project เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง

บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก

ร่วมสนับสนุนพ่อแม่ให้ได้อยู่ใกล้ชิดลูกที่ป่วยขั้นวิกฤตขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อลดปัญหาการแอบหลับนอนตามพื้นที่สาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้ป่วยเด็กให้ดีขึ้น

Duration ตลอดปี Area ระบุพื้นที่: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) , โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี , โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย , โรงพยาบาลศิริราช

Current donation amount

2,509,625 THB

Target

3,927,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 64%
249 days left จำนวนผู้บริจาค 3,638

Project updates

ความช่วยเหลือบ้านพักพิงครอบครัวผู้ป่วยเด็ก ตั้งแต่ปี 2564-2566

29 January 2024

มูลนิธิโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ประเทศไทย มุ่งมั่นเดินหน้าสานต่อการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กและครอบครัว ผ่านโครงการบ้านพักพิงโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก

ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็กมีพื้นที่บริการทั้งหมด 4 แห่ง ดังนี้

  1. บ้านพักพิงฯ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
  2. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  3. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
  4. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลศิริราช

ให้บริการที่พักชั่วคราวให้กับครอบครัวผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤต และโรคเรื้อรัง ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด ให้ได้อยู่ใกล้ชิดบุตรหลานในยามที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ห้องน้ำ ห้องอาหาร มีมาตรการคัดกรองและปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยสูงสุด โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตลอด 24 ชั่วโมง

จากการระดมทุนโครงการบ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก มูลนิธิฯ ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วยเด็กได้มากกว่า 5,300 คน ให้ได้อยู่ใกล้ชิดบุตรหลานระหว่างที่รักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2564 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 1,000 คน
  • ปี พ.ศ. 2565 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 1,300 คน
  • ปี พ.ศ. 2566 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 3,000 คน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 " น้องป่วยเป็นโรคมะเร็งกระดูก ระยะเวลาในการป่วยมากกว่า 1 ปี อาการเริ่มแรกของน้องมีอาการเจ็บที่หัวเข่าด้านขวาเดินไม่ถนัดแต่ฝ่าเท้ายังเหยียบพื้นได้อยู่ จึงได้พาน้องไปตรวจที่โรงพยาบาลตราดคุณหมอให้น้อง Admit และพาน้องไปสแกนกระดูก แต่คุณหมอยังไม่แน่ใจจึงได้ส่งตัวน้องมารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การเดินทางลำบากเพราะน้องไม่สามารถเดินเองได้กลัวกระดูกแตกได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ ให้มาเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ชั้น 12 ตึก(สก.) หลังจากที่ได้เข้ามาพักในบ้านพักพิงฯ รู้สึกอบอุ่นสบายใจ อยู่แบบครอบครัวแบบพี่น้อง มีรอยยิ้มมีเพื่อนใหม่ๆ ทำให้มีกำลังใจดูแลลูก
และสุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิง ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ หากมีอะไรที่คนเป็นแม่จะขอพรได้ ก็ขอให้ลูกหายจากอาการป่วย และกลับไปใช้ชีวิตในวัยเด็ก เหมือนเด็กๆ ในวัยเดียวกัน และเจริญเติบโตไปตามวัยอย่างแข็งแรง ปราศจากโรคภัยใดๆ ตลอดไป "
แม่อัจฉราพร ภู่ระย้า อายุ 38 ปี อาชีพทำสวน มาจากจังหวัดตราด และน้องต้นข้าว อายุ 13 ปี

 " น้องป่วยด้วยโรคมาแฟนชิโดม ป่วยมาเป็นระยะเวลา 12 ปี ตอนคลอดน้องออกมาได้ 2 วัน อาของน้องได้สังเกตเห็นตาดำของน้องทั้ง2 ข้างเป็นสีฟ้าจึงตามหมอมาดูอาการ ในตอนนั้นหมอก็ยังให้คำตอบไม่ได้ ทางโรงพยาบาลจึงส่งตัวน้องมารักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช จึงได้ทำการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชประมาณ 2 อาทิตย์ ได้รู้ผลว่าน้องเป็นโรคมาแฟนชิโดมค่ะ ตอนแรกก็มีความกังวลว่าจะมาทำอะไรตรงไหนก่อน และต้องนำตัวน้องไปรักษาที่ตึกไหนและต้องไปติดต่อยังไง น้องจะเป็นโรคอะไรที่ร้ายแรงรึเปล่าและจะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายหรือเปล่า เพราะไม่รู้ว่าการที่เรามีบัตรส่งตัวมาแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายยังไง ไม่รู้ว่าจะพักที่ไหน และทางพยาบาลก็ได้แนะนำให้มาเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อเข้ามาพักแล้วดิฉันรู้สึกมีความสุขและสบายใจมาก ทั้งเรื่องที่พักอาศัยและอาหารการกินและรู้สึกอบอุ่น เจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ คอยให้กำลังใจ เวลาที่รู้สึกไม่ดี รู้สึกดีใจมากที่ได้อยู่ใกล้ลูกในขณะที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ต้องขอพูดว่าทั้งคุณหมอคุณพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ เป็นคนพิเศษของแม่ทุกๆ ท่านเลยคะ ถ้าดิฉันขอพรได้จะขอให้ลูกไม่ป่วย และขอให้น้องแข็งแรงและออกมาอยู่กับพ่อแม่นานๆ ตลอดไปค่ะ ขอขอบพระคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านเลยนะคะ "
แม่อัมพิกา แย้มศิลป์ อายุ 33 ปี อาชีพค้าขาย มาจากจังหวัดราชบุรี เป็นแม่ของน้องซี

 " น้องเป็นผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง อาการเริ่มต้นอ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน ทานอาหารไม่ได้อยู่บ่อยครั้ง จึงได้สังเกตุอาการและตัดสินใจปรึกษาหมอให้ทำการวินิจฉัยที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หลังจากได้ทำการ CT Scan แพทย์วินิจฉัยว่าน้องได้เป็นเนื้องอกในสมอง ทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวน้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทำให้คุณแม่เดินทางไม่สะดวกต้องใช้เวลามาก อีกทั้งต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ต้องฉายแสง 30 ครั้ง ไม่สะดวกต่อการเดินทางไป-กลับ
เมื่อเริ่มรับการรักษาคุณหมอได้หาที่พักให้ รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่รู้ว่าครอบครัวของเราจะพักที่ไหน ทางคุณหมอส่งเข้าพัก ที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และหลังจากที่ได้เข้ามาพักในบ้านพักพิงฯ รู้สึกอบอุ่นสบายใจ อยู่แบบครอบครัวแบบพี่น้อง และสามารถพูดระบายความรู้สึกและแชร์การรักษาตัวของน้องเบื้องต้น และเมื่อเกิดปัญหาหรือความกังวลใจก็จะได้กำลังใจจากผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ ได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองที่มีให้ซึ่งกันและกัน
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิงฯ ทุกท่าน ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ ได้เป็นอย่างดี "
แม่ศิริพร บุตรดี อายุ 36 ปี อาชีพค้าขาย จากจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่ของน้องมิกซ์ 

 " ลูกชายของแม่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว น้องถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในตัวจังหวัด มารักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นการรักษาซ้ำ ครั้งที่ 2 ของน้องที่รักษาตัว ทางโรงพยาบาลส่งต่อน้องมารักษาตัวที่นี่เพราะอย่างน้อยน้องยังมีโอกาสรักษาต่อและมีโอกาสจะหายจากโรคที่เป็นอยู่ ช่วงที่มาถึงความรู้สึกแรกทุกอย่างมันวุ่นมาก ไม่รู้ว่าจะต้องดำเนินการอะไรก่อนยังไงบ้าง แต่ด้วยความใจดีของบุคลากรในโรงพยาบาลทุกอย่างจึงเรียบร้อยด้วยดี และที่สำคัญได้รับการแนะนำที่พัก บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลศิริราชให้ด้วย
เรารู้สึกว่านาทีที่เรามีทุกข์ มีคนยื่นมือช่วยทำให้เรามีความหวัง ได้มีความสุขในเวลาที่ทุกข์ที่สุด บ้านพักแห่งนี้ให้ความอบอุ่น ให้กำลังใจ เป็นที่พึ่งให้คนทุกข์ยากจริงๆ ดิฉันขอให้ทุกข์ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความสุข ความเจริญ สิ่งดีๆ ที่ท่านทำให้พวกเรา ขอให้กลับไปหาพวกท่านตลอดไป "
แม่สุภาพร ฤทธิ์มนตรี อายุ 43 ปี อาชีพเกษตรกร มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแม่ของน้องเจษ 

 " น้องป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจรั่วจะเล่าย้อนให้ฟังว่า หลังจากผ่าคลอดน้องเรียบร้อยคุณหมอ พบว่ามีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ จึงทำการตรวจอย่างละเอียดและพบว่าน้องมีลิ้นหัวใจรั่ว และได้ทำการรักษาน้องตั้งแต่แรกคลอด โดยในปัจจุบันน้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะน้องได้ทำการผ่าตัดรักษาตั้งแต่ตอนนั้น และมีการอัปเดตการเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบต่างๆ พอน้องโตขึ้น น้องเคยเกิดภาวะช็อค จึงทำให้ผมต้องเฝ้าระวังน้องเป็นพิเศษ และในตอนนั้นผมก็ลำบากในการที่จะต้องรักษาน้องเพราะต้องเดินทางจากชุมพร เพื่อพาน้องมารักษาโดยที่ผมขับรถส่วนตัวในระยะทางร่วมกว่า 500 กิโลเมตร และยังต้องขับรถเดินทางเพียงคนเดียว ทำให้เหนื่อยและร่างกายอ่อนเพลีย อีกทั้งต้องเฝ้าน้องเป็นระยะเวลานาน
คุณหมอและพยาบาลได้แนะนำให้เข้าพักบ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพราะจะได้ดูแลน้องอย่างใกล้ชิด พอได้เข้ามาอยู่บ้านพักพิงจุฬาฯ ทำให้ผมนอนเต็มอิ่มมากขึ้น และมีแรงที่จะดูแลน้องได้ในทุกวัน และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินยังสามารถลงไปหาน้องได้ทันท่วงที และยังได้กำลังจากครอบครัวผู้ป่วยท่านอื่นๆ ที่คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และกำลังใจจากเจ้าหน้าที่จากบ้านพักพิงด้วย
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิงฯ ทุกท่าน ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ ได้เป็นอย่างดี "
พ่อสุริยา แก้วประสบ อายุ 35 ปี เป็นพ่อของน้องสาคร 

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





Read more »
See all project updates

ร่วมสนับสนุนพ่อแม่ 500 ครอบครัว ให้ได้อยู่ใกล้ชิดลูกที่ป่วยขั้นวิกฤตขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อลดปัญหาการแอบหลับนอนตามพื้นที่สาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้ป่วยเด็กให้ดีขึ้น

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่า ไวรัส ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ยังคงดำเนินอยู่ คนไทยต้องใช้ชีวิตตามแบบฉบับวิถีใหม่ เว้นระยะห่างทางสังคม งดเดินทางข้ามจังหวัดโดยไม่จำเป็น แต่อย่างไรก็ดี การเดินทางมารักษาอาการป่วยของผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง จากสถิติผู้เข้าพักตลอดปีพ.ศ. 2563 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 มีเข้ามาพักที่บ้านพักพิง มีครอบครัวผู้ป่วยเด็กมาเข้าพัก 4,468 คน โดยเป็นผู้ปกครองเด็กที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด 4,113 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 92 จากผู้เข้าพักทั้งหมด (ค่าเฉลี่ย 1 คนพัก 7 คืน) แสดงให้เห็นว่าแม้ในสถานการณ์โควิด ก็ยังคงมีครอบครัวผู้ป่วยเด็กที่มาจากต่างจังหวัดเพื่อพาบุตรหลานมารักษาอยู่เป็นจำนวนมาก และยังประสบปัญหาในการหาที่พักในกรุงเทพฯ

บ้านพักพิงโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก เปิดให้บริการที่พักชั่วคราวโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แก่ครอบครัวผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤตตลอด 24 ชั่วโมง ในพื้นที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งบ้านพักพิงฯ บริหารงานโดยมูลนิธิโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ประเทศไทย โดยค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ได้รับการสนับสนุนจากการบริจาคขององค์กรต่าง ๆ และผู้มีจิตเมตตาในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กและครอบครัวให้ได้อยู่ใกล้ชิดกัน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

เกณฑ์การคัดเลือกครอบครัวผู้ป่วยที่จะเข้าพักบ้านพักพิงฯ นั้น จะพิจารณาให้ครอบครัวผู้ยากไร้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและไม่มีที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ แต่ทั้งนี้ หากเป็นครอบครัวของผู้ป่วยเด็กที่กำลังอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ก็จะได้รับพิจารณาเป็นลำดับแรก รองลงมาคือกลุ่มผู้ป่วยเด็กโรคร้ายแรงและโรคเรื้อรัง โดยแพทย์เจ้าของไข้และพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติเข้าพัก และประสานงานกับเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ เพื่อให้บริการครอบครัวผู้ป่วยเด็กในลำดับถัดไป

ครอบครัวผู้ป่วยเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้านพักพิงฯ จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตลอดการเข้าพัก ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการเงินและค่าเดินทาง สามารถอยู่ใกล้ชิดกับลูกได้ในช่วงเวลาสำคัญ และยังช่วยให้กระบวนการรักษาครบวงจร แพทย์เจ้าของไข้ผู้ป่วยเด็กสามารถทำการรักษาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง ลดความกังวลทั้งผู้ป่วยเด็กและครอบครัว อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการที่ครอบครัวผู้ป่วยเด็กต้องหาที่นอนในพื้นที่สาธารณะ (ริมทางเดินหรือเก้าอี้) ในโรงพยาบาล

การดำเนินงานบริการบ้านพักพิง

  1. บ้านพักพิงฯ จัดเตรียมสถานที่พักให้มีความพร้อม เพื่อรองรับครอบครัวผู้ป่วยเด็ก
  2. ครอบครัวที่มีผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤต (อายุไม่เกิน 18 ปี) มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
  3. แพทย์เจ้าของไข้ หรือ พยาบาล พิจารณาอนุมัติการเข้าพักตามคุณสมบัติของผู้เข้าพักที่ได้กำหนดไว้ และทำใบส่งตัวเพื่อลงทะเบียนเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ
  4. ผู้เข้าพักนำใบส่งตัวไปลงทะเบียนเพื่อเช็คอินเข้าพัก ณ เคาน์เตอร์ลงทะเบียนบ้านพักพิงฯ
  5. ผู้จัดการบ้านพักพิงฯ ทำการปฐมนิเทศผู้เข้าพัก พร้อมทั้งแจ้งกฎระเบียบการเข้าพักให้ผู้เข้าพักทราบ
  6. ผู้จัดการพาชมบ้านและแนะนำวิธีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน และพาผู้เข้าพักไปส่งที่ห้องพัก
  7. ผู้เข้าพักปฏิบัติตามระเบียบในการเข้าพักอย่างเคร่งครัด
  8. เมื่อบุตรหลานได้รับการรักษาและแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ผู้เข้าพักลงทะเบียนแจ้งออกจากบ้านพักพิงฯ

ภาคี

  1. ศูนย์ประสานงาน โรงพยาบาลที่เป็นมิตรกับเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
  2. กลุ่มงานพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  3. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  4. ฝ่ายกุมารบริรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช

เจ้าของโครงการ

มูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ 


Facebook : https://www.facebook.com/rmhcthailand

ความช่วยเหลือบ้านพักพิงครอบครัวผู้ป่วยเด็ก ตั้งแต่ปี 2564-2566

29 January 2024

มูลนิธิโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ประเทศไทย มุ่งมั่นเดินหน้าสานต่อการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กและครอบครัว ผ่านโครงการบ้านพักพิงโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก

ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็กมีพื้นที่บริการทั้งหมด 4 แห่ง ดังนี้

  1. บ้านพักพิงฯ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
  2. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  3. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
  4. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลศิริราช

ให้บริการที่พักชั่วคราวให้กับครอบครัวผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤต และโรคเรื้อรัง ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด ให้ได้อยู่ใกล้ชิดบุตรหลานในยามที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ห้องน้ำ ห้องอาหาร มีมาตรการคัดกรองและปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยสูงสุด โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตลอด 24 ชั่วโมง

จากการระดมทุนโครงการบ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก มูลนิธิฯ ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วยเด็กได้มากกว่า 5,300 คน ให้ได้อยู่ใกล้ชิดบุตรหลานระหว่างที่รักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2564 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 1,000 คน
  • ปี พ.ศ. 2565 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 1,300 คน
  • ปี พ.ศ. 2566 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 3,000 คน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 " น้องป่วยเป็นโรคมะเร็งกระดูก ระยะเวลาในการป่วยมากกว่า 1 ปี อาการเริ่มแรกของน้องมีอาการเจ็บที่หัวเข่าด้านขวาเดินไม่ถนัดแต่ฝ่าเท้ายังเหยียบพื้นได้อยู่ จึงได้พาน้องไปตรวจที่โรงพยาบาลตราดคุณหมอให้น้อง Admit และพาน้องไปสแกนกระดูก แต่คุณหมอยังไม่แน่ใจจึงได้ส่งตัวน้องมารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การเดินทางลำบากเพราะน้องไม่สามารถเดินเองได้กลัวกระดูกแตกได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ ให้มาเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ชั้น 12 ตึก(สก.) หลังจากที่ได้เข้ามาพักในบ้านพักพิงฯ รู้สึกอบอุ่นสบายใจ อยู่แบบครอบครัวแบบพี่น้อง มีรอยยิ้มมีเพื่อนใหม่ๆ ทำให้มีกำลังใจดูแลลูก
และสุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิง ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ หากมีอะไรที่คนเป็นแม่จะขอพรได้ ก็ขอให้ลูกหายจากอาการป่วย และกลับไปใช้ชีวิตในวัยเด็ก เหมือนเด็กๆ ในวัยเดียวกัน และเจริญเติบโตไปตามวัยอย่างแข็งแรง ปราศจากโรคภัยใดๆ ตลอดไป "
แม่อัจฉราพร ภู่ระย้า อายุ 38 ปี อาชีพทำสวน มาจากจังหวัดตราด และน้องต้นข้าว อายุ 13 ปี

 " น้องป่วยด้วยโรคมาแฟนชิโดม ป่วยมาเป็นระยะเวลา 12 ปี ตอนคลอดน้องออกมาได้ 2 วัน อาของน้องได้สังเกตเห็นตาดำของน้องทั้ง2 ข้างเป็นสีฟ้าจึงตามหมอมาดูอาการ ในตอนนั้นหมอก็ยังให้คำตอบไม่ได้ ทางโรงพยาบาลจึงส่งตัวน้องมารักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช จึงได้ทำการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชประมาณ 2 อาทิตย์ ได้รู้ผลว่าน้องเป็นโรคมาแฟนชิโดมค่ะ ตอนแรกก็มีความกังวลว่าจะมาทำอะไรตรงไหนก่อน และต้องนำตัวน้องไปรักษาที่ตึกไหนและต้องไปติดต่อยังไง น้องจะเป็นโรคอะไรที่ร้ายแรงรึเปล่าและจะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายหรือเปล่า เพราะไม่รู้ว่าการที่เรามีบัตรส่งตัวมาแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายยังไง ไม่รู้ว่าจะพักที่ไหน และทางพยาบาลก็ได้แนะนำให้มาเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อเข้ามาพักแล้วดิฉันรู้สึกมีความสุขและสบายใจมาก ทั้งเรื่องที่พักอาศัยและอาหารการกินและรู้สึกอบอุ่น เจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ คอยให้กำลังใจ เวลาที่รู้สึกไม่ดี รู้สึกดีใจมากที่ได้อยู่ใกล้ลูกในขณะที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ต้องขอพูดว่าทั้งคุณหมอคุณพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ เป็นคนพิเศษของแม่ทุกๆ ท่านเลยคะ ถ้าดิฉันขอพรได้จะขอให้ลูกไม่ป่วย และขอให้น้องแข็งแรงและออกมาอยู่กับพ่อแม่นานๆ ตลอดไปค่ะ ขอขอบพระคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านเลยนะคะ "
แม่อัมพิกา แย้มศิลป์ อายุ 33 ปี อาชีพค้าขาย มาจากจังหวัดราชบุรี เป็นแม่ของน้องซี

 " น้องเป็นผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง อาการเริ่มต้นอ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน ทานอาหารไม่ได้อยู่บ่อยครั้ง จึงได้สังเกตุอาการและตัดสินใจปรึกษาหมอให้ทำการวินิจฉัยที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หลังจากได้ทำการ CT Scan แพทย์วินิจฉัยว่าน้องได้เป็นเนื้องอกในสมอง ทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวน้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทำให้คุณแม่เดินทางไม่สะดวกต้องใช้เวลามาก อีกทั้งต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ต้องฉายแสง 30 ครั้ง ไม่สะดวกต่อการเดินทางไป-กลับ
เมื่อเริ่มรับการรักษาคุณหมอได้หาที่พักให้ รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่รู้ว่าครอบครัวของเราจะพักที่ไหน ทางคุณหมอส่งเข้าพัก ที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และหลังจากที่ได้เข้ามาพักในบ้านพักพิงฯ รู้สึกอบอุ่นสบายใจ อยู่แบบครอบครัวแบบพี่น้อง และสามารถพูดระบายความรู้สึกและแชร์การรักษาตัวของน้องเบื้องต้น และเมื่อเกิดปัญหาหรือความกังวลใจก็จะได้กำลังใจจากผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ ได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองที่มีให้ซึ่งกันและกัน
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิงฯ ทุกท่าน ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ ได้เป็นอย่างดี "
แม่ศิริพร บุตรดี อายุ 36 ปี อาชีพค้าขาย จากจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่ของน้องมิกซ์ 

 " ลูกชายของแม่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว น้องถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในตัวจังหวัด มารักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นการรักษาซ้ำ ครั้งที่ 2 ของน้องที่รักษาตัว ทางโรงพยาบาลส่งต่อน้องมารักษาตัวที่นี่เพราะอย่างน้อยน้องยังมีโอกาสรักษาต่อและมีโอกาสจะหายจากโรคที่เป็นอยู่ ช่วงที่มาถึงความรู้สึกแรกทุกอย่างมันวุ่นมาก ไม่รู้ว่าจะต้องดำเนินการอะไรก่อนยังไงบ้าง แต่ด้วยความใจดีของบุคลากรในโรงพยาบาลทุกอย่างจึงเรียบร้อยด้วยดี และที่สำคัญได้รับการแนะนำที่พัก บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลศิริราชให้ด้วย
เรารู้สึกว่านาทีที่เรามีทุกข์ มีคนยื่นมือช่วยทำให้เรามีความหวัง ได้มีความสุขในเวลาที่ทุกข์ที่สุด บ้านพักแห่งนี้ให้ความอบอุ่น ให้กำลังใจ เป็นที่พึ่งให้คนทุกข์ยากจริงๆ ดิฉันขอให้ทุกข์ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความสุข ความเจริญ สิ่งดีๆ ที่ท่านทำให้พวกเรา ขอให้กลับไปหาพวกท่านตลอดไป "
แม่สุภาพร ฤทธิ์มนตรี อายุ 43 ปี อาชีพเกษตรกร มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแม่ของน้องเจษ 

 " น้องป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจรั่วจะเล่าย้อนให้ฟังว่า หลังจากผ่าคลอดน้องเรียบร้อยคุณหมอ พบว่ามีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ จึงทำการตรวจอย่างละเอียดและพบว่าน้องมีลิ้นหัวใจรั่ว และได้ทำการรักษาน้องตั้งแต่แรกคลอด โดยในปัจจุบันน้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะน้องได้ทำการผ่าตัดรักษาตั้งแต่ตอนนั้น และมีการอัปเดตการเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบต่างๆ พอน้องโตขึ้น น้องเคยเกิดภาวะช็อค จึงทำให้ผมต้องเฝ้าระวังน้องเป็นพิเศษ และในตอนนั้นผมก็ลำบากในการที่จะต้องรักษาน้องเพราะต้องเดินทางจากชุมพร เพื่อพาน้องมารักษาโดยที่ผมขับรถส่วนตัวในระยะทางร่วมกว่า 500 กิโลเมตร และยังต้องขับรถเดินทางเพียงคนเดียว ทำให้เหนื่อยและร่างกายอ่อนเพลีย อีกทั้งต้องเฝ้าน้องเป็นระยะเวลานาน
คุณหมอและพยาบาลได้แนะนำให้เข้าพักบ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพราะจะได้ดูแลน้องอย่างใกล้ชิด พอได้เข้ามาอยู่บ้านพักพิงจุฬาฯ ทำให้ผมนอนเต็มอิ่มมากขึ้น และมีแรงที่จะดูแลน้องได้ในทุกวัน และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินยังสามารถลงไปหาน้องได้ทันท่วงที และยังได้กำลังจากครอบครัวผู้ป่วยท่านอื่นๆ ที่คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และกำลังใจจากเจ้าหน้าที่จากบ้านพักพิงด้วย
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิงฯ ทุกท่าน ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ ได้เป็นอย่างดี "
พ่อสุริยา แก้วประสบ อายุ 35 ปี เป็นพ่อของน้องสาคร 

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





Budget plan

รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)

ช่วยเหลือ

  • ค่าเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยของบ้าน รวมถึงประสานงานกับโรงพยาบาลตลอด 24ชม. ทุกวันไม่เว้นวันหยุด
  • ค่าอาหารสำหรับผู้เข้าพัก
  • ค่าเจ้าหน้าที่ทำความสะอาด
  • ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้าของครอบครัวผู้ป่วยเด็กบ้านพักพิงทั้ง 4 แห่ง ตลอดระยะเวลา 1 ปี(2566)


    ค่าใช้จ่ายคืนละ 300 บาท (ช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วยเด็กได้ 1,700 คน พักเฉลี่ยคนละ 7 คืน) 2,100 บาท








    3,570,000.00

    รวมเป็นเงินทั้งหมด
    3,570,000.00
    ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
    357,000.00

    ยอดระดมทุน
    3,927,000.00

    Donate to
    บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก

    Select a donation

    Amount
    Payment Methods

    Pay by scan/upload QR code via mobile banking application of Siam Commercial bank, TMB bank, Krungthai bank, Bangkok bank, Krungsri bank, Thanachart bank, Kasikorn bank, GSB Bank

    You will get the QR code after you confirm donation.

    Tax Deduction

    การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
    Filling out to send confirmation email
    Filling out to send confirmation email

    We will send receipt to your email after donation succeed.


    Credit card information will be securely processed by provider with international standard PCI-DSS Compliant Omise logo

    Invite Friends