project เด็กและเยาวชน

เปลี่ยนศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในพื้นที่ด้อยโอกาสให้เป็นรูปแบบบูรณาการโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง (ICAP)

ปรับปรุงรูปแบบการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย 10 แห่งในภาคเหนือ อีสาน และพื้นที่ชุมชนแออัดในกทม. ให้เป็นแบบบูรณาการโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็กอายุ 2-6 ปี จำนวนประมาณ 350 คน

ระยะเวลาโครงการ 01 มี.ค. 2567 ถึง 28 ก.พ. 2568 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: จังหวัดขอนแก่น , จังหวัดศรีสะเกษ , จังหวัดนราธิวาส , ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชนแออัดกทม. , จังหวัดเพชรบูรณ์

ยอดบริจาคขณะนี้

15,606 บาท

เป้าหมาย

1,540,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 1%
248 วัน จำนวนผู้บริจาค 35

ปรับปรุงรูปแบบการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย 10 แห่งในภาคเหนือ อีสาน และพื้นที่ชุมชนแออัดในกทม. ให้เป็นแบบบูรณาการโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็กอายุ 2-6 ปี จำนวนประมาณ 350 คน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขปี 2560 ชี้ให้เห็นว่าพัฒนาการสมวัยเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปีมีแนวโน้มลดลงในแต่ละปีและยังมีอัตราต่ำกว่าสถิติองค์การอนามัยโลกกว่าร้อยละ 15 นอกจากนี้ ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยว่า เด็กไทยอายุ 2-6 ปีเกือบ 30% มีปัญหาพฤติกรรมที่เป็นความบกพร่องของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หรือ Executive Function (EF) ซึ่งส่งผลต่อปัญหาพฤติกรรม และมีความเสี่ยงที่เด็กจะตัดสินใจผิดพลาด เช่น ใช้ยาเสพติด หรือ ตั้งครรภ์ในวัยเรียน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การส่งเสริมพัฒนาทักษะสมองให้กับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องวางรากฐานตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยระดับสากลที่ชี้ให้เห็นว่าการส่งเสริมเด็กตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจะส่งผลระยะยาวต่อทั้งตัวเด็กและสังคมโดยรวม

โครงการ ICAP (Integrated Child – Centered Active Learning project ) ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2-6 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตามแนวทาง HighScope ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้เด็กมีการใช้ประสาทสัมผัสครบทุกด้านผ่านการเล่นที่มีชีวิตชีวาเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต โดยจัดการอบรมแก่คุณครูซึ่งเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กลงมือทำด้วยตนเองตามหลักสูตรการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงเนื้อหาอื่นๆ  เช่น การพัฒนาเด็กตามหลักพัฒนาการ การใช้วินัยเชิงบวก การจัดสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม โภชนาการตามวัย ฯลฯ 

เพื่อวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเด็ก โครงการ ICAP ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลในการประเมินทักษะ EF ของเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาจังหวัดลพบุรีจำนวน 5 แห่ง และพบว่าเด็กปฐมวัยภายใต้โครงการ ICAP มีคะแนน EF ที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยเด็กในโครงการที่ได้คะแนน EF ต่ำกว่ามาตรฐานนั้น มีจำนวนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ในขณะที่เด็กที่ได้คะแนน EF สูงกว่ามาตรฐาน มีจำนวนมากกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ






ปัจจุบัน โครงการ ICAP มีสถานศึกษาในจังหวัดลพบุรีที่เข้าร่วมโครงการกว่า 120 แห่ง และนอกจังหวัดลพบุรีอีกกว่า 20 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมเด็กปฐมวัยแล้วกว่า 9 พันคน ในการระดมทุนครั้งนี้ โครงการฯ มีแผนในการขยายผลการดำเนินงานไปยังสถานศึกษาเพิ่มเติมอีก 10 แห่ง 

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. คัดเลือกและจัดทำข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
  2. ชี้แจงภาพรวมโครงการให้แก่สถานศึกษาที่เข้าร่วม เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินงาน เช่น การทำความเข้าใจกับผู้บริหาร, การจัดหาสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์สำหรับการศึกษา เป็นต้น  
  3. ทีมงาน ICAP ลงพื้นที่เพื่อปรับปรุงห้องเรียนและสภาพแวดล้อมในแต่ละสถานศึกษาเพื่อให้เหมาะกับการเรียนรู้ และอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร 
  4. ประเมินผลการดำเนินงาน
  5. ติดตามผลการดำเนินงานและให้คำปรึกษาต่อเนื่องแก่สถานศึกษา 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายแพทย์สันติ ลาภเบญจกุล ผู้บริหารโครงการ ICAP, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าวุ้ง จ.ลพบุรี, ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (สพบ.) ในฐานะประธานคณะทำงานพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก และเจ้าของรางวัลคนค้นฅน อวอร์ด ครั้งที่ 7 สาขารางวัลผู้สร้างแรงบันดาลใจ ณ โรงพยาบาลลำสนธิ  


ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าตอบแทนทีมงาน ICAP ในการลงพื้นที่สำรวจออกแบบปรับปรุงห้องเรียนและสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนรู้ รวมถึงอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถานศึกษา 10 แห่ง 300,000.00
2 ค่าเดินทางและที่พักสำหรับทีมงานในการลงพื้นที่ 10 แห่ง 310,000.00
3 ค่าอุปกรณ์เสริมพัฒนาการ และค่าจัดส่ง 10 แห่ง 490,000.00
4 ค่าบริหารจัดการ รวมถึงการติดตามผลและให้คำปรึกษาต่อเนื่องแก่สถานศึกษา 10 แห่ง 300,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
1,400,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
140,000.00

ยอดระดมทุน
1,540,000.00

บริจาคให้
เปลี่ยนศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในพื้นที่ด้อยโอกาสให้เป็นรูปแบบบูรณาการโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง (ICAP)

เลือกการบริจาค

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน