Resource
- FAQ - สำหรับผู้บริจาค
- FAQ - สำหรับผู้ลงโครงการ
- ทำอย่างไร เมื่อต้องเขียนโครงการ
- การเบิกเงินและออกใบเสร็จรับเงิน
- การรายงานความก้าวหน้าโครงการ
- แนะนำช่องทางการประชาสัมพันธ์
- แนะนำวิธีเลือกรูปลงโครงการ
- แนะนำการเขียนโปรโมท
- คู่มือถ่ายรูปสำหรับคนทำโครงการ
- เพจระดมทุนของเทใจดียังไง? มีฟังก์ชั่นอะไรบ้างนะ?
- แนะนำวิธีการเขียนคำอธิบายโครงการโดยย่อ
- How to: 9 ขั้นตอน สร้างเพจระดมทุนง่ายๆ
- How To: บริจาคเงินผ่านเพจระดมทุน
- การบริจาคในนามศิลปิน
- How To: เช็กรายละเอียดการบริจาค
- นโยบายคืนเงิน
เพราะบนโลกออนไลน์ ไม่ได้มีแค่คอนเทนต์ของคุณแค่คนเดียว เทใจขอรวบรวมเทคนิคการเขียนคอนเทนต์ที่จะทำให้คนอ่านเข้าใจโครงการแล้วมาเป็นผู้สนับสนุนของคุณ
สื่อสารในสิ่งที่คุณต้องการจะรู้จากโครงการ ลองสมมุติว่าคุณเป็นผู้อ่าน คุณจะอยากรู้อะไรเกี่ยวกับโครงการบ้าง? เขียนในสิ่งที่ผู้อ่านอยากรู้ และตัดสิ่งที่ผู้อ่านจะไม่สนใจออกไป ใช้ภาษาง่ายๆ ถ้ามีคำศัพท์เฉพาะ อย่าลืมคำอธิบาย เพราะเรื่องง่ายของคุณ อาจจะไม่ใช่สำหรับทุกคน
สื่อสารในสิ่งที่คุณต้องการจะรู้จากโครงการ ลองสมมุติว่าคุณเป็นผู้อ่าน คุณจะอยากรู้อะไรเกี่ยวกับโครงการบ้าง? เขียนในสิ่งที่ผู้อ่านอยากรู้ และตัดสิ่งที่ผู้อ่านจะไม่สนใจออกไป ใช้ภาษาง่ายๆ ถ้ามีคำศัพท์เฉพาะ อย่าลืมคำอธิบาย เพราะเรื่องง่ายของคุณ อาจจะไม่ใช่สำหรับทุกคน
- เขียนให้ชัดเจน เล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการให้เห็นภาพว่า คุณต้องการเเก้ปัญหาอะไร อย่างไร ผู้รับผลประโยชน์คือใคร ทำไมต้องแก้ รวมถึงอย่าลืมชี้แจ้งเรื่องการใช้เงิน เพื่อให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าโครงการของคุณจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง และความโปร่งใสของคุณเอง
- โชว์ให้เห็นว่าเรารู้จริง เล่าเรื่องด้วยสถิติและข้อมูลที่ทำให้เห็นภาพของปัญหา เล่าอิมเเพคดีๆ ที่จะเกิดเมื่อระดมทุนสำเร็จ และเล่าปัญหาของคนที่โครงการของคุณจะเข้าไปช่วย
- เล่าเรื่องราวลึกซึ้งกินใจ เรื่องเล่าที่ทำให้คนอยากช่วยเหลือคุณนั้น ไม่ได้เข้าถึงเพียงเเค่ “ความคิด” ของผู้อ่านเท่านั้น แต่ต้องเข้าถึง “ใจ” ของผู้อ่านอีกด้วย เช่น การสัมภาษณ์ผู้ได้รับผลประโยชน์
การเรียงลำดับการเล่าเรื่องที่ดี จะทำให้ผู้อ่านประทับใจ และ คล้อยตามในสิ่งที่คุณต้องการสื่อสาร เทใจมีคำแนะนำดังนี้
1. เปิดเรื่องให้ชวนติดตาม
ทำให้ผู้อ่านอยากอ่านต่อตั้งเเต่ประโยคเเรกของโพสต์ อาจจะใช้ประโยคคำถาม หรือ ประเด็นปัญหาที่ชวนให้เกิดความสงสัย ชวนติดตามต่อไป เช่น
- ทำไมโครงการอาหารกลางวันฟรี ถึงสำคัญกับน้องๆ มาก??? -
- “พ่อกับแม่ไม่มีที่พักและญาติในกรุงเทพฯ เลย เราสองคนขอแค่ให้ลูกได้รักษา ขอให้หายป่วย ถึงแม้เราสองคนจะต้องนอนตามที่ว่างของโรงพยาบาลก็ตาม” -
2. ปิดท้ายด้วย Call-to-action กระตุ้นให้ผู้อ่านทำอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะกดบริจาคเพื่อเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหรือกดเเชร์โครงการ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการต่อไป
เทคนิค 3 ข้อ ที่เทใจอยากแนะนำคุณ คือ
- เรียบเรียงเรื่องราวด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ
- รูปแบบบทความสะอาดตา ย่อหน้าไม่ยาวเกินไป
- มีจุดเน้นข้อความสำคัญ
รูปภาพทำให้เนื้อหาของคุณน่าอ่านขึ้น เทใจพบว่าโครงการที่ใช้รูปคุณภาพดีๆ มักจะประสบความสำเร็จมากกว่าโครงการคล้ายๆ กันแต่ไม่มีรูปภาพ รูปภาพที่ดีจะมีลักษณะดังนี้
- ดูง่าย ภาพชัดเจน ไม่เบลอ ไม่หลุดโฟกัส และไม่มืดเกินไป
- ดูเเล้วเข้าใจ โครงการของคุณทำอะไร ที่ไหน ช่วยเหลือใครบ้าง เช่น ภาพขณะทำกิจกรรม
- มีหลายๆ รูป ยิ่งมีรูปเยอะ คนยิ่งบริจาคเพิ่มขึ้น
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายรูปและเลือกรูปที่ดี
คอนเทนต์ดีๆ สร้างได้ด้วย 5 เทคนิคที่เทใจแนะนำไป ลองนำไปปรับใช้กันดูนะ