project กลุ่มคนเปราะบาง

BLOSSOM กองทุนเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว

เมื่อครอบครัว สถานที่ที่ควรจะปลอดภัยที่สุด กลายเป็นบ่อเกิดความรุนแรง การพาร่างกายและหัวใจที่บอบช้ำออกจากสถานการณ์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย กองทุนเพื่อผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวให้พ้นจากเหตุรุนแรง ผ่านการสนับสนุนค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และ ค่าใช้จ่ายจำเป็นสำหรับการหาทีมช่วยเหลือมืออาชีพ ให้ผู้ประสบความรุนแรงสามารถตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาในแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเองโดยไม่ถูกจำกัดด้วยภาระด้านค่าใช้จ่าย

Duration 01 มี.ค. 2565 ถึง 30 ก.ย. 2566 Area ทั่วประเทศ

Current donation amount

330,000 THB

Target

330,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 178

สำเร็จแล้ว

Project updates

ให้การช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 13 กรณี

13 November 2023

โครงการ BLOSSOM กองทุนเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว เป็นโครงการที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว ให้พ้นจากเหตุรุนแรง ผ่านการสนับสนุนค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และค่าใช้จ่ายจำเป็นสำหรับการหาทีมช่วยเหลือมืออาชีพ ตั้งแต่ทนายความ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และผู้จัดการรายกรณี การช่วยเหลือผ่านกองทุนเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถทำให้ SHero สามารถสนับสนุนทีมอาสา และสนับสนุนให้ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวมีทางเลือกในการแก้ปัญหาในแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเอง โดยไม่ถูกจำกัดด้วยภาระค่าใช้จ่าย

โครงการดำเนินมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2565 จนถึงเดือนตุลาคม 2566 กองทุนจากโครงการได้ถูกนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวไปจำนวนทั้งหมด 13 กรณี และยังช่วยมีส่วนการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรอาสาสมัครในการให้คำปรึกษาออนไลน์แก่ผู้เสียหายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายอีกกว่า 200 กรณี

การที่โครงการสนับสนุนทีมอาสา นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวแล้ว ผู้เป็นอาสาสมัคร ทั้งทนายอาสา และผู้จัดการกรณีอาสา ได้เรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งผู้ร่วมแก้ไขและช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว อาสาสมัครได้เรียนรู้ผ่านการช่วยเหลือ ทางคดีความ ซึ่งเป็นคดีความที่มีความละเอียดอ่อน ทำให้อาสาสมัครได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ขั้นคัดกรอง ประเมินงาน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือด้านคดีความเพื่อขอความคุ้มครองที่ชั้นศาล วางแผนการปลอดภัย และการติดต่อกับองค์กรอื่นๆ เพื่อส่งต่อ

อาสาสามัครหลายท่านได้ชี้แจ้งว่าประสบการณ์อาสากับโครงการ ทำให้อาสาสมัครได้เรียนรู้และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวได้อย่างแท้จริง และโครงการสามารถสนับสนุนการทำงานของทีมอาสาของ SHero ได้ทั้งในแง่มุม การทำงานต่อผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว และการทำงานที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่องค์กรอื่นอีกด้วย

สิ่งที่ทางองค์กรจะทำต่อไป คือการนำเงินจากกองทุนในโครงการไปใช้สนับสนุนทีมช่วยเหลือมืออาชีพ โดยเฉพาะทนายความ นักสงคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และผู้จัดการรายกรณี แก่ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวเป็นการต่อไป แต่อย่างไรก็ดี ทางองค์กรจะหาทางจัดการค่าใช้จ่ายต่อรายกรณีให้ได้คุ้มค่าและเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน เบี้ยเลี้ยงกรณีลงพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้ทางองค์กรจะจัดทำข้อมูลถอดบทเรียน จากการช่วยเหลือรายกรณีนี้ เพื่อนำไปใช้ต่อในการเสนอแนะต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนี้อย่างรอบด้านมากขึ้น

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ ตั้งแต่ติดต่อ SHero และ SHero ให้การช่วยเหลือชีวิตก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมาก ตัวฉันและลูกไม่ต้องย้ายออกจากที่พักแต่เรามี safety plan และไม่ต้องย้ายที่อยู่ ทั้งยังรู้สึกปลอดภัย ฉันออกจากความสัมพันธ์ที่รุนแรงมาได้ 1 ปีครึ่งแล้วต้องขอบคุณ SHero ”  คุณ A (นามสมมติ) หนึ่งในผู้ได้รับการช่วยเหลือจาก SHero

“ การขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัวนั้นบางครั้งเราไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการดำเนินการด้วยตนเอง ทีมของ SHero เป็นทีมงานสหวิทยาการทำให้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการช่วยเหลือเรา เพราะทีมงานมีทั้งผู้ดูแลเคสและทนายให้คำปรึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (Case management & Probono lawyers) ทำให้เราได้รับทั้งการช่วยเหลือทางด้านกฏหมายในการปฏิบัติการจริงและการให้ความช่วยเหลือทางด้านอารมณ์ รวมถึงการตอบคำถามที่เรามีจำนวนมากทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลงและรู้สึกได้รับการสนับสุนนในเส้นทางของกระบวนการยุติธรรม ” คุณ B (นามสมมติ)  หนึ่งในผู้ได้รับการช่วยเหลือจาก SHero 

“ สำหรับตัวหนูเองรู้สึกประทับใจและขอบคุณพี่ๆ ในทีมทุกคนที่ช่วยเหลือเคสของหนูจนประสบผลสำเร็จ หนูเหมือนได้ชีวิตใหม่ไม่ต้องทนอยู่ไม่ต้องเสียเวลาชีวิตให้เขาคอยทำร้ายและควบคุมชีวิตหนูอีกต่อไป เหมือนหนูได้เติบโตได้ออกมามองโลกกว้างมากขึ้นรู้สึกรักตัวเองและรู้ว่าตัวเองมีความสามารถและมีคุณค่า  และหนูจะใช้ชีวิตใหม่นี้ให้ดีให้ปลอดภัย ขอบคุณอีกครั้งนะคะ ” คุณ C (นามสมมติ) หนึ่งในผู้ได้รับการช่วยเหลือจาก SHero

 “ การทำงานร่วมกันเป็นทีมของอาสาสมัครจาก SHero ที่มีทั้งนักกฎหมาย นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยา นอกจากจะทำให้ผู้เสียหายได้รับการดูแลในมิติที่กว้างขึ้นแล้ว ตัวอาสาสมัครผู้ปฏิบัติงานเองก็ได้รับการโอบอุ้ม ได้รับกำลังใจ และเสริมสร้างความมั่นใจให้กันและกันได้อย่างดีด้วย เพราะในหลายกรณี ทีมอาสาสมัครของ SHero จำเป็นต้องเป็นปากเป็นเสียงให้ผู้เสียหาย ต้องเป็นตัวแทนในการเรียกร้อง และต่อสู้กับอคติ ความไม่เข้าใจ และระบบราชการที่ไม่เป็นมิตรและละเอีอดอ่อนกับผู้เสียหายที่ถูกลดทอนพลังและมีบาดแผลจากสถานการณ์ความรุนแรงมาแต่เดิมแล้ว การทำงานป็นทีมสหวิชาชีพเล็กๆ ของ SHero จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรทั้งต่อผู้เสียหาย และอาสาสมัคร ทั้งยังเป็นตัวอย่างงที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้ด้วย ” นักสังคมสงเคราะห์อาสา

 “ สิ่งที่ประทับใจสำหรับ SHero คือ การที่ SHero เป็นองค์กรที่มีค่านิยมองค์กร (core value) ที่เข้มแข็งและแน่ชัดมาก ทุกครั้งที่มีผู้เสียหายส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามา องค์กรพยายามที่จะช่วยเหลือทุกเคสอย่างเต็มความสามารถที่สุด การทำงานปราศจากอคติและไม่มีเรื่องของการเมืองเข้าแทรกแซงที่จะทำให้เราทำงานอย่างไม่สะดวกหรือไม่สบายใจ นอกจากนั้น SHero ยังคอยให้ความรู้เพิ่มเติมกับอาสาทึ่เข้ามาช่วยทำงานตลอด ทำให้การทำงานง่ายและสำเร็จได้จริงๆ ” ทนายความอาสา 

 “ ได้รับการความช่วยเหลือทั้งด้านงาน ความรู้ และสุขภาพจิต จากคนทำงานด้วยกันเป็นอย่างดี ทุกๆคนช่วยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน อะไรที่เราไม่รู้ ทุกคนยินดีให้ความช่วยเหลือเสมอ รู้สึกประทับใจคนในองค์กรและการทำงานของคนในองค์กรมากๆ ช่วยทำให้เรามีกำลังใจและไม่ท้อในการที่จะช่วยเหลือเคสต่อ อีกทั้งเวลาเราช่วยเหลือเคสแต่ละเคสจนสำเร็จแล้ว เราได้เห็นเคสมีความสุขและรู้สึกปลอดภัย นั่นทำให้เรารู้สึกดีใจมากๆและภูมิใจกับตัวเองเหมือนกันที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนๆ หนึ่งให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและปลอดภัยได้ในแบบที่เขาควรได้รับ นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นด้านกระบวนการทำงาน ความคิด สภาพสังคม การบังคับใช้กฎหมาย หรือสภาพจิตใจของเคส การเรียนรู้จากการทำงาน ทำให้รู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันกฎหมายให้ดีขึ้น และแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างสังคม ” ทนายความอาสา 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กลุ่มคนเปราะบางผู้ประสบความรุนแรง13 คนผู้ได้รับประโยชน์ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือทางด้านจิตใจ สังคมและด้านกฎหมายเพื่อเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย ได้รับความเป็นธรรมและใช้ชีวิตปราศจากความกลัว 
อื่นๆทนายอาสาและผู้จัดการกรณีอาสา16 คนพัฒนาองค์ความรู้ ทัศนคติ ทักษะในการทำงานช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม

**  เนื่องจากการทำงานคดีเป็นข้อมูลความลับ จึงไม่สามารถนำเสนอรูปเกี่ยวกับการทำคดีโดยตรงได้ ขอนำเสนอการทำงานประชุมคดีและการอบรมระหว่างทีมแทน อย่างไรก็ตาม ในการทำอบรมทรัพยากรของทีม ไม่ได้มีการใช้งบประมาณจากกองทุนที่ระดมผ่านเทใจแต่อย่างใด **



Read more »
See all project updates

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาระดับสังคมที่เร่งด่วนและรุนแรง 

เมื่อครอบครัว สถานที่ที่ควรจะปลอดภัยที่สุด กลายเป็นบ่อเกิดความรุนแรง การพาร่างกายและหัวใจที่บอบช้ำออกจากสถานการณ์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย กองทุนเพื่อผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวให้พ้นจากเหตุรุนแรง ผ่านการสนับสนุนค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และ ค่าใช้จ่ายจำเป็นสำหรับการหาทีมช่วยเหลือมืออาชีพ ให้ผู้ประสบความรุนแรงสามารถตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาในแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเองโดยไม่ถูกจำกัดด้วยภาระด้านค่าใช้จ่าย  

“เคสความรุนแรงในครอบครัว ยังมีข้อท้าทายในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมากมายบางเคสต้องหลบหนี กว่าคดีจะไปถึงศาล เคสไม่มีที่พักที่ปลอดภัย มีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่ก็ไม่รู้ว่าจะเอาเงินมาจากไหน…

บางกรณี คำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพยังไม่ออก (คำสั่งทางกฎหมายให้อำนาจในการยับยั้งผู้กระทำความรุนแรง) เคสต้องหนีไปอยู่ที่ปลอดภัย ไม่ใช่ทุกเคสสามารถอยูในบ้านพักฉุกเฉินได้ ผู้กระทำเป็นคนกุมเงินทั้งหมด เงินค่ารถ ที่จะเดินทางออกมา เคสหาไม่ได้ คำสั่งจากกระบวนการยุติธรรมใช้เวลานาน ในระหว่างนั้น ผู้กระทำก็จะติดตามตัวผู้ถูกกระทำตลอดเวลา กลับบ้านไปเอาของไม่ได้…

