project Covid-19 กลุ่มคนเปราะบาง

research&innovationFund

กองทุนให้บุคลากรการแพทย์ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักชีวเคมี ที่กำลังพัฒนานวัตกรรมในการรักษาและดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถขอทุนทำการวิจัย เพื่อจัดการกับสถานการณ์ระบาดและการควบคุมโรค โดยมีรูปแบบการให้ทุนที่รวดเร็ว เพิ่มความคล่องตัวในการทำงานวิจัยทางการแพทย์ให้ตอบสนองต่อความเร่งด่วนของสถานการณ์

Duration 2 เดือน Area ไทย

Current donation amount

133,783 THB

Target

770,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 17%
จำนวนผู้บริจาค 95

สำเร็จแล้ว

การที่สังคมจะกลับมาเป็นปกติและอยู่กับไวรัสโคโรน่าในระยะยาวได้นั้น วัคซีน ยารักษาโรค และนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เป็นเรื่องจำเป็นต้องเกิดขึ้น และการค้นพบนี้ควรจะเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกลไกในการเอื้อให้เกิดการวิจัยในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน โดยไม่ติดอุปสรรคความล่าช้าในงานธุรการและขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติงานวิจัย

ประเทศไทยมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ทั้งในเรื่องการวิเคราะห์โรค การรักษา และการวิจัยโรค ซึ่งทำให้เรามีศักยภาพในการพัฒนาความรู้และนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การจัดการไวรัสโคโรน่าได้ในเวลารวดเร็ว  จึงเกิดขึ้นเป็นกองทุนให้บุคลากรการแพทย์ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักชีวเคมีที่กำลังพัฒนานวัตกรรมในการรักษาและดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถขอทุนเพื่อทำการวิจัยเร่งด่วน โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก Fast Grants Fund (https://fastgrants.org) ที่ร่วมก่อตั้งโดยมหาเศรษฐีด้านเทคโนโลยีในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ทุนกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการคิดค้น วิจัย และประดิษฐ์นวัตกรรมและความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์เพื่อจัดการกับสถานการณ์ระบาดและการควบคุมไวรัสโคโรน่า โดยมีรูปแบบการให้ทุนที่รวดเร็ว ตัดสินใจอนุมัติ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานวิจัยทางการแพทย์ให้ตอบสนองต่อความเร่งด่วนของสถานการณ์ และลดความยุ่งยากของงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติริเริ่มงานวิจัย

กองทุนนี้มีคณะกรรมการกองทุน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ วิศวกร และ ผู้บริหาร นักธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีที่ได้แรงบันดาลใจจากโครงการ Fast grant funds โดยผู้ที่สามารถนำเสนอโครงการจะต้องเป็นผู้ที่มีหลักฐานทำงานวิจัยจริง โดยมี โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา และ มหาวิทยาลัย เข้าร่วม ผู้สนใจขอรับทุนจากโครงการ ต้องส่ง proposal โดยการพิจารณามอบทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จะเกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมงหลังการส่งโครงการ  โดยคณะกรรมการจะพิจารณางบประมาณตามความเหมาะสมของโครงการ และสนับสนุนให้เกิดการตีพิมพ์เพื่อนำความรู้ไปต่อยอดการแก้ปัญหา

ตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจของไทย : หุ่นยนต์อัจฉริยะ เฝ้าระวังเชื้อไวรัส โควิด-19 โดยความร่วมมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ AIS ที่นําเทคโนโลยี 5G มาช่วยเสริมขีดความสามารถการทํางานของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์

ความสามารถของหุ่นยนต์ : เทคโนโลยีอินฟราเรด ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายได้อย่างแม่นยำ, 3D Mapping กำหนดแผนที่เส้นทางเดินของหุ่นยนต์ ให้เคลื่อนที่เข้าหาผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ อย่างรวดเร็ว และTelemedicine ระบบปรึกษาทางไกลระหว่างแพทย์และผู้ป่วยผ่านวิดีโอคอล


ภาพประกอบจาก https://www.eng.chula.ac.th/th/26761

มาร่วมกันสนับสนุนงานวิจัย และ นวัตกรรมฝีมือคนไทย

เจ้าของโครงการ

  • พ.อ. ธนกฤต นพคุณวิจัย ศัลยแพทย์ช่องปากขากรรไกรและใบหน้า หน.แผนกทันตกรรม รพ.ค่ายธนะรัชต์
  • วุฒิเลิศ เจียรนิลกุลชัย กรรมการบริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ / บจก. มาลีออยล์
  • รศ. ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนางานใหม่และงานนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ทศพล พิชญโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท กรุงเทพ อาร์ ไอ เอ จำกัด
  • ศุภชล นิธิวาสิน  กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกซินธิติกส์ จำกัด
  • ธนรัตน์​ รัก​อริยะ​พงศ์​ กรรม​การ​ผู้​จัด​การ บ. ฮายาชิ โปรดักส์
ไม่มีข้อมูล

Budget plan


รายการบาท
1.ทุนวิจัยนวัตกรรมสู้ COVID-19 ทุนละไม่เกิน 100,000-200,000 บาทจำนวน 3 ทุน700,000
2.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10 %

(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)
70,000
รวม770,000