isolation_facility

5,000 บาท ของท่าน สามารถช่วยผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวังได้กักแยกตัวเองได้ถูกต้อง ครบ 14 วัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อต่อให้กับสมาชิกในครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะเป็นการช่วยลดหรือชะลอช่วงวิกฤติของการแพร่ระบาดของโรคนี้
Duration 3 เดือน (เป้าหมาย 500 คน) Area ไทย
Current donation amount
1,204,511 THBTarget
2,625,000 THBศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกระบวนการ “ต้นน้ํา” ตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ตั้งแต่ระดับครอบครัวและชุมชน เน้นการรองรับกลุ่มผู้เฝ้าสังเกตอาการ อาทิ กลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง กลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มนี้ไม่จําเป็นต้องมีการรักษา แต่แพทย์ต้อง คุมไว้เพื่อสังเกตอาการใกล้ชิด โดยไม่เปลืองทรัพยากรและเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพื่อช่วยตัดตอนการแพร่ของ โรคระบาดนี้ไปพร้อมกับการสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม และเพื่อเป็นโมเดลต่อยอดในการขยายผลการ จัดตั้งศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยกให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป
โครงการต้นแบบนี้เกิดขึ้นได้สําเร็จเป็นแห่งแรกในจังหวัดปทุมธานี และได้ขยายผลไปยังพื้นที่เสี่ยงใน จังหวัดอื่นด้วย อาทิ อําเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ซึ่งทําหน้าที่เป็น supporting unit สําคัญของระบบสาธารณสุข ในขั้นตอนการคัดกรองและกักแยก เป็นการผ่อนภาระให้กับโรงพยาบาลตั้งแต่ต้นทาง และช่วยตัดตอนการแพร่ ระบาดสู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดั่งกรณีศึกษาการทําศูนย์กักแยกประสบความสําเร็จมาแล้วในหลายประเทศ “ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก” เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสําคัญที่เติมเต็มภาพนโยบายใหญ่ โดยหันมามองถึงการลดความ เหลื่อมล้ําในการเข้าถึงระบบบริการสุขอนามัยที่ดี ให้กับกลุ่มเปราะบางเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม ตาม หลักการทํางาน
“กักแยกเร็ว หายได้ไว ชุมชนปลอดภัย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
โครงการเราจะดําเนินการช่วงเดือน เมษายน – กันยายน 2563 ระยะเวลา 6 เดือน เพื่อระดมทุนผ่าน แพลทฟอร์มเทใจในการจัดเตรียมสถานที่ อาหาร และการดูแลให้คําแนะนําที่เหมาะสม สําหรับผู้ถูกกักแยกโดยตั้ง เป้าไว้จํานวน 500 คน โดยสนับสนุนการดําเนินงานสองส่วนหลัก ตามความจําเป็นของแต่ละศูนย์ฯ โดยปัจจุบันมี การดําเนินงานใน 2 ศูนย์ได้แก่ ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และ ศูนย์ที่พัก อาศัยเพื่อการกักแยก อําเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
การสนับสนุนของโครงการ ครอบคลุมการดําเนินงานของศูนย์ฯ ใน 2 ส่วนหลักดังนี้
1.การดูแลผู้เข้าพักดังต่อไปนี้
- อาหารและน้ําดื่ม ที่มีประโยชน์ ตามหลักโภชนาการ วันละ 3 มื้อ
- เสื้อผ้า 2 ชุด และของใช้ส่วนตัว ได้แก่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผม ไม้แขวนเสื้อ ไม้หนีบ กระดาษทิชชู่ ผ้าเช็ดตัว ผ้าขนหนูผืนเล็ก แป้งทาตัว หวี ผ้าอนามัยสําหรับผู้หญิง
- อุปกรณ์ทําความสะอาด ได้แก่ น้ํายาล้างจาน ฟองน้ํา กาละมังซักผ้า แปรงซักผ้า ผงซักฟอก ไม้ กวาด ถังผง ไม้ถูพื้น น้ํายาล้างห้องน้ํา ถังขยะแบบเหยียบมีฝาปิด ถุงขยะ
- ยาสามัญประจําบ้าน ตามความจําเป็น
2.การปรับปรุงสถานที่ให้สามารถรองรับการเป็นศูนย์กักแยกที่มีมาตรฐานและสุขอนามัยที่ดีเช่น
- การปรับปรุงห้องน้ํา ห้องอาบน้ํา
- การปรับปรุงพื้นที่ห้องพัก
- การจัดพื้นที่สําหรับเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์
- การปรับปรุงอื่นๆ ตามที่สาธารณสุขในพื้นที่ให้คําแนะนํา
ประโยชน์ของโครงการ
- ช่วยลดภาระโรงพยาบาลในการรับผู้ป่วยกลุ่ม PUI หรือผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวัง
- โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรฐานรากที่ไม่สามารถกักแยกตนเองหรือมีพื้นที่ในการเฝ้าระวังสังเกตอาการได้อย่างถูกต้อง
- ป้องกันไม่ให้ครอบครัวผู้ถูกกักแยกเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
- ตัดตอนการแพร่ระบาดในชุมชนได้อย่างแท้จริง
- ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ช่วงแรกของอาการทำให้โอกาสหายสูงและผ่อนจำนวนเคสหนักให้โรงพยาบาล
ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะกรรมการและคณะทํางาน ของศูนย์ท่ีพักอาศัยเพื่อการควบคุมไว้สังเกตอาการ
Budget plan
รายการ | จำนวน | จำนวน (บาท) |
1.ช่วยเหลือผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวัง 1คน เพื่อกักกัน 14 วันคนละ 5,000 บาท | 200 คน | 1,000,000 |
2.ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานท่ี ศูนย์กักแยก - ปทุมธานี จำนวน 200,000 บาท - ปัตตานี จำนวน 1,200,000 บาท | 1,400,000 | |
3.ค่าใช้จ่ายดําเนินงานส่วนอํานวยการกลาง ได้แก่ ค่าจัดส่ง เอกสารและพัสดุ ค่าหีบห่อ ค่าจัดทําเอกสารและสิ่งพิมพ์ ค่าวัสดุสิ้นเปลืองสํานักงาน ค่าใช้จ่าย | 100,000 | |
4.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 5 % (ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gatewayค่าคัดกรองโครงการ รายละเอียดค่าใช้จ่ายต่อบุคคล) | 125,000 | |
รวม | 2,625,000 |
ที่มาของค่าใช้จ่ายของผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวัง 1 คน 5,000 บาท/คน/14 วัน
รายการ | บาท |
1.ค่าอาหารและน้ำดื่ม 3 มื้อต่อวัน : 14 วัน | 3,000 |
2.ค่าของใช้ส่วนตัว และอุปกรณ์ในการเข้าพัก 14 วัน | 1,000 |
3.ค่าบุคลากรในการบริหารจัดการศูนย์ รวมบุคลากรทางการแพทย์ ผู้จัดการศูนย์ และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ 25 คน | 1,000 |
รวม | 5,000 |