cover_1
Recurring

กองทุนฮอมใจ๋ จ้วยสูงวัยประสบภัยพิบัติ (Disaster Response for the Elderly Fund)

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ
Eldery
Disaster

Donations for the project will เป็นกองทุนค่าถุงยังชีพไปตามสถานการณ์ฉุกเฉินตามฤดูกาลของภัย to ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน จำนวน5,000คน

Period of time

Oct 28, 2022 - Dec 31, 2024

Location

Chiang Mai Mae Hong Son Lampang Lamphun Krabi

SDG Goals

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGCLIMATE ACTION

Beneficiary groups of the project

Elderly
5,000คน

กองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินตามฤดูกาลของภัยเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีสถานะ ไม่สามารถเข้าถึงในการช่วยเหลือ

พร้อมกับการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ เกิดจากผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถี่ และมีความรุนแรง ทำให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงต้องเผชิญความเสี่ยงตามฤดูกาล เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ในฤดูฝน

อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันในฤดูหนาว ขณะที่ฤดูร้อนเราต้องเจอปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนนี้เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที

Social issues

ปัญหาผลกระทบจากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความรุนแรง และส่งผลกระทบในวงกว้าง และกลุ่มที่ต้องช่วยเหลือเป็นลำดับแรกคือที่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ เด็ก ที่ต้องการช่วยเหลือเฉพาะด้าน ในระยะ 5 ปีมานี้ มีเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยและเกิดขึ้นเป็นวงกว้างสามารถแบ่งภัย ที่ต้องเผชิญ มีความเสี่ยงตามฤดูกาล ได้แก่ 

  • ภาคเหนือ มักจะเกิดไฟป่า ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน ในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน ภัยหนาว ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
  • ภาคกลาง มักจะเกิดฝุ่นควันจากบริบทสังคมเมือง ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม น้ำท่วม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน
  • ภาคอีสาน มักจะเกิดภัยแล้ง ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม น้ำท่วม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน ภัยหนาว ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
  • ภาคใต้ มักจะเกิด มรสุม สึนามิ น้ำท่วม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน

ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมักจะสร้างความเสียหายให้กับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพย์สิน เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัย หรือบางรายจะต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปจากภัยที่เกิดขึ้น ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุ และครอบครัวมีภาระหนี้สิ้นเพิ่มขึ้น และทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมา มีภาวะเครียด ซึมเศร้า ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุที่ได้รับประสบภัยมีสุขภาพจิตที่แย่ลง กลายเป็นวงจรแห่งความเลวร้ายของผู้สูงอายุ ต้องการความช่วยเหลือ และเยี่ยวยาด้านจิตใจเป็นอย่างมาก

จากประสบการณ์ทำงานของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุที่ทำงานพัฒนาศักยภาพ การทำงานด้านสิทธิผู้สูงอายุ การสร้างอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ช่วยเหลือผู้สูงอายุด้อยโอกาส และดำเนินโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติจากการให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม และที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้ตั้งรับช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากภัยฉุกเฉินในฤดูกาลของภัยในพื้นที่ จำนวน 5,000 คน เช่นกรณีน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ไฟป่า ฝุ่นควัน COVOD-19 จึงทำให้มีแนวคิดในการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุ

และการช่วยเหลือฉุกเฉินให้ทันทุกฤดูกาลให้แก่ผู้สูงอายุในพื้นที่เสี่ยง ผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีสถานะ ไม่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 27 พื้นที่เสี่ยงภัยและเป็นพื้นที่ดำเนินงานของมูลนิธิฯทั่วประเทศ ให้สามารถได้รับการช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินได้ทันที โดยกระบวนการทำงานร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย

โดยแบ่งระยะการช่วยเหลือเป็น 2 ระยะ 

  • ระยะที่ 1 คือระยะฉุกเฉินหรือเร่งด่วน 
  • ระยะที่ 2 คือระยะฟื้นฟู
 
 

Approaches to addressing issues

  1. ระยะที่ 1 คือระยะฉุกเฉินหรือเร่งด่วน โดยการการมอบถุงยังชีพสำหรับตามฤดูกาล เช่น อาหาร ยารักษาโรค ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว หน้ากากกรองฝุ่น PM 2.5 ผ้าอ้อมผู้ใหญ่

  2. ระยะที่ 2 คือระยะฟื้นฟู โดยการซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า การรวมของอาสาสมัครในทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุหลังจากเกิดภัยพิบัติ และรวมถึงการเยี่ยวยาสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ โดยการให้กำลังใจ และการประเมินสภาพจิตใจโดยสหวิชาชีพ

Operational Plan

  1. ระยะฉุกเฉิน/เร่งด่วน 1.1 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ประชุม วางแผนและสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 1.2 ระดมจัดซื้อของ สิ่งของใช้จำเป็นอย่างเร่งด่วน พร้อมจัดถุงยังชีพตามฤดูกาลให้กับผู้สูงอายุที่ประสบภัย 1.3 ลงพื้นที่มอบของช่วยเหลือผู้สูงอายุ ของเจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ (หรือบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถลงได้ให้อาสาสมัครดดำเนินงานในพื้นที่)

  2. ระยะฟื้นฟู 2.1 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ประชุมร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ วางแผนและสำรวจพื้นที่บ้านผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบหลังเกิดภัยพิบัติ 2.2 ระดมจัดซื้ออุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.3 ลงพื้นที่ฟื้นฟู ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุหลังจากเกิดภัยพิบัติ โดยการรวมกลุ่มของอาสาสมัคร 2.4 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ พร้อมกับนักจิตวิทยา สหวิชาชีพ ประเมินสภาพจิตใจ ฟื้นฟูสภาพจิตใจ และให้กำลังใจผู้สูงอายุ 2.5 ติดตาม ประเมินหลังจากการได้รับการฟืนฟู และประชุมสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับอาสาสมัคร รายงานจำนวนที่ช่วยเหลือ สะท้อนผลการทำงาน เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการลงพื้นที่ช่วยเหลือฉุกเฉิน และวางแผนต่อไปในระยะฟื้นฟู

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
ค่าถุงยังชีพตามสถานการณ์ฉุกเฉิน

เช่น อาหาร ยารักษาโรค เสื้อกันหนาว ผ้าห่ม หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่ อุปกรณ์ทำความสะอาดหลังเกิดภัยพิบัติ ชุดละ 300 บาท

5,000ชุด1,500,000.00
ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน ค่าเช่ารถลงพื้นที่

ให้กับอาสาสมัครฯ ลงพื้นที่ พื้นที่ละ 4,000 บาท

27พื้นที่108,000.00
Total Amount1,608,000.00
Taejai support fee (10%)160,800.00
Total amount raised
1,768,800.00

Project manager

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ

เชียงใหม่

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon