project เด็กและเยาวชน

ช่วยน้องเรียน

ร่วมป้องกันไม่ให้นักเรียนกว่า 3,000 คนในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาเพราะขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ ด้วยการมอบเงินจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนออนไลน์ ค่าอินเตอร์เน็ตรายเดือนให้กับผู้ปกครอง หรือบริจาคอุปกรณ์การเรียนออนไลน์

Duration 6 เดือน Area ระบุพื้นที่: เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ (11 โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่)

Current donation amount

182,126 THB

Target

181,830 THB
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 90

สำเร็จแล้ว

Project updates

มอบแท็บแล็ตให้แก่ 6 โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 45 เครื่อง

23 January 2023

การดำเนินโครงการช่วยน้องเรียนได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยโรงเรียนที่ได้รับมอบแท็บแล็ตไป ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลในหลายตำบล ได้แก่ โรงเรียนบ้านโป่งน้อย โรงเรียนวัดเกตการาม โรงเรียนศรีสังวาลย์วิทยา โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 1 โรงเรียนแม่เหียะสามัคคี และโรงเรียนบ้านร้องอ้อ

โดยทางเราจัดมอบให้เป็นทรัพย์สินของโรงเรียน และโรงเรียนต้องเป็นผู้รับภาระเรื่องการยืมเรียนและอินเตอร์เน็ตรายเดือน เนื่องจากนักเรียนที่เราไปสำรวจมาไม่มีความพร้อมในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในส่วนของค่าอินเตอร์เน็ต แต่ทางโรงเรียนได้ยืนยันถึงความพร้อมในเรื่องค่าใช้จ่ายที่โรงเรียนจะจ่ายให้รายเดือนแล้ว

    วิธีการดำเนินโครงการ ได้ใช้กลไกอาสาสมัครในการลงไปสำรวจ Learning loss ของนักเรียนในช่วงโควิด ผลปรากฎว่า นักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล แทบจะทุกโรงเรียน ขาดความต่อเนื่องในการเรียนการสอน เนื่องจากย้ายตามผู้ปกครอง (สถานการณ์โควิดทำให้ผู้ปกครองต้องย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนที่ทำงาน) หรือบางครัวเรือนมีอุปกรณ์สำหรับการเรียนออนไลน์เพียงเครื่องเดียว และใช้กันทั้งครอบครัว บางครอบครัวมีลูก 2-3 คน ต้องเปลี่ยนกันเรียนคนละวิชา ทำให้ไม่สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง

ทางโครงการได้ร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ทำวิจัย เรื่องพหุวัฒนธรรม ทำให้เราพบว่า เด็กชาติพันธุ์ในเมืองเป็นอันดับแรกใน จังหวัดเชียงใหม่ที่หลุดออกจากระบบการศึกษามากที่สุด จึงทำให้เรานำแท็บแล็ตไปให้กับทางโรงเรียนที่มีเด็กชาติพันธุ์อยู่ด้วยเป็นส่วนใหญ่ และเน้นไปที่น้อง ๆ ระดับชั้นประถมปลาย (ป.5-6) หรือมัธยมต้น (ม.2-3) เนื่องจากเป็นเด็กกลุ่มที่จะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านช่วงชีวิตของพวกเขา

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

ภาพ : น้องแสนดาว, น้องปีใหม่, และน้องเนย (เรียงจากซ้ายสุด-ขวาสุด) นักเรียนระดับชั้นป. 6 โรงเรียนวัดเกตการาม ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง เชียงใหม่

น้องแสนดาว แจ้งกับทางทีมงานว่า ตนนั้นเรียนไม่ทันเพื่อน เพราะโทรศัพท์มือถือที่มีอยู่ของตนนั้นเป็นรุ่นเก่าแล้ว เรียนไปก็ต้องชาร์จแบตไปด้วยไม่งั้นเครื่องจะดับลงระหว่างที่กำลังเรียนออนไลน์อยู่

น้องปีใหม่ เรียนอยู่ที่บ้าน ซึ่งไม่มี wifi และสัญญาณอินเตอร์เน็ตก็ใช้ร่วมกันกับคุณแม่ ทำให้สัญญาณไม่ดี-ขาดหายระหว่างเรียน

น้องเนย ใช้โทรศัพท์ร่วมกับคุณแม่ (เป็นโทรศัพท์ที่สามารถใช้ google meet และ zoom ได้) แต่พ่อแม่ต้องไปขายของจึงไม่สามารถทำให้การเรียนนั้นประติดปะต่อ บางคาบเรียนก็ไม่ได้เข้าเรียนเพราะคุณแม่ต้องใช้โทรศัพท์

ภาพ : น้องนะโม นักเรียนชั้นป.4 โรงเรียนบ้านโป่งน้อย

น้องนะโม แจ้งกับทีมงานว่าทุกวันนี้ใช้โทรศัพท์ของคุณยายเรียน ซึ่งคุณยายเป็นผู้พิการอยู่แต่บ้านและทำรับจ้างปักผ้าขาย บางครั้งเรียนอยู่สัญญาณก็หลุดไปเพราะมีลูกค้าโทรมาสั่งงานปักผ้าของคุณยาย หรือบางทียายก็ต้องใช้โทรศัพท์เพื่อดูลายผ้า ทำให้เข้าเรียนบ้างไม่เข้าเรียนบ้างบางคาบ ทำให้ผลการเรียนตกลงในบางวิชา

ภาพ : น้องวิว นักเรียนชั้นป.5 โรงเรียนบ้านโป่งน้อย

น้องวิว อยู่กับพี่สาว 2 คนในบ้าน คุณพ่อทำงานรับจ้างก่อสร้างไม่ได้อยู่บ้าน กลับมาบ้านได้เฉพาะวันที่ไม่มีงาน ซึ่งน้องและตัวพี่สาวก็ยังเรียนอยู่ทั้งคู่และต้องแบกรับภาระค่าอินเตอร์เน็ตเอง ส่วนอุปกรณ์การเรียน น้องวิวใช้โทรศัพท์เครื่องเก่าของคุณพ่อ ทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนลดลง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนเด็กที่กำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้พวกเขาไม่ได้ไปโรงเรียน อีกทั้งยังต้องประสบกับปัญหาการเรียนออนไลน์เนื่องด้วยสถานะทางครอบครัว
45 เครื่อง
6 โรงเรียน
น้อง ๆ ได้รับอุปกรณ์สำหรับการเรียนรูปแบบ ออนไลน์ ทำให้สามารถเข้าเรียนได้ครบทุกคาบและเริ่มที่จะเรียนทันเพื่อน
Read more »
See all project updates

ร่วมป้องกันไม่ให้นักเรียนกว่า 3,000 คนในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาเพราะขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ ด้วยการมอบเงินจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนออนไลน์ ค่าอินเตอร์เน็ตรายเดือนให้กับผู้ปกครอง หรือบริจาคอุปกรณ์การเรียนออนไลน์

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้โรงเรียนต้องถูกสั่งปิด ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ต่างได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเรียนออนไลน์

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างของนักเรียนในเขตรับผิดชอบของเทศบาลนครเชียงใหม่ทั้งหมด 11 โรงเรียน พบว่า ราว 1,000 คน (จากทั้งหมด 3,357 คน) ไม่มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนแบบออนไลน์แต่อย่างใด มีฐานะตั้งแต่ยากจน กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบัตรประชาชน และกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา และอีกกว่า 2,700 คน ที่ผู้ปกครองไม่สามารถช่วยอยู่ดูแลนักเรียน และสอนการบ้านหรือให้คำแนะนำได้ นอกจากนี้ นักเรียนยังขาดความพร้อมทางด้านสัญญาณอินเตอร์เน็ต ส่งผลกระทบต่อทั้งคุณครู นักเรียน และผู้ปกครอง ที่ต้องเผชิญกับปัญหาลำบากที่ในการเข้าถึงบทเรียนและเกิดความกังวล

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การเข้าเรียนของนักเรียนลดลงแบบมีนัยยะสำคัญ ปัญหาหลักเกิดจาก

1. เด็กไม่มีอุปกรณ์การเรียนออนไลน์เป็นของตนเอง ใช้อุปกรณ์เครื่องเดียวกับผู้ปกครอง เมื่อผู้ปกครองออกไปทำงาน ทำให้เด็กไม่สามารถเข้าเรียนได้อย่างต่อเนื่อง

2.  จำนวนคาบเรียนมีปริมาณเท่าเดิมกับการไปโรงเรียน (7 คาบต่อวัน) แต่การปรับรูปแบบเป็นการเรียนออนไลน์นั้นทำให้เด็กอ่อนล้า ไม่มีสมาธิกับการเรียน และอุปกรณ์ที่มีอยู่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานตลอดทั้งวัน

3. แต่ละครัวเรือนมีฐานะที่ค่อนข้างยากจนจึงไม่สามารถซื้ออุปกรณ์และรับภาระค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อเรียนออนไลน์ได้

ทางโครงการต้องการร่วมแก้ไขปัญหานี้โดย

มอบอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิดให้กับผู้เรียนในอำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการเรียนออนไลน์และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ส่งเสริมการเรียนรู้ในกับเด็กที่กำลังจะขาดโอกาสทางการศึกษาจากสถานการณ์โควิด-19 โดยคาดหวังว่าน้อง ๆ นักเรียนจะสามารถเข้าเรียนได้เพิ่มขึ้นตามตารางเรียน อย่างน้อยร้อยละ 50

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. ขอรับบริจาคอุปกรณ์สำหรับการเรียนออนไลน์ทั้งสิ้น 35 เครื่อง เพื่อมอบให้กับครอบครัวหรือนักเรียนที่เปราะบางและขาดทุนทรัพย์ก่อน หรือขอความอนุเคราะห์เป็นเงินสนับสนุนเป็นค่าแท็บแล็ต เครื่องละ 5,000 บาท ทั้งหมด 35 เครื่อง เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 175,000 บาท

2. นำอุปกรณ์ทั้งหมดไปมอบให้กับผู้เรียนทั้งหมดในเขตเทศบาลนครและอำเภอเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับทีมอาสาสมัครซึ่งเป็นนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จะเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้น้อง ๆ ในการติดตั้งและสอนการใช้อุปกรณ์ รวมถึงแนะนำการปรับตัวในการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิดและดูแลสภาพจิตใจของผู้เรียน

3. ติดตามผลโดยมีหลักการดังนี้

    3.1 อุปกรณ์ทุกเครื่องจะต้องทำการลงทะเบียนเป็นครุภัณฑ์ของโรงเรียน และให้น้อง ๆ นักเรียนมาทำการขอยืมอุปกรณ์ยืมเรียน

    3.2 เกณฑ์การให้ยืมอุปกรณ์เรียน: ทางโรงเรียน (เทศบาลวัดเกต) จะพิจารณาจากศักยภาพของครอบครัวและความจำเป็นของเด็กที่จะใช้สำหรับเนื้อหาการเรียนการสอนที่เข้มข้น โดยทางโรงเรียนสำรวจมาแล้วว่าจะให้นักเรียนชั้นป. 5 และ 6 ของโรงเรียนวัดเกตจำนวน 35 เครื่อง (นำร่องที่โรงเรียนวัดเกตเป็นที่แรก)

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ตามหทัย ชนะบูรณาศักดิ์

มอบแท็บแล็ตให้แก่ 6 โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 45 เครื่อง

23 January 2023

การดำเนินโครงการช่วยน้องเรียนได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยโรงเรียนที่ได้รับมอบแท็บแล็ตไป ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลในหลายตำบล ได้แก่ โรงเรียนบ้านโป่งน้อย โรงเรียนวัดเกตการาม โรงเรียนศรีสังวาลย์วิทยา โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 1 โรงเรียนแม่เหียะสามัคคี และโรงเรียนบ้านร้องอ้อ

โดยทางเราจัดมอบให้เป็นทรัพย์สินของโรงเรียน และโรงเรียนต้องเป็นผู้รับภาระเรื่องการยืมเรียนและอินเตอร์เน็ตรายเดือน เนื่องจากนักเรียนที่เราไปสำรวจมาไม่มีความพร้อมในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในส่วนของค่าอินเตอร์เน็ต แต่ทางโรงเรียนได้ยืนยันถึงความพร้อมในเรื่องค่าใช้จ่ายที่โรงเรียนจะจ่ายให้รายเดือนแล้ว

    วิธีการดำเนินโครงการ ได้ใช้กลไกอาสาสมัครในการลงไปสำรวจ Learning loss ของนักเรียนในช่วงโควิด ผลปรากฎว่า นักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล แทบจะทุกโรงเรียน ขาดความต่อเนื่องในการเรียนการสอน เนื่องจากย้ายตามผู้ปกครอง (สถานการณ์โควิดทำให้ผู้ปกครองต้องย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนที่ทำงาน) หรือบางครัวเรือนมีอุปกรณ์สำหรับการเรียนออนไลน์เพียงเครื่องเดียว และใช้กันทั้งครอบครัว บางครอบครัวมีลูก 2-3 คน ต้องเปลี่ยนกันเรียนคนละวิชา ทำให้ไม่สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง

ทางโครงการได้ร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ทำวิจัย เรื่องพหุวัฒนธรรม ทำให้เราพบว่า เด็กชาติพันธุ์ในเมืองเป็นอันดับแรกใน จังหวัดเชียงใหม่ที่หลุดออกจากระบบการศึกษามากที่สุด จึงทำให้เรานำแท็บแล็ตไปให้กับทางโรงเรียนที่มีเด็กชาติพันธุ์อยู่ด้วยเป็นส่วนใหญ่ และเน้นไปที่น้อง ๆ ระดับชั้นประถมปลาย (ป.5-6) หรือมัธยมต้น (ม.2-3) เนื่องจากเป็นเด็กกลุ่มที่จะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านช่วงชีวิตของพวกเขา

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

ภาพ : น้องแสนดาว, น้องปีใหม่, และน้องเนย (เรียงจากซ้ายสุด-ขวาสุด) นักเรียนระดับชั้นป. 6 โรงเรียนวัดเกตการาม ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง เชียงใหม่

น้องแสนดาว แจ้งกับทางทีมงานว่า ตนนั้นเรียนไม่ทันเพื่อน เพราะโทรศัพท์มือถือที่มีอยู่ของตนนั้นเป็นรุ่นเก่าแล้ว เรียนไปก็ต้องชาร์จแบตไปด้วยไม่งั้นเครื่องจะดับลงระหว่างที่กำลังเรียนออนไลน์อยู่

น้องปีใหม่ เรียนอยู่ที่บ้าน ซึ่งไม่มี wifi และสัญญาณอินเตอร์เน็ตก็ใช้ร่วมกันกับคุณแม่ ทำให้สัญญาณไม่ดี-ขาดหายระหว่างเรียน

น้องเนย ใช้โทรศัพท์ร่วมกับคุณแม่ (เป็นโทรศัพท์ที่สามารถใช้ google meet และ zoom ได้) แต่พ่อแม่ต้องไปขายของจึงไม่สามารถทำให้การเรียนนั้นประติดปะต่อ บางคาบเรียนก็ไม่ได้เข้าเรียนเพราะคุณแม่ต้องใช้โทรศัพท์

ภาพ : น้องนะโม นักเรียนชั้นป.4 โรงเรียนบ้านโป่งน้อย

น้องนะโม แจ้งกับทีมงานว่าทุกวันนี้ใช้โทรศัพท์ของคุณยายเรียน ซึ่งคุณยายเป็นผู้พิการอยู่แต่บ้านและทำรับจ้างปักผ้าขาย บางครั้งเรียนอยู่สัญญาณก็หลุดไปเพราะมีลูกค้าโทรมาสั่งงานปักผ้าของคุณยาย หรือบางทียายก็ต้องใช้โทรศัพท์เพื่อดูลายผ้า ทำให้เข้าเรียนบ้างไม่เข้าเรียนบ้างบางคาบ ทำให้ผลการเรียนตกลงในบางวิชา

ภาพ : น้องวิว นักเรียนชั้นป.5 โรงเรียนบ้านโป่งน้อย

น้องวิว อยู่กับพี่สาว 2 คนในบ้าน คุณพ่อทำงานรับจ้างก่อสร้างไม่ได้อยู่บ้าน กลับมาบ้านได้เฉพาะวันที่ไม่มีงาน ซึ่งน้องและตัวพี่สาวก็ยังเรียนอยู่ทั้งคู่และต้องแบกรับภาระค่าอินเตอร์เน็ตเอง ส่วนอุปกรณ์การเรียน น้องวิวใช้โทรศัพท์เครื่องเก่าของคุณพ่อ ทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนลดลง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนเด็กที่กำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้พวกเขาไม่ได้ไปโรงเรียน อีกทั้งยังต้องประสบกับปัญหาการเรียนออนไลน์เนื่องด้วยสถานะทางครอบครัว
45 เครื่อง
6 โรงเรียน
น้อง ๆ ได้รับอุปกรณ์สำหรับการเรียนรูปแบบ ออนไลน์ ทำให้สามารถเข้าเรียนได้ครบทุกคาบและเริ่มที่จะเรียนทันเพื่อน

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ (แท็บแล็ต) ยี่ห้อ Huawei T3 7.0 35 123,550.00
2 ค่า sim internet True ซิมเทพ Fast 70 35 38,500.00
3 ค่าอาสาสมัครในการติดตั้งอุปกรณ์และสื่อการเรียน 5 1,625.00
4 ค่าอาสาสมัครในการลงพื้นที่ไปหาผู้เรียนในชุมชน เพื่อสอบถามปัญหาและดูแลสภาพจิตใจ 5 1,625.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
165,300.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
16,530.00

ยอดระดมทุน
181,830.00