project Covid-19 การศึกษา เด็กและเยาวชน

อุปกรณ์การเรียนออนไลน์ที่จำเป็นสำหรับศูนย์การเรียนในถิ่นทุรกันดาร จ.น่าน และ จ.กาญจนบุรี

ซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ ให้ศูนย์การเรียน 2 แห่ง เพื่อสนับสนุนการเรียนออนไลน์ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปีนี้ ซึ่งจะช่วยทำให้นักเรียนของศูนย์ฯ สามารถติดตามบทเรียนได้ทันตามกำหนดของภาคการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าไม่ถึงการศึกษาของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล

Duration 18 ก.ค. – 30 ก.ย. 64 Area 1. จังหวัดน่าน - ศูนย์การเรียนชุมชนธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน (อ.เชียงกลาง) 2. จังหวัดกาญจนบุรี - ศูนย์การเรียนชุมชนศรีสุวรรณสะเนพ่อง (อ.สังขละบุรี)

Current donation amount

74,221 THB

Target

63,800 THB
ดำเนินการไปแล้ว 116%
จำนวนผู้บริจาค 114

สำเร็จแล้ว

Project updates

สรุปการดำเนินการอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ที่จำเป็นสำหรับศูนย์การเรียนในถิ่นทุรกันดาร

7 February 2022

หลังการดำเนินโครงการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา 9 คน ในพื้นที่ดำเนินงานโครงการทั้ง 2 พื้นที่ ได้แก่

• ศูนย์การเรียนชุมชนธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน จ.น่าน

• ศูนย์การเรียนชุมชนศรีสุวรรณสะเนพ่อง (วิถีกะเหรี่ยงทุ่งใหญ่นเรศวร) จ.กาญจนบุรี

ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ให้บริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาส เป็นสาธารณะกุศล และยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำระเบียบ แนวทางการสนับสนุนเงินงบประมาณจากภาครัฐ สามารถให้บริการ และดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในศูนย์การเรียนได้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ได้ในรูปแบบ On demand คือ ครูผลิตใบความรู้ ใบงาน จัดส่งให้ผู้เรียนเรียนจากที่บ้าน และมีการส่งงานเพื่อดำเนินการติดตามความก้าวหน้าพัฒนาการของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ

โดยครั้งนี้โครงการได้เข้าไปทำให้ เด็กนักเรียนในศูนย์การเรียนทั้ง 2 แห่ง จำนวนกว่า 55 คน ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เท่าทันกับเด็กที่พักอาศัยในสังคมเมืองที่มีการเรียนแบบ Online และช่วยแบ่งเบาภารค่าใช้จ่ายในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในสถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกลทั้ง 2 แห่ง ถือเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอีกประการหนึ่งด้วย

ความประทับใจจากคุณครู

ภาพประกอบ

ภาพกิจกรรมอาสา มอบอุปกรณ์การเรียน การสอน และ เครื่องอุปโภคให้แก่น้อง ๆ นักเรียนในศูนย์การเรียนชุมชนศรีสุวรรณสะเนพ่อง ฯ

ภาพกิจกรรมครูเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนชุมชนธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน

Read more »
See all project updates

มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน (CYF) จัดตั้งมูลนิธิฯ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 โดยในปี 2543 เริ่มต้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มจิตอาสาที่สนใจประเด็นด้านการศึกษาไปทำกิจกรรมในพื้นที่ห่างไกล อาทิ สร้างอาคารเรียน จัดกิจกรรมวันเด็ก มอบสิ่งของเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์และวัสดุเครื่องเขียน เป็นต้น ต่อมามีการพัฒนาการทำงานไปสู่เรื่องโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ระหว่างนั้นทีมงานก็เล็งเห็นปัญหาเรื่องการศึกษาของเด็กๆ ในชุมชนที่ต้องเดินทางออกไปเรียนหนังสือระดับมัธยมในเมือง ทำให้มีเด็กเพียงไม่กี่คนที่เข้าถึงโอกาสดังกล่าว จึงหารือกับผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อร่วมกันการสร้าง “ศูนย์การเรียน” ในชุมชนของตนเองจนเกิดเป็นโครงการ “เด็กบ้านไกลพึ่งพาตนเอง” ในปี 2549 โดย อบต.ไล่โว่ จ.กาญจนบุรี เป็นเจ้าภาพในการเชิญเด็กจาก 6 หมู่บ้านในตำบล มาทดลองเรียนและพักอาศัยร่วมกัน

ศูนย์การเรียน ถือเป็นระบบการศึกษาที่ดำเนินงานโดยภาคเอกชน แต่มีภาครัฐเป็นผู้กำกับ ควบคุมดูแลด้านคุณภาพมาตรฐาน แต่ละองค์กรที่จัดศูนย์การเรียน จึงต้องจัดหางบประมาณเองเพื่อดำเนินการจัดการศึกษาแบบไม่แสวงหาผลกำไร และไม่มีแหล่งงบประมาณจากภาครัฐ

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบขยายเป็นวงกว้าง จึงมีคำสั่งจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้ทุกสถานศึกษาเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติ เป็นการเรียนผ่านระบบ ออนไลน์หรือการเรียนการสอนผ่านใบงาน/ ใบความรู้ ทดแทนการเข้ามาเรียนในชั้นเรียน และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการจากทางภาครัฐ จึงต้องมีจัดการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าว ไม่เว้นแม้แต่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร หรือในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนี้คือครูและนักเรียนในศูนย์การเรียนรู้ รวมทั้งผู้ปกครองซึ่งเป็นคนในพื้นที่

ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวส่งผลให้สถานศึกษาขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ ศูนย์การเรียน ซึ่งยังไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ (เนื่องจากอยู่ในระหว่างการนำเสนอขออนุมัติต่อ ครม.) จึงไม่สามารถปรับรูปแบบการสอนให้เป็นไปตามมาตรการดังกล่าวได้ เพราะต้องอาศัยความพร้อมในหลายๆ ด้าน อาทิ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต) อุปกรณ์การเรียน (กระดาษ ปากกา คอมพิวเตอร์ ฯลฯ) ทำให้เด็กและเยาวชนในศูนย์การเรียนหลายแห่งในประเทศ ต้องหยุดการเรียนในช่วงการแพร่ระบาดของโครงการไปโดยปริยาย และไม่ได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เป็นจุดเริ่มต้นของความเหลื่อมล้ำอีกหลายอย่าง ทั้งโอกาสในการเรียนรู้ให้เท่าเทียมกับเด็กในโรงเรียนตามระบบ หรือโอกาสในการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น


“ศูนย์การเรียนชุมชนธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน” อ.เชียงกลาง จ.น่าน เป็นศูนย์การเรียนชุมชนแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับความเห็นชอบอนุญาตจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดน่าน เขต 2 (สพป.น่าน เขต 2) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 ให้เปิดทำการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา


“ศูนย์การเรียนชุมชนศรีสุวรรณสะเนพ่อง (วิถีกะเหรี่ยงทุ่งใหญ่นเรศวร)” บ้านสะเนพ่อง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรีเป็นองค์กรชุมชนแห่งแรกของประเทศไทยเช่นกันได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จากสำนักงานมัธยมศึกษา เขต 8 (สพม.เขต 8) ให้เปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภารกิจหลักของ CYF ในช่วงนี้จึงมุ่งเน้นส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยองค์กรชุมชน พัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับบริบทชุมชน รวมถึงการจัดหาสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็น เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องดนตรี ระบบไฟฟ้าโซลาเซลล์ ฯลฯ รวมทั้งงบประมาณการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนและครูจึงจำเป็นได้รับการดูแล

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. มูลนิธิ CYF จะสำรวจความต้องการของศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 2 แห่ง ว่าต้องการให้สนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์ใดบ้าง เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และการผลิตใบงานให้นักเรียนได้
  2. ระดมทุนผ่านเทใจดอทคอม ตามงบประมาณที่ได้ประเมินไว้
  3. จัดหา จัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ ตามที่ศูนย์การเรียนร้องขอ และส่งมอบให้ไม่เกินเดือนเม.ย. 64
  4. ติดตามผลการบริหารจัดการทรัพยากรที่ทางมูลนิธิฯ ส่งไปให้ โดยจะติดตามผลการเรียนการสอนของศูนย์การเรียนรู้ที่ได้รับอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานในทุกสัปดาห์ และให้แต่ละศูนย์ส่งรายงานจำนวนนักเรียนที่เข้าถึงการเรียนการสอนหลังได้รับอุปกรณ์สนับสนุน


สรุปการดำเนินการอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ที่จำเป็นสำหรับศูนย์การเรียนในถิ่นทุรกันดาร

7 February 2022

หลังการดำเนินโครงการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา 9 คน ในพื้นที่ดำเนินงานโครงการทั้ง 2 พื้นที่ ได้แก่

• ศูนย์การเรียนชุมชนธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน จ.น่าน

• ศูนย์การเรียนชุมชนศรีสุวรรณสะเนพ่อง (วิถีกะเหรี่ยงทุ่งใหญ่นเรศวร) จ.กาญจนบุรี

ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ให้บริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาส เป็นสาธารณะกุศล และยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำระเบียบ แนวทางการสนับสนุนเงินงบประมาณจากภาครัฐ สามารถให้บริการ และดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในศูนย์การเรียนได้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ได้ในรูปแบบ On demand คือ ครูผลิตใบความรู้ ใบงาน จัดส่งให้ผู้เรียนเรียนจากที่บ้าน และมีการส่งงานเพื่อดำเนินการติดตามความก้าวหน้าพัฒนาการของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ

โดยครั้งนี้โครงการได้เข้าไปทำให้ เด็กนักเรียนในศูนย์การเรียนทั้ง 2 แห่ง จำนวนกว่า 55 คน ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เท่าทันกับเด็กที่พักอาศัยในสังคมเมืองที่มีการเรียนแบบ Online และช่วยแบ่งเบาภารค่าใช้จ่ายในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในสถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกลทั้ง 2 แห่ง ถือเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอีกประการหนึ่งด้วย

ความประทับใจจากคุณครู

ภาพประกอบ

ภาพกิจกรรมอาสา มอบอุปกรณ์การเรียน การสอน และ เครื่องอุปโภคให้แก่น้อง ๆ นักเรียนในศูนย์การเรียนชุมชนศรีสุวรรณสะเนพ่อง ฯ

ภาพกิจกรรมครูเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนชุมชนธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน

Budget plan


รายการราคาจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
1.คอมพิวเตอร์ AIO Acer Aspire C20-830-504G1T19Mi/T004
Free USB Keyboard & Mouse
Intel Pentium J5005 / 4GB DDR4 / 1TB / 19.5 inch / Integrated Graphics / Endless OS
15,0001 ชุด15,000
2.ไมโครโฟน YAMAHA YVC-2008,0001 ชุด8,000
3.กล้องเว็บแคม Logitech (BCC950)8,0001 ชุด8,000
4.VGA Capture Card5,0001 ชุด5,000
5.เครื่องฉายภาพทึบแสง / ความละเอียด 5,000,000 Pixels Digital Visualizer Gygar GL-8438,0001 ชุด8,000
6.ปริ้นเตอร์2,0001 ชุด2,000
7.ค่าอุปกรณ์/ เครื่องเขียน/ วัสดุอื่นๆ ที่จำเป็น (2 ศกร.)6,0002 เดือน12,000
8.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10 %
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)


5,800
รวมเป็นเงินทั้งหมด

63,800