project เด็กและเยาวชน

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนบกพร่องในการได้ยิน

พัฒนาชุดสื่อสารในห้องเรียนสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ส่งมอบให้กับทางโรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชในพระราชูปถัมภ์ 

ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ปทุมธานี

ยอดบริจาคขณะนี้

275,650 บาท

เป้าหมาย

200,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 138%
จำนวนผู้บริจาค 16

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนบกพร่องในการได้ยิน

17 กุมภาพันธ์ 2017

ผศ. ดร. สุรภา เทียมจรัส หัวหน้าโครงการและนักวิจัยห้องปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พร้อมทีมงาน ทีมงานได้นำอุปกรณ์ไปให้ทางโรงเรียนทดลองใช้จำนวน 6 ชุด (ตัวส่ง 2 ตัว, ตัวรับ 6 ตัว) และบริษัท AMC มาช่วยในการทำพิมพ์หูเพื่อใช้สำหรับจัดทำหูฟังแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชในพระราชูปถัมภ์


ทีมงาน คุณครูและนักเรียน


ทำการพิมพ์หู

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ

โรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชในพระราชูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาให้กับ เด็กพิเศษ เด็กปกติและ เด็กด้อยโอกาสระดับอนุบาลถึงระดับประถมศึกษาตอนปลาย เพื่อเตรียมพร้อมให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเอง สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้ มีความรู้พื้นฐานเพียงพอต่อการศึกษาต่อระดับสูง และพร้อมที่จะรับการฝึกอาชีพต่อไป โดยโรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชในพระราชูปถัมภ์ยังให้เด็กพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติและเรียนเป็นกลุ่มย่อยตามลำดับความสามารถของนักเรียน

หนึ่งในห้องเรียน ทางโรงเรียนจัดให้มีห้องเรียนของกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางการได้ยิน ทางโรงเรียนจะใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการสื่อสารระหว่างคุณครูกับนักเรียนที่มีปัญหาทางการได้ยินภายในห้องเรียน ปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวเริ่มมีสภาพทรุดโทรม ทางโรงเรียนไม่มีงบประมาณมากพอที่จะซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ

คุณครูป้อม (นางสาววันเพ็ญ ศรสุวรรณ) รองผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชฯ ซึ่งเป็นครูที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กนักเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ ความต้องการที่จะซื้ออุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเพิ่มเติม จึงได้หารือกับทางเนคเทคเพื่อขอให้ทีมวิจัยของห้องปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและสิ่งอำนวยความสะดวกออกแบบอุปกรณ์ตัวรับสัญญาณที่มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกัน ในงบประมาณที่ต่ำลงอย่างมาก

ที่ผ่านมากทีมวิจัยเคยได้ทำอุปกรณ์ตัวรับสัญญาณจำนวนสองชิ้นไปให้ทางโรงเรียนทดลองใช้พบว่าสามารถทดแทนกันได้ดี จึงอยากจะพัฒนาอุปกรณ์ต่อเพื่อรองรับการใช้งานของเด็กทั้งโรงเรียน ดังนั้นทางทีมวิจัยจะขอรับบริจาคเงินทุนเพื่อจัดทำตัวรับสัญญาณจำนวน 22 ชุด ตัวส่งสัญญาณ 6 ตัว แท่นชาร์ตและแบบพิมพ์หูสำหรับนักเรียนแต่ละคน เพื่อส่งมอบให้กับทางโรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชในพระราชูปถัมภ์ต่อไป

ประโยชน์ของโครงการ

  1. เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนผู้พิการทางการได้ยินให้สามารถเรียนร่วมกับเด็กนักเรียนทั่วไปได้
  2. สนับสนุนนักวิจัยไทยให้ส่งผลงานถึงผู้ใช้งานจริง
  3. ลดการนำเข้าอุปกรณ์ราคาแพงจากต่างประเทศ

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ

จัดซื้อชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับจัดทำชุดอุปกรณ์ช่วยเหลือในการสื่อสารในห้องเรียน เพื่อนำไปมอบให้กับทางโรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชในพระราชูปถัมภ์ และสอนวิธีการใช้งานพร้อมติดตามผล

ภาพชุดอุปกรณ์ต้นแบบ

สมาชิกภายในทีม

  • แอร์ – ผศ. ดร. สุรภา เทียมจรัส นักวิจัยห้องปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติและหัวหน้าโครงการ เบอร์โทร 662-564-6900
  • ปั้น – ดร. ศิวัตม์ สายบัว
  • หนุ่ม - ธราพงษ์ สูญราช
  • เอ - สังวรณ์ สีสุทัศน์
  • ต้น - อนุกูล น้อยไม้
  • จ๋า – ดร. พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา

ภาคี

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

112 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

โรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชในพระราชูปถัมภ์

ความประทับใจจากเจ้าของโครงการอุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนบกพร่องในการได้ยิน

17 สิงหาคม 2016

โครงการอุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนบกพร่องในการได้ยินระดมทุนตลอดโครงการเป็นจำนวนเงิน 275,650 บาท  โดยผศ. ดร. สุรภา เทียมจรัส หัวหน้าโครงการและนักวิจัยห้องปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พร้อมทีมงาน ดร. ศิวัตม์ สายบัว คุณธราพงษ์ สูญราช คุณสังวรณ์ สีสุทัศน์ คุณอนุกูล น้อยไม้และดร. พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา 

การดำเนินโครงการ

ที่ผ่านมาทางโครงการได้ออกแบบและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ Assistive Listening System (ALS) และนำอุปกรณ์ตัวรับสัญญาณทั้งแบบอุปกรณ์ MP3 และแบบโทรศัพท์มือถือ นำไปทดสอบที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชในพระราชูปถัมภ์  และพบว่าการใช้อุปกรณ์ MP3 ซึ่งมีขนาดเล็กสะดวกต่อการใช้งานมากกว่าโทรศัพท์มือถือ  ดังนั้นทางโครงการจึงได้มอบเครื่อง ALS ที่ต่อกับอุปกรณ์ MP3 ให้กับทางโรงเรียนไว้ทดลองใช้เป็นเวลากว่าสองอาทิตย์ และผลการทดลองต่อการใช้งานเครื่อง ALS มีผลการตอบรับเป็นอย่างดี 

ขณะนี้ทางทีมงานได้เริ่มดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์บางส่วนที่นำมาใช้ในการพัฒนาเครื่อง  ALS และคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 เดือนในการจัดทำชุดอุปกรณ์สื่อสารเพื่อมอบให้กับทางโรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภช

เนื่องจากตั้งแต่เปิดการระดมทุนโครงการ มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากและสามารถปิดโครงการได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มียอดบริจาคเกินเป้าหมายภายในเวลาที่กำหนด ดังนั้นทางทีมงานจะนำเงินบริจาคส่วนนี้มาใช้ในการผลิตอุปกรณ์ ALS เพิ่มและมอบให้กับโรงเรียนอื่นๆ ที่ต้องการต่อไป

ความประทับใจถึงผู้สนับสนุน

"ทางทีมงานอยากจะขอบคุณผู้บริจาคทุกท่านที่ให้การสนับสนุนเงินทุนทำให้พวกเรามีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อช่วยเหลือน้องๆ ให้มีโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้น"


ผศ. ดร. สุรภา เทียมจรัส

หัวหน้าโครงการอุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนบกพร่องในการได้ยิน

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนบกพร่องในการได้ยิน

17 กุมภาพันธ์ 2017

ผศ. ดร. สุรภา เทียมจรัส หัวหน้าโครงการและนักวิจัยห้องปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พร้อมทีมงาน ทีมงานได้นำอุปกรณ์ไปให้ทางโรงเรียนทดลองใช้จำนวน 6 ชุด (ตัวส่ง 2 ตัว, ตัวรับ 6 ตัว) และบริษัท AMC มาช่วยในการทำพิมพ์หูเพื่อใช้สำหรับจัดทำหูฟังแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกสมโภชในพระราชูปถัมภ์


ทีมงาน คุณครูและนักเรียน


ทำการพิมพ์หู

แผนการใช้เงิน

รายการ ราคารวม (บาท)
1.ค่าตัวส่งสัญญาณ 14,000
2.ค่าวัสดุในการพัฒนาตัวรับสัญญาณ (22 ตัว) พร้อมสายและแท่นชาร์ต 136,000
3.ค่าทำแบบพิมพ์หู 50,000
รวมเป็นเงินทั้งหมด 200,000