project Covid-19 สัตว์

Let's Help Elephants in Paganyaw Communities

Elephants from Paganyaw (S'gaw Karen) communities had been working in the Chiang Mai tourism industry. After the COVID pandemic, the tourism jobs dried up and the elephants were forced to come home. This impacted both the mahouts and the elephants as they had to bear the burden of food and shelter costs while having no income. Local development organizations helped create a mahout organization from 8 communities to help 125 elephants. The funds will be used to feed and take care of the elephants.

Duration 15 ก.ย. 2564 ถึง 31 ธ.ค. 2564 Area ระบุพื้นที่: ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (ประชากร 8 ชุมชน ช้างจำนวน 125 เชือก)

Current donation amount

304,752 THB

Target

495,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 62%
จำนวนผู้บริจาค 781

สำเร็จแล้ว

Project updates

สร้างรายได้ให้กลุ่มควาญช้างและเกษตรกร เพื่อผลิดตอาหารช้างใน 5 ชุมชน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

28 October 2022

หลังจากเกิดวิกฤติจาก COVID-19 ปี 2563 การท่องเที่ยวหยุดชะงัก ปางช้างขาดรายได้จากนักท่องเที่ยว และปิดตัวลง ทำให้ครอบครัวควาญช้างและช้างต้องตกงาน คนไม่มีรายได้และช้างไม่มีอาหาร ควาญช้างและช้างต้องเดินเท้ากลับคืนสู่บ้านเกิด โดยมีช้างในพื้นที่ ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ที่ต้องเดินทางกลับบ้าน 120 เชือก กระจายอยู่ใน 5 ชุมชน นอกจากช้างแล้วควาญช้างอย่างน้อย 150 คน และสมาชิกใน 90 ครอบครัว กว่า 320 คนต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 การเดินทางกลับสู่ชุมชนครั้งนี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้ตั้งตัวและเตรียมความพร้อม ทั้งคนและช้างต่างเดือดร้อน เนื่องจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ และพืชอาหารที่มีอยู่ในชุมชนไม่เพียงพอต่อการบริโภคของช้าง คนเลี้ยงช้างเองก็ไม่มีรายได้พอที่จะเดินทางและซื้อพืชอาหารช้างได้

ภายหลังจากที่ช้างกลับคืนถิ่น มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเบื้องต้น ด้วยการระดมทุนจัดซื้ออาหารให้กับช้างในพื้นที่ ในขณะที่ชุมชนทั้ง 5 ชุมชนได้ปรึกษาหารือเพื่อร่วมกำหนดทางแก้ไขปัญหาคนกับช้าง ทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับช้างและควาญช้าง และปัญหาผลกระทบของชุมชนที่เกิดขึ้นเมือช้างจำนวนมากกลับคืนสู่ชุมชน มูลนิธิรักษ์ไทยร่วมกับภาคีเครือข่ายฝ่ายปกครองอำเภอแม่แจ่ม และองค์กรภาคเอกชน ร่วมกันจัดประชุมหารือและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยสนับสนุนการตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง กลุ่มกิจกรรมอาชีพเช่น กลุ่มสตรีผลิตข้าวซ้อมมือที่แบ่งรายได้เพื่อเลี้ยงช้าง กลุ่มโฮมสเตย์ศึกษาภูมิปัญหาปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) กับการเลี้ยงช้าง เพื่อให้เกิดการระดมทุนและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับควาญช้าง ช้าง และชุมชน

กิจกรรมภายใต้งบประมาณจากการระดมทุนจาก เทใจ เพื่อต่อยอดแนวทางการแก้ไขปัญหาของควานช้าง ช้างและชุมชน มูลนิธิรักษ์ไทย ได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้

1. จัดประชุมกับคณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ณ บ้านห้วยผักกูด ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมกำหนดแผนการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือควาญช้าง ช้าง และแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรป่าไม้ ที่ควาญช้างปล่อยให้ช้างเข้าไปหากิน โดยมีแนวทางการจัดการคือ

  1. การส่งเสริมการปลูกพืชอาหารช้าง โดยสมาชิกในกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง แต่ละรายที่มีพื้นที่เกษตรกรรมที่ปกติปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวจะแบ่งพื้นที่ปลูกพืชอาหารช้าง เช่น กล้วย หญ้า และอ้อยเป็นต้น
  2. การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยในชุมชนมีกลุ่มโฮมสเตย์ของผู้เลี้ยงช้าง พร้อมขายกาแฟซึ่งเป็นผลผลิตการเกษตรในชุมชนสำหรับนักท่องเที่ยว
  3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตช้าง คนเลี้ยงช้างและวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยง
  4. ประสาน องค์การบริหารส่วนตำบลและมูลนิธิรักษ์ไทย ศึกษาความเป็นไปได้ในการทำกลุ่มปุ๋ยหมักจากมูลช้าง

2. กิจกรรมวันช้างคืนถิ่น ในวันที่ 28 มีนาคม 2565 ณ บ้านห้วยผักกูด ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกระตุ้นการการท่องเที่ยว และระดมทุนช่วยเหลือกลุ่มช้าง ควาญช้างในระยะยาว ในกิจกรรมครั้งนี้ มีหน่วยงานที่เข้าร่วม 10 หน่วยงาน 5 ชุมชน มีผู้เข้าร่วมทั้งหมดประมาณ 400 คน ในการจัดกิจกรรมช้างคืนถิ่น ได้มีการเสวนาถึงการท่องเที่ยวในชุมชนหลังโควิด โดยทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมมองว่าจุดเด่นของชุมชนคนเลี้ยงช้างบ้านห้วยผักกูด คือ เป็นพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเลี้ยงช้าง ให้ช้างกลับมาอยู่ในพื้นที่ทั้งคนและช้างไม่ต้องอพยพไปทำงานต่างถิ่น ควาญช้างได้อยู่กับครอบครัวและสร้างพื้นที่อาหารให้กับคนและช้าง โดยการเพิ่มแปลงอาหารให้กับคนและช้างโดยการปลูกหญ้าอาหารช้าง ต้นกล้วย มะละกอ อ้อยฯ เพื่อลดการค่าใช้จ่ายที่ต้องซื้ออาหารในช่วงหน้าแล้ง ประเด็นสุดท้าย การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ เพื่อให้ชุมชนมีรายได้มากขึ้นและกระจายไปสู่ชุมชนอย่างทั่วถึงและยั่งยืน

ความประทับใจจากตัวแทนชุมชน


นายสาธิต ตาชูความดี 
อยากขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและผู้บริจาคทุกๆท่านที่ช่วยเหลือช้างในพื้นที่แม่แจ่ม ความประทับใจที่เกิดขึ้นคือ ผมและชุมชนมองว่าวิกฤตโควิดก็เป็นโอกาสที่ทำให้ชุมชนมองเห็นปัญหา มองเห็นหน่วยงานที่มาช่วยเหลือ และเห็นว่าชุมชนเราเองก็มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นที่ท่องเที่ยวได้ ไม่จำเป็นจะต้องออกไปรับจ้างข้างนอกชุมชนทั้งหมด ที่สำคัญคือมองเห็นการช่วยเหลือกัน ทั้งคนในและนอกชุมชนรวมถึงหน่วยงานทั้งในและนอกพื้นที่ ที่ร่วมช่วยเหลือไม่ขาดสาย ตลอดระยะเวลาที่เกิดการระบาดของโรค ชุมชนห้วยผักกูดเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องของวิถีคนเลี้ยงช้าง และที่พักโฮมสะเตย์ การท่องเที่ยวกับช้าง ทุกวันนี้ชุมชนเริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินเข้ามาพักทั้งคนไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้น


นายดวงจันทร์ ธรรมชาติมณี
 ทุกวันนี้ผมมีแปลงหญ้าให้ช้าง สามารตัดได้ตลอดทั้งปี แปลงนี้มีอาหารให้คนในครอบครัวได้กินด้วย เช่น กล้วย อ้อย ผลไม้ และผักอื่นที่มีในแปลง ผมและครอบครัวไม่ต้องออกไปตัดหญ้าที่อื่นแล้ว ช้างที่มีอยู่ทุกวันนี้ คนในครอบครัวได้ดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ต้องออกไปรับจ้างภายนอก ครอบครัวมีความสุขกับการเลี้ยงช้างในชุมชน ผมอยากขอบคุณมูลนิธิรักษ์ไทยที่เข้ามาช่วยเหลือ ตั้งแต่เกิดโควิด จนถึงทุกวันนี้ก็ยังช่วยทุกวัน


น.ส.ศรีทอง แซ่ตั้ง 
ตอนนี้บ้านนากลางช้างทุกเชือกได้กลับไปทำงานในปางช้างแล้ว ประทับใจและดีใจมากตอนที่เกิดโรคระบาด ช้างตกงาน คนและช้างไม่มีรายได้ ได้มีคนเข้ามาช่วยเหลือ ตั้งแต่ให้เงินซื้อหญ้าให้ช้าง ให้แนวคิดในการปรับตัวช่วงช้างกลับบ้าน ให้เงินทุนในการปลูกหญ้า ทุกวันนี้ช้างได้มีหญ้ากิน ไม่ต้องออกไปหาไกล อีกความประทับใจคือ ช่วงที่ช้างไม่มีงานทำ กลุ่มผู้หญิงได้รวมกลุ่ม ทอผ้าขาย เช่นผ้าพันคอ ย่ามย้อมสีขี้ช้าง ทำให้ได้ขาย มีรายได้มาช่วยเหลือครอบครัวในช่วงที่ทุกๆคนไม่มีรายได้ แต่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 

ภาพประกอบ


งานช้างคืนถิ่น จัดในป่าชุมชน บ้านห้วยผักกูด มีนาคม2565 มีนายอำเภอแม่แจ่มเปิดงาน และมีการเสวนาการอยู่รอดของคนและช้างในช่าวงโควิด โดยมีหลายหน่วยงานร่วมเสวนา เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ศึก ปกครองอำเภอแม่แจ่ม ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รพสต.ปางอุ๋ง มูลนิธิรักษ์ไทย และประชาชนทั่วไป สรุป ชุมชนคนเลี้ยงช้างและภาคีเครือข่ายมีแผนขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในชุมขนแบบบูรณาการในระดับตำบล และ อำเภอ


แปลงปลูกหญ้าอาหารช้างเพื่อความมั่นคงของคนและช้าง

ผลผลิตแปลงปลูกหญ้าอาหารช้าง ตัดหญ้าหมุนเวียนแปลงละ 6 รอบใน 1 ปี

Read more »
See all project updates

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ช้างจากชุมชนปกาเกอะญอ ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ไปรับจ้างทำงานด้านการท่องเที่ยวตามปางช้างต่างๆ ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ตกงานต้องอพยพกลับคือสู่ชุมชน เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเดินทางกลับคืนชุมชนในครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน เจ้าของช้างไม่ได้เตรียมการรับมือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ช้างและคนเลี้ยงช้างได้รับผลกระทบอย่างหนักทั้งด้านอาหารช้าง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงช้าง

กลุ่มผู้หญิงในชุมชนคนเลี้ยงช้างได้พยายามหารายได้ทางอื่นๆ เพื่อนำมาช่วยดูแลช้างด้วย เช่น

  • กลุ่มผู้หญิงและคณะกรรมการมูลนิธิชุมชนเลี้ยงช้างบ้านห้วยผักกูด ได้ริเริ่มดำเนินการพัฒนาอาชีพทางเลือกจากการนำมูลช้างผลิตเป็นปุ๋ย มูลช้างอัดเม็ด โดยกลุ่มส่งมูลช้างวิเคราะห์ธาตุอาหารและพบว่ามูลช้างมีธาตุอาหารสูงกว่ามูลวัว โดยขณะนี้กลุ่มอยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวข้อมูลและออกแบบการดำเนินธุรกิจของชุมชน
  • กลุ่มผู้หญิงบ้านห้วยบง (หมู่บ้านบริวารของบ้านห้วยผักกูด) ตั้งกลุ่ม ผลิตข้าวซ้อมมือปลอดสารพิษ
  • กลุ่มผู้หญิงบ้านนากลาง ผลิตน้ำพริกคั่วสมุนไพรจำหน่าย และนำรายได้บางส่วนมาใช้เป็นค่าน้ำมันสำหรับเดินทางไปตัดหญ้า ข้าวโพด เป็นอาหารช้าง

โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณี และพัฒนาคุณภาพชีวิต คนและช้าง อย่างยั่งยืน 

มูลนิธิรักษ์ไทยจึงอยากชวนมาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเจ้าของช้างและช้างในช่วงนี้ ด้วยการสนับสนุนค่าอาหารช้างให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงช้างวันละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 90 วัน

ทั้งนี้ ยังไม่มีคาดเดาได้ว่าโควิด-19 จะจบลงเมื่อใด ทางมูลนิธิรักษ์ไทยก็หวังว่า การที่เข้ามาช่วยเหลือนี้จะทำให้ ครอบครัวของคนเลี้ยงช้างที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ นี้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และมีงานทำเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำได้ต่อไป

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทย ร่วมวางแผนกับคณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ผู้แทนจาก อบต.แม่ศึก และเจ้าของช้าง
  2. ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานของกลุ่ม พร้อมกับลำดับความสำคัญ เพื่อการวางแผนการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  3. เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทยในพื้นที่ ดำเนินการโครงการ โดยโอนเงินไปยังคณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง
  4. คณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ใช้งบประมาณตามรายละเอียดของโครงการ และเก็บเอกสารใบเสร็จ ทั้งหมด และรายงานกลับมายังมูลนิธิรักษ์ไทย
  5. เจ้าหน้าที่ อบต.และเจ้าหน้าที่มูลธิรักษ์ไทย ระดับพื้นที่ติดตาม และสนับสนุนการทำงานของกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง
  6. คณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ผู้แทนจาก อบต.แม่ศึก และมูลนิธิรักษ์ไทยร่วมจัดทำรายงานโครงการสรุปส่ง ว่ามีการดำเนินการช่วยเหลือประสบความสำเร็จ หรือมีปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรืออย่างไร จากนั้น จะประชุมกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไข

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทยสำนักงานเชียงใหม่
  2. ฝ่ายสื่อสารองค์กร (IMC) มูลนิธิรักษ์ไทยกรุงเทพ

สร้างรายได้ให้กลุ่มควาญช้างและเกษตรกร เพื่อผลิดตอาหารช้างใน 5 ชุมชน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

28 October 2022

หลังจากเกิดวิกฤติจาก COVID-19 ปี 2563 การท่องเที่ยวหยุดชะงัก ปางช้างขาดรายได้จากนักท่องเที่ยว และปิดตัวลง ทำให้ครอบครัวควาญช้างและช้างต้องตกงาน คนไม่มีรายได้และช้างไม่มีอาหาร ควาญช้างและช้างต้องเดินเท้ากลับคืนสู่บ้านเกิด โดยมีช้างในพื้นที่ ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ที่ต้องเดินทางกลับบ้าน 120 เชือก กระจายอยู่ใน 5 ชุมชน นอกจากช้างแล้วควาญช้างอย่างน้อย 150 คน และสมาชิกใน 90 ครอบครัว กว่า 320 คนต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 การเดินทางกลับสู่ชุมชนครั้งนี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้ตั้งตัวและเตรียมความพร้อม ทั้งคนและช้างต่างเดือดร้อน เนื่องจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ และพืชอาหารที่มีอยู่ในชุมชนไม่เพียงพอต่อการบริโภคของช้าง คนเลี้ยงช้างเองก็ไม่มีรายได้พอที่จะเดินทางและซื้อพืชอาหารช้างได้

ภายหลังจากที่ช้างกลับคืนถิ่น มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเบื้องต้น ด้วยการระดมทุนจัดซื้ออาหารให้กับช้างในพื้นที่ ในขณะที่ชุมชนทั้ง 5 ชุมชนได้ปรึกษาหารือเพื่อร่วมกำหนดทางแก้ไขปัญหาคนกับช้าง ทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับช้างและควาญช้าง และปัญหาผลกระทบของชุมชนที่เกิดขึ้นเมือช้างจำนวนมากกลับคืนสู่ชุมชน มูลนิธิรักษ์ไทยร่วมกับภาคีเครือข่ายฝ่ายปกครองอำเภอแม่แจ่ม และองค์กรภาคเอกชน ร่วมกันจัดประชุมหารือและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยสนับสนุนการตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง กลุ่มกิจกรรมอาชีพเช่น กลุ่มสตรีผลิตข้าวซ้อมมือที่แบ่งรายได้เพื่อเลี้ยงช้าง กลุ่มโฮมสเตย์ศึกษาภูมิปัญหาปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) กับการเลี้ยงช้าง เพื่อให้เกิดการระดมทุนและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับควาญช้าง ช้าง และชุมชน

กิจกรรมภายใต้งบประมาณจากการระดมทุนจาก เทใจ เพื่อต่อยอดแนวทางการแก้ไขปัญหาของควานช้าง ช้างและชุมชน มูลนิธิรักษ์ไทย ได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้

1. จัดประชุมกับคณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ณ บ้านห้วยผักกูด ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมกำหนดแผนการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือควาญช้าง ช้าง และแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรป่าไม้ ที่ควาญช้างปล่อยให้ช้างเข้าไปหากิน โดยมีแนวทางการจัดการคือ

  1. การส่งเสริมการปลูกพืชอาหารช้าง โดยสมาชิกในกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง แต่ละรายที่มีพื้นที่เกษตรกรรมที่ปกติปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวจะแบ่งพื้นที่ปลูกพืชอาหารช้าง เช่น กล้วย หญ้า และอ้อยเป็นต้น
  2. การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยในชุมชนมีกลุ่มโฮมสเตย์ของผู้เลี้ยงช้าง พร้อมขายกาแฟซึ่งเป็นผลผลิตการเกษตรในชุมชนสำหรับนักท่องเที่ยว
  3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตช้าง คนเลี้ยงช้างและวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยง
  4. ประสาน องค์การบริหารส่วนตำบลและมูลนิธิรักษ์ไทย ศึกษาความเป็นไปได้ในการทำกลุ่มปุ๋ยหมักจากมูลช้าง

2. กิจกรรมวันช้างคืนถิ่น ในวันที่ 28 มีนาคม 2565 ณ บ้านห้วยผักกูด ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกระตุ้นการการท่องเที่ยว และระดมทุนช่วยเหลือกลุ่มช้าง ควาญช้างในระยะยาว ในกิจกรรมครั้งนี้ มีหน่วยงานที่เข้าร่วม 10 หน่วยงาน 5 ชุมชน มีผู้เข้าร่วมทั้งหมดประมาณ 400 คน ในการจัดกิจกรรมช้างคืนถิ่น ได้มีการเสวนาถึงการท่องเที่ยวในชุมชนหลังโควิด โดยทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมมองว่าจุดเด่นของชุมชนคนเลี้ยงช้างบ้านห้วยผักกูด คือ เป็นพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเลี้ยงช้าง ให้ช้างกลับมาอยู่ในพื้นที่ทั้งคนและช้างไม่ต้องอพยพไปทำงานต่างถิ่น ควาญช้างได้อยู่กับครอบครัวและสร้างพื้นที่อาหารให้กับคนและช้าง โดยการเพิ่มแปลงอาหารให้กับคนและช้างโดยการปลูกหญ้าอาหารช้าง ต้นกล้วย มะละกอ อ้อยฯ เพื่อลดการค่าใช้จ่ายที่ต้องซื้ออาหารในช่วงหน้าแล้ง ประเด็นสุดท้าย การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ เพื่อให้ชุมชนมีรายได้มากขึ้นและกระจายไปสู่ชุมชนอย่างทั่วถึงและยั่งยืน

ความประทับใจจากตัวแทนชุมชน


นายสาธิต ตาชูความดี 
อยากขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและผู้บริจาคทุกๆท่านที่ช่วยเหลือช้างในพื้นที่แม่แจ่ม ความประทับใจที่เกิดขึ้นคือ ผมและชุมชนมองว่าวิกฤตโควิดก็เป็นโอกาสที่ทำให้ชุมชนมองเห็นปัญหา มองเห็นหน่วยงานที่มาช่วยเหลือ และเห็นว่าชุมชนเราเองก็มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นที่ท่องเที่ยวได้ ไม่จำเป็นจะต้องออกไปรับจ้างข้างนอกชุมชนทั้งหมด ที่สำคัญคือมองเห็นการช่วยเหลือกัน ทั้งคนในและนอกชุมชนรวมถึงหน่วยงานทั้งในและนอกพื้นที่ ที่ร่วมช่วยเหลือไม่ขาดสาย ตลอดระยะเวลาที่เกิดการระบาดของโรค ชุมชนห้วยผักกูดเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องของวิถีคนเลี้ยงช้าง และที่พักโฮมสะเตย์ การท่องเที่ยวกับช้าง ทุกวันนี้ชุมชนเริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินเข้ามาพักทั้งคนไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้น


นายดวงจันทร์ ธรรมชาติมณี
 ทุกวันนี้ผมมีแปลงหญ้าให้ช้าง สามารตัดได้ตลอดทั้งปี แปลงนี้มีอาหารให้คนในครอบครัวได้กินด้วย เช่น กล้วย อ้อย ผลไม้ และผักอื่นที่มีในแปลง ผมและครอบครัวไม่ต้องออกไปตัดหญ้าที่อื่นแล้ว ช้างที่มีอยู่ทุกวันนี้ คนในครอบครัวได้ดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ต้องออกไปรับจ้างภายนอก ครอบครัวมีความสุขกับการเลี้ยงช้างในชุมชน ผมอยากขอบคุณมูลนิธิรักษ์ไทยที่เข้ามาช่วยเหลือ ตั้งแต่เกิดโควิด จนถึงทุกวันนี้ก็ยังช่วยทุกวัน


น.ส.ศรีทอง แซ่ตั้ง 
ตอนนี้บ้านนากลางช้างทุกเชือกได้กลับไปทำงานในปางช้างแล้ว ประทับใจและดีใจมากตอนที่เกิดโรคระบาด ช้างตกงาน คนและช้างไม่มีรายได้ ได้มีคนเข้ามาช่วยเหลือ ตั้งแต่ให้เงินซื้อหญ้าให้ช้าง ให้แนวคิดในการปรับตัวช่วงช้างกลับบ้าน ให้เงินทุนในการปลูกหญ้า ทุกวันนี้ช้างได้มีหญ้ากิน ไม่ต้องออกไปหาไกล อีกความประทับใจคือ ช่วงที่ช้างไม่มีงานทำ กลุ่มผู้หญิงได้รวมกลุ่ม ทอผ้าขาย เช่นผ้าพันคอ ย่ามย้อมสีขี้ช้าง ทำให้ได้ขาย มีรายได้มาช่วยเหลือครอบครัวในช่วงที่ทุกๆคนไม่มีรายได้ แต่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 

ภาพประกอบ


งานช้างคืนถิ่น จัดในป่าชุมชน บ้านห้วยผักกูด มีนาคม2565 มีนายอำเภอแม่แจ่มเปิดงาน และมีการเสวนาการอยู่รอดของคนและช้างในช่าวงโควิด โดยมีหลายหน่วยงานร่วมเสวนา เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ศึก ปกครองอำเภอแม่แจ่ม ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รพสต.ปางอุ๋ง มูลนิธิรักษ์ไทย และประชาชนทั่วไป สรุป ชุมชนคนเลี้ยงช้างและภาคีเครือข่ายมีแผนขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในชุมขนแบบบูรณาการในระดับตำบล และ อำเภอ


แปลงปลูกหญ้าอาหารช้างเพื่อความมั่นคงของคนและช้าง

ผลผลิตแปลงปลูกหญ้าอาหารช้าง ตัดหญ้าหมุนเวียนแปลงละ 6 รอบใน 1 ปี

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าอาหารช้าง เช่น หญ้า ฟักทอง แตงโม อ้อย ต้นข้าวโพด 5,000 บาทต่อวันเป็นเวลา 90 วัน 125 เชือก 450,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
450,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
45,000.00

ยอดระดมทุน
495,000.00