บางทีจะเดินทางข้ามอำเภอไปหย่า ค่าเดินทางก็เป็นภาระมากสำหรับเคส หรือบางทีเป็นคนต่างชาติ ไม่รู้จริง ๆ จะไปหาล่ามมาจากไหน ไม่มีเงินทุนสนับสนุนสิ่งเหล่านี้ให้เบิกได้” 

คำบอกเล่า จากประสบการณ์การทำงานโดยตรงกับเคสของ คุณบุษยาภา ศรีสมพงษ์ ผู้ก่อตั้ง SHero Thailand (https://www.sherothailand.org/ ) ที่ทำงานช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงมาตั้งแต่ปี 2016 ในขั้นตอนตั้งแต่รับฟัง ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย หาที่พักชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย ไปจนถึงช่วยดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม ค่าใช้จ่ายในบางส่วนเหล่านี้เช่น ค่าเดินทาง ค่าล่ามสำหรับทนาย SHero ต้องออกเงินตัวเองไปก่อน 

ความรุนแรงในครอบครัวหมายถึงกรณีไหนบ้าง?

เรานับความรุนแรงทั้งทางกาย ทางจิตใจและ ทางเพศที่เกิดจากบุคคลในครอบครัว เช่นระหว่าง สามี-ภรรยา ผู้ปกครอง-บุตร หรือ ระหว่างเครือญาติ รวมไปถึงคู่รัก แฟน แฟนเก่า ผู้ที่อยู่หรือเคยอยู่กินพึ่งพิงกันฉันท์คู่ครองแม้จะไม่ได้มีการจดทะเบียน

จากรายงานของศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พบว่าในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นและเข้าสู่กระบวนการจัดการ ทั้งหมด 36 เหตุการณ์ มีผู้ถูกกระทำ 42 ราย และ เสียชีวิต 8 ราย 

หากมองย้อนไปตั้งแต่ปี 2561 - 2565 จำนวนผู้ถูกทำร้ายจากเหตุความรุนแรงในครอบครัวที่ได้รับการบันทึกมีทั้งหมด 6,960 ราย* อาจดูเหมือนไม่ใช่ตัวเลขที่น่าตกใจ อย่างไรก็ตาม สถิติดังกล่าวเป็นเพียงจำนวนเหตุการณ์ที่มีการแจ้ง 

ในความเป็นจริง เพียง 40% ของผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวจะขอความช่วยเหลือ และส่วนใหญ่จะเป็นการขอไปที่ครอบครัว หรือ เพื่อน น้อยมากที่จะขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ หรือ NGO มีเพียง 10% ของผู้ที่ขอความช่วยเหลือที่จะมาแจ้งตำรวจ** 

ดังนั้น ตัวเลขที่ปรากฎเป็นเพียงแค่ยอดเล็ก ๆ ของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น

และในหลักการที่ว่า ครอบครัวเป็นรากฐานที่สำคัญในสังคม ผลกระทบระยะยาวจากเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวต่อศักยภาพของคนหลายคนที่ต้องผ่านประสบการณ์เหล่านี้รุนแรงมีมาก สามารถขยายไปสู่ภาพของสังคมในมุมอาชญากรรม ที่นักโทษล้นคุก ยาเสพติดล้นเมือง เพราะหลายๆ ครั้ง เบื้องหลังของคนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็คือครอบครัวที่แตกหัก…

การช่วยให้ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวสามารถออกจากสถานการณ์นั้น และเริ่มชีวิตใหม่ได้ จึงสำคัญมาก 

ในปัจจุบัน ไม่มีกองทุนสำหรับผู้ประสบเหตุความรุนแรงในครอบครัวโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประสบเหตุสัญชาติไทย หรือ ต่างชาติ ทำให้ผู้ประสบเหตุไม่สามารถออกจากวงจรความรุนแรงไม่มีค่าเดินทาง ไม่สามารถจ้างล่าม หรือ ทนายที่มีความเข้าใจประเด็นปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ไม่มีทุนค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง แม้ว่าภาระทางการเงินอาจจะไม่ใช่ทางออกทั้งหมดของปัญหานี้ แต่เงินที่พอเพียง ในเวลาที่จำเป็น สามารถช่วยให้ชีวิตหนึ่งรอดพ้นจากความรุนแรงในครอบครัว 

