logo

น.ส. ขนิษฐา จำนงค์อาษา

เข้าร่วมกับเทใจ2565

โครงการที่เปิดรับบริจาค

ยังไม่เปิดโครงการ

เกี่ยวกับองค์กร

                ศูนย์ปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์คลองจั่น เป็นหน่วยงานในสังกัดคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ก่อตั้งจากการริเริ่มของนักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติ และอาจารย์นิเทศงาน โดยได้รับความร่วมมือจากกรมประชาสงเคราะห์ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ถนนนวมินทร์ ซอย 8 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ มีอาคารชั้นเดียว 3 หลัง มีพื้นที่ใช้สอยรวม 1,173 ตารางเมตร และมีพื้นที่ในส่วนของมีสนามเด็กเล่นอีก จำนวน 558 ตารางเมตร ซึ่งที่ผ่านมา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ใช้ศูนย์ปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์คลองจั่น เป็นหน่วยปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ การเรียนการสอน และการบริการสังคม ดังนี้ ดำเนินการในรูปของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน รับเด็กอายุ 2-5 ขวบ ประมาณภาคการศึกษาละ 90 คน ดำเนินการและบริหารงานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ปรากฏว่า ศูนย์ปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์คลองจั่น สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้เป็นอย่างดี และได้รับความนิยมจากคนในชุมชนเป็นอย่างมากในการส่งบุตรหลานเข้าพัฒนาการในศูนย์ปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์คลองจั่น อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี นอกจากนี้ ศูนย์ปฏิบัติการสังคมสงเคราะห์คลองจั่น สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และการบริการสังคมในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การให้ความรู้แก่ชุมชนในการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ การพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชน การจัดสวัสดิการชุมชนโดยชุมชน และการให้คำปรึกษาแก่คนในชุมชนเกี่ยวกับปัญหาสังคม ในการดำเนินงานของศูนย์ฯ โดยเฉพาะการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน เป็นสถานที่ในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา การศึกษาในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ                 โดยเฉพาะการฝึกภาคปฏิบัตินั้น จะช่วยให้นักศึกษาเกิดทักษะในการปฏิบัติงาน และมีความพร้อมในการนำความรู้ความเข้าใจในศาสตร์สังคมสงเคราะห์ภาคทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงเมื่อจบการศึกษาแล้ว รวมทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีของการเป็นนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพต่อไปในอนาคต การฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต การฝึกภาคปฏิบัติ 1 ฝึกให้นักศึกษาได้นำวิธีการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย/กลุ่ม ไปใช้ในการปฏิบัติงานขององค์การ การฝึกภาคปฏิบัติ 2 : ฝึกให้นักศึกษาได้นำวิธีการสังคมสงเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานกับชุมชนเมืองหรือชนบท การฝึกภาคปฏิบัติ 3 : การประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีหลักการวิธีการสังคมสงเคราะห์อย่างผสมผสานผ่านโครงการทางสังคม นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังเป็นสถานที่ในการศึกษาดูงาน และการทำกิจกรรมนักศึกษา ทั้งภายใน และภายนอกคณะมหาวิทยาลัย

เป้าหมาย SDGs

-

กลุ่มเป้าหมาย

-

โครงการทั้งหมด (1)