project เด็กและเยาวชน

The white room ค่ายวิทย์สุดสนุกแก่เด็กพื้นที่ห่างไกล

เรียนสนุก ทดลองจริง ตื่นเต้นจัง The white room โครงการที่พี่นักวิทยาศาสตร์หัวกะทิของประเทศขออาสาไปออกค่ายวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนที่ขาดโอกาส เพื่อถ่ายทอดเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ โรงเรียนในพื้นที่ชนบทภาคกลาง ภาคตะวันตก หรือภาคตะวันออก จำนวน 1 โรงเรียน

ยอดบริจาคขณะนี้

34,070 บาท

เป้าหมาย

73,920 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 46%
จำนวนผู้บริจาค 26

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ค่ายวิทยาศาสตร์ ที่รร.ประสานสามัคคีวิทยา

11 เมษายน 2018

ค่ายวิทยาศาสตร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ณ โรงเรียนประสานสามัคคีวิทยา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี มีเด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 67 คน 

กิจกรรมที่จัดขึ้น 5 ฐาน ประกอบด้วย Science Warm Up , เกลียดจัง....แยกกันที , ใส่เสื้อให้ไข่ , ต้มน้ำบันเทิง และสงครามปาหมอน 

ภาพประกอบ

การเตรียมงานวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พิธีเปิดกิจกรรม





กิจกรรม Science Warm Up



กิจกรรม Science Rally - เกลียดจัง....แยกกันที

กิจกรรม Science Rally - ใส่เสื้อให้ไข่




กิจกรรม Science Rally - ต้มน้ำบันเทิง


กิจกรรม Science Rally - สงครามปาหมอน



พิธีปิด



ความประทับใจจากเด็กนักเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

เด็กๆ ส่วนใหญ่บอกว่า มีความสนุก ได้รับความรู้ พี่ๆ สอนในสิ่งที่ไม่เคยรู้และเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีการทดลองในฐานต่างๆ ทำให้เกิดความสามัคคี สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และมีของรางวัลแจก อนาคตอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้เกิดขึ้นอีก

ความประทับใจจากคุณครู

ทีมงาน The white room ได้เตรียมกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะฐานเกลียดจัง...แยกกันที เพราะเนื้อหาการทดลองของฐานมีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่ครูสอนทำให้เด็กนักเรียนได้ทบทวนความรู้ ความเข้าใจไปในตัว ในส่วนของฐานต้มน้ำบันเทิงนั้น ทีมงานมีคำอธิบายที่ชัดเจน ทำให้เด็กนักเรียนเข้าใจในสิ่งที่พี่ๆ ต้องการนำเสอนออกมาได้อย่างดี ซึ่งครูได้ทดสอบการอธิบายของฐานนี้โดยให้เด็กๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมมาพูดอธิบายให้ครูฟัง และเด็กๆ ก็สามารถอธิบายได้ชัดเจน เข้าใจง่ายและไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับฐานสงครามปาหมอน เด็กนักเรียนสนุกกันมาก เพราะเป็นฐานที่เด็กนักเรียนได้ออกแรงเล่นอะไรสนุกๆ คลายเครียดจากฐานอื่นๆ ฐานต่อมาคือใส่เสื้อให้ไข่ ซึ่งเป็นฐานที่ได้เปิดความคิด ทำให้เด็กๆ ได้คิด กระตุ้นความสนใจของนักเรียนว่าควรจะทำอย่างไรดี ทำให้เกิดการวางแผนและทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทางทีมงานควรปรับคือ พี่ๆ ที่รับหน้าที่เป็นพิธีกรควรพูดให้ช้าลงกว่านี้ และเป็นจังหวะ อาจเป็นพิธีกรครั้งแรกเลยกังวลจนพูดเร็วเกินไป คุณครูแนะนำให้พิธีกรสังเกตุสีหน้าเด็กๆ ว่าเข้าใจสิ่งที่เราสื่อออกมาหรือไม่ จากนั้นจึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยการยกตัวอย่างการกระทำ แสดงสิ่งที่เราบอกให้เด็กๆ ดู และควรนัดแนะกิจกรรมต่อไปให้เด็กๆ ว่ามีอะไร จะทำอะไรต่อไปแบบย้ำๆ เนื่องจากเด็กๆ ขี้ลืม

จากกิจกรรมทั้งหมดคุณครูขอชื่นชมในการทำงานของพี่ๆ เนื่องด้วยเป็นครั้งแรกแต่ผลออกมาได้ดีมากๆ และน้องๆ ก็ชอบและสนุกไปกับกิจกรรมมที่จัดให้

นางสาวญาณิศา กระจ่างเสน 
อาจารย์โรงเรียนประสานสามัคคีวิทยา 

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

โครงการ The White Room Charity จึงจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 โดยกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาที่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยในปัจจุบันสมาชิกของโครงการได้ทำการศึกษาอยู่ในสถาบันต่าง ๆ เช่น University of Oxford, Tohoku University, Washington University, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, โรงเรียนกำเนิดวิทย์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นนักเรียนที่อยู่ในโครงการพิเศษ เช่น โครงการโอลิมปิกวิชาการ (สอวน.) เป็นต้น ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับน้อง ๆ นักเรียนที่ขาดโอกาสตามพื้นที่ในชนบทโดยไม่แสวงผลกำไร โดยมีจุดประสงค์เพื่อถ่ายทอดเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือประกอบอาชีพในอนาคต และเพื่อพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกิจกรรมนี้จะส่งเสริมให้น้อง ๆ ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยประสบการณ์ตรงผ่านการถามและการสนุกกับวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดการรู้จักคิดและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สำหรับกิจกรรมที่พวกเราจัดขึ้นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่น้อง ๆ ได้อาศัยอยู่ และสอดคล้องกับแผนการเรียนรู้ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยจะมีการบูรณาการ STEM วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เข้าร่วม และกิจกรรมจะเป็นการทดลองและเรียนรู้ตามแนวคิด Learning by doing เพื่อให้น้อง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้และเข้าถึงกิจกรรมจากพี่ ๆ ผู้มีประสบการณ์โดยตรง

การบรรยายกิจกรรมโดยพี่ทีมงาน The White Room Charity

จากที่โครงการ The White Room Charity ได้จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับน้อง ๆ นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลหรือนักเรียนที่ด้อยโอกาสมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 รวมทั้งสิ้น 8 ค่าย ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ โดยจากการพูดคุยกับครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่าหลังจากเข้าร่วมค่ายแล้วนักเรียนมีความกล้าซักถามมากขึ้น และใช้หลักการที่ได้เรียนรู้ในค่ายตอบคำถามในชั้นเรียน มีผลคะแนนโอเน็ตวิชาวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นในโรงเรียนบ้านเขาดิน และมีคะแนนประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมโดยนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์ดี - ดีมาก (สูงกว่า 80%) ในกิจกรรมทุกครั้ง ทางโครงการ The White Room Charity จึงมีแผนการในการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนที่ด้อยโอกาส 3 - 4 ครั้ง ต่อปี

หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม ทางโครงการหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวจะเกิดทักษะในด้านวิทยาศาสตร์ สามารถใช้หลักการวิทยาศาสตร์อธิบายเหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้นหรือแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน มีความสุขกับการซักถามและการเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น และทำให้คณะผู้จัดกิจกรรมได้พัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ สามารถเป็นนักเรียนผู้นำจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียนได้ สามารถทำความเข้าใจ อธิบายสื่อสารให้ผู้อื่นเห็นถึงความสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์ เข้าใจในหลักการวิทยาศาสตร์ในระดับเบื้องต้นได้ รวมถึงสามารถนำทักษะต่าง ๆ ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม

กิจกรรมการสร้างจรวดขวดน้ำ (ไร้น้ำ) ในกิจกรรม Science Rally

    สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์: http://thewhiteroomcharity.org
    และทาง Facebook โครงการ: https://www.facebook.com/whiteroomcharity/
    สอบถามรายละเอียดได้ที่ email: thewhiteroomcharity@gmail.com

      ขั้นตอนการดำเนินงาน

      ทางทีมงานของโครงการจะค้นหาโรงเรียนที่สนใจในพื้นที่ชนบทภาคกลาง ภาคตะวันตก หรือภาคตะวันออก จำนวน 1 โรงเรียน จากนั้นจะสำรวจความต้องการของโรงเรียนรวมถึงสภาพพื้นที่ และจะเสนอแผนกิจกรรมให้โรงเรียนพิจารณา และเมื่อดำเนินการจัดค่ายเสร็จสิ้นในแต่ละโรงเรียน ทางโครงการจะทำรายงานสรุปโครงการและประเมินกิจกรรม เป็นแต่ละโรงเรียนก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมในโรงเรียนถัดไป 

          ประโยชน์ของโครงการ

          1. นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ชนบทได้เปิดโอกาสและได้เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ด้วยประสบการณ์ตรง
          2. นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ชนบทได้ส่งเสริม พัฒนากระบวนการคิด และตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในทางที่สร้างสรรค์และเหมาะสมในชีวิตประจำวัน
          3. นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ชนบทได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความเสียสละ ตรงต่อเวลา รู้จักการเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดี ตลอดจนพัฒนาทักษะการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ปรับตัวตามสถานการณ์ และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่คณะ
          4. ทีมงานผู้จัดกิจกรรมได้พัฒนาศักยภาพทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ที่ดี และได้เรียนรู้การทำงานเป็นหมู่คณะ ตลอดจนได้รู้จักการสร้างปฏิสัมพันธ์ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

            สมาชิกภายในทีม


            โครงการได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี มีจำนวนสมาชิก 95 คน

