cover_1

FLR349: ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง น้อมนำศาสตร์พระราชา ได้ป่าฟื้นคืน ได้อาชีพยั่งยืน ได้อาหารปลอดภัย

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand)องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand)
Environment

Donations for the project will สนับสนุนเกษตรกรเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และสร้างอาชีพยั่งยืน to เกษตรกร100ครัวเรือน

project succeeded
Successfully

Period of time

Jul 29, 2020 - Jan 31, 2022

Location

Nationwide in Thailand

SDG Goals

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGLIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

Beneficiary groups of the project

Forest
3ผืน

สนับสนุนเกษตรกรเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และสร้างอาชีพยั่งยืน ด้วยรูปแบบการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

พร้อมดูแล รักษาต้นไม้ที่ปลูกเป็นระยะเวลา 6 ปี เพื่อจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่ทำลายป่า สู่การปลูกไม้ป่าถาวร ไม้ผล และพืชผักสมุนไพรนานาชนิดแบบผสมผสาน โดยเชื่อมโยงตลาดรับซื้ออาหารอินทรีย์ และสร้างรายได้ สู่การยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรและชุมชน

Social issues

สถานการณ์การสูญเสียป่าต้นน้ำของไทยอยู่ในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะการขยายตัวของการทำเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่ลาดชันซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ป่าต้นน้ำไม่น้อยกว่า 5 ล้านไร่ ที่ถูกเปลี่ยนทำลายเพื่อปลูกช้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เราต้องสูญเสียทรัพยากรป่าไม้อันมีค่า แหล่งกักเก็บน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุของภัยแล้ง ภาวะโลกร้อน ปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการแผ้วถางและเผาตอซัง สารเคมีปนเปื้อนดิน น้ำและอาหารจากการใช้สารเคมีเกษตรอย่างเข้มข้นตลอดการปลูกถึงการเก็บเกี่ยว และการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่าต้นน้ำไม่ได้ทำให้เกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้ แต่ยิ่งทำให้พวกเขาติดอยู่ในวงจรหนี้สินและมีสภาพการเป็นอยู่ที่แร้นแค้น เพราะต้นทุนการผลิตที่สูงและราคาขายที่ถูกกดต่ำกว่าท้องตลาด เกษตรกรบนพื้นที่ลาดชันมีรายได้โดยเฉลี่ยจากการปลูกข้าวโพดเพียงประประมาณ 1,500 บาทต่อไร่ต่อปีเท่านั้น ซึ่งยังไม่รวมถึงต้นทุนแฝงหรือภาระด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ถูกคิดคำนวณลงใปในต้นทุนการผลิต กล่าวคืออีกนัยหนึ่งคือ เราเสียพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ต้นน้ำที่เป็นโอกาสในการสร้างระบบนิเวศบริการในราคาเพียง 1,500 บาทต่อไร่ต่อปี!! การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในไร่ข้าวโพดเชิงเดี่ยวในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกษตรกรได้รับสารเคมีผ่านเข้าทางเดินหายใจโดยตรง และหากมีฝนตกลงมา สารเคมีในไร่ข้าวโพดก็จะถูกชะล้างลงสู่แม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งมีปริมาณน้ำเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของแม่น้ำปิง และเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

Approaches to addressing issues

  1. โครงการ “FLR349” (Forest Landscape Restoration Fund 349) เป็นโครงการที่น้อมนำศาสตร์พระราชา การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการสร้างห่วงโซ่คุณค่าซึ่งเป็นโมเดลให้กับเกษตรกรในพื้นที่ป่าต้นน้ำ โครงการ FLR349 จะเป็นเสมือนพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการวิธีการทำเกษตรจากการทำพืชเชิงเดี่ยวรุกป่าใช้เคมีสูง สู่การทำเกษตรกรรมแบบบูรณาการในรูปแบบการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างนี้ จะนำมาซึ่งการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจากการแผ้วถางทำลายหน้าดิน ผ่านการปลูกและดูแลไม้ป่าถาวร ปลูกไม้ผล และพืชผัก สมุนไพรนานาชนิดแบบผสมผสาน เกื้อกูลฟื้นฟูสร้างระบบนิเวศ และเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน น้ำ และเอื้อต่อการผลิตอาหารที่หลากหลายและปลอดภัยต่อการผลิตและบริโภค เป็นการสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชนในการพึ่งพาตัวเอง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการยังชีพและสุขภาวะที่ฟื้นคืนกลับมา ซึ่งจะทำให้สามารถก้าวพ้นจากวงจรหนี้สิน และยังถือได้ว่าเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ Sustainable Development Goals (SDGs)

Operational Plan

  1. สร้างเครือข่ายภายใต้กลุ่ม/วิสาหกิจชุม/สหกรณ์/และอื่นๆ ที่ประสบปัญหาเรื่องการมีพื้นที่ทับซ้อนการใช้ประโยชน์ทำเกษรตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่ป่า/พื้นที่ต้นชั้น 1, 2 และมีความสมัครใจที่ปรับเปลี่ยนเป็นการดำเนินการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง

  2. สำรวจพื้นที่ พิกัด จำนวนพื้นที่แปลงที่เข้าสู่กระบวนการปลูกป่า การเดินสำรวจภาคสนามรอบขอบเขตแปลง และตรวจสอบข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม โดยการร่วมกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่และเจ้าหน้ากรมป่าไม้

  3. การเตรียมพื้นที่ปลูก โดยการกำจัดวัชพืช ถางแนวปลูกต้นไม้ ปักหลักหมายแนวปลูก ขุดหลุม ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม และการเตรียมปุ๋ยหมักอินทรีย์ในพื้นที่เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์

  4. การขุดแนวคลองใส้ไก่ สร้างบ่อพลวง และจุดกักเก็บน้ำในพื้นที่ โดยใช้เครื่องจักรและการวางแผนการจัดการผังบริเวณการใช้ประโยชน์พื้นที่

  5. เตรียมกล้าไม้ ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ จากกล้าไม้ที่เพาะในโรงเรือนเพาะชำ ขุดแยกกล้วยและตัดแต่งหน่อเพื่อการปลูก และการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ โดยการยกร่องการปลูกพืชสมุนไพร พืชพื้นล่าง

  6. ปลูกป่า ที่มี ไม้ป่า ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ และพืชผลทางเกษตรในรูปแบบอินทรีย์

  7. นำข้อมูลการปลูกลงฐานข้อมูลการติดตามการเจริญเติบโต ผ่านระบบดาวเทียม โดยการอัพเดตผ่าน QR code ที่ติดกับต้นไม้ที่ปลูกซึ่งจะมีการอัพเดตอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

  8. การบำรุงรักษา ดูแลพื้นที่ โดยการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยหมักรอบโคนต้น และตัดแต่งกิ่งเพื่อลดการคายน้ำของกล้าไม้ที่ปลูก

  9. การป้องกันระวังไฟ สร้างแนวกันไฟ รอบพื้นที่แปลงขนาด 4-6 เมตร ในบริเวณจุดเสี่ยงที่เกิดไฟป่า จัดเวรยามระวังไฟ และเตรียมอุปกรณ์สำหรับดับไฟป่า

  10. สร้างเครือข่ายการจัดการผลผลิตที่เกิดจากพื้นที่ ผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ และวิสาหกิจเพื่อสังคมผ่านการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานในพื้นที่ ตามรูปแบบอาหารเพื่อพื้นถิ่น ( Local Food) โดยการขายผลผลิตให้กับโรงเรียน ร้านค้า โรงแรม โรงพยาบาล ตลาดในชุมชน และตลาดสินค้าเกษตร

  11. การติดตามประเมินผลการทำงาน การเจริญเติบโตของกล้าไม้ อัตรารอดตาย การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ การตลาดในพื้นที่ รายได้และความกินดีอยู่ดีของเกษตรกร

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
.ค่าพันธุ์ไม้ และขนส่ง

กล้วย โกโก้หรือไม้ผลเศรษฐกิจอื่น ไม้ผล ไม้ป่า

100ไร่565,000.00
ค่าเตรียมพื้นที่

100ไร่200,000.00
ค่าจ้างเกษตรกรดูแลป่าต้นน้ำระยะเวลา 6 ปี

100ไร่1,200,000.00
ค่าบริหารจัดการ ติดตาม ประเมินผล

100ไร่600,000.00
เงินสะสมเข้ากองทุน (ค่าปลูกซ่อม จัดทำแนวกันไฟ เวรยามป้องกันระวังไฟ)

100ไร่435,000.00
Total Amount3,000,000.00
Taejai support fee (10%)300,000.00
Total amount raised
3,300,000.00

Project manager

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand)

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand)

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon