project Covid-19 เด็กและเยาวชน กลุ่มคนเปราะบาง

The Farm Sharing เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในชุมชนเมือง

ช่วยเหลือคนกลุ่มรายได้น้อยในชุมชนเมืองให้สามารถตั้งตัว ลดรายจ่าย และพอมีรายได้ เพื่อช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤติและเรียนรู้ที่จะอยู่รอดหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นหรือเลวร้ายลงไป โดยชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม สอนการทำเกษตร สนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้คำปรึกษา รับซื้อผลผลิตกลับคืน สนับสนุนวัตถุดิบทำอาหารสำหรับครัวกลางชุมชน

Duration 01 พ.ค. 2564 ถึง 31 ธ.ค. 2564 Area ระบุพื้นที่: แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร (โครงการ g Garden, ถนนพระราม 9), แขวงคลองเตย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร (ชุมชนคลองเตย)

Current donation amount

176,871 THB

Target

531,300 THB
ดำเนินการไปแล้ว 33%
จำนวนผู้บริจาค 157

สำเร็จแล้ว

Project updates

กิจกรรมเฟสสอง นำผลผลิตที่เกิดขึ้นในฟาร์ม ส่งมอบให้ 4 ชุมชน

1 April 2022

กิจกรรมเฟสที่สอง เป็นการนำผลผลิตที่เกิดขึ้นไปมอบให้กับชุมชนที่ยังขาดแคลน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด โดย g Garden ร่วมกับมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) ทำงานในชุมชนเป้าหมาย โดยนำส่งผลผลิตที่เกิดขึ้นในฟาร์มส่งต่อให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบดังนี้

  1. ชุมชนคลองเตย วัตถุดิบในการทำอาหาร นำส่ง ผักกาดขาว ดอกแค กระเพราแดง ถั่วฝักยาว แตงกกวา จำนวน 50 กิโลกรัม และไข่ไก่ ข้าวสาร ที่รับบริจาคเพิ่มเติมจากเกษตรกรในเครือข่าย
  2. ชุมชนลำสาลีพัฒนา (กรุงเทพกรีฑาซอย 7) นำส่ง ต้นกล้ากระเพราแดง จำนวน 20 ต้น โหระพา 10 ต้น ฟ้าทะลายโจร 30 ต้น มะรุม 20 ต้นมะละกอ 5 ต้น เพื่อใช้ปลูกสำหรับเป็นวัตถุดิบทำอาหารให้กับชุมชน
  3. ชุมชนโรงเจมักกะสัน ซอยนานา ชุมชนซาเล้ง ซอยเสือใหญ่ (ถนนรัชดาภิเษก 36) นำส่งวัตถุดิบที่เก็บจากสวน เช่น กระเพาแดง จำนวน 5 กิโลกรัม โหระพา 5 กิโลกรัม สลัด 20 กิโลกรัม พริก 5 กิโลกรัม
  4. ชุมชนชุมชนซาเล้ง ซอยเสือใหญ่ (ถนนรัชดาภิเษก 36) นำส่งผลผลิตในฟาร์ม เช่น ผักกาดขาว ผักชี ดอกแค พริก จำนวน 20 กิโลกรัม เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร

ภาพประกอบ


ความประทับใจจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ


Read more »
See all project updates

การระบาดของโควิดรอบที่ 3 ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนัก กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง บริษัทห้างร้านปิดตัวหรือมีนโยบายเลิกจ้างจนเกิดภาวะว่างงาน ก่อให้เกิดผลกระทบกับคนหลายๆ กลุ่มที่ยังไม่สามารถปรับตัวได้ หนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมือง The Farm Concept ร่วมกับองค์กรพันธมิตรออกแบบกิจกรรมและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ให้สามารถตั้งตัว ลดรายจ่าย และพอมีรายได้ เพื่อช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤติและเรียนรู้ที่จะอยู่รอดหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นหรือเลวร้ายลงไป โดยชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม สอนการทำเกษตร สนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้คำปรึกษา รับซื้อผลผลิตกลับคืน สนับสนุนวัตถุดิบทำอาหารสำหรับครัวกลางชุมชน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ตั้งแต่รอบแรกในเดือนมีนาคม ปี 2563 จนกระทั่งเข้าสู่การระบาดรอบที่ 3 ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับชุมชน. ทำให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยหลายคนได้รับผลกระทบ พบกับภาวะตกงาน รายได้ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มที่รับจ้างรายวันหรือผู้มีรายได้น้อยในชุมชนแออัด ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีเงินสำรอง มีหนี้นอกระบบ. จากสภาพเศรษฐกิจและภาวะการระบาดของโรคทำให้ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง บางรายเสี่ยงต่อการเป็นคนไร้บ้าน ดังนั้นโครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19  ให้มีทักษะการทำเกษตรพึ่งตนเอง มีผักอินทรีย์ปลอดสารเคมีไว้รับประทานสร้างแหล่งผลิตอาหารด้วยตัวเองเพื่อลดรายจ่ายรายวัน สร้างภูมิคุ้มกันโรคระบาด มากกว่านั้นยังสามารถพัฒนาเป็นอาชีพเสริมในระยะยาวได้


แนวคิดของ THE FARM CONCEPT คือการเชื่อมโยงการเกษตรเข้ากับเมือง สร้างพื้นที่ให้ผู้บริโภคได้มาพบพูดคุยกับผู้ผลิต เกษตรกร เพื่อทำให้การบริโภคมีความหมายมากยิ่งขึ้น เพราะเมืองที่ผู้บริโภคอาศัยอยู่ห่างไกลจากต้นตอแหล่งวัตถุดิบ อาจทำให้ลืมที่มา ลืมรากฐานการกิน THE FARM CONCEPT จึงต้องการที่จะเปิดพื้นที่ สร้างสรรค์กิจกรรมในบรรยากาศแบบฟาร์มให้เกิดขึ้นใจกลางชุมชนเมืองและพยายามค้นหาผู้ผลิต เกษตรกรที่มีความสามารถ มีเรื่องราว มารวมตัวสร้างสังคมที่มีสุขภาวะ รังสรรค์กิจกรรมดีๆ ส่งต่อไปยังผู้บริโภค และผู้ผลิตเกษตรกรเหล่านี้ไม่ได้ผลิตเพื่อให้ได้เงินเป็นสิ่งตอบแทนหากแต่เป็นการผลิตที่ต้องการส่งต่อไปยังผู้บริโภค ไม่เพียงแค่ผลผลิตหรืออาหาร แต่ยังเพิ่มความปรารถนาดีต่อสุขภาพผู้บริโภคอีกด้วย


ในกิจกรรมนี้ The Farm Concept ร่วมกับองค์กรพันธมิตรออกแบบกิจกรรมและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ให้สามารถตั้งตัว ลดร่ายจ่าย และยังพอมีรายได้ เพื่อช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤติและเรียนรู้ที่จะอยู่รอดหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นหรือเลวร้ายลงไปโดยชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม สอนการทำเกษตร สนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้คำปรึกษา รับซื้อผลผลิตกลับคืน สนับสนุนวัตถุดิบทำอาหารสำหรับครัวกลางชุมชน, โรงเรียน, ศูนย์เด็กเล็ก หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องการผลิตผลทางการเกษตร




ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. เปิดรับผู้มีรายได้น้อยเข้าร่วมโครงการ จำนวน 500 คน จากเครือข่ายองค์กรที่ทำงานในชุมชน เช่น ชุมชนคลองเตย สลัม 4 ภาค เป็นต้น และเปิดรับสมัครผ่านช่องทางออนไลน์

2. ปรับพื้นที่จำนวน 2 ไร่ อยู่ในโครงการ G Garden ด้านหลังเซ้นทรัลพระราม 9 เพื่อปลูกผักอินทรีย์และสร้างพื้นที่เรียนรู้ด้านการเกษตรในเมือง และจัดทำร้านค้าชั่วคราวเพื่อเป็นจุดจำหน่ายผลผลิตการเกษตรที่เกิดขึ้นและจากเกษตรกรในเครือข่าย

3. เปิดรับอาสาสมัครเพื่อดูแลสวน ดูแลแปลงผัก เพื่อสร้างผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

4. ส่งต่อผลผลิตที่เกิดขึ้นให้กับครัวกลางของชุมชนและส่งต่อผลผลิตและกล้าผักให้กับครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบาก

5. จัด Workshop ให้กับคนในชุมชนและเยาวชนที่สนใจการปลูกผักและการทำเกษตรในเมือง พร้อมกับสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะปลูก เช่น ดิน ปุ๋ยหมัก มะพร้าวสับ กระถาง เมล็ดพันธุ์

6. รับซื้อผลผลิตคืนจากชุมชน เพื่อขายในร้านค้าของโครงการ



ข้อมูลผู้ดำเนินโครงการ ภาคีและพาร์ทเนอร์

          โครงการนี้ดำเนินการโดยบริษัท Ageekculture (อะกีกคัลเจอร์)


          ร่วมกับองค์กรพันธมิตร ประกอบด้วย 

  • กลุ่ม “คลองเตยดีจัง” ช่วยประสานการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายในชุมชนที่เป็นกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการระบาดโควิด-19
  • เครือข่ายเกษตรกรใน JaiTalad ช่วยสนับสนุนองค์ความรู้ในการเพาะปลูก และเป็นวิทยากรให้ความรู้และคำปรึกษากับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
  • G Land, CPN สนับสนุนพื้นที่ดำเนินโครงการทำฟาร์มผัก ช่องทางการจัดจำหน่าย และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์กิจกรรมไปสู่สาธารณะ
  • Big Trees, ชุมชนตลาดพูนสุข, Eat Better - กินดีกว่า, WWF, Set Social Impact สนับสนุนด้านเนื้อหาและการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์

g Gaden เปิดสวนสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในชุมชนพัฒนาใหม่ เขตคลองเตย มาทำงานด้านการเกษตรในพื้นที่โครงการตั้งแต่วันที่ 26 พฤษาคม 2564

5 June 2021

มีผู้ที่เดือดร้อน ยังไม่มีงานทำ เข้าทำงานวันละ 10-15 คน โดยกลุ่มคลองเตยดีจัง องค์กรภาคีเครือข่ายเป็นผู้ร่วมสนับสนุนจัดจ้าง จัดหา คัดเลือก รับ-ส่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมออกแบบแนวทางการทำงาน ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมาได้แก่

  • ปรับภูมิทัศน์ ตัดหญ้า เก็บหิน เศษไม้ เศษปูนพื้นที่สำหรับเตรียมทำแปลงปลูก
  • เก็บเศษวัสดุทางการเกษตรทำปุ๋ยหมัก
  • รดน้ำใส่ปุ๋ยต้นไม้ เตรียมแปลงเพาะปลูก
  • เพาะกล้าผัก ชำกิ่ง หยอดเมล็ด
  • งานช่างไม้ ตัดไม้ ทำกระบะเพาะปลูก

กิจกรรมนี้มีระยะเวลา 30 วัน หรือหากได้รับความสนใจและมีผู้ร่วมสนัTบสนุนอาจขยายระยะเวลาออกไปอีก ต้องการสนับสนุนสามารถสนับสนุนได้ตามลิงค์ข้างบน หรือหากต้องการสนับสนุนอาหารเครื่องดื่ม และอุปกรณ์ที่จำเป็นสามารถติดต่อได้ที่เพจ g Garden - urban farming & farmers connected หรือโทรศัพท์ 092-354-2879




ฝึกทักษะและจ้างงานในคนในชุมชนคลองเตย 10-15 คน

9 July 2021

เสร็จสิ้นกิจกรรมในเฟสแรก กิจกรรมจ้างงานและฝึกทักษะอาชีพให้กับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ถูกส่งต่อกลุ่มเป้าหมายจาก “กลุ่มคลองเตยดีจัง” ที่ทำงานร่วมกับชุมชนคลองเตยมาหลายปี

ในระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา มีคนคลองเตยเข้าร่วมกิจกรรมในฟาร์มจำนวน 10-15 คน/วัน เป็นเวลากว่า 1 เดือน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีทักษะอาชีพเพิ่มขึ้น ได้แก่ งานช่างไม้ การเพาะชำกิ่ง การเพาะเมล็ด เรียนรู้การปลูกผัก การดูแลต้นไม้ แปลงผัก การทำปุ๋ยหมัก ฯลฯ

เกิดผลลัพธ์ ดังนี้ กระบะไม้ปลูกผักจำนวน 20 ชุด, ปักชำและเพาะผักในกระถางประมาณ 100 ใบ, ดูแลและปลูกผัก/ต้นไม้ในพื้นที่ฟาร์มขนาด 1 ไร่, ปรับพื้นที่ทำกิจกรรมเพาะปลูกและพื้นที่ทำกิจกรรมขนาด 1 ไร่, ทำกระบะหมักเศษวัสดุทางการเกษตรขนาด 10 ลบ.ม.