เคสที่เข้ามาหา SHero ส่วนมาก เป็นกรณีที่ค่อนข้างท้าทาย เคสมีอาการทรอม่า และถูกทำให้โดดเดี่ยวจากครอบครัว/เพื่อน และการเข้าสู่ความช่วยเหลือที่เป็นทางการก็ต้องอาศัยทรัพยากร ทั้งความรู้ และเงิน ที่ผู้ประสบความรุนแรงอาจจะไม่สามารถหาได้เลยในเวลานั้น

กองทุนนี้จะเข้ามาปิดช่องว่าง โดยจะเป็นกองทุนที่สนับสนุนการทำงาน ให้ SHero และเครือข่าย สามารถเข้าช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงได้ทันท่วงที และช่วยได้อย่างมีคุณภาพ ในหลักการ เงินในกองทุนจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ฉุกเฉินและจำเป็น ในกรณีที่ผู้ขอความช่วยเหลือสามารถ (และอยู่ในสภาพที่สามารถดำเนินการได้) เบิกเงินจากกองทุนของรัฐอื่น ๆ ที่ให้ความช่วยเหลืออยู่แล้วได้ ทีมงานจะแนะนำให้ผู้ขอความช่วยเหลือดำเนินการขอเงินจากกองทุนอื่น ๆ ก่อน  

*ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 

** https://www.unwomen.org/en/what-we-do/ending-violence-against-women/facts-and-figures 


แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร?

การมีกองทุนเพื่อผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้ประสบความรุนแรงสามารถเข้าถึงความปลอดภัย มีทางเลือกในการแก้ปัญหา สามารถดำเนินคดี และเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่มั่นคงกว่าเดิมได้ แต่ยังช่วยสร้างให้ระบบนิเวศในการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นระบบมากขึ้น การที่เคสความรุนแรงสามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยกลุ่มสหวิชาชีพที่มีคุณภาพ จะช่วยสร้างบรรทัดฐานในทางกฎหมายที่สะท้อนภาพความเป็นจริง ในระยะยาว อาจสะท้อนข้อเท็จจริงเหล่านี้ไปสู่การปรับปรุงนโยบายการทำงานในประเด็นในระดับประเทศได้

อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมความไม่เท่าเทียมทางเพศของสังคม ทำให้ผู้ประสบปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวต้องเผชิญกับความยากลำบาก ตั้งแต่ขั้นตอนการรับรู้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่ตนสามารถขอความช่วยเหลือได้ กระบวนการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐทั้งระยะสั้นที่เน้นด้านความปลอดภัย หรือการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อไปถึงขั้นตอนการการชดใช้ และการบำบัดฟื้นฟูนั้นเข้าถึงยาก และไม่มีการทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบเพราะขาดเจ้าภาพ ในระยะยาว การแก้ปัญหาจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสร้างความเข้าใจ และวัฒนธรรมใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการเกิดความรุนแรง ซึ่งการตั้งกองทุนเพื่อผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว เป็นเพียงแค่หนึ่งในกระบวนการแก้ปัญหาเท่านั้น 

ในระยะยาว SHero มีแผนที่จะดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องความรุนแรงอย่างเป็นระบบ ผ่านการทำงานด้านกฎหมายและนโยบาย โดยการวางรากฐานสร้างโมเดลกระบวนการส่งต่อเคสอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ลดการกระทำซ้ำผู้ประสบปัญหาในกระบวนการ มีระบบบันทึกจัดเก็บข้อมูล ที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์และจัดทำเป็นข้อแนะนำแนวทางการแก้ปัญหาในระดับนโยบายทั้งในมุมของการทำงานกับผู้ประสบปัญหา และการป้องกันการเกิดความรุนแรงในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ต่อไป 

กองทุนนี้จะทำงานกับ SHero และองค์กรเครือข่ายอื่น ๆ ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดในปัจจุบัน และถอดบทเรียนเพื่อสร้าง Model ทางการเงินและการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวในระดับนโยบายต่อไป 

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

เงินบริจาคทั้งหมดจะเป็นกองทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประสบปัญหาความรุนแรง โดยค่าใช้จ่ายที่กองทุนจะสนับสนุน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่ฉุกเฉินและจำเป็นในการช่วยผู้ประสบความรุนแรง ให้ปลอดภัย และสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ ทั้งนี้จะเน้นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเบิกได้จากกองทุนต่าง ๆ ของรัฐ 

กองทุนนำเงินมาสนับสนุนการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว เช่น

  • ค่าอาหารสำหรับผู้เสียหายและบุตร ชั่วคราว 600 บาท/วัน
  • ค่าที่พักชั่วคราว กรณีที่ไม่สามารถเข้าบ้านพักฉุกเฉิน 500บาท/คืน
  • ค่ายาและค่ารักษาพยาบาลนอกเหนือจากที่เบิกในจากรัฐ(ในภาวะจำเป็น) 3,000 บาท/คน
  • ค่าเดินทางของผู้เสียหายหรือทนายความ 500-1000 บาท/เที่ยว
  • ค่าทนายความอาสา 3,000 บาท/วัน ค่าล่ามอาสา 1000-1500 บาท/วัน
  • ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้จัดการรายกรณี 1,500บาท/วัน เป็นต้น

การบริหาร และการตัดสินใจใช้เงินของกองทุนจะทำโดย SHero ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานให้การช่วยเหลือเคสต่าง ๆ มาเป็นตั้งแต่ปี 2016 ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานในประเทศไทยและต่างประเทศ 

การใช้จ่ายทั้งหมดจะได้รับการจดบันทึกและจัดทำสรุปรายงานทุกไตรมาส รวมถึงจะมีการรายงานผลการทำงานและผลกระทบทางสังคมเมื่อครบ 1 ปี

ทั้งนี้สามารถติดการทำงานของกองทุนได้ ที่ https://www.sherothailand.org 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

กันต์รวี กิตยารักษ์​ ผู้ระดมทุนและดูแลเงินกองทุน โดยมี SHero เป็นองค์กรที่ดูแลเรื่องการบริหารและตัดสินใจด้านการใช้เงิน เนื่องจากเป็นองค์กรที่ทำงานกับผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวโดยตรง 

ให้การช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 13 กรณี

13 November 2023

โครงการ BLOSSOM กองทุนเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว เป็นโครงการที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว ให้พ้นจากเหตุรุนแรง ผ่านการสนับสนุนค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และค่าใช้จ่ายจำเป็นสำหรับการหาทีมช่วยเหลือมืออาชีพ ตั้งแต่ทนายความ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และผู้จัดการรายกรณี การช่วยเหลือผ่านกองทุนเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถทำให้ SHero สามารถสนับสนุนทีมอาสา และสนับสนุนให้ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวมีทางเลือกในการแก้ปัญหาในแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเอง โดยไม่ถูกจำกัดด้วยภาระค่าใช้จ่าย

โครงการดำเนินมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2565 จนถึงเดือนตุลาคม 2566 กองทุนจากโครงการได้ถูกนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวไปจำนวนทั้งหมด 13 กรณี และยังช่วยมีส่วนการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรอาสาสมัครในการให้คำปรึกษาออนไลน์แก่ผู้เสียหายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายอีกกว่า 200 กรณี

การที่โครงการสนับสนุนทีมอาสา นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวแล้ว ผู้เป็นอาสาสมัคร ทั้งทนายอาสา และผู้จัดการกรณีอาสา ได้เรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งผู้ร่วมแก้ไขและช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว อาสาสมัครได้เรียนรู้ผ่านการช่วยเหลือ ทางคดีความ ซึ่งเป็นคดีความที่มีความละเอียดอ่อน ทำให้อาสาสมัครได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ขั้นคัดกรอง ประเมินงาน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือด้านคดีความเพื่อขอความคุ้มครองที่ชั้นศาล วางแผนการปลอดภัย และการติดต่อกับองค์กรอื่นๆ เพื่อส่งต่อ

อาสาสามัครหลายท่านได้ชี้แจ้งว่าประสบการณ์อาสากับโครงการ ทำให้อาสาสมัครได้เรียนรู้และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวได้อย่างแท้จริง และโครงการสามารถสนับสนุนการทำงานของทีมอาสาของ SHero ได้ทั้งในแง่มุม การทำงานต่อผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว และการทำงานที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่องค์กรอื่นอีกด้วย

สิ่งที่ทางองค์กรจะทำต่อไป คือการนำเงินจากกองทุนในโครงการไปใช้สนับสนุนทีมช่วยเหลือมืออาชีพ โดยเฉพาะทนายความ นักสงคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และผู้จัดการรายกรณี แก่ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวเป็นการต่อไป แต่อย่างไรก็ดี ทางองค์กรจะหาทางจัดการค่าใช้จ่ายต่อรายกรณีให้ได้คุ้มค่าและเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน เบี้ยเลี้ยงกรณีลงพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้ทางองค์กรจะจัดทำข้อมูลถอดบทเรียน จากการช่วยเหลือรายกรณีนี้ เพื่อนำไปใช้ต่อในการเสนอแนะต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนี้อย่างรอบด้านมากขึ้น

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ ตั้งแต่ติดต่อ SHero และ SHero ให้การช่วยเหลือชีวิตก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมาก ตัวฉันและลูกไม่ต้องย้ายออกจากที่พักแต่เรามี safety plan และไม่ต้องย้ายที่อยู่ ทั้งยังรู้สึกปลอดภัย ฉันออกจากความสัมพันธ์ที่รุนแรงมาได้ 1 ปีครึ่งแล้วต้องขอบคุณ SHero ”  คุณ A (นามสมมติ) หนึ่งในผู้ได้รับการช่วยเหลือจาก SHero

“ การขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัวนั้นบางครั้งเราไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการดำเนินการด้วยตนเอง ทีมของ SHero เป็นทีมงานสหวิทยาการทำให้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการช่วยเหลือเรา เพราะทีมงานมีทั้งผู้ดูแลเคสและทนายให้คำปรึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (Case management & Probono lawyers) ทำให้เราได้รับทั้งการช่วยเหลือทางด้านกฏหมายในการปฏิบัติการจริงและการให้ความช่วยเหลือทางด้านอารมณ์ รวมถึงการตอบคำถามที่เรามีจำนวนมากทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลงและรู้สึกได้รับการสนับสุนนในเส้นทางของกระบวนการยุติธรรม ” คุณ B (นามสมมติ)  หนึ่งในผู้ได้รับการช่วยเหลือจาก SHero 

“ สำหรับตัวหนูเองรู้สึกประทับใจและขอบคุณพี่ๆ ในทีมทุกคนที่ช่วยเหลือเคสของหนูจนประสบผลสำเร็จ หนูเหมือนได้ชีวิตใหม่ไม่ต้องทนอยู่ไม่ต้องเสียเวลาชีวิตให้เขาคอยทำร้ายและควบคุมชีวิตหนูอีกต่อไป เหมือนหนูได้เติบโตได้ออกมามองโลกกว้างมากขึ้นรู้สึกรักตัวเองและรู้ว่าตัวเองมีความสามารถและมีคุณค่า  และหนูจะใช้ชีวิตใหม่นี้ให้ดีให้ปลอดภัย ขอบคุณอีกครั้งนะคะ ” คุณ C (นามสมมติ) หนึ่งในผู้ได้รับการช่วยเหลือจาก SHero

 “ การทำงานร่วมกันเป็นทีมของอาสาสมัครจาก SHero ที่มีทั้งนักกฎหมาย นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยา นอกจากจะทำให้ผู้เสียหายได้รับการดูแลในมิติที่กว้างขึ้นแล้ว ตัวอาสาสมัครผู้ปฏิบัติงานเองก็ได้รับการโอบอุ้ม ได้รับกำลังใจ และเสริมสร้างความมั่นใจให้กันและกันได้อย่างดีด้วย เพราะในหลายกรณี ทีมอาสาสมัครของ SHero จำเป็นต้องเป็นปากเป็นเสียงให้ผู้เสียหาย ต้องเป็นตัวแทนในการเรียกร้อง และต่อสู้กับอคติ ความไม่เข้าใจ และระบบราชการที่ไม่เป็นมิตรและละเอีอดอ่อนกับผู้เสียหายที่ถูกลดทอนพลังและมีบาดแผลจากสถานการณ์ความรุนแรงมาแต่เดิมแล้ว การทำงานป็นทีมสหวิชาชีพเล็กๆ ของ SHero จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรทั้งต่อผู้เสียหาย และอาสาสมัคร ทั้งยังเป็นตัวอย่างงที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้ด้วย ” นักสังคมสงเคราะห์อาสา

 “ สิ่งที่ประทับใจสำหรับ SHero คือ การที่ SHero เป็นองค์กรที่มีค่านิยมองค์กร (core value) ที่เข้มแข็งและแน่ชัดมาก ทุกครั้งที่มีผู้เสียหายส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามา องค์กรพยายามที่จะช่วยเหลือทุกเคสอย่างเต็มความสามารถที่สุด การทำงานปราศจากอคติและไม่มีเรื่องของการเมืองเข้าแทรกแซงที่จะทำให้เราทำงานอย่างไม่สะดวกหรือไม่สบายใจ นอกจากนั้น SHero ยังคอยให้ความรู้เพิ่มเติมกับอาสาทึ่เข้ามาช่วยทำงานตลอด ทำให้การทำงานง่ายและสำเร็จได้จริงๆ ” ทนายความอาสา 

 “ ได้รับการความช่วยเหลือทั้งด้านงาน ความรู้ และสุขภาพจิต จากคนทำงานด้วยกันเป็นอย่างดี ทุกๆคนช่วยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน อะไรที่เราไม่รู้ ทุกคนยินดีให้ความช่วยเหลือเสมอ รู้สึกประทับใจคนในองค์กรและการทำงานของคนในองค์กรมากๆ ช่วยทำให้เรามีกำลังใจและไม่ท้อในการที่จะช่วยเหลือเคสต่อ อีกทั้งเวลาเราช่วยเหลือเคสแต่ละเคสจนสำเร็จแล้ว เราได้เห็นเคสมีความสุขและรู้สึกปลอดภัย นั่นทำให้เรารู้สึกดีใจมากๆและภูมิใจกับตัวเองเหมือนกันที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนๆ หนึ่งให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและปลอดภัยได้ในแบบที่เขาควรได้รับ นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นด้านกระบวนการทำงาน ความคิด สภาพสังคม การบังคับใช้กฎหมาย หรือสภาพจิตใจของเคส การเรียนรู้จากการทำงาน ทำให้รู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันกฎหมายให้ดีขึ้น และแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างสังคม ” ทนายความอาสา 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กลุ่มคนเปราะบางผู้ประสบความรุนแรง13 คนผู้ได้รับประโยชน์ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือทางด้านจิตใจ สังคมและด้านกฎหมายเพื่อเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย ได้รับความเป็นธรรมและใช้ชีวิตปราศจากความกลัว 
อื่นๆทนายอาสาและผู้จัดการกรณีอาสา16 คนพัฒนาองค์ความรู้ ทัศนคติ ทักษะในการทำงานช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม

**  เนื่องจากการทำงานคดีเป็นข้อมูลความลับ จึงไม่สามารถนำเสนอรูปเกี่ยวกับการทำคดีโดยตรงได้ ขอนำเสนอการทำงานประชุมคดีและการอบรมระหว่างทีมแทน อย่างไรก็ตาม ในการทำอบรมทรัพยากรของทีม ไม่ได้มีการใช้งบประมาณจากกองทุนที่ระดมผ่านเทใจแต่อย่างใด **



Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 กองทุนนำเงินมาสนับสนุนการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว เช่น
- ค่าอาหารสำหรับผู้เสียหายและบุตร ชั่วคราว 600 บาท/วัน
- ค่าที่พักชั่วคราว กรณีที่ไม่สามารถเข้าบ้านพักฉุกเฉิน 500บาท/คืน
- ค่ายาและค่ารักษาพยาบาลนอกเหนือจากที่เบิกในจากรัฐ(ในภาวะจำเป็น) 3,000 บาท/คน
- ค่าเดินทางของผู้เสียหายหรือทนายความ 500-1000 บาท/เที่ยว
- ค่าทนายความอาสา 3,000 บาท/วัน
- ค่าล่ามอาสา 1000-1500 บาท/วัน
- ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้จัดการรายกรณี 1,500บาท/วัน เป็นต้น
1 300,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
300,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
30,000.00

ยอดระดมทุน
330,000.00