หนังสือตรงใจน้อง

สนับสนุนค่าหนังสือเพื่อบริจาคให้กับเด็กๆ ตามโรงเรียนในพื้นที่ขาดแคลนทั่วประเทศ โดยให้เยาวชนได้มีโอกาสในการเลือกหนังสือที่ตรงใจ อยากอ่าน อันจะส่งผลต่อการสร้างพฤติกรรมรักการอ่าน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ สู่การพัฒนาคุณภาพของคนไทยอย่างยั่งยืน
Duration 01 ก.ย. 2565 ถึง 30 เม.ย. 2566 Area ทั่วประเทศ
Current donation amount
101,917 THBTarget
726,000 THBปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
“มูลนิธิหนึ่งอ่านล้านตื่น” ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ด้วยการรณรงค์เปลี่ยนทัศนคติในการบริจาคหนังสือ ด้วยแนวคิดสร้างโอกาสให้กับคนในพื้นที่ขาดแคลนไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กนักเรียน ให้ได้มีโอกาสในการเลือกหนังสือคุณภาพที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่นั้นๆ ที่สำคัญต้องเหมาะสมกับช่วงวัย และตรงใจ อยากอ่าน อันจะส่งผลต่อการสร้างพฤติกรรมรักการอ่าน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ สู่การพัฒนาคุณภาพของคนไทยอย่างยั่งยืน
ปัญหาของการส่งเสริมการอ่านในพื้นที่ด้อยโอกาส คือการขาดแคลนเครื่องมือ “หนังสือ” ถือเป็นหัวใจสำคัญ เป็นสื่อการอ่านที่ราคาถูก ใช้งานง่าย แม้กระนั้นในพื้นที่ด้อยโอกาสก็ยังไม่สามารถจัดหาด้วยตนเองได้ ส่วนใหญ่หนังสือได้มาจากการรับบริจาคจะเป็นหนังสือเก่า ล้าสมัย ไม่มีคุณภาพต้องคัดทิ้ง
การขาดพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิต นั่นก็คือการอ่าน ส่วนหนึ่งเกิดจากไม่ชอบอ่าน ไม่สนใจ จากสถิติของเด็กเล็กที่อ่านหนังสือนอกเวลาเรียนจำแนกตามการซื้อหนังสือให้เด็กเล็กและผู้ที่เป็นคนเลือกหนังสือ (เฉพาะหนังสือที่เป็นรูปเล่ม)ในปีพ.ศ. 2561 ผู้ใหญ่เป็นคนเลือกให้ถึงร้อยละ 55.3 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
กิจกรรมหนังสือตรงใจ เป็นการจัดหาหนังสือที่สนใจและอยากอ่าน โดยการให้เด็กๆ มาเลือกหนังสือที่สนใจนั้นด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการส่งเสริมการอ่านด้วยหนังสือใหม่ มีคุณภาพ เหมาะสมกับช่วงวัย และตรงใจผู้อ่าน จากการจัดกิจกรรมดังกล่าว ทำให้เด็กมีความสนใจและอยากอ่านหนังสือมากขึ้น มีปริมาณการเข้าห้องสมุดและยืมหนังสือมากขึ้น นำไปสู่พื้นฐานการพัฒนาตนเองและสังคม รวมไปถึงช่วยสร้างวัฒนธรรมการอ่านและเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กและเยาวชน
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. กิจกรรมหนังสือตรงใจ โดยการมอบโอกาสให้โรงเรียนหรือชุมชนที่ขาดแคลนได้เลือกหนังสือที่อยากอ่านด้วยตนเองภายในงานหนังสือที่สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ เป็นผู้จัดงาน โดยคัดเลือกพื้นที่ที่มีประเภทหลากหลายแตกต่างกัน และให้ความร่วมมือในการประเมินผลได้ ได้แก่ โรงเรียน ชุมชน ห้องสมุด และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2. กิจกรรมบุคคลต้นแบบ โดยผู้มีความโดดเด่นด้านส่งเสริมการอ่าน เพื่อยกย่องเชิดชูและให้กำลังใจ เป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นอยากทำตาม และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อนำผลให้เป็นที่รับรู้ในคนหมู่มากและกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความต้องการที่จะเข้าร่วม
3. การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเข้าใจและระดมทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิฯโดยการออกบูธประชาสัมพันธ์ภายในงานหนังสือที่สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ เป็นผู้จัดงานและประชาสัมพันธ์ใน Social Media ช่องทางต่างๆ
4. ประเมินผลกิจกรรม จากรายงานการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายในโรงเรียนและชุมชน
5. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนและชุมน และให้คำแนะนำ
Budget plan
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | งบประมาณจัดซื้อหนังสือให้โรงเรียนที่ขาดแคลน และค่าจัดส่งหนังสือ (โรงเรียนละ 20,000 บาท) | 30 โรงเรียน | 600,000.00 |
2 | ค่าใช้จ่ายในการตรวจเยี่ยมพื้นที่ ประเมินผล และการประชาสัมพันธ์ (โรงเรียนละ 2,000 บาท) | 30 โรงเรียน | 60,000.00 |