ผลการตอบรับจากการใช้เครื่องช่วยสื่อสารให้กับผู้ป่วยอัมพาต

อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาเพื่อผู้ป่วยอัมพาต

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2018

จากที่ได้มอบอุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาให้กับสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์สวางคนิวาส สภากาชาดไทย ทั้ง 2 แห่งได้ดำเนินการทดลองใช้กับผู้ป่วยจำนวน 20 คน ทางบริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ได้ติดต่อสอบถามถึงผลการตอบรับการใช้งานเครื่อง SenzE กับเคสผู้ป่วย และประโยชน์ของการใช้งานเครื่องจริง

1. ศูนย์สวางคนิวาส สภากาชาดไทย

หลังจากที่ศูนย์ฯ ได้รับการบริจาคเครื่องไปเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561เราได้เข้าไปสอบถามนพ.ปวนนท์ ศฤงคไพบูลย์ (หมอโอเค) แพทย์ผู้ปฎิบัติงาน ณ ศูนย์สวางคนิวาส สภากาชาดไทย

นพ.ปวนนท์ กล่าวว่า เครื่อง SenzE มีประโยชน์กับผู้ป่วยที่รับรู้ดี ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พูดไม่ได้ ขยับตัวไม่ได้ ทำให้สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างได้ ทางสวางคนิวาสเองมีกลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้อยู่บ้าง แต่ยังถือได้ว่า ไม่มากนัก หากพบเคสที่เหมาะสมก็จะนำเอาเครื่อง SenzE มาให้ใช้ทันที เพราะผู้ป่วยเองจะได้สื่อสารกับญาติ และ เจ้าหน้าที่ของสวางคนิวาสได้ทันท่วงที ทั้งนี้ วันนี้มีเคสตัวอย่างที่คิดว่าเหมาะสมกับการฝึกใช้เครื่อง SenzE ซึ่งเป็นกรณีผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมอง และได้รับการผ่าตัด ทำให้ไม่สามารถสื่อสารได้ และอยู่ในช่วงของการทำกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด ทางศูนย์ฯ จึงได้นำผู้ป่วยมาฝึกใช้เครื่อง SenzE เพื่อช่วยในการสื่อสาร

หมอโอเค ยังกล่าวอีกว่า กรณีของการใช้งานเครื่อง SenzE นี้ หากพบเคสที่เหมาะสมจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยค่อนข้างมาก และจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  




ภาพนพ.ปวนนท์ ศฤงคไพบูลย์ กับการฝึกใช้งานเครื่อง SenzE กับเคสผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

2. หน่วยงานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

หลังจากที่ทางสถาบันฯ ได้รับการบริจาคเครื่องไปเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เราได้เข้าไปสอบถามคุณพรสวรรค์ โพธิ์สว่าง (พี่ปิ๋ม) หัวหน้างานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

คุณพรสวรรค์ กล่าวว่า ผู้รับบริการงานของกิจกรรมบำบัดของสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ส่วนใหญ่เป็นคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ซึ่งมีเพียงจำนวนน้อยที่สามารถใช้เครื่อง SenzE ได้ เนื่องจากเครื่อง SenzE เหมาะสมต่อการใช้งานในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการรับรู้ดี แต่บกพร่องในการช่วยเหลือตนเองทั้งด้านการเคลื่อนไหวและการสื่อสารด้วยการพูด เช่น โรค ALS (กล้ามเนื้ออ่อนแรง) หรือผู้มีภาวะ Locked-in Syndrome แต่ทั้งนี้ การใช้เครื่อง SenzE จะช่วยให้ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาสื่อสารกับบุคคลรอบข้างได้อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยครอบครัว และผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และยังส่งผลดีต่อต่อการรักษา ฟื้นฟู เนื่องจากผู้ป่วยจะสามารถสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ได้ดีขึ้นอย่างมาก


คุณพรสวรรค์ โพธิ์สว่าง 
(หัวหน้างานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ)