project ผู้พิการและผู้ป่วย

ปีนเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต

เราเชื่อว่าเด็กทุกคนต้องได้รับโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างอิสระและเท่าเทียม แต่เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวมักถูกจำกัดสิทธิ เพราะการออกไปนอกบ้านนั้นเป็นเรื่องไม่สะดวกสบาย การเปิดโอกาสให้เด็กพิการคนหนึ่งได้มีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ยากจนเกือบเป็นไปไม่ได้ให้สำเร็จ นอกจากจะสร้างความภูมิใจให้กับตัวเขาเองแล้ว ยังเป็นการชดเชยการขาดโอกาสมากมายในชีวิตจากการที่เกิดมาพร้อมพร้อมกับความพิการ ร่วมพาน้องๆ ผู้พิการ 5 คน และอาสาสมัครกว่า 50 ชีวิตให้ไปทำกิจกรรมกัน

ระยะเวลาโครงการ 15 มี.ค. 2566 ถึง 14 พ.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช (วัดเขาขุนพนม)

ยอดบริจาคขณะนี้

3,243 บาท

เป้าหมาย

57,200 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 6%
จำนวนผู้บริจาค 20

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ดำเนินกิจกรรมปีนเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต

8 มิถุนายน 2023

กิจกรรมจัดขึ้นวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบ่งเป็น

  • เด็ก จำนวน 7 คน
  • ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 7 คน
  • อาสาสมัครพาน้องปีนเขา จำนวน 23 คน
  • อาสาสมัครอื่นๆ จำนวน 15 คน

รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 52 คน

ผลจากการจัดกิจกรรม
กลุ่มผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมก่อนจัดกิจกรรมหลังจัดกิจกรรม
เด็ก เด็กมีความกระตือรือร้นอยากจะเข้าร่วมกิจกรรม ขณะเดียวกันก็มีความกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมว่าอาจจะทำไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน มีการเตรียมตัวด้วยการฝึกเดิน เคลื่อนไหวมากขึ้นเด็กมีความภาคภูมิใจในตัวเอง ได้รับรู้ถึงศักยภาพในตัวเอง และสังคมรอบข้างที่เป็นแรงผลักดันให้แก่พวกเขาอย่างสูง ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคมมากขึ้น และมีความมั่นใจที่จะออกไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น
ครอบครัวมีความกังวลว่าเด็กจะทำภารกิจไม่สำเร็จ และกังวลจะเกิดปัญหาอื่นๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กระหว่างการทำกิจกรรมผู้ปกครองใช้เวลาในการร่วมทำกิจกรรม และมีความเข้าใจในความต้องการ และความพยายามของเด็กมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เด็กสามารถทำภารกิจต่างๆ ได้ด้วยตัวเองให้สำเร็จลุล่วง โดยตนเองและอาสาสมัครคอยช่วยเหลือเฉพาะในยามที่เด็กร้องขอเท่านั้น ลดความกังวลหลายๆ อย่างที่อยู่ในใจ
อาสาสมัครกังวลว่าจะไม่สามารถช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างเต็มที่ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ไม่เห็นความสำคัญมากนักว่าทำไมต้องเป็นกิจกรรมปีนเขา ว่าแตกต่างจากกิจกรรมอื่นๆ อย่างไรมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเด็กๆ ที่มีความแตกต่างมากขึ้น ได้รับฟังความคิด และเห็นถึงความพยายามขณะทำกิจกรรมมากขึ้น เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการปีนเขาที่ไม่เหมือนกิจกรรมอื่นๆ เนื่องจากต้องใช้ความพยายามและความอดทน รวมไปถึงพลังกาย พลังใจที่จะช่วยผลักดันให้เด็กๆ ทำภาระกิจให้ลุล่วงได้
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

 " รู้สึกว่าเป็นการมอบประสบการณ์ดีๆ ที่เปิดโอกาสที่ให้เด็กๆ ได้เข้าสู่โลกกว้างมากขึ้น รู้สึกว่าได้รับประสบการณ์ดีๆ ทำให้เข้าใจเด็กๆ เพราะไม่เหมือนกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เหนื่อยมาก ทำให้รู้สึกประทับใจมากกว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบอื่น และอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีกบ่อยๆ " คุณพิธา แสงมณี (อาสาพาน้องปีน)

