project เด็กและเยาวชน สัตว์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ

สนับสนุนอุปกรณ์และกิจกรรมเยาวชนพิทักษ์ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม

สืบเนื่องจากมีช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ด้านทิศเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา เข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนถึง 200-250 ตัว ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรอันนำไปสู่การปะทะกันระหว่างคนกับช้าง จนทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายทั้งคนและช้างป่า ในปี 2564 พบมีคนเสียชีวิต 13 ราย คนบาดเจ็บ 5 ราย ช้างล้มตาย 7 ตัว และบาดเจ็บ 5 ตัว ซึ่งสาเหตุเกิดจากการขาดความรู้และความเข้าใจด้านพฤติกรรมและเส้นทางหากินของช้างป่า ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจดังกล่าว จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการศึกษารวบรวมข้อมูลช้างป่าของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่อันจะต่อยอดสู่การสื่อสารรณรงค์สร้างการรับรู้และทำความเข้าใจแก่ผู้คนในชุมชนเพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยทั้งกับคนและช้างป่าในระยะยาว

Duration 01 ม.ค. 2565 ถึง 31 ธ.ค. 2565 Area ระบุพื้นที่: ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา , ตำบลทุ่งพระยา ตำบลท่ากระดาน ตำบลลาดกระทิง อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา

Current donation amount

51,230 THB

Target

396,858 THB
ดำเนินการไปแล้ว 13%
จำนวนผู้บริจาค 84

สำเร็จแล้ว

Project updates

กิจกรรมติดตามบันทึกรูปพรรณ พฤติกรรม และรูปแบบการเคลื่อนที่ของช้างป่า

24 August 2022

เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในทุก ๆ วัน (routine) โดยเยาวชนในโครงการศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนมจะออกลาดตะเวนไปตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีรายงานการพบช้างจากเครือข่ายชาวบ้านเพื่อบันทึกภาพรูปพรรณและสังเกตพฤติกรรม รวมถึงประเมินการเคลื่อนที่ของช้างป่าว่าจะไปทิศทางไหน รูปแบบไหน นอกจากนั้นเมื่อทราบทิศทางที่ช้างจะเดินทางไปก็ได้ทำการแจ้งเตือนชาวบ้านที่อยู่บนเส้นทางนั้น ๆ ได้ทราบผ่านเพลตฟอร์มการสื่อสารอย่างง่าย เช่น Facebook หรือ Line เป็นต้น ในบางครั้งเมื่อประเมินว่าช้างมีแนวโน้มจะเข้าหมู่บ้านก็จะดำเนินการสกัดกั้นเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านทันที ดังที่ปรากฏเป็นข่าว


สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้

  1. ได้ข้อมูลรูปพรรณช้างป่าเพศผู้ที่มีความเชื่อมโยงกับโขลงช้างเพศเมียจำนวน 26 ตัว
  2. ได้ข้อมูลพฤติกรรมของช้างเพศผู้บางส่วนและยังต้องดำเนินการเฝ้าสังเกตต่อไป
  3. ได้เส้นทางของช้างป่านอกเขตป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ทางตอนเหนือของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ครอบคลุม 2 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี
  4. เยาวชนอาสาสมัครฯ ได้พัฒนาทักษะในการเฝ้าติดตาม ประเมินสถานการณ์ และเรียนรู้ช้างป่าในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม

ค่ายเยาวชนถอดบทเรียน สถานการณ์ช้างป่าเขาอ่างฤาไน ในพื้นที่ชุมชน ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม
เป็นค่ายที่ถอดบทเรียนสถานการณ์ช้างป่าในมิติต่าง ๆ ที่ผ่านมาร่วมกัน เพื่อสร้างการรับรู้ความเสี่ยง อันจะนำไปสู่การบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและทั้งที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า อนึ่ง การบริหารความเสี่ยงเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่ต้องการยอมแพ้ เราต่อสู้กับธรรมชาติ แต่เราก็มีหลักการ และเมื่อถึงจุดที่เราเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ เราก็ต้องหยุดเพื่อทบทวน และหาแนวทางที่จะไม่ให้เกิดภัย หรือความเสี่ยง ซึ่งมีกิจกรรมหลักดังนี้

  1. แลกเปลี่ยนสถานการณ์ช้างป่าอดีต ปัจจุบัน อนาคต กับคุณพิทักษ์ ยิ่งยง หัวหน้าเขตรักษาพันธฺสัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมพู่ เพื่อให้รับรู้สถานการณ์ช้างป่าจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
    ผลที่ได้ในกิจกรรม 1) รับรู้ช่วงเวลาเริ่มต้นของการออกมาจากผืนป่าอนุรักษ์ของช้างป่า ซึ่งในปีแรก ๆ เมื่อราว 20 กว่าปีก่อน กระทิงหนึ่งตัวออกมาจากป่าเขาอ่างฤาไนทางด้านอำเภอวังทองไปจนถึงอำเภอปลวกแดง จ.ชลบุรี จากนั้นไม่ถึงหนึ่งปีก็พบว่ามีฝูงช้างออกมาจำนวนกว่า 20 ตัว บนเส้นทางเดียวกันกับกระทิง ในเวลาไม่ห่างกันมากทางด้านทิศเหนือของเขาอ่างฤาไนเริ่มมีฝูงช้างออกมากลุ่มแรก ๆ บริเวนบ้านนายาว-นาอีสาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา และในช่วงปี 2547 เป็นต้นมาก็พบว่ามีช้างออกจากป่าทั่วทุกสารทิศซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มช้างตัวผู้ที่ออกมาสำรวจ และปัจจุบันพบว่ามีช้างออกมาจากผืนป่าอนุรักษ์ถี่ขึ้นจนมีจำนวนมากถึง 250-300 ตัว รอบผืนป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งมีการประเมินเบื้องต้นมีช้างป่าในภาคตะวันออกราว ๆ 535 ตัว ขณะที่ผืนป่ารอยต่อทั้งหมดมีเนื้อที่ 1.3 ล้านไร่ และในอนาคตช้างป่าจะเพิ่มจำนวนประชากรเป็นเท่าตัว ในอีก 10 ปีข้างหน้า 2) รับรู้ถึงการเตรียมความพร้อมในการตั้งรับปรับตัว ซึ่งเน้นไปที่เรื่องการปฏิบัติตัวเมื่อเผชิญหน้ากับช้างป่าและการเรียนรู้รูปพรรณ พฤติกรรม และรูปแบบการเคลื่อนที่ของช้างป่าในพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงการวิเคราะห์หรือประเมินพื้นที่เป้าหมายของช้างป่าล่วงหน้าได้
  2. ทำแผนที่ชุมชน เพื่อให้เกิดการรับรู้พื้นที่ดินแดนของชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม และเส้นทางหากินของช้างป่า
    ผลที่ได้ในกิจกรรม เยาวชนได้รับรู้แผนผังของชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม ชนิดพืช ปฏิทินการเพาะปลูกที่มีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่ช้างป่าเข้ามาในพื้นที่ชุมชนของตนเอง พื้นที่พักช้างในช่วงกลางวัน และเส้นทางหากินของช้างป่า ตลอดจนเส้นทางการเคลื่อนที่ของช้างป่าเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน และสามารถประเมินความเสี่ยงในพื้นที่ชุมชนของตนเองได้ พร้อมทั้งสามารถออกแบบวิธีการแจ้งเตือนผ่านเครื่องมือต่าง ๆ โดยเฉพาะโซเชียลเน็ตเวิร์ค
  3. บทบาทสมมติ นักถอดรหัสช้างป่า เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติในพื้นที่จริงในการประเมินเส้นทางช้างป่า
    ผลที่ได้ในกิจกรรม เยาวชนได้ออกไปทดลองแกะรอยช้างป่าเข้าพักในพื้นที่ที่เป็นแหล่งพักนอนในช่วงกลางวัน และนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้พบมาฝึกวิเคราะห์ประเมินเส้นทางหากินของช้างป่า และนำผลประเมินดังกล่าวมาทดลองสื่อสารระหว่างกันในกลุ่มที่จำลองให้เป็นคนในชุมชนที่มีความเสี่ยงจากช้างป่า

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) หัวข้อ แนวทางเพื่อการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า: คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย วันที่ วันที่ 9-10 เมษายน 2565 ณ หอประชุมโรงเรียนบ้านหนองปรือกันยาง
โครงการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าบนฐานบูรณาการเชิงระบบนิเวศสังคม ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง และ โครงการวิจัยนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: พฤติกรรมก่อกวนของช้างป่าที่สร้างความปั่นป่วนต่อประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัตการ (workshop) หัวข้อ แนวทางเพื่อการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า: คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพและพัฒนาเครือข่ายชุมชนในการจัดการช้างป่าภาคตะวันออก (ตอนเหนือ) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) เพื่อประเมินสถานการณ์และการจัดการช้างป่าในพื้นที่ชุมชนผ่านเครือข่ายอาสาเฝ้าระวังช้างป่าของภาคตะวันออก (ตอนเหนือ) 3) เพื่อจัดทำแนวทางการจัดช้างป่าในพื้นที่ชุมชน โดยมุ่งเป้าสู่การจัดทำแผนแม่บทการจัดการช้างป่าในพื้นที่ชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและภาครัฐในพื้นที่ โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนกว่า 50 คน ประกอบไปด้วย ชาวบ้านและอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่า 7 พื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง และจันทบุรี นักวิชาการและนักวิจัยเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง นักวิชาการอิสระ เครือข่ายภาคประชาสังคม ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตัวแทนและผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

โดยผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาช้างป่าในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากเป็นปัญหาร่วมเดียวกัน และทำให้จิ๊กซอของแต่ละพื้นที่ประกอบเข้าด้วยกันจนสามารถทำให้เห็นภาพรวมของปัญหาที่สะท้อนออกมาจากคนในพื้นที่ และได้นำไปสู่ข้อเสนอในการจัดการปัญหาช้างป่าในหลายประเด็นดังนี้

  • แก้ไขระเบียบและหลักเกณฑ์การเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า
  • แก้ไขนโยบาย กฏหมาย และการจัดการปัญหาช้างป่า
  • สร้างพื้นที่รองรับในเขตป่าอนุรักษ์ให้เพียงพอต่อประชากรที่เพิ่มขึ้น 8.2% ในทุก ๆ ปี
  • ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทุกมิติ
  • อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าควรได้รับสวัสดิการจากรัฐ
  • แก้ไขระเบียบองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดจ้างพนักงานจัดการปัญหาช้างป่าได้
  • ปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตการเกษตร
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ชุมชน

อย่างไรก็ตามโครงการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าบนฐานบูรณาการเชิงระบบนิเวศสังคม และ โครงการวิจัยนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: พฤติกรรมก่อกวนของช้างป่าที่สร้างความปั่นป่วนต่อประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย จะยกระดับข้อเสนอจากคนในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้เกิดเป็นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการจัดการปัญหาช้างป่าในพื้นที่ภาคตะวันออกต่อไป

เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนบูรณาการช้างป่าภาคประชาชนพื้นที่ภาคตะวันออก วันที่ 9-10 กรกฏาคม 2565 ณ ห้องประชุมแก้วเจ้าจอม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
เมื่อวันที่ 9-10 กรกฏาคม 2565 ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนบูรณาการช้างป่าภาคประชาชนพื้นที่ภาคตะวันออก ณ ห้องประชุมแก้วเจ้าจอม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยมีเครือข่ายภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมจาก 7 จังหวัดรอบผืนป่ารอยต่อภาคตะวันออก ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด รวมถึงเยาวชนอาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่า ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม เพื่อหารือจัดทำแผนบูรณาการในการจัดการปัญหาช้างป่าภาคตะวันออกอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

ทั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาตลอดจนแนวทางในการจัดการปัญหาช้างป่าของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีข้อเสนอของกลุ่มเยาวชนอาสาสมัครฯ กลุ่มฟันน้ำนม และภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราต่อการจัดการปัญหาช้างป่าอย่างมีส่วนร่วมต่อหน่วยงานภาครัฐใน 7 ประเด็น ได้แก่ 1) สร้างความร่วมมือผ่านกลไกองค์กรชุมชนและภาคีเครือข่าย 2) สนับสนุนเยาวชนคนรุ่นใหม่ในการศึกษาช้างป่าในพื้นที่ชุมชน 3) สนับสนุนสวัสดิการอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่า 4) แก้ไขหลักเกณฑ์การเยียวยาแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าอย่างเป็นธรรม 5) เร่งผลักดันการช่วยเหลือชาวบ้านตาม ม.60 พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2562 6) ทบทวนการจัดการแหล่งรองรับ-ถิ่นอาศัยช้างป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และ 7) เร่งดำเนินการควบคุมประชากรช้างป่า

อย่างไรก็ตาม แผนการบูรณาการเพื่อการจัดการปัญหาช้างป่าอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จะถูกรวบรวมเรียบเรียงเป็นรายงานและข้อเสนอต่อรัฐบาลต่อไป โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ

สัมภาษณ์เยาวชนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มฟันน้ำนม


นาย กฤตพรต สมานใจ ชื่อเล่น แบม อายุ 15 ปี
ผมเริ่มดูช้างป่าตั้งแต่ตอนอายุประมาณ 8-9 ขวบครับ ตอนนั้นช้างเข้ามาในหมู่บ้านเป็นฝูงหลายสิบตัว แม่ก็พาขี่ซาเล้งไปดูช้างข้ามถนน เริ่มสนุกกับการดูช้างตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา และก็ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูป ถ่ายคลิป เอามาโพสในเฟสบุ๊ก แต่พอน้าตาล (ตาล วรรณกูล) เข้ามาตั้งศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม ก็ได้มีโอกาสมาเรียนรู้นิเวศวิทยาช้างป่า และได้ทำหน้าที่เป็นคนบันทึกข้อมูลช้างป่าในภาคสนาม ตอนแรก ๆ ศูนย์มีกล้องแคนอนตัว ๆ กับเลนส์ 80-210 มม. แค่ 1 ตัว ผมกับอาวุธก็แบ่งกันใช้ (ศราวุธ สมานใจ) ยอมรับว่าไม่สะดวกจริง ๆ ครับ พอผมเจอช้างและติดตามช้างกล้องก็ไม่ได้อยู่กับผม ใช้มือถือถ่ายคุณภาพก็ไม่ดีอย่างที่ศูนย์ฯ ต้องการ พลาดโอกาสบ่อย ๆ จึงขอให้ศูนย์ฯ ช่วยซื้อกล้องเพิ่ม น้าตาลก็เลยไปซื้อกล้องแคนอนตัวใหญ่มาเพิ่มอีกชุดพร้อมกับเลนส์ 70-300 แต่ด้วยมันเป็นกล้องที่ใช้ถ่ายภาพพอเอามาถ่ายวีดีโอพฤติกรรมช้างปรากฏว่าปรับไม่ค่อยจะทัน ตอนนี้ได้กล้องวีดีโอคุณภาพสูงจากโครงการเทใจ ผมเริ่มทำงานสนุกขึ้นแล้วครับ เพราะถ้าจะถ่ายภาพนิ่งรูปพรรณช้างก็เอากล้องภาพนิ่งถ่าย และสามารถทำงานไปพร้อม ๆ กับการถ่ายวีดีโอพฤติกรรมได้เลยครับ รู้สึกดีครับที่ได้อุปกรณ์มาเพิ่มแบบนี้ ถึงแม้ว่าเราจะระดมทุนได้ไม่ตรงตามเป้าก็ตาม


น.ส. ผกาสินี ธรรมลี ชื่อเล่น มิ้น อายุ 17 ปี
มิ้นไม่ได้ออกไปดูช้างหรอกค่ะ เพราะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลอยู่ที่ศูนย์ฯ เพราะมิ้นได้รับหน้าที่เป็นแอดมินในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่ แบม กับ พี่วุธ ออกไปเก็บ แล้วเอามาวิเคราะห์กับน้าตาล ถามว่าประทับใจไหมกับการที่ทีมสนามได้อุปกรณ์มาใหม่ อันนี้บอกตรง ๆ เลยนะค่ะว่ามาก ประทับใจมาก เพราะข้อมูลวีดีโอที่ได้มามันมีคุณภาพที่ทำให้มิ้นได้เห็นรายละเอียดของช้างและพฤติกรรมของช้างแบบยาว ๆ เห็นทุกอย่างที่ช้างทำในช่วงเวลาที่กล้องบันทึกไว้ได้ มิ้นยังคิดว่าน่าจะเอาคลิปพวกนี้มาตัดต่อเป็นหนังสารคดีได้ด้วย 


นาย ศราวุธ สมานใจ ชื่อเล่น วุธ อายุ 21 ปี
หลัก ๆ ผมเป็นคนใช้กล้องตัวนี้ครับ เท่าที่ใช้มาเดือนกว่า ๆ ก็ถือว่าประทับใจครับ บางทีเราติดตามช้างป่า เราต้องเดินตามพวกมัน และได้กล้องวีดีโอที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา คุณภาพดีเอามาใช้เก็บข้อมูลช้างป่ามันค่อนข้างคล่องตัวครับ เวลาเราลืมเอาขาตั้งกล้องไปพอซูมไกล ๆ ก็ไม่สั่น และจะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นด้วยครับ ไม่เหมือนเมื่อก่อนมีกล้องตัวเดียวก็ต้องแบ่งกันใช้กับแบม ตอนนี้สบายแล้วครับ ต้องขอขอบคุณผู้บริจาคทุกคนที่มอบสิ่งดี ๆ ให้กับพวกเรา และเราก็จะทำหน้าที่ศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อเอาไปใช้ในการจัดการปัญหาช้างป่าในพื้นที่ชุมชนต่อไปครับ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

ภาพประกอบ



Read more »
See all project updates

สืบเนื่องจากมีช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ด้านทิศเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา เข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนถึง 200-250 ตัว ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรอันนำไปสู่การปะทะกันระหว่างคนกับช้าง จนทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายทั้งคนและช้างป่า ในปี 2564 พบมีคนเสียชีวิต 13 ราย คนบาดเจ็บ 5 ราย ช้างล้มตาย 7 ตัว และบาดเจ็บ 5 ตัว ซึ่งสาเหตุเกิดจากการขาดความรู้และความเข้าใจด้านพฤติกรรมและเส้นทางหากินของช้างป่า ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจดังกล่าว จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการศึกษารวบรวมข้อมูลช้างป่าของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่อันจะต่อยอดสู่การสื่อสารรณรงค์สร้างการรับรู้และทำความเข้าใจแก่ผู้คนในชุมชนเพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยทั้งกับคนและช้างป่าในระยะยาว

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

หลักการและเหตุผล

สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่ารอยต่อภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง ชลบุรี และสระแก้ว จำนวน 1,363,323.05 ไร่ หรือ 2,181.32 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เขตอนุรักษ์ในกำกับดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อุทยานแห่งชาติเขาสิบหาชั้น อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว อุทยานแห่งชาติเขาคิฌชกุฏ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติฯ และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง อันเป็นแหล่งอาศัยของช้างป่ากว่า 424 ตัว (ศุภกิจและคณะ,2562) สถานการณ์สิ่งแวดล้อม ณ ปัจจุบันพบว่ามีช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าเขตอนุรักษ์เข้ามาหากินตามพื้นที่เกษตรกรรมของประชาชน โดยช้างป่ามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการหากินขยายพื้นที่เข้ามายังบ้านเรือนและชุมชนเมืองมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะช้างป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนที่มีจำนวนประชากรช้างป่าเพิ่มขึ้นมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย (ดร.ศุภกิจ วินิตพรสวรรณ และคณะ, 2556-2558) เนื่องจากโดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนมีสภาพพื้นที่ที่เหมาะกับการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของช้างป่าประกอบกับมีปัจจัยแวดล้อมสำคัญต่อการดำรงชีวิต คือ แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และแหล่งแร่ธาตุ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันต่ำจึงมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของช้างป่าซึ่งเป็นสัตว์กินพืชและจัดอยู่ในสัตว์จำพวกกินหญ้าและพวกกินใบ (บุษบง กาญจนสาขา และคณะ, 2558) ทั้งนี้ยังเป็นผลมาจากพื้นที่โดยรอบยังได้มีการดำเนินกิจการปลูกป่าเศรษฐกิจ เช่น ยูคาลิปตัส กฤษณา และสัก รวมทั้งสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน ตลอดจนไม้ยืนต้นอื่น ๆ จนกลายเป็นหย่อมป่าที่รกเรื้ออันเป็นแหล่งหลบพักที่เหมาะสมของช้างป่าที่ออกมาหากินยังนอกเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อีกทั้งยังปราศจากสัตว์ผู้ล่าตามธรรมชาติ เช่น เสือโคร่ง หมาใน นอกจากนั้นการป้องกันและปราบปรามการล่าสัตว์ของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ปัจจัยข้างต้นส่งผลให้ช้างป่ามีอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรประมาณปีละ 8-9.83% (ไสว วังหงษา, 2547) ซึ่งคาดว่ามีช้างป่าอยู่ราว 424 ตัวจากที่เคยมี 15-50 ตัวในช่วงปี 2520 โดยปัจจุบันช้างป่าบางกลุ่มได้ออกหากินนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์จนก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออกก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตทั้งคนและช้างป่า รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรและทรัพย์สินมีค่าของประชาชนโดยรอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์

โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา นับเป็นพื้นที่ที่มีการออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของช้างป่ามากที่สุดและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความถี่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2564 จากการติดตามศึกษาพฤติกรรมช้างป่าของอาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม พบว่าเมื่อช้างป่าออกมาแล้วพวกมันมีรูปแบบในการแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 20-60 ตัว เพื่อใช้เส้นทางหากินที่กระจัดกระจายไปในหลายพื้นที่ ทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ชุมชนใน ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ ต.ลาดกระทิง ต.ท่ากระดาน ต.ทุ่งพระยา อ.สนามชัยเขต ซึ่งจากการประเมินจำนวนช้างป่าที่ออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์เมื่อเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564 พบประชากรช้างป่ามากถึง 200-250 ตัว ทั้งฝูงช้างเพศเมียและกลุ่มช้างเพศผู้ โดยมีจุดออกจากป่าอนุรักษ์ที่สำคัญ 3 จุด คือ 1) บริเวณแนวรั้วกันช้างป่าเขาแก้ว บ้านนายาว ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต 2) บริเวณคูกั้นช้างบ้านคลองเตย ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต และ 3) บริเวณคูกั้นช้างบ้านหนองปลาซิว ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ ซึ่งแต่ละจุดมีเส้นทางการหากินอย่างเฉพาะเจาะจงไปยังแหล่งอาหาร ได้แก่ พื้นที่นาข้าว กว่า 110,319 ไร่ พื้นที่เกษตรกรรมเชิงเดี่ยว เช่น อ้อย มันสำปะหลัง สัปรด และปาล์มน้ำมัน กว่า 222,902 ไร่ รวมถึงพื้นที่แหล่งน้ำ กว่า 45,396 ไร่ และแหล่งหลบพักชั่วคราวที่อยู่นอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่กิจการป่าเศรษฐกิจ เช่น ยูคาลิปตัส กฤษณา และสัก กว่า 585,426 ไร่ (สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2563) นับเป็นแหล่งปัจจัยการดำรงชีวิตที่กว้างใหญ่และมีปริมาณเพียงพอสำหรับประชากรช้างป่าที่ปรากฏตัวอยู่ในพื้นที่ทั้งหมด

ขณะที่สังคมทั่วไปและชุมชนบางส่วนมีความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของช้างป่า ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลง การขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม การสัมปทานป่าไม้ในอดีต รวมถึงการรบกวนช้างป่าในพื้นที่ป่า ตลอดจนการผลักดันช้างป่าจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่งใกล้เคียงกัน บ่งชี้ให้เห็นความเข้าใจของชุมชนบางส่วนที่เข้าใจว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของปรากกฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่ชุมชนส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าช้างป่าเป็นส่วนสำคัญของสาเหตุการก่อให้เกิดปรากกฏการณ์ความขัดแย้ง กล่าวคือ ช้างมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ช้างป่าชอบกินพืชผลทางการเกษตรมากกว่าอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในป่า ช้างป่าชอบเข้ามาอาศัยอยู่ใกล้ชุมชนมากขึ้นเพราะในพื้นที่ป่ามีอาหารไม่เพียงพอ ช้างเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้น และช้างที่ออกนอกพื้นที่ป่าเป็นช้างปล่อย เนื่องจากเป็นผลมาจากภาพจำเกี่ยวกับช้างที่ฉลาด คุ้นชินกับคน จึงทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งประเด็นช้างปล่อยนี้เองที่อาจนำไปสู่อุปสรรคในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า (ดร.พิเชฐ นุ่นโต และ ดร.ชุติอร ซาวินี, 2561)

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาทั้งประชาชนและหน่วยงานภาครัฐต่างมีมาตรการป้องกันช้างป่า ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เช่น การสร้างรั้วคอนกรีตและขุดคูกันช้างป่าล้อมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ช้างป่าก็สามารถเรียนรู้การทำลาย มุดหรือปีนข้ามแนวกั้นเหล่านั้นออกออกมาจนได้ การทำรั้วไฟฟ้าล้อมบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาก็ไม่สามารถป้องกันพืชผลได้ในระยะยาว เนื่องจากช้างป่ารู้จักการล้มเสาไฟโดยการใช้เท้าหน้าถีบโคนเสาไฟให้ล้มแทนการเอาง่วงไปสัมผัสเส้นรวดที่มีกระแสไฟฟ้าหรือการล้มต้นไม้ใกล้ ๆ แนวรวดให้ทับแนวรวดไฟฟ้าจนพังแล้วเข้าไปกินพืชผล การใช้ไฟแสงสีไล่ช้างป่า การขว้างระเบิดปิงปอง หรือการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าของอาสาสมัครฯ และที่หนักสุดคือการใช้อาวุธยิงใส่ช้างป่าเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินซึ่งก็นำมาสู่การสูญเสียชีวิตช้างป่าตามมา ในกรณีที่ช้างป่ารอดชีวิตช้างป่าและมีอาการบาดเจ็บก็มักจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวหงุดหงิดและพร้อมทำร้ายทุกคนที่ผ่านเข้ามาในเส้นทางเดินจนก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตของผู้คนตามมา และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือการให้ความรู้สร้างความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมหรืออุปนิสัยของช้างป่า ตลอดจนรูปแบบในการออกนอกพื้นที่ป่าเพื่อเข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนนั้น ที่ผ่านมากลับมีการดำเนินการน้อยมากในพื้นที่ ซึ่งปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าอาจมีแนวโน้มยืดเยื้อเรื้อรังไปอีกหลายสิบปีข้างหน้า และมีความเสี่ยงต่อชีวิตทั้งกับผู้คนและทั้งกับช้างป่าในแง่ของการบาดเจ็บล้มตาย ซึ่งมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้หากทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันโดยผู้คนยังขาดองค์ความรู้ดังกล่าว ทั้งนี้เล็งเห็นว่าการสร้างกระบวนการเยาวชนในพื้นที่จะนำไปสู่การเรียนรู้และการสื่อสารรณรงค์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งกับผู้คนและทั้งกับช้างป่าในระยะที่ยั่งยืนมากขึ้น

ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับช้างป่า ทั้งในแง่พฤติกรรมและอุปนิสัยของช้างป่า รูปแบบและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ตลอดจนเส้นทางหากินของช้างป่าแก่เยาวชนในพื้นที่ที่ปรากฏช้างป่าคือแนวทางที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดองค์ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ และนำไปสู่แนวทางในการการตั้งรับปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันกับช้างป่าอย่างสันติในอนาคต

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์และส่งเสริมศักยภาพในการเรียนรู้และเก็บรวบรวมข้อมูลด้านพฤติกรรม อุปสนิสัย และเส้นทางการหากินของช้างป่า

2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการสื่อสาร รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจแก่ชุมชนเกี่ยวกับช้างป่าออกนอกพื้นที่ อันจะนำไปสู่การป้องกันความเสี่ยงทั้งคนและช้างป่า

3. เพื่อสร้างแนวทางการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับช้างป่าอย่างสันติ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เยาวชนในพื้นที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ สามารถเก็บรวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจัดทำเป็นชุดองค์ความรู้ได้

2. เยาวชนในพื้นที่พัฒนาตนเองเป็นนักสื่อสาร นักรณรงค์ นักประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่กลุ่มของตนจัดทำขึ้นมาได้ และก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ผู้คนเกี่ยวกับช้างป่าในพื้นที่เพื่อหลีกเลี่ยงหรือป้องกันความเสี่ยงในการเผชิญหน้ากับช้างป่า ตลอดจนสามารถสร้างเครือข่ายเยาวชนเฝ้าระวังช้างป่าในชุมชนได้

3. เมื่อเยาวชนมีศักยภาพตาม ข้อ 1 และ 2 จะสามารถสร้างแนวทางในการลดปัญหาความขัดแย้ง ตลอดถึงแนวทางการปรับตัวของผู้คนในชุมชนได้ เช่น การชักชวนให้เปลี่ยนเวลาในการกรีดยาง เมื่อพบว่าช่วงเวลาใดช้างป่าจะเดินผ่าน หรือ การเปลี่ยนพืชที่ช้างรบกวนน้อยที่สุดหรือไม่รบกวนเลย เป็นต้น

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

พื้นที่ดำเนินโครงการ ต.ท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ ต.ลาดกระทิง ต.ท่ากระดาน ต.ทุ่งพระยา อำเภอสนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา

กลุ่มเป้าหมาย แกนนำเยาวชน 4 หมู่บ้าน จำนวน 7 คน ได้แก่ 1) บ้านหนองปรือกันยาง และ บ้านคลองมะหาด ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 4 คน 2) บ้านสวนป่าลาดกระทิง ต.ลาดกระทิง อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 2 คน 3) บ้านมาบสมบูรณ์ ต.ทุ่งพระยา อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

(1) ติดตามบันทึกข้อมูลรูปพรรณ พฤติกรรม-อุปนิสัยและรูปแบบการเดินทางหากินช้างป่าเพศผู้ เป้าหมาย 19 ตัว 

วัตถุประสงกิจกรรม - เพื่อจำแนกและระบุรูปพรรณ จำแนกพฤติกรรม อุปนิสัย และระบุเส้นทางหากินประจำของช้างป่าเพศผู้

วิธีการดำเนินกิจกรรม - ติดตามสังเกต รูปพรรณ วัดขนาดรอยเท้า พฤติกรรม อุปนิสัย เส้นทางหากิน ช้างป่าเพศผู้เป้าหมายในแต่ละตัว - บันทึกรูปพรรณเพื่อการจำแนกด้วยกล้องถ่ายภาพ และจดบันทึก - จดบันทึกพฤติกรรมและอุปนิสัยเฉพาะของแต่ละตัว - จดบันทึกพิกัดการเดินทางหากินด้วยแอพพลิเคชั่น และชนิดพืชที่ช้างกิน - จดบันทึก ช่วงเวลา ระยะเวลา สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ ตั้งแต่ช้างออกเดินทางหากิน จนกลับที่พัก - สมุดคู่มือการจดบันทึก (แบบฟอร์ม) รูปพรรณ พฤติกรรม อุปนิสัย เวลา ชนิดพืช สภาพอากาศ สภาพแวดล้อม

เครื่องมือและอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม - กล้องถ่ายภาพ DSLR+Telephotolens, Drone - สมาร์ทโฟน + Alpine Quest App. - สายวัด หรือ ตลับเมตร

สิ่งที่จะได้รับจากกิจกรรม - ข้อมูลการจำแนกรูปพรรณ อุปนิสัย พฤติกรรม และเส้นทางหากินของช้างเพศผู้เป้าหมาย 19 ตัว รวมทั้งช้างเพศผู้บริวาร

(2) ติดตามจำแนกบันทึกรูปแบบการเดินทางของโขลงช้างป่าเพศเมีย และความสัมพันธ์ของช้างเพศผู้

วัตถุประสงค์กิจกรรม - เพื่อจำแนกและระบุโขลงช้างป่าเพศเมีย ระบุความสัมพันธ์ของช้างป่าเพศผู้ในโขลง (ช้างเพศผู้นักสำรวจ-ควบคุมโขลง) ระบุเส้นทางการเดินทางหากินของโขลงช้างเพศเมียในแต่ละฤดูกาล

วิธีการดำเนินกิจกรรม - ติดตามสังเกตและจำแนกโขลงช้างเพศเมีย - บันทึกรูปพรรณช้างแม่แปรกด้วยกล้องถ่ายภาพและจดบันทึกรูปพรรณ - จดบันทึกจำนวนสมาชิกในโขลง และช้างป่าเพศผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุม (เกี่ยวพันธ์กับกิจกรรมที่ 1) - จดบันทึกพิกัดการเดินทางหากินด้วยแอพพลิเคชั่น และชนิดพืชที่ช้างกิน - จดบันทึกรูปแบบการเดินทางหากิน และรูปแบบการเคลื่อนที่ของโขลง ช่วงเวลา ระยะเวลา สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ - สมุดคู่มือการจดบันทึก (แบบฟอร์ม) รูปพรรณแม่แปรก จำนวนสมาชิก ช้างเพศผู้ เวลา ชนิดพืช สภาพอากาศ สภาพแวดล้อม

เครื่องมืออุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม - กล้องถ่ายภาพ DSLR+Telephotolens, Drone - สมาร์ทโฟน + Alpine Quest App.

สิ่งที่จะได้รับจากกิจกรรม - ข้อมูลการจำแนกโขลงช้างเพศเมีย และเส้นทางหากินของโขลงช้างเพศเมีย

(3) รวบรวมข้อมูลและบันทึกลงฐานข้อมูล (Data Base)

วัตถุประสงค์กิจกรรม - เพื่อรวบรวมข้อมูลไว้บนฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ สำหรับการนำไปใช้สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อผลิตเป็นสื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์

วิธีการดำเนินกิจกรรม - บันทึกข้อมูลดิบที่ได้ลงบนคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม Excel และ โปรแกรม GIS ObjectLand

เครื่องมืออุปกรณ์ดำเนินกิจกรรม - คอมพิวเตอร์ Laptop + Excel + GIS ObjectLand

สิ่งที่จะได้รับจากกิจกรรม - ฐานข้อมูลการจำแนกรูปพรรณ พฤติกรรม และแผนที่เส้นทางหากินของทั้งช้างเพศผู้และโขลงช้างเพศเมีย เพื่อผลิตสื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสารรณรงค์ประชาสัมพันธ์

(4) การสื่อสาร รณรงค์ และประชาสัมพันธ์

วัตถุประสงค์กิจกรรม - เพื่อให้ความรู้สร้างความเข้าใจด้านพฤติกรรมช้างป่าแก่คนในชุมชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้คนในชุมชนและหาแนวทางในการปรับตัว และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังช้างป่าในชุมชน

วิธีการดำเนินกิจกรรม - พูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนในชุมชน (On ground) - ผลิตสื่อ (Offline) เช่น กระดานข่าว แผนที่เส้นทางช้างป่าและการอัพเดท แผ่นพับ และหนังสือคู่มือเฝ้าระวังช้างป่า เป็นต้น - สื่อสาร (Online) เช่น การแจ้งเตือน การให้ความรู้ด้านพฤติกรรมช้างป่า การให้ข้อมูลเส้นทางช้างป่า เป็นต้น บนแพลตฟอร์ม เฟสบุ๊กแฟนเพจ ไลน์กลุ่ม ฯลฯ - รณรงค์ ชักชวนเยาวชนและคนในชุมชนเฝ้าเป็นหูเป็นตา แลกเปลี่ยนข้อมูล แจ้งเตือน เพื่อเฝ้าระวังช้างป่าในพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่เกษตรกรรม - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อหาแนวทางในการปรับตัวของคนในชุมชน

เครื่องมือและอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม - สมาร์ทโฟน - คอมพิเตอร์ Laptop - กระดานข่าวสารในชุมชน - แผ่นพับ - หนังสือคู่มือเฝ้าระวังช้างป่า - เวทีเสวนาและแลกเปลี่ยน

สิ่งที่จะได้รับจากกิจกรรม - ได้เครื่องมือสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเยาวชนและผู้คนในชุมชน คนในชุมชนและช้างป่าได้รับความปลอดภัย ตลอดจนได้ขยายเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าในพื้นที่ชุมชน

(5) กิจกรรมและอื่น ๆ เช่น การเดินทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายในภูมิภาคอื่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการกับกลุ่มนักวิจัย การเข้าร่วมกิจกรรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมกับกลุ่มอื่น และการจัดการท่องเที่ยวอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าในพื้นที่ เป็นต้น

วัตถุประสงค์กิจกรรม - เพื่อเปิดพื้นที่ให้กลุ่มเยาวชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมภายนอก และเสริมความรู้ศาสตร์ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมและทางเลือกในการเติบโตของเยาวชนในอนาคต


ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผู้ดำเนินโครงการ

อาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม FUN-NAM-NOM Elephant Protection Volunteers

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นาย ตาล วรรณกูล / นักกิจกรรมสังคมและสิ่งแวดล้อม นักสารคดี 

นาย ปัญญา เนินภู / เกษตรกร อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าเขาอ่างฤาไน



ปรับปรุงแผนการใช้เงินโครงการสนับสนุนอุปกรณ์และกิจกรรมเยาวชนพิทักษ์ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม

27 May 2022

แผนการใช้เงินโครงการ (ใหม่)

ตัวอย่างการแสดงผลจากการใช้แอพพลิชั่นเพื่อบันทึกข้อมูลช้างป่าในพื้นที่ชุมชน

ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลรูปพรรณช้างป่าด้วยกล้องถ่าย

ปรับแผนการใช้เงิน จัดซื้อกล้องวิดีโอบันทึกพฤติกรรมช้างป่าและสนับสนุนกิจกรรมเยาวชนพิทักษ์ช้างป่า

27 June 2022

เนื่องการปรับแผนการใช้เงินในครั้งที่ 1 เป็นการจัดซื้อกล้องมือสอง รุ่น Canon EOS 80D จำนวน 2 เครื่อง แต่เนื่องจากสินค้าที่ทำการจัดซื้อจะเป็นสินค้ามือสอง จึงขาดตลาดอย่างรวดเร็วและไม่สามารถจัดซื้อได้ทัน ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการมีมติร่วมกับกลุ่มฟันน้ำนมว่าจะซื้อกล้องใหม่แกะกล่องในราคาที่สูงกว่างบประมาณที่ได้รับ และทางกลุ่มฟันน้ำนมจะเป็นผู้รับผิดชอบเป็นชำระเงินส่วนต่าง

กล้อง Panasonic HC-X1500GC ที่ทำการจัดซื้อ


กิจกรรมติดตามบันทึกรูปพรรณ พฤติกรรม และรูปแบบการเคลื่อนที่ของช้างป่า

24 August 2022

เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในทุก ๆ วัน (routine) โดยเยาวชนในโครงการศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนมจะออกลาดตะเวนไปตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีรายงานการพบช้างจากเครือข่ายชาวบ้านเพื่อบันทึกภาพรูปพรรณและสังเกตพฤติกรรม รวมถึงประเมินการเคลื่อนที่ของช้างป่าว่าจะไปทิศทางไหน รูปแบบไหน นอกจากนั้นเมื่อทราบทิศทางที่ช้างจะเดินทางไปก็ได้ทำการแจ้งเตือนชาวบ้านที่อยู่บนเส้นทางนั้น ๆ ได้ทราบผ่านเพลตฟอร์มการสื่อสารอย่างง่าย เช่น Facebook หรือ Line เป็นต้น ในบางครั้งเมื่อประเมินว่าช้างมีแนวโน้มจะเข้าหมู่บ้านก็จะดำเนินการสกัดกั้นเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านทันที ดังที่ปรากฏเป็นข่าว


สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้

  1. ได้ข้อมูลรูปพรรณช้างป่าเพศผู้ที่มีความเชื่อมโยงกับโขลงช้างเพศเมียจำนวน 26 ตัว
  2. ได้ข้อมูลพฤติกรรมของช้างเพศผู้บางส่วนและยังต้องดำเนินการเฝ้าสังเกตต่อไป
  3. ได้เส้นทางของช้างป่านอกเขตป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ทางตอนเหนือของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ครอบคลุม 2 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี
  4. เยาวชนอาสาสมัครฯ ได้พัฒนาทักษะในการเฝ้าติดตาม ประเมินสถานการณ์ และเรียนรู้ช้างป่าในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม

ค่ายเยาวชนถอดบทเรียน สถานการณ์ช้างป่าเขาอ่างฤาไน ในพื้นที่ชุมชน ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม
เป็นค่ายที่ถอดบทเรียนสถานการณ์ช้างป่าในมิติต่าง ๆ ที่ผ่านมาร่วมกัน เพื่อสร้างการรับรู้ความเสี่ยง อันจะนำไปสู่การบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและทั้งที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า อนึ่ง การบริหารความเสี่ยงเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่ต้องการยอมแพ้ เราต่อสู้กับธรรมชาติ แต่เราก็มีหลักการ และเมื่อถึงจุดที่เราเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ เราก็ต้องหยุดเพื่อทบทวน และหาแนวทางที่จะไม่ให้เกิดภัย หรือความเสี่ยง ซึ่งมีกิจกรรมหลักดังนี้

  1. แลกเปลี่ยนสถานการณ์ช้างป่าอดีต ปัจจุบัน อนาคต กับคุณพิทักษ์ ยิ่งยง หัวหน้าเขตรักษาพันธฺสัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมพู่ เพื่อให้รับรู้สถานการณ์ช้างป่าจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
    ผลที่ได้ในกิจกรรม 1) รับรู้ช่วงเวลาเริ่มต้นของการออกมาจากผืนป่าอนุรักษ์ของช้างป่า ซึ่งในปีแรก ๆ เมื่อราว 20 กว่าปีก่อน กระทิงหนึ่งตัวออกมาจากป่าเขาอ่างฤาไนทางด้านอำเภอวังทองไปจนถึงอำเภอปลวกแดง จ.ชลบุรี จากนั้นไม่ถึงหนึ่งปีก็พบว่ามีฝูงช้างออกมาจำนวนกว่า 20 ตัว บนเส้นทางเดียวกันกับกระทิง ในเวลาไม่ห่างกันมากทางด้านทิศเหนือของเขาอ่างฤาไนเริ่มมีฝูงช้างออกมากลุ่มแรก ๆ บริเวนบ้านนายาว-นาอีสาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา และในช่วงปี 2547 เป็นต้นมาก็พบว่ามีช้างออกจากป่าทั่วทุกสารทิศซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มช้างตัวผู้ที่ออกมาสำรวจ และปัจจุบันพบว่ามีช้างออกมาจากผืนป่าอนุรักษ์ถี่ขึ้นจนมีจำนวนมากถึง 250-300 ตัว รอบผืนป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งมีการประเมินเบื้องต้นมีช้างป่าในภาคตะวันออกราว ๆ 535 ตัว ขณะที่ผืนป่ารอยต่อทั้งหมดมีเนื้อที่ 1.3 ล้านไร่ และในอนาคตช้างป่าจะเพิ่มจำนวนประชากรเป็นเท่าตัว ในอีก 10 ปีข้างหน้า 2) รับรู้ถึงการเตรียมความพร้อมในการตั้งรับปรับตัว ซึ่งเน้นไปที่เรื่องการปฏิบัติตัวเมื่อเผชิญหน้ากับช้างป่าและการเรียนรู้รูปพรรณ พฤติกรรม และรูปแบบการเคลื่อนที่ของช้างป่าในพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงการวิเคราะห์หรือประเมินพื้นที่เป้าหมายของช้างป่าล่วงหน้าได้
  2. ทำแผนที่ชุมชน เพื่อให้เกิดการรับรู้พื้นที่ดินแดนของชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม และเส้นทางหากินของช้างป่า
    ผลที่ได้ในกิจกรรม เยาวชนได้รับรู้แผนผังของชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม ชนิดพืช ปฏิทินการเพาะปลูกที่มีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่ช้างป่าเข้ามาในพื้นที่ชุมชนของตนเอง พื้นที่พักช้างในช่วงกลางวัน และเส้นทางหากินของช้างป่า ตลอดจนเส้นทางการเคลื่อนที่ของช้างป่าเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน และสามารถประเมินความเสี่ยงในพื้นที่ชุมชนของตนเองได้ พร้อมทั้งสามารถออกแบบวิธีการแจ้งเตือนผ่านเครื่องมือต่าง ๆ โดยเฉพาะโซเชียลเน็ตเวิร์ค
  3. บทบาทสมมติ นักถอดรหัสช้างป่า เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติในพื้นที่จริงในการประเมินเส้นทางช้างป่า
    ผลที่ได้ในกิจกรรม เยาวชนได้ออกไปทดลองแกะรอยช้างป่าเข้าพักในพื้นที่ที่เป็นแหล่งพักนอนในช่วงกลางวัน และนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้พบมาฝึกวิเคราะห์ประเมินเส้นทางหากินของช้างป่า และนำผลประเมินดังกล่าวมาทดลองสื่อสารระหว่างกันในกลุ่มที่จำลองให้เป็นคนในชุมชนที่มีความเสี่ยงจากช้างป่า

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) หัวข้อ แนวทางเพื่อการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า: คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย วันที่ วันที่ 9-10 เมษายน 2565 ณ หอประชุมโรงเรียนบ้านหนองปรือกันยาง
โครงการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าบนฐานบูรณาการเชิงระบบนิเวศสังคม ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง และ โครงการวิจัยนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: พฤติกรรมก่อกวนของช้างป่าที่สร้างความปั่นป่วนต่อประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัตการ (workshop) หัวข้อ แนวทางเพื่อการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า: คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพและพัฒนาเครือข่ายชุมชนในการจัดการช้างป่าภาคตะวันออก (ตอนเหนือ) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) เพื่อประเมินสถานการณ์และการจัดการช้างป่าในพื้นที่ชุมชนผ่านเครือข่ายอาสาเฝ้าระวังช้างป่าของภาคตะวันออก (ตอนเหนือ) 3) เพื่อจัดทำแนวทางการจัดช้างป่าในพื้นที่ชุมชน โดยมุ่งเป้าสู่การจัดทำแผนแม่บทการจัดการช้างป่าในพื้นที่ชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและภาครัฐในพื้นที่ โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนกว่า 50 คน ประกอบไปด้วย ชาวบ้านและอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่า 7 พื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง และจันทบุรี นักวิชาการและนักวิจัยเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง นักวิชาการอิสระ เครือข่ายภาคประชาสังคม ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตัวแทนและผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

โดยผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาช้างป่าในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากเป็นปัญหาร่วมเดียวกัน และทำให้จิ๊กซอของแต่ละพื้นที่ประกอบเข้าด้วยกันจนสามารถทำให้เห็นภาพรวมของปัญหาที่สะท้อนออกมาจากคนในพื้นที่ และได้นำไปสู่ข้อเสนอในการจัดการปัญหาช้างป่าในหลายประเด็นดังนี้

  • แก้ไขระเบียบและหลักเกณฑ์การเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า
  • แก้ไขนโยบาย กฏหมาย และการจัดการปัญหาช้างป่า
  • สร้างพื้นที่รองรับในเขตป่าอนุรักษ์ให้เพียงพอต่อประชากรที่เพิ่มขึ้น 8.2% ในทุก ๆ ปี
  • ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทุกมิติ
  • อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าควรได้รับสวัสดิการจากรัฐ
  • แก้ไขระเบียบองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดจ้างพนักงานจัดการปัญหาช้างป่าได้
  • ปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตการเกษตร
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ชุมชน

อย่างไรก็ตามโครงการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าบนฐานบูรณาการเชิงระบบนิเวศสังคม และ โครงการวิจัยนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: พฤติกรรมก่อกวนของช้างป่าที่สร้างความปั่นป่วนต่อประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย จะยกระดับข้อเสนอจากคนในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้เกิดเป็นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการจัดการปัญหาช้างป่าในพื้นที่ภาคตะวันออกต่อไป

เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนบูรณาการช้างป่าภาคประชาชนพื้นที่ภาคตะวันออก วันที่ 9-10 กรกฏาคม 2565 ณ ห้องประชุมแก้วเจ้าจอม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
เมื่อวันที่ 9-10 กรกฏาคม 2565 ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนบูรณาการช้างป่าภาคประชาชนพื้นที่ภาคตะวันออก ณ ห้องประชุมแก้วเจ้าจอม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยมีเครือข่ายภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมจาก 7 จังหวัดรอบผืนป่ารอยต่อภาคตะวันออก ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด รวมถึงเยาวชนอาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่า ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม เพื่อหารือจัดทำแผนบูรณาการในการจัดการปัญหาช้างป่าภาคตะวันออกอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

ทั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาตลอดจนแนวทางในการจัดการปัญหาช้างป่าของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีข้อเสนอของกลุ่มเยาวชนอาสาสมัครฯ กลุ่มฟันน้ำนม และภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราต่อการจัดการปัญหาช้างป่าอย่างมีส่วนร่วมต่อหน่วยงานภาครัฐใน 7 ประเด็น ได้แก่ 1) สร้างความร่วมมือผ่านกลไกองค์กรชุมชนและภาคีเครือข่าย 2) สนับสนุนเยาวชนคนรุ่นใหม่ในการศึกษาช้างป่าในพื้นที่ชุมชน 3) สนับสนุนสวัสดิการอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่า 4) แก้ไขหลักเกณฑ์การเยียวยาแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าอย่างเป็นธรรม 5) เร่งผลักดันการช่วยเหลือชาวบ้านตาม ม.60 พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2562 6) ทบทวนการจัดการแหล่งรองรับ-ถิ่นอาศัยช้างป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และ 7) เร่งดำเนินการควบคุมประชากรช้างป่า

อย่างไรก็ตาม แผนการบูรณาการเพื่อการจัดการปัญหาช้างป่าอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จะถูกรวบรวมเรียบเรียงเป็นรายงานและข้อเสนอต่อรัฐบาลต่อไป โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ

สัมภาษณ์เยาวชนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มฟันน้ำนม


นาย กฤตพรต สมานใจ ชื่อเล่น แบม อายุ 15 ปี
ผมเริ่มดูช้างป่าตั้งแต่ตอนอายุประมาณ 8-9 ขวบครับ ตอนนั้นช้างเข้ามาในหมู่บ้านเป็นฝูงหลายสิบตัว แม่ก็พาขี่ซาเล้งไปดูช้างข้ามถนน เริ่มสนุกกับการดูช้างตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา และก็ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูป ถ่ายคลิป เอามาโพสในเฟสบุ๊ก แต่พอน้าตาล (ตาล วรรณกูล) เข้ามาตั้งศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม ก็ได้มีโอกาสมาเรียนรู้นิเวศวิทยาช้างป่า และได้ทำหน้าที่เป็นคนบันทึกข้อมูลช้างป่าในภาคสนาม ตอนแรก ๆ ศูนย์มีกล้องแคนอนตัว ๆ กับเลนส์ 80-210 มม. แค่ 1 ตัว ผมกับอาวุธก็แบ่งกันใช้ (ศราวุธ สมานใจ) ยอมรับว่าไม่สะดวกจริง ๆ ครับ พอผมเจอช้างและติดตามช้างกล้องก็ไม่ได้อยู่กับผม ใช้มือถือถ่ายคุณภาพก็ไม่ดีอย่างที่ศูนย์ฯ ต้องการ พลาดโอกาสบ่อย ๆ จึงขอให้ศูนย์ฯ ช่วยซื้อกล้องเพิ่ม น้าตาลก็เลยไปซื้อกล้องแคนอนตัวใหญ่มาเพิ่มอีกชุดพร้อมกับเลนส์ 70-300 แต่ด้วยมันเป็นกล้องที่ใช้ถ่ายภาพพอเอามาถ่ายวีดีโอพฤติกรรมช้างปรากฏว่าปรับไม่ค่อยจะทัน ตอนนี้ได้กล้องวีดีโอคุณภาพสูงจากโครงการเทใจ ผมเริ่มทำงานสนุกขึ้นแล้วครับ เพราะถ้าจะถ่ายภาพนิ่งรูปพรรณช้างก็เอากล้องภาพนิ่งถ่าย และสามารถทำงานไปพร้อม ๆ กับการถ่ายวีดีโอพฤติกรรมได้เลยครับ รู้สึกดีครับที่ได้อุปกรณ์มาเพิ่มแบบนี้ ถึงแม้ว่าเราจะระดมทุนได้ไม่ตรงตามเป้าก็ตาม


น.ส. ผกาสินี ธรรมลี ชื่อเล่น มิ้น อายุ 17 ปี
มิ้นไม่ได้ออกไปดูช้างหรอกค่ะ เพราะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลอยู่ที่ศูนย์ฯ เพราะมิ้นได้รับหน้าที่เป็นแอดมินในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่ แบม กับ พี่วุธ ออกไปเก็บ แล้วเอามาวิเคราะห์กับน้าตาล ถามว่าประทับใจไหมกับการที่ทีมสนามได้อุปกรณ์มาใหม่ อันนี้บอกตรง ๆ เลยนะค่ะว่ามาก ประทับใจมาก เพราะข้อมูลวีดีโอที่ได้มามันมีคุณภาพที่ทำให้มิ้นได้เห็นรายละเอียดของช้างและพฤติกรรมของช้างแบบยาว ๆ เห็นทุกอย่างที่ช้างทำในช่วงเวลาที่กล้องบันทึกไว้ได้ มิ้นยังคิดว่าน่าจะเอาคลิปพวกนี้มาตัดต่อเป็นหนังสารคดีได้ด้วย 


นาย ศราวุธ สมานใจ ชื่อเล่น วุธ อายุ 21 ปี
หลัก ๆ ผมเป็นคนใช้กล้องตัวนี้ครับ เท่าที่ใช้มาเดือนกว่า ๆ ก็ถือว่าประทับใจครับ บางทีเราติดตามช้างป่า เราต้องเดินตามพวกมัน และได้กล้องวีดีโอที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา คุณภาพดีเอามาใช้เก็บข้อมูลช้างป่ามันค่อนข้างคล่องตัวครับ เวลาเราลืมเอาขาตั้งกล้องไปพอซูมไกล ๆ ก็ไม่สั่น และจะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นด้วยครับ ไม่เหมือนเมื่อก่อนมีกล้องตัวเดียวก็ต้องแบ่งกันใช้กับแบม ตอนนี้สบายแล้วครับ ต้องขอขอบคุณผู้บริจาคทุกคนที่มอบสิ่งดี ๆ ให้กับพวกเรา และเราก็จะทำหน้าที่ศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อเอาไปใช้ในการจัดการปัญหาช้างป่าในพื้นที่ชุมชนต่อไปครับ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

ภาพประกอบ



Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 การติดตามบันทึกข้อมูลช้างป่า ประกอบไปด้วย ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าน้ำมันรถ และค่าใช้จ่ายจิปาถะ ตลอดระยะเวลา 12 เดือน ๆ ละ 6,000 บาท 12 เดือน 72,000.00
2 จัดเวทีแลกเปลี่ยน 4 ครั้ง ใน 4 หมู่บ้าน ค่าอาหารและของว่าง ครั้งละ 8,000 บาท 4 ครั้ง 32,000.00
3 จัดซื้อ กล้อง Nikon รุ่น P1000 จำนวน 2 ตัว ๆ ละ 35,000 บาท 2 เครื่อง 70,000.00
4 จัดซื้อ โดรน DJI Mavic Pro (Combo set) จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 43,290 บาท 1 เครื่อง 43,290.00
5 จัดซื้อ คอมพิวเตอร์ Laptop Lenovo IdeaPad Slim 3i (15", Gen 6) จำนวน 1 เครื่อง ๆ ละ 23,490 บาท 1 เครื่อง 23,490.00
6 จัดซื้อ อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น แบตเตอรีสำรอง, SDการ์ดสำรอง และฮาร์ดดิสภายนอก 1 ชุด 15,000.00
7 จัดทำ แผ่นพับ แผ่นละ 5 บาท จำนวน 1,000 แผ่น 1000 แผ่น 5,000.00
8 จัดทำ หนังสือคู่มือเฝ้าระวังช้างป่า เล่มละ 100 บาท จำนวน 1,000 เล่ม 1000 เล่ม 100,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
360,780.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
36,078.00

ยอดระดมทุน
396,858.00