project เด็กและเยาวชน

ขอห้องวิทยาศาสตร์ในฝันให้นักเรียนดอย

โครงการปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ละจัดหาอุปกรณ์สำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กชนเผ่ากว่า 133 คนในโรงเรียนบ้านห้วยมะแกงมีโอกาสสัมผัสกับการเรียนการสอนที่ทันสมัย ได้สนุกกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มีประสบการณ์ที่ดี อันเป็นการส่งต่อความรู้ให้แก่เด็กๆ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีความรักการเรียนรู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ สามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในห้องวิทยาศาตร์ในฝันได้

ระยะเวลาโครงการ 30 ม.ค. 2567 ถึง 30 ก.ย. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: หมู่ 20 ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (โรงเรียนบ้านห้วยมะแกง)

ยอดบริจาคขณะนี้

15,629 บาท

เป้าหมาย

43,945 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 36%
156 วัน จำนวนผู้บริจาค 60

โครงการปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ละจัดหาอุปกรณ์สำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กชนเผ่ากว่า 133 คนในโรงเรียนบ้านห้วยมะแกงมีโอกาสสัมผัสกับการเรียนการสอนที่ทันสมัย ได้สนุกกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มีประสบการณ์ที่ดี อันเป็นการส่งต่อความรู้ให้แก่เด็กๆ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีความรักการเรียนรู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ สามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในห้องวิทยาศาตร์ในฝันได้

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

โรงเรียนบ้านห้วยมะแกง เป็นโรงเรียนขนาดกลาง นักเรียนจำนวน 133 คน ตั้งอยู่ในถิ่นห่างไกลความเจริญ ในตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีเขตพื้นที่บริการ 1 หมู่บ้าน คือหมู่บ้านห้วยมะแกง ชนเผ่าลาหู่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป เศรษฐกิจครัวเรือนไม่ดี โรงเรียนบ้านห้วยมะแกงเป็นความหวังเดียวของผู้ปกครองที่จะนำพาให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดี

สภาพทั่วไปของโรงเรียน เป็นโรงเรียนที่ให้โอกาสทางการศึกษาของนักเรียนที่ไม่สามารถไปเรียนต่อ ในตัวอำเภอหรือตัวจังหวัด ซึ่งมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยเรื่องของธรรมชาติ มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ในขณะเดียวกันที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัล การเรียนรู้ที่ต้องประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญคือ การออกแบบเนื้อหา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการออกแบบการสื่อสาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถทางการเรียนของผู้เรียนในสังคมยุคที่ทุกคน ต่างเรียกว่าสังคมไร้สายที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก ในขณะเดียวกันโรงเรียนบ้านห้วยมะแกง มีบุคลากรทางการศึกษาที่จบสาขาวิชาวิทยาศาสตร์มีคุณวุฒิและประสบการณ์ การออกแบบการจัดการเรียนการสอน มีข้อจำกัดสูงมาก ต้องอาศัยการสอนตามหนังสือเรียน หรือหาสื่อการเรียนตามอินเตอร์เน็ต การทดลองแบบอาศัยดูรูปภาพ หรือดูการทดลองตามอินเตอร์เน็ต โอกาสที่จะได้ทดลองจริง ๆ มีน้อยมากหรือไม่มีโอกาสเลยซึ่งหลายโรงเรียนในประเทศไทยก็เป็นเช่นนั้น สาเหตุเพราะ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีความพร้อม ไม่มีอุปกรณ์ทดลอง ที่มีอยู่ก็ใช้การไม่ได้หรือได้น้อย ไม่มีสารทดลอง หรือมีไม่ครบบ้าง การสืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นได้ยากมาก สิ่งเหล่านี้เป็นข้อจำกัดในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน

ดังนั้น การปรับปรุงพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์โรงเรียนบ้านห้วยมะแกง จึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาน ได้มีโอกาสสัมผัสกับการจัดการเรียนการสอนที่ทันยุคทันสมัย มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับการทดลองอันเป็นส่งต่อความรู้ที่ถาวรให้กับเด็ก มีโอกาสได้สืบค้นข้อมูลที่หลากหลาย มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ดี ทำให้นักเรียนมีความรักการเรียนรู้ รู้จักการสืบค้น กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ สามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในฝันได้


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. สำรวจความต้องการสื่อ / ครุภัณฑ์ / วัสดุ / อุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6ให้เพียงพอต่อความต้องการ
  2. ศึกษาหาความรู้ลักษณะห้องเรียนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐานตามที่ สสวท. กำหนด แล้วนำมาประกอบในการปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์
  3. ปรับปรุงโครงสร้างห้องปฏิบัติการให้ได้มาตรฐาน และให้มีลักษณะที่ทันสมัย สะดวกต่อการใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
  4. จัดซื้อ อุปกรณ์ประกอบการเรียน เช่น วัสดุอุปกรณ์การทดลอง สารเคมี ที่ได้จากกการสำรวจใน ข้อ 1 สื่อการสอนอุปกรณ์ไฟฟ้า กล้องจุลทรรศน์ เป็นต้น
  5. ประกอบ ติดตั้งอุปกรณ์ตามที่ได้วางแผนไว้
  6. ใช้สอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์
  7. ประเมินการสอนจากการสังเกตการสอน ประเมินความพึงพอใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง(ครู นักเรียน และผู้ปกครอง) และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
  8. สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางขวัญฤดี ศรีวิชัย

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 กล้องจุลทรรศน์ 1 เครื่อง 15,000.00
2 ชุดแม่เหล็กวิทยาศาสตร์ 20 ชุด 2,200.00
3 ชุดต่อวงจรไฟฟ้าพื้นฐาน 325 ชุด 3,250.00
4 สารเคมี 1 ชุด 2,000.00
5 บิกเกอร์ ขนาด 50 ml. 10 ใบ 1,200.00
6 บิกเกอร์ ขนาด 100 ml. 10 ใบ 1,500.00
7 บิกเกอร์ ขนาด 200 ml. 10 ใบ 1,500.00
8 บิกเกอร์ ขนาด 500 ml. 10 ใบ 1,800.00
9 บิกเกอร์ ขนาด 1,000 ml. 10 ใบ 3,500.00
10 จานทดลองแบบแก้ว 1 คู่ 20 คู่ 980.00
11 จานหลุมโลหะอะลูมิเนียม ขนาด 8*8 cm. 20 อัน 1,160.00
12 หลอดหยดแก้ว 21 อัน 630.00
13 กระบอกตวงแก้ว 50 ml. 11 อัน 3,630.00
14 หลอดทดลอง ขนาด 16*150 20 อัน 1,600.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
39,950.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
3,995.00

ยอดระดมทุน
43,945.00

บริจาคให้
ขอห้องวิทยาศาสตร์ในฝันให้นักเรียนดอย

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน