โครงการ
-
โควิด-19 กลุ่มคนเปราะบาง
ผลิตหมวกป้องกันเชื้อ (PAPR) เพื่อบุคลากรทางการแพทย์
ร่วมส่งมอบลมหายใจปลอดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อป้องกันการขาดอากาศหายใจ หมดสติ อ่อนล้า เป็นลม ด้วยการจัดทำหมวกป้องกันเชื้อ (PAPR: Powered Air Purifying Respirator) พร้อมชุดกรองจ่ายอากาศบริสุทธิ์ เปรียบเสมือนการสร้างอากาศปลอดเชื้อให้บุคลากรทางการแพทย์ โดยมี Air Flow เพียงพอตลอดระยะเวลาทำงาน เพิ่มความสะดวกในการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกับชุด PPE ในภาวะที่ต้องเข้าห้องความดันลบเพื่อรักษาคนไข้โควิดทุกกรณี รวมถึงช่วยให้การปฏิบัติภารกิจขนส่งผู้ป่วยมีความสะดวกสบายมากขึ้น เราจึงจัดตั้งโครงการ “ผลิตหมวกป้องกันเชื้อ (PAPR) เพื่อบุคลากรทางการแพทย์” ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิเขื่อนยันฮี ร่วมกับ ผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้บุคลากรทางการแพทย์มีไว้ใช้ส่วนตัว ไม่ต้องใช้ร่วมกัน จำนวน 200 ชุด ซึ่งคาดว่าจะใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดได้กว่า 40,000 คน เราจะทำจนสุดกำลัง
เป้าหมาย
1,100,000 บาทสำเร็จแล้ว
-
โควิด-19 กลุ่มคนเปราะบาง
ส่งเกราะ (ชุด PPE) ให้คุณหมอ 40 โรงพยาบาล ในพื้นที่ห่างไกล 17 จังหวัด
ร่วมสมทบทุนซื้อชุด PPE และหน้ากาก N95 เพื่อส่งเกราะให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ 17 จังหวัดเป้าหมาย "เพราะไม่ว่าคุณหมอจะอยู่ที่ไหน ความห่างไกลต้องไปให้ถึง"
เป้าหมาย
1,001,000 บาทสำเร็จแล้ว
-
เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง
วีลแชร์ แชร์สุขให้น้องดาวน์
เด็กพิการทางสติปัญญามีความยากลำบากในการใช้ชีวิตอยู่แล้ว สมองที่พิการนอกจากจะทำให้การเรียนรู้ช้ากว่าวัย ยังกระทบพัฒนาการเคลื่อนไหว บางคนติดเตียง หมดโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น “วีลแชร์” ไม่เพียงแต่ช่วยให้เด็กมีโอกาสได้แก้ไขความผิดปกติ แต่ยังช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว และเพิ่มโอกาสให้คนในครอบครัวได้ทำงานเลี้ยงปากท้อง แต่เพราะราคาที่สูงจึงทำให้ครอบครัวเด็กพิการที่ยากไร้เข้าไม่ถึงเครื่องมือชิ้นนี้ มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงจัดทำโครงการ “วีลแชร์ แชร์สุขให้น้องดาวน์” เพื่อซื้อวีลแชร์ให้กับเด็กพิการทางสติปัญญา จำนวน 30 คัน เพื่อช่วยให้เด็กๆ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เป้าหมาย
99,000 บาทสำเร็จแล้ว
-
เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง
ถ้าขอพรได้ 1 ข้อ "หนูอยากเดินได้" น้องใบเตย เด็กหญิงเก่งหัวใจแกร่ง
“หนูอยากเดินได้” สักครั้ง“น้องใบเตย” เด็กหญิงพิการซ้ำซ้อนแต่กำเนิด วัย 10 ปี “เพดานโหว่ ลิ้นไก่สั้น หัวใจรั่ว ลำตัวคด มีขาเล็กลีบ 1 ข้าง” เกิดมาพร้อมกับชีวิตที่ต้องเผชิญความเจ็บปวดจากบาดแผลที่เกิดจากการผ่าตัด เพื่อให้พรที่น้องขอเป็นจริง เราจะระดมทุนช่วยเหลือค่าเดินทางและค่าใช้อื่น ๆ เพื่อให้น้องได้เดินทางไปทำขาเทียม
เป้าหมาย
72,270 บาทสำเร็จแล้ว
-
กลุ่มคนเปราะบาง สิ่งแวดล้อม
"สแกน-แลก-ป่า" ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน ม่อนแม่ถาง จังหวัดแพร่ ระยะที่ 1
ร่วมสนับสนุนการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนต้นน้ำ ม่อนแม่ถาง จังหวัดแพร่ เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ ลดพื้นที่การปลูกข้าวโพดเชิงเดี่ยว และ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมาอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยการ ปลูก และ ดูแลต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน โดยเป้าหมายของโครงการจะนำร่องปลูกต้นไม้จำนวน 200 ต้น ในพื้นที่ 1 ไร่ พร้อมพัฒนาระบบน้ำและการป้องกันไฟป่า พร้อมนำเทคโนโลยีติดตามผลการปลูกต้นไม้ (Tree Tracking) มาใช้ โดยมีการรายงานผลทุกๆ 6 เดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี และ ดูแลต่อเนื่องจนครบ 10 ปี
เป้าหมาย
52,800 บาทสำเร็จแล้ว
-
เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง
ปวดขา เดินไม่ได้ น้องบุญรอด ป่วยด้วย “โรคเท้าโต” แต่กำเนิด
“ขาโต ก้าวเดินไม่ไหว หนูอยากเดินได้เหมือนคนอื่น ” น้องบุญรอด อายุ 14 ปี พิการแต่กำเนิด ป่วยด้วยโรคเท้าโตและเป็นโรคลมชัก หมอที่โรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ บอกกับแม่น้องบุญรอดว่าเป็นความผิดปกติจากเส้นเลือดฝอยที่ขาซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ขณะที่กล้ามเนื้อก็ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่ “โรคเท้าช้าง”
เป้าหมาย
40,568 บาทสำเร็จแล้ว
-
เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง
แว่นตาเพื่อเด็กดาวน์ซินโดรม
คนปกติมองไม่เห็นก็แค่ใส่แว่นตา แต่สำหรับเด็กพิการทางสติปัญญาที่มีปัญหาสายตาและยากจน กว่าจะมีแว่นตาใช้ จะต้องผ่านการวินิจฉัยและรักษาจากคุณหมอ ประกอบกับแว่นตาเด็กพิเศษมีสูงเพราะต้องใช้เลนส์น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงชวนมอบแว่นตาให้เด็ก 20 คน เพื่อมีโอกาสพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น
เป้าหมาย
66,000 บาทสำเร็จแล้ว
-
เด็กและเยาวชน กลุ่มคนเปราะบาง
ค่าอาหารเพื่อเด็กในบ้านเด็กกำพร้ารักษ์ดรุณี
มูลนิธิรักษ์ดรุณีดูแลเด็กกำพร้าอายุตั้งแต่ 6 ขวบ ถึง 18 ปี จำนวน 32 คน มูลนิธิขาดแคลนเงินเพราะไม่มีผู้สนับสนุนหลักด้านงบประมาณอย่างเป็นทางการแบบต่อเนื่อง เราจึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับค่าอาหาร 3 มื้อให้เด็กๆในบ้านเด็กกำพร้ารักษ์ดรุณี เฉลี่ยวันละ 1,700 บาท
เป้าหมาย
165,000 บาทสำเร็จแล้ว
-
เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง
"ผมเหนื่อยเหลือเกิน" น้องต้นกล้า ปอดซ้ายแฟบต้องตัดปอดทิ้ง 1 ข้าง สู้หอบหืดเรื้อรังนานกว่า 11 ปี
น้องต้นกล้า ต้องตัดปอดข้างซ้ายทิ้ง ตั้งแต่อายุ 6 ปี ทำให้หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย และทุกครั้งที่มีอาการหอบหืดกำเริบจะมีไข้สูง ชักเกร็ง ตาค้าง หรืออาจกัดลิ้นตัวเอง ล่าสุดแพทย์ตรวจพบว่าน้องต้นกล้ามีภาวะผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว แต่ด้วยน้องยังเด็กจึงทำได้เพียงติดตามอาการให้ยากินและรอจนกว่าน้องต้นกล้าจะอายุ 13 ปี จึงจะดำเนินการตรวจเช็คด้วยการให้กลืนกล้องเพื่อทำการรักษาต่อไป เราจึงขอระดมทุนพาน้องไปหาหมอ
เป้าหมาย
80,113 บาทสำเร็จแล้ว
-
เด็กและเยาวชน กลุ่มคนเปราะบาง
โครงการพ่อแม่นักเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกสมวัย
การเล่นเป็นกิจกรรมหลักที่สามารถเสริมพัฒนาการเด็กสมวัยได้ ในประเทศไทยมีเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าที่สูงถึงร้อยละ 25 - 30 สาเหตุหนึ่งเพราะพ่อแม่หลายคนขาดทักษะและวิธีการสร้างแรงจูงใจให้ลูก โครงการนี้จึงต้องการชวนพ่อแม่ 15 ครอบครัวที่มีลูกเล็กมาเข้าคอร์สเพื่อเรียนรู้ทักษะส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกผ่านการเล่น และตั้งเป้าหมายทำให้เกิด 30 กิจกรรมการเล่นต้นแบบ เพื่อนำไปแชร์ต่อยอดผ่านLINE@lukthamdai และสื่อออนไลน์ที่มีการเข้าถึงมากกว่า 5,000 ครอบครัว
เป้าหมาย
82,500 บาทสำเร็จแล้ว
-
เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง
"น้องแม็ค" ชีวิตที่ต้องทนเจาะเลือด วัดระดับน้ำตาล-คุมโรคเบาหวาน
"น้องแม็ค" ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ชีวิตที่ต้องอดทนมาตลอดตั้งแต่เกิด ถูกฉีดยานับหมื่นครั้ง แม้ว่าในวันนี้ระดับน้ำตาลในเลือดของน้องแม็ค อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นและอยู่ในปริมาณที่ควบคุมได้ โดยคุณหมอไม่ต้องฉีดยา วันละ 4 ครั้ง แต่ปัจจุบันน้องแม็คยังคงต้องเจาะเลือด เพื่อวัดปริมาณน้ำตาลในเลือดส่งให้กับคุณหมอทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ด้วยวัยเพียง 9 ขวบ น้องต้องทนทุกวัน เพื่อยื้อชีวิตตัวเองจากโรคร้าย
เป้าหมาย
30,800 บาทสำเร็จแล้ว
-
กลุ่มคนเปราะบาง
ซื้อข้าวสาร 20 กิโลกรัมให้กับ 1 ครอบครัวผู้ยากไร้
ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมที่เราจะพบเห็นครอบครัว หลายครอบครัวที่ลำบากและต้องเผชิญชีวิตด้วยความยากไร้ ทำให้พบความเป็นอยู่ของเด็กๆเหล่านี้ ค่อนข้างขาดประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิต อาหารการกินที่ขาดแคลนต้องเจอภาวะที่อดมื้อกินมื้อทำให้ไม่มีอาหารที่จะช่วยให้ร่างกายและสติปัญญาเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพได้ ทางมูลนิธิสันติสุขจึงจัดทำโครงการเพื่อช่วยซื้อข้าวสาร 20 กิโลกรัม ให้กับ 1 ครอบครัวผู้ยากไร้ ได้มีข้าวกินครบทุกมื้อในแต่ละวัน เพื่อเขาเหล่านี้จะได้เติบโตขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม
เป้าหมาย
165,000 บาทสำเร็จแล้ว