพาน คลองเตยดีจัง และมูลนิธิดวงประทีป โดยเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร ถุงยังชีพ และอื่น ๆ ให้กับชุมชน

ตารางแสดงผลการดำเนินการ

สัมภาษณ์ความประทับใจจากจิตอาสา และผู้ป่วยที่ได้รับความช่วยเหลือ


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ สามารถแบ่งตามบทบาทหน้าที่งานที่รับผิดชอบ 3 ส่วน ดังนี้

1. การทำข้อมูลและการติดตามผู้ติดเชื้อรายชุมชน รับผิดชอบโดย คลองเตยดีจัง

1.1 ระบบฐานข้อมูล

1) Case manager คือ ระบบติดตามผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง มีบทบาทหน้าที่ดังนี้ 1) ดูแลภาพรวมของพื้นที่ รับผิดชอบ โดยการทำความเข้าใจธรรมชาติ เงื่อนไข ข้อจำกัดของชุมชนที่ดูแล และมองให้เห็นภาพรวมความวิกฤตของชุมชนและรายเคสว่าเรื่องไหนควรคุยกับใครในชุมชน 2) ติดตามดูแล ให้ความช่วยเหลือ case worker ในทีม เพื่อให้การทำงานราบรื่น และช่วยประสานความช่วยเหลือเร่งด่วน/ฉุกเฉิน 3) จัดการข้อมูลรายชื่อทั้งหมดในชุมชน และส่งต่อ/อัพเดทข้อมูลความช่วยเหลือมาที่ data center

2) case worker คือ ระบบติดตามผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงรายคน มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1) สร้างความสัมพันธ์ ความช่วยเหลือ และติดตามผลผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยงเป็นรายคน เพื่อทำงานเชิงรุก 2) ระบุกลุ่มเสี่ยง ประสานความช่วยเหลือ และจำกัดวงของการแพร่เชื้อ

3) สายด่วนโควิดคลองเตย คือ เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินสำหรับให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเบื้องต้น เช่น ตอบคำถามเรื่องการตรวจคัดกรอง การฉีดวัคซีน การประเมินอาการเจ็บป่วย การหาเตียงโรงพยาบาล รวมถึงความช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น คนในบ้านเจ็บป่วยหายใจไม่ออก

4) Data Center คือ ระบบฐานข้อมูลกลางสถานะและจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1) ติดตามและรับข้อมูลรายชื่อผู้ติดเชื้อจากผลตรวจเชิงรุกจากรถพระราชทาน สายด่วนคลองเตย (Hotline คลองเตย) ระบบติดตามผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง (Case Manager) 2) แยกรายชื่อแต่ละชุมชนเพื่อเช็คกับฐานข้อมูลเดิมว่ามีชื่อซ้ำหรือไม่ และอัปเดตรายชื่อผู้ติดเชื้อขึ้นฐานข้อมูลกลางเพื่อให้ทีมติดตาม (Case Manager) ของแต่ละชุมชนประสานงานต่อไป 3) ติดตามดูแล และให้ความช่วยเหลือ case manager เพื่อให้งานราบรื่น และช่วยประสานความช่วยเหลือเร่งด่วน/ฉุกเฉิน 4) ประสานงานกับทีมกลางและเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือกรณีเร่งด่วน/ฉุกเฉิน

การทำข้อมูลและการติดตามผู้ติดเชื้อรายชุมชน ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2564 รับผิดชอบโดย คลองเตยดีจัง


1.2 การส่งต่อกรณีเร่งด่วน

การส่งต่อกรณีเร่งด่วนเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการหนัก เช่น หายใจ ไม่ออกค่าออกซิเจนต่ำ ฯ ให้ได้รับความช่วยเหลือเร็วที่สุด เช่น การจัดหาเตียงในโรงพยาบาลสนาม ซึ่งตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 8 มิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการส่งต่อความช่วยเหลือเตียงสนามรวม 73 คน ดังนี้

2. ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) วัดสะพาน รับผิดชอบโดย คณะสงฆ์วัดสะพานและคณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชน

 ศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด 19 ในชุมชนระหว่างรอส่งตัว มีคณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชนคลองเตยเป็นคณะผู้ดูแลในภาพรวม โดยมีท่านเจ้าอาวาสวัดสะพานพระพิศาลธรรมานุสิฐ (สมบูรณ์ กุลวฑฺฒโน) เป็นประธานและมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชนในชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ ศบส.41 สำนักงานเขต 10 เขต ตัวแทนจาก พม. และหน่วยสนับสนุนจากภายนอก ซึ่งมีตัวแทนของกลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขเป็นหลักในการประสานกับหน่วยงานด้านการสาธารณสุขต่างๆ กับทาง สปคม. กรมควบคุมโรค กรมอนามัย สำนักอนามัยของ กทม. และอื่น ๆ

โครงสร้างบทบาทหน้าที่ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว

ในส่วนของหน่วยปฏิบัติการมีอยู่สองส่วน คือ 1) ศูนย์ข้อมูลและประสานงานที่มีมูลนิธิดวงประทีปและทีมคลองเตยดีจังเป็นผู้ดำเนินการหลัก และ2) ศูนย์พักคอยในชุมชนมีพระครูพิพิธวรกิจจานุการ (มานิตย์ เขมคุตฺโต) วัดสะพานเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ซึ่งศูนย์พักคอยนี้กำหนดชื่อทางการว่า "ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) เปิดรับผู้ป่วยชุดแรกเข้าพักตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 โดยมีจำนวนผู้เข้ามาใช้ศูนย์พักคอยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2564 รวมทั้งหมด 879 คน ดังนี้

ระบบการทำงานของศูนย์พักคอยฯ

2.1 ระบบการส่งตัวผู้ป่วยจากชุมชนมาที่วัดสะพาน

มีการประสานงานกับผู้นำของชุมชนต่าง ๆ ทั้งที่ผ่านทางกลุ่มไลน์ hotline คลองเตย และการประสานงานโดยตรง ในกรณีที่พบผู้ติดเชื้อในชุมชนและรถรับส่งของโรงพยาบาลไม่สามารถมารับได้ทันการณ์ ประธานชุมชนหรือผู้ป่วยต้องการจะมาพักที่ศูนย์พักคอยฯ สามารถประสานงานมาที่ท่านเจ้าอาวาสวัดสะพานหรือพระครูพิพิธวรกิจจานุการ (มานิตย์ เขมคุตฺโต) ได้โดยตรงจะมีทีมรถรับส่งของกลุ่มอาสาสมัครในชุมชนคลองเตยหลายทีมที่เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการส่งตัว อาทิ ทีมรถกู้ภัยของทีมกระต่ายคลองเตย ทีมกู้ภัยของชุมชนล็อค 123 และทีมกู้ภัยของมูลนิธิดวงประทีปไปรับตัวมาส่งที่ศูนย์พักคอยฯ โดยในชั้นต้นจะพักรอไม่เกิน 24 ชั่วโมง ยกเว้นในบางกรณีที่ยังไม่สามารถหาโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลที่เหมะสมกับสภาพความเจ็บป่วยได้อาจจะรอนานกว่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถบริหารจัดการรายบุคคลได้ภายใน 3 วัน โดยแยกผู้ติดเชื้อชาย หญิง และดูแลเบื้องต้นเพื่อรอการส่งตัวไปรักษาต่อ ซึ่งมีมาตรการสำคัญเบื้องต้นในการดูแล คือ การแยกผู้ติดเชื้อกับสมาชิกในครอบครัวและชุมชนเพื่อลดการกระจายแพร่เชื้อโควิด-19

2.2 ระบบการดูแลผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอยฯ

อาคารที่พักของผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอยฯ ปรับมาจากอาคารพักเรียนของพระสงฆ์ที่ศึกษาธรรมะของวัดสะพานเพื่อใช้รองรับผู้ติดเชื้อในพื้นที่ โดยมีจำนวนเตียงเตรียมรับจำนวน 150 เตียง มีการเปิดให้บริการแล้วจำนวน 100 เตียง ในช่วงแรกใช้ชั้น 5 7 และชั้น 8 เป็นที่พักคอยรอส่งตัวผู้ป่วย กรณีที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นจะมีการขยายลงมาจนถึงชั้น 3 ในส่วนของผู้ดูแลมีพระคิลานุปัฎฐากซึ่งเป็นพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) ดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกับแกนนำชุมชน และใช้ลิฟท์ควบคุมการขึ้นลงภายในอาคารสำหรับผู้ติดเชื้อ ซึ่งมีการทำความสะอาดทุก 2-3 ชั่วโมง โดยจิตอาสาหรือพระคิลานุปัฏฐาก ส่วนผู้ดูแลอาคารจะใช้บันไดเท่านั้นและมีการควบคุมจำนวนคนเข้าออกภายในอาคารอย่างเคร่งครัด ส่วนด้านการกำจัดขยะมีได้ดำเนินการ 2 ทาง คือ 1) จัดจ้างบริษัทเอกชนซึ่งมีการสวมชุดป้องกันตนเองอย่างรัดกุม และ 2) การบริหารจัดการภายใต้ส่วนราชการ คือ ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ของทางสำนักงานเขตคลองเตย ส่วนการลำเลียงขยะรายวันจากอาคารศูนย์พักคอยด้านบนนั้นจะเป็นหน้าที่ของพระคิลานุปัฏฐาก พระคิลานธรรม และจิตอาสาในพื้นที่

2.3 ระบบการส่งต่อผู้ติดเชื้อจากศูนย์พักคอยไปโรงพยาบาลสนาม

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะได้รับการประสานหาเตียงจากโรงพยาบาลที่ไปตรวจหาเชื้อเพื่อส่งต่อไปรับการรักษาตามอาการ บางกรณีผู้ป่วยอาจจะมีการประสานไปทางโรงพยาบาลที่มีเตียงว่างด้วยตนเองผ่านช่องทางต่าง ๆ อีกทางหนึ่งด้วย ในบางช่วงเวลาที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากจะมีรถจากทางกองทัพประสานส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ทางหน่วยงานประสานหาเตียงรอรับการส่งต่อไว้

3. ความช่วยเหลือเรื่องอาหาร รับผิดชอบโดยวัดสะพาน คลองเตยดีจัง และมูลนิธิดวงประทีป

ภาพประกอบโครงการ

เตียงและอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยในศูนย์พักคอย

สายด่วนโควิดคลองเตย

การส่งต่อกรณีเร่งด่วน

การแจกถุงยังชีพให้ชุมชน

การส่งน้ำดื่มให้ชุมชนบ้านมั่นคง

การส่งน้ำดื่มให้ชุมชนล็อค 6

ส่งข้าวกล่องให้ชุมชน

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าเครื่องใช้สำหรับผู้ป่วย เช่น มุ้ง ผ้าห่ม แปลงสีฟัน ยาสีฟัน ขันอาบน้ำ อื่นๆ ชุดละ 1,500 บาท 50 ชุด 75,000.00
2 ค่าอุปกรณ์สำหรับการป้องกัน เช่น เจล แอกอฮอล์ หน้ากาก ชุด PPE เพื่อป้องการทีมงานและอาสาสมัคร) ชุดละ 500 บาท 1000 ชุด 50,000.00
3 ค่าอาหารและน้ำดื่ม 3 มื้อ ของผู้ที่รอส่งตัวและอาสาสมัคร (ประเมินสถานการณ์ไว้ 3 เดือนหรือ 90 วัน) มื้อละ 50 บาท 50 บาทต่อมื้อ 270,000.00
4 ค่าติดตั้งระบบส่วนกลาง เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์พื้นที่การจัดการข้อมูล อุปกรณ์จำเป็นทางเทคโนโลยี 1 ครั้ง 30,000.00
5 ค่าประสานโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ เดือนละ 5,000 บาท 3 เดือน 15,000.00
6 ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ศูนย์ประสานงาน เดือนละ 3000 บาท 3 เดือน 9,000.00
7 ค่าเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ 2 คน เดือนละ 15,000 บาท 3 เดือน 90,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
539,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
53,900.00

ยอดระดมทุน
592,900.00