จากการใช้งบประมาณในการจ้างงานประมาณ 100,000 บาท งบดำเนินงานและสวัสดิการประมาณ 50,000 บาท ลดรายจ่ายประจำวันของผู้เข้าร่วมกิจกรรมและค่าใช้ในครอบครัวได้ประมาณ 50,000 บาท (จากค่าอาหาร 2 มื้อ,เครื่องดื่ม,อาหารว่าง,ขนม) นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังสามารถเก็บผลผลิตจากฟาร์มกลับไปรับประทานที่บ้านได้

ภาพกิจกรรม


กิจกรรมเฟสที่สอง จะเป็นการนำผลผลิตที่เกิดขึ้นจากฟาร์มส่งต่อให้ครัวกลางที่ทำอาหารกล่องแจก และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ในชุมชน

กิจกรรมเฟสสอง นำผลผลิตที่เกิดขึ้นในฟาร์ม ส่งมอบให้ 4 ชุมชน

1 April 2022

กิจกรรมเฟสที่สอง เป็นการนำผลผลิตที่เกิดขึ้นไปมอบให้กับชุมชนที่ยังขาดแคลน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด โดย g Garden ร่วมกับมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) ทำงานในชุมชนเป้าหมาย โดยนำส่งผลผลิตที่เกิดขึ้นในฟาร์มส่งต่อให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบดังนี้

  1. ชุมชนคลองเตย วัตถุดิบในการทำอาหาร นำส่ง ผักกาดขาว ดอกแค กระเพราแดง ถั่วฝักยาว แตงกกวา จำนวน 50 กิโลกรัม และไข่ไก่ ข้าวสาร ที่รับบริจาคเพิ่มเติมจากเกษตรกรในเครือข่าย
  2. ชุมชนลำสาลีพัฒนา (กรุงเทพกรีฑาซอย 7) นำส่ง ต้นกล้ากระเพราแดง จำนวน 20 ต้น โหระพา 10 ต้น ฟ้าทะลายโจร 30 ต้น มะรุม 20 ต้นมะละกอ 5 ต้น เพื่อใช้ปลูกสำหรับเป็นวัตถุดิบทำอาหารให้กับชุมชน
  3. ชุมชนโรงเจมักกะสัน ซอยนานา ชุมชนซาเล้ง ซอยเสือใหญ่ (ถนนรัชดาภิเษก 36) นำส่งวัตถุดิบที่เก็บจากสวน เช่น กระเพาแดง จำนวน 5 กิโลกรัม โหระพา 5 กิโลกรัม สลัด 20 กิโลกรัม พริก 5 กิโลกรัม
  4. ชุมชนชุมชนซาเล้ง ซอยเสือใหญ่ (ถนนรัชดาภิเษก 36) นำส่งผลผลิตในฟาร์ม เช่น ผักกาดขาว ผักชี ดอกแค พริก จำนวน 20 กิโลกรัม เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร

ภาพประกอบ


ความประทับใจจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ


Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 สร้างโรงเรือนมาตรฐาน ด้วยโครงเหล็กคลุมด้วยพลาสติกใส ขนาด 6 x 20 เมตร 1 หลัง 50,000.00
2 กระบะไม้ปลูกผัก ขนาด 1x1 เมตร 500 บาท 100 ชุด 50,000.00
3 เมล็ดพันธุ์อินทรีย์ จำนวน 5,000 ซอง ๆ ละ 10 บาท 5,000 ซอง 50,000.00
4 ปุ๋ยอินทรีย์ 20 กก/กระสอบ 400 บาท 100 กระสอบ 40,000.00
5 ดินปลูก 20 บาท 1,500 กระสอบ 30,000.00
6 วัสดุปลูก (มะพร้าวสับ แกลบดำ ขุยมะพร้าว) 50 บาท 200 กระสอบ 10,000.00
7 กระถาง 8-10 นิ้ว ใบละ 20 บาท 500 ใบ 10,000.00
8 สแลนบังแสงสีดำ ขนาด 3x100ม. 5 ม้วน 15,000.00
9 อุปกรณ์ทำการเกษตร/งานช่าง จอบ เสียม ค้อน ตะปู 100 ชุด 20,000.00
10 ค่าสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต) เหมาจ่าย 5,000 บาท 8 เดือน 40,000.00
11 ค่าดำเนินงาน ดูแลสวน แปลงผัก 15,000 บาท 8 เดือน 120,000.00
12 ค่าติดต่อประสานงาน 3,000 บาท 8 เดือน 24,000.00
13 ค่าเดินทางในการประสานงาน/ขนส่งวัสดุเพาะปลูก/ ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์แจกจ่ายให้ชุมชน 3,000 บาท 8 เดือน 24,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
483,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
48,300.00

ยอดระดมทุน
531,300.00