 " รู้สึกสนุก และมีความสุขที่ช่วยให้ความมุ่งหวังของน้องเป็นจริง แม้จะเหนื่อยแต่ก็รู้สึกชื่นใจที่สามารถผ่านกิจกรรมไปได้ด้วยดี สิ่งที่ได้คือได้ท้าทายตัวเอง และได้เห็นรอยยิ้มของน้องอย่างมีความสุข ทำให้ตัวเองมี่ความสุขได้ " คุณเสน- สัญชัย บุญพริก (อาสาพาน้องปีน)

 " คุณแม่รู้สึกภูมิใจในตัวลูก และเชื่อมั่นมากขึ้นว่าลูกสามารถเอาชนะความกลัวได้หากเขามีความมุ่งมั่น ประกอบกับการทำกิจกรรมนี้มีบุคคลรอบข้างให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี และได้เห็นความสำเร็จของลูกอีกขั้นในวันนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น จึงรู้สึกมีความสุขมากเป็นพิเศษที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม " คุณเขมณิช วิโรฒน์ทยากร (ผู้ปกครองเด็ก)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชน7 คน (น้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการจากจังหวัดนครศรีธรรมราช)7 คนเนื่องจากเป็นการจัดกิจกรรมปีนเขาครั้งแรกที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ นอกจากน้องๆ ที่เข้าร่วมแล้วยังมีน้องๆ ในพื้นที่สนใจที่จะเข้าร่วมในครั้งต่อๆ เพราะได้รับการบอกเล่าจากผู้ที่ผ่านกิจกรรมมาแล้ว เด็กๆ กระตือรือร้นที่อยากจะทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น
ผู้พิการและผู้ป่วย6 คน (ตัวแทนสมาคมผู้พิการมาให้กำลังใจน้อง)6 คนผู้พิการสามารถเห็นถึงความพยายามของเด็กๆ และสามารถช่วยเหลือน้องๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้ถูกวิธี มีการรวมกลุ่มกันระหว่างผู้ใหญ่ เพื่อส่งต่อสิ่งดีๆ ไปยังเด็กรุ่นใหม่
ประชาชนทั่วไป23 คน (อาสาสมัครในพื้นที่)50 คนทั้งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และให้ความสนใจที่จะพัฒนากิจกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน และมีผู้ติดต่อเข้ามาเพื่อขอร่วมกิจกรรมในครั้งถัดไปจำนวนกว่า 30 คน
โรงเรียนนักเรียนในโรงเรียน มากกว่า 300 คน3 โรงเรียนเด็กๆ และคุณครูที่อยู่ในโรงเรียนเพื่อเด็กพิการ และโรงเรียนที่น้องๆ ศึกษาได้มีส่วนในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรม และเกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาเด็กพิการในสังคมมากขึ้น ทำให้การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน
รูปภาพกิจกรรม

   ก่อนปีนขึ้นจะเห็นถึงความกังวลและความกลัวทั้งของเด็กๆ อาสาสมัครและครอบครัวทุกคนอย่างเห็นได้ชัด แต่ดวงตาที่มุ่งมั่นและความตั้งใจของเด็กๆ กลับเป็นแรงผลักดันให้อาสา และครอบครัวตั้งใจผลักดันให้ความมุ่งหวังของน้องๆ เป็นจริง โดยไม่ยอมแพ้กลางทาง

   หลังจบกิจกรรมจะเห็นได้ชัดถึงรอยยิ้มของทุกคน เกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จที่เราพยายามไขว่คว้ามา แม้ในตอนแรกจะคิดว่าไม่สามารถเป็นไปได้ ให้สำเร็จด้วยความร่วมมือจากทุกคน เด็กๆ รู้สึกว่าเขาสามารถทำได้มากกว่าที่เขาคิด ก้าวข้ามข้อจำกัดภายในใจ และมั่นใจที่จะเข้าสู่โลกกว้างมากขึ้น

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

เราเชื่อว่าเด็กทุกคนต้องได้รับโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างอิสระและเท่าเทียม แต่เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวมักถูกจำกัดสิทธิ เพราะการออกไปนอกบ้านนั้นเป็นเรื่องไม่สะดวกสบาย การเปิดโอกาสให้เด็กพิการคนหนึ่งได้มีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ยากจนเกือบเป็นไปไม่ได้ให้สำเร็จ นอกจากจะสร้างความภูมิใจให้กับตัวเขาเองแล้ว ยังเป็นการชดเชยการขาดโอกาสมากมายในชีวิตจากการที่เกิดมาพร้อมพร้อมกับความพิการ ร่วมพาน้องๆ ผู้พิการ 5 คน และอาสาสมัครกว่า 50 ชีวิตให้ไปทำกิจกรรมกัน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

โครงการนี้จัดทำขึ้นเนื่องจากเรามีแนวคิดของความเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน แต่เด็กพิการกลับถูกจำกัดสิทธิให้ใช้ชีวิตอยู่เพียงในที่พักเท่านั้น ยิ่งนานวันยิ่งทำให้เด็กๆ เหล่านี้ไม่กล้าที่ใช้ชีวิตในสังคมด้วยมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ทั้งต่อตนเอง และสังคม ส่งผลให้การใช้ชีวิตไม่เป็นอิสระ ขาดโอกาสหลายๆ อย่าง ตั้งแต่โอกาสด้านการศึกษา โอกาสในการเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะตัว ซึ่งสามารถส่งผลระยะยาวในการดำรงชีวิตต่อไปในอนาคต โดยผู้พิการทางการเคลื่อนไหวทั่วประเทศมีสถิติล่าสุดมากกว่า 1 ล้านคน เมื่อสุดท้ายคนผู้พิการเหล่านี้ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ความรับผิดชอบจึงต้องตกเป็นของภาครัฐ และทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง

จะดีกว่าไหมถ้าหากเราแก้ปัญหาที่ต้นตอของสาเหตุ ด้วยการลดข้อจำกัดในการใช้ชีวิต เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กพิการเพื่อให้เขาเกิดแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคมภายนอกได้อย่างเข้มแข็ง ด้วยการส่งเสริมให้พวกเขาได้ร่วมกิจกรรมที่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยตัวเอง สามารถสร้างความภาคภูมิใจให้กับเด็กพิการในการก้าวข้ามข้อจำกัดของตนเอง เกิดทัศนคติเชิงบวก และสร้างความตระหนักว่าครอบครัวคือพลังสำคัญที่สุดในการช่วยผลักดันให้เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ อีกทั้งยังเป็นแรงกระเพื่อมให้อาสาสม้ครที่เข้าร่วมโครงการได้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้พิการ เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาได้มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิต

แผนจะจัดงาน : วันที่ 13-14 พ.ค. 2566 


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. เปิดรับสมัครเด็กพิการ และผู้ปกครอง: ภายในวันที่  30 มี.ค. 66 โดยเด็กและผู้ปกครองต้องได้รับการฝึกกายภาพบำบัดและเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

2. เปิดรับสมัครอาสาสมัคร : ภายใวันที่ 18 เม.ย. 66 รับสมัครจำนวน 50 คน จากนั้นทางมูลนิธิจะประกาศทีม และทำกิจกรรมเก็บคะแนนร่วมกับน้องๆ ในทีม เพื่อให้อาสาสมัครทำความรู้จักน้องๆ รวมไปถึงข้อจำกัด และข้อกังวลต่างๆ มากขึ้น

3.เก็บคะแนน และส่งผลการกายภาพ  : เดือน เม.ย. 66 เพื่อให้น้องๆ ที่เข้าร่วมงานเก็บคะแนน และส่งผลการกายภาพ 

4.ประชุมเพื่อรับทราบการจัดกิจกรรมออนไลน์ : วันที่ 29 เม.ย. 66 ประชุมร่วมกันเพื่อรับทราบผลการจัดกิจกรรมเดือน เม.ย. 66  เพื่อให้น้องๆ และผู้ปกครองที่เข้าร่วมได้แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้สึก ข้อเสนอแนะก่อนวันเริ่มกิจกรรมจริง 

5.เปิดงานกิจกรรมปีนเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต : วันที่ 13 พ.ค. 66 เป็นวันซ้อม และวันที่ 14 พ.ค. 66 น้องๆ และอาสา ได้ร่วมกันพิชิตยอดเขา

7. สรุปงาน ข้อเสนอแนะ และสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมงานของทุกภาคส่วน

ผู้รับผิดชอบโครงการ

-

ดำเนินกิจกรรมปีนเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต

8 มิถุนายน 2023

กิจกรรมจัดขึ้นวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบ่งเป็น

  • เด็ก จำนวน 7 คน
  • ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 7 คน
  • อาสาสมัครพาน้องปีนเขา จำนวน 23 คน
  • อาสาสมัครอื่นๆ จำนวน 15 คน

รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 52 คน

ผลจากการจัดกิจกรรม
กลุ่มผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมก่อนจัดกิจกรรมหลังจัดกิจกรรม
เด็ก เด็กมีความกระตือรือร้นอยากจะเข้าร่วมกิจกรรม ขณะเดียวกันก็มีความกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมว่าอาจจะทำไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน มีการเตรียมตัวด้วยการฝึกเดิน เคลื่อนไหวมากขึ้นเด็กมีความภาคภูมิใจในตัวเอง ได้รับรู้ถึงศักยภาพในตัวเอง และสังคมรอบข้างที่เป็นแรงผลักดันให้แก่พวกเขาอย่างสูง ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคมมากขึ้น และมีความมั่นใจที่จะออกไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น
ครอบครัวมีความกังวลว่าเด็กจะทำภารกิจไม่สำเร็จ และกังวลจะเกิดปัญหาอื่นๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กระหว่างการทำกิจกรรมผู้ปกครองใช้เวลาในการร่วมทำกิจกรรม และมีความเข้าใจในความต้องการ และความพยายามของเด็กมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เด็กสามารถทำภารกิจต่างๆ ได้ด้วยตัวเองให้สำเร็จลุล่วง โดยตนเองและอาสาสมัครคอยช่วยเหลือเฉพาะในยามที่เด็กร้องขอเท่านั้น ลดความกังวลหลายๆ อย่างที่อยู่ในใจ
อาสาสมัครกังวลว่าจะไม่สามารถช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างเต็มที่ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ไม่เห็นความสำคัญมากนักว่าทำไมต้องเป็นกิจกรรมปีนเขา ว่าแตกต่างจากกิจกรรมอื่นๆ อย่างไรมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเด็กๆ ที่มีความแตกต่างมากขึ้น ได้รับฟังความคิด และเห็นถึงความพยายามขณะทำกิจกรรมมากขึ้น เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการปีนเขาที่ไม่เหมือนกิจกรรมอื่นๆ เนื่องจากต้องใช้ความพยายามและความอดทน รวมไปถึงพลังกาย พลังใจที่จะช่วยผลักดันให้เด็กๆ ทำภาระกิจให้ลุล่วงได้
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

 " รู้สึกว่าเป็นการมอบประสบการณ์ดีๆ ที่เปิดโอกาสที่ให้เด็กๆ ได้เข้าสู่โลกกว้างมากขึ้น รู้สึกว่าได้รับประสบการณ์ดีๆ ทำให้เข้าใจเด็กๆ เพราะไม่เหมือนกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เหนื่อยมาก ทำให้รู้สึกประทับใจมากกว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบอื่น และอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีกบ่อยๆ " คุณพิธา แสงมณี (อาสาพาน้องปีน)

 " รู้สึกสนุก และมีความสุขที่ช่วยให้ความมุ่งหวังของน้องเป็นจริง แม้จะเหนื่อยแต่ก็รู้สึกชื่นใจที่สามารถผ่านกิจกรรมไปได้ด้วยดี สิ่งที่ได้คือได้ท้าทายตัวเอง และได้เห็นรอยยิ้มของน้องอย่างมีความสุข ทำให้ตัวเองมี่ความสุขได้ " คุณเสน- สัญชัย บุญพริก (อาสาพาน้องปีน)

 " คุณแม่รู้สึกภูมิใจในตัวลูก และเชื่อมั่นมากขึ้นว่าลูกสามารถเอาชนะความกลัวได้หากเขามีความมุ่งมั่น ประกอบกับการทำกิจกรรมนี้มีบุคคลรอบข้างให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี และได้เห็นความสำเร็จของลูกอีกขั้นในวันนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น จึงรู้สึกมีความสุขมากเป็นพิเศษที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม " คุณเขมณิช วิโรฒน์ทยากร (ผู้ปกครองเด็ก)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชน7 คน (น้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการจากจังหวัดนครศรีธรรมราช)7 คนเนื่องจากเป็นการจัดกิจกรรมปีนเขาครั้งแรกที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ นอกจากน้องๆ ที่เข้าร่วมแล้วยังมีน้องๆ ในพื้นที่สนใจที่จะเข้าร่วมในครั้งต่อๆ เพราะได้รับการบอกเล่าจากผู้ที่ผ่านกิจกรรมมาแล้ว เด็กๆ กระตือรือร้นที่อยากจะทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น
ผู้พิการและผู้ป่วย6 คน (ตัวแทนสมาคมผู้พิการมาให้กำลังใจน้อง)6 คนผู้พิการสามารถเห็นถึงความพยายามของเด็กๆ และสามารถช่วยเหลือน้องๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้ถูกวิธี มีการรวมกลุ่มกันระหว่างผู้ใหญ่ เพื่อส่งต่อสิ่งดีๆ ไปยังเด็กรุ่นใหม่
ประชาชนทั่วไป23 คน (อาสาสมัครในพื้นที่)50 คนทั้งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และให้ความสนใจที่จะพัฒนากิจกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน และมีผู้ติดต่อเข้ามาเพื่อขอร่วมกิจกรรมในครั้งถัดไปจำนวนกว่า 30 คน
โรงเรียนนักเรียนในโรงเรียน มากกว่า 300 คน3 โรงเรียนเด็กๆ และคุณครูที่อยู่ในโรงเรียนเพื่อเด็กพิการ และโรงเรียนที่น้องๆ ศึกษาได้มีส่วนในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรม และเกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาเด็กพิการในสังคมมากขึ้น ทำให้การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน
รูปภาพกิจกรรม

   ก่อนปีนขึ้นจะเห็นถึงความกังวลและความกลัวทั้งของเด็กๆ อาสาสมัครและครอบครัวทุกคนอย่างเห็นได้ชัด แต่ดวงตาที่มุ่งมั่นและความตั้งใจของเด็กๆ กลับเป็นแรงผลักดันให้อาสา และครอบครัวตั้งใจผลักดันให้ความมุ่งหวังของน้องๆ เป็นจริง โดยไม่ยอมแพ้กลางทาง

   หลังจบกิจกรรมจะเห็นได้ชัดถึงรอยยิ้มของทุกคน เกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จที่เราพยายามไขว่คว้ามา แม้ในตอนแรกจะคิดว่าไม่สามารถเป็นไปได้ ให้สำเร็จด้วยความร่วมมือจากทุกคน เด็กๆ รู้สึกว่าเขาสามารถทำได้มากกว่าที่เขาคิด ก้าวข้ามข้อจำกัดภายในใจ และมั่นใจที่จะเข้าสู่โลกกว้างมากขึ้น

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าอาหารจำนวน 2 วัน 60 คน 15,000.00
2 นำ้ดื่มระหว่างปีนเขา 10 ลัง 1,000.00
3 วิทยากร สำหรับกิจกรรมในการบรรยายถอดบทเรียน 2 คน 2,000.00
4 ที่พักและค่าเดินทางผู้ประสานงาน รวมถึงวิทยากร 50 คน 30,000.00
5 ประกันชีวิตกลุ่ม 60 คน 2,000.00
6 เจ้าหน้าที่ประสานงาน และนำทางในพื้นที่ 2 คน 1,000.00
7 อุปกรณ์กิจกรรมสำหรับเด็กพิการ และผู้ที่เข้าร่วม 60 คน 1,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
52,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
5,200.00

ยอดระดมทุน
57,200.00