            1. นายธนเดช พิพัฒพลกาย              University of Oxford
            2. นางสาวชนินาถ วัฒนศักดิ์             จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            3. นางสาวเพียงรวี ศานติวงศ์สกุล     Tohoku University
            4. นายรัชต์ภาคศ์ ตันติแสงหิรัญ        Purdue University
            5. นายนันทธนิก ตันติวัสดาการ         Stanford University
            6. นายศิกวัส ศรีประภาพร                 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            7. นายตะวัน ถื่นถาวรกุล                   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
            8. นางสาวณัชชา เพชราวุฒิไกร        มหาวิทยาลัยมหิดล
            9. นายนรภัทร หลิมศิโรรัตน์              มหาวิทยาลัยมหิดล
            10. นางสาวจุฑาณัฐ สุจิตรานุช           มหาวิทยาลัยมหิดล
            11. นางสาวธันยธรณ์ จันทิวาสน์         มหาวิทยาลัยมหิดล
            12. นายธนิก โฆษิตวงศ์สกุล              มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
            13. นางสาวฐิตาภรณ์ แม้ประสาท       มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
            14. นายอรชุน สวัสดี                         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            15. นางสาวภัทราพร สังคนิภา           University of Cambridge
            16. นายภวิศธร วชิราพรพฤฒ            มหาวิทยาลัยมหิดล
            17. นายพชร จันทร์รุ่งมณีกุล             University of Washington
            18. นายธิปดิสรณ์ ทาก้อน                วิทยาลัยแพทยศาสตร์มงกุฎเกล้า
            19. นางสาวศิรภัสสร พงศ์พิริยะกาญจน์ Harvey Mudd College
            20. นายกฤต กาลวันตวานิช             จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            21. นางสาวลัลน์ลลิต เทิดสุธาธรรม  มหาวิทยาลัยมหิดล
            22. นายสิทธา คุ้มวงศ์วาน               Cambridge Centre of Sixth-form Studies
            23. นางสาวกาญจนา เพชรนอก       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            24. นางสาวพรทิพา พูนผลทรัพย์     มหาวิทยาลัยมหิดล
            25. นางสาวณัฐณิชา ฟ้ารุ่งสาง         มหาวิทยาลัยมหิดล
            26. นายวรกฤตย์ วรกุลเสถียร           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            27. นางสาวธัญลักษณ์ เอี่ยมศุภมิตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            28. นายพชร จิตอนันตวิทยา            มหาวิทยาลัยมหิดล
            29. นางสาวณฐิตา จันทร์ชาวนา       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            30. นางสาวสุธามาศ สาดทอง         มหาวิทยาลัยมหิดล
            31. นางสาวภคนันท์ ประจง             มหาวิทยาลัยมหิดล
            32. นายสุทธิภัทร หวังผลพัฒนศิริ    มหาวิทยาลัยมหิดล
            33. นายวรท วิไลนาม                     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
            34. นางสาวรมิตา รัษฐานุวัติ            UWC Robert Bosch College
            35. นายบัณฑิต บุญยฤทธิ์              มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
            36. นายจุลเกียรติ์ ประสานกุลกิจ     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
            37. นางสาวแพรว สาคร                 Syracuse University
            38. นายชวิศ แก้วนุรัชดาสร            โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            39. นายปุถุชน วงศ์วรกุล                โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            40. นายณัฐเศรษฐ ธัชศฤงคารสกุล โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            41. นายกันติทัต สวัสดิ์วุฒิกุล         โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            42. นายกรภัทร์ พงษ์มาลา             โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            43. นางสาวเซระ สุขเจริญ              โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี
            44. นายภูชิสส์ ผาณิตพจมาน         โรงเรียนกําเนิดวิทย์
            45. นางสาวนภัสสร ไกรวิศิษฏ์กุล   โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            46. นางสาวนลินา รวีวงศ์อโนทัย    โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            47. นางสาวกนิษฐา เอี่ยมธีระกุล    โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)
            48. นายภาสวิชญ์ ศุนาลัย              โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
            49. นายศักดิพัฒน์ น้อมพิทักษ์เจริญ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            50. นางสาวสุพิชชา เลาวณาภิบาล โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา
            51. นางสาวภัทรนันท์ บุญชิต         โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            52. นายกสิณธ์ อ่อนประสพ           โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            53. นางสาวชุลีพร ไชยะโอชะ        มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
            54. นางสาวชนัฐจิตต์ เชียวสมุทร   University of Oxford
            55. นางสาวพีรดา อัครวิเนค          โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            56. นางสาวพลอยประกาย ภูศรี     โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            57. นางสาวศิรดา กิตติพงศ์โกศล  โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
            58. นางสาวนันท์นภัส ผิวสอาด     โรงเรียนพนัสพิทยาคาร
            59. นางสาวฐิตินาถ คงเขียว         โรงเรียน เสาไห้"วิมลวิทยานุกูล"
            60. นางสาววิภาสิณี สิรินทรโสภณ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            61. เด็กหญิงนาร่า เอี่ยมสกุล        โรงเรียนโยธินบูรณะ
            62. นางสาวชญานันท์ เชียงไชยสกุลไทย โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            63. นางสาวภัททิยา พิบูลจินดา    โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            64. นายธนาวุฒิ วิไลรัตนดิลก      โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            65. นางสาวปุณยาพร ปฐวีศรีสุธา โรงเรียนเซนต์โยเซฟระยอง
            66. นางสาวมนสิชา ธิบดี             โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์
            67. นางสาวฐิตินันท์ ชีวะสุวรรณ    มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
            68. นางสาวสุพิชฌา เสโส           โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
            69. นางสาวณัฐณิชา เตชะอำนวยพร โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            70. นายจิรเมธ คิญชกวัฒน์          โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            71. นายจาริก หยั๋ง                      University of Oxford
            72. นายพีรพัฒน์ สุทธิมาศ           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            73. นายชยุตม์ บุญญาปะมัย         Newcastle University
            74. นายกิตติศักดิ์ สุขสำราญ        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            75. นายนิธิศ วงศ์สวัสดิ์               จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            76. นายธนัช มงคลพณิช             มหาวิทยาลัยศิลปากร
            77. นางสาวพนัชกร อนันตประยูร  โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            78. เด็กหญิงเภตรา ชื่นอารมณ์     โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
            79. เด็กชายภูมิกร คงทวีเลิศ        Shrewsbury International School
            80. นางสาวปัณณิตา ตรีกาลนนท์ MPW Cambridge
            81. เด็กหญิงวรัญญา สาธร          โรงเรียนเลิศหล้าเกษตร-นวมินทร์
            82. นายปรมะ สวรรค์ปัญญาเลิศ   โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
            83. เด็กหญิงภาวินี อากาศโสภา   โรงเรียนราชินีบน
            84. เด็กชายธนัช จังคณิภากุล      โรงเรียนวัดสระเกศ
            85. เด็กชายพชรพล แสนแก้ว      โรงเรียนสาธิต มรภ. เทพสตรี
            86. เด็กหญิงปภวลิน เตชธนภูวิศ  โรงเรียนราชินีบน
            87. เด็กชายอัทธวัฒน์ สุวรรณถิรพุทธิ์ โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
            88. เด็กหญิงปวิตา ผ่องแผ้ว        โรงเรียนราชินีบน
            89. เด็กชายพชรพล บรรเจิดประดิษฐ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
            90. เด็กหญิงปานฝัน วงศ์วรกุล     โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
            91. นายบุญฤทธิ์ เสรีศิริขจร         โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม
            92. นางสาวศศธมล วงศ์พานิช     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
            93. นายทยาวีร์ แก่นแก้ว             โรงเรียนกำเนิดวิทย์
            94. นางสาวอิงบุญ ธีรตะนันท์       มหาวิทยาลัยมหิดล
            95. นางสาวเอมขวัญ เตชะวิเชียร  โรงเรียนกำเนิดวิทย์

            ฝ่ายบริหารของโครงการ 

            ความคืบหน้า The white room ค่ายวิทย์สุดสนุกแก่เด็กพื้นที่ห่างไกล

            22 ธันวาคม 2017

            โครงการ: The white room ค่ายวิทย์สุดสนุกแก่เด็กพื้นที่ห่างไกล 

            เจ้าของโครงการ: โครงการ The White Room

            การดำเนินการ: จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนชั้น ป.4 - ป.6 โรงเรียนประสานสามัคคีวิทยา โดยเน้นบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุก เป็นกันเอง กระตุ้นให้นักเรียนกล้าถาม กล้าแสดงความคิดเห็น อธิบายหลักการวิทยาศาสตร์ด้วยคำพูดที่เข้าใจง่าย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์ และสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้แก้ไขปัญหาและตอบข้อสงสัยในชีวิตประจำวัน

            ขั้นตอนการดำเนินงาน : แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

            1. ระดมทุนจัดกิจกรรมให้ได้ตามเป้าหมาย
            2. ติดต่อประสานงานกับครูในโรงเรียนเป้าหมาย
            3. ออกแบบกิจกรรม และเตรียมอุปกรณ์/สื่อการสอน
            4. จัดกิจกรรมจริง

            ในเบื้องต้นทางโครงการได้ติดต่อคุณครูวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนไว้แล้ว และหากได้เงินทุนมาจะดำเนินการจัดกิจกรรมขึ้น ซึ่งทางโรงเรียนให้การตอบรับเป็นอย่างดี ส่วนการจัดกิจกรรม โครงการได้ออกแบบและเตรียมการไว้จำนวนหนึ่งแล้ว และเนื่องจากโครงการมีกิจกรรมที่ออกแบบไว้แล้วจำนวนมากอยู่ใน activity bank ทำให้สามารถเลือกบางกิจกรรมไปจัดค่ายได้ พร้อมสมาชิกกว่า 95 คน ที่สามารถเดินทางไปจัดกิจกรรมได้ทันทีหลังจากมีงบประมาณ และตกลงวันเวลากับทางโรงเรียนได้แน่นอน

            อย่างไรก็ตาม ทางโครงการยังไม่สามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมาย ทำให้ยังไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ ทางโครงการจึงอยู่ระหว่างการหาเงินทุนเพิ่มให้เพียงพอต่อการจัดกิจกรรม โดยคาดว่าจะจัดกิจกรรมได้ภายในกลางปี 2018 หากกิจกรรมสำเร็จลุล่วงแล้ว จะดำเนินการ update ให้ทางเทใจทราบ หรือท่านสามารถติดตามกิจกรรมของโครงการได้โดยตรงจากแฟนเพจ https://www.facebook.com/whiteroomcharity/

            ข้อความถึงผู้บริจาค

            ทางโครงการ The White Room ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่ร่วมสนับสนุน รวมทั้งเทใจดอทคอม ที่เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์โครงการ ทุกการสนับสนุนของท่าน มีความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนที่ยังขาดโอกาส ได้มีแรงบันดาลใจ มีความสนใจวิทยาศาสตร์ และยังเป็นกำลังใจให้กับทีมงานทุกคน ในการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อเด็กๆ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง 

            ทีมงาน The White Room

            ค่ายวิทยาศาสตร์ ที่รร.ประสานสามัคคีวิทยา

            11 เมษายน 2018

            ค่ายวิทยาศาสตร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ณ โรงเรียนประสานสามัคคีวิทยา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี มีเด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 67 คน 

            กิจกรรมที่จัดขึ้น 5 ฐาน ประกอบด้วย Science Warm Up , เกลียดจัง....แยกกันที , ใส่เสื้อให้ไข่ , ต้มน้ำบันเทิง และสงครามปาหมอน 

            ภาพประกอบ

            การเตรียมงานวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

            พิธีเปิดกิจกรรม





            กิจกรรม Science Warm Up



            กิจกรรม Science Rally - เกลียดจัง....แยกกันที

            กิจกรรม Science Rally - ใส่เสื้อให้ไข่




            กิจกรรม Science Rally - ต้มน้ำบันเทิง


            กิจกรรม Science Rally - สงครามปาหมอน



            พิธีปิด



            ความประทับใจจากเด็กนักเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

            เด็กๆ ส่วนใหญ่บอกว่า มีความสนุก ได้รับความรู้ พี่ๆ สอนในสิ่งที่ไม่เคยรู้และเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีการทดลองในฐานต่างๆ ทำให้เกิดความสามัคคี สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และมีของรางวัลแจก อนาคตอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้เกิดขึ้นอีก

            ความประทับใจจากคุณครู

            ทีมงาน The white room ได้เตรียมกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะฐานเกลียดจัง...แยกกันที เพราะเนื้อหาการทดลองของฐานมีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่ครูสอนทำให้เด็กนักเรียนได้ทบทวนความรู้ ความเข้าใจไปในตัว ในส่วนของฐานต้มน้ำบันเทิงนั้น ทีมงานมีคำอธิบายที่ชัดเจน ทำให้เด็กนักเรียนเข้าใจในสิ่งที่พี่ๆ ต้องการนำเสอนออกมาได้อย่างดี ซึ่งครูได้ทดสอบการอธิบายของฐานนี้โดยให้เด็กๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมมาพูดอธิบายให้ครูฟัง และเด็กๆ ก็สามารถอธิบายได้ชัดเจน เข้าใจง่ายและไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับฐานสงครามปาหมอน เด็กนักเรียนสนุกกันมาก เพราะเป็นฐานที่เด็กนักเรียนได้ออกแรงเล่นอะไรสนุกๆ คลายเครียดจากฐานอื่นๆ ฐานต่อมาคือใส่เสื้อให้ไข่ ซึ่งเป็นฐานที่ได้เปิดความคิด ทำให้เด็กๆ ได้คิด กระตุ้นความสนใจของนักเรียนว่าควรจะทำอย่างไรดี ทำให้เกิดการวางแผนและทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทางทีมงานควรปรับคือ พี่ๆ ที่รับหน้าที่เป็นพิธีกรควรพูดให้ช้าลงกว่านี้ และเป็นจังหวะ อาจเป็นพิธีกรครั้งแรกเลยกังวลจนพูดเร็วเกินไป คุณครูแนะนำให้พิธีกรสังเกตุสีหน้าเด็กๆ ว่าเข้าใจสิ่งที่เราสื่อออกมาหรือไม่ จากนั้นจึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยการยกตัวอย่างการกระทำ แสดงสิ่งที่เราบอกให้เด็กๆ ดู และควรนัดแนะกิจกรรมต่อไปให้เด็กๆ ว่ามีอะไร จะทำอะไรต่อไปแบบย้ำๆ เนื่องจากเด็กๆ ขี้ลืม

            จากกิจกรรมทั้งหมดคุณครูขอชื่นชมในการทำงานของพี่ๆ เนื่องด้วยเป็นครั้งแรกแต่ผลออกมาได้ดีมากๆ และน้องๆ ก็ชอบและสนุกไปกับกิจกรรมมที่จัดให้

            นางสาวญาณิศา กระจ่างเสน 
            อาจารย์โรงเรียนประสานสามัคคีวิทยา 

            แผนการใช้เงิน

            รายการราคารวม(บาท)
            1.ค่าใช้จ่ายสำหรับจัดกิจกรรม14,000
            2.ค่าอาหารสำหรับทีมงาน 20 คน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน23,400
            3.ค่าเดินทางและค่าที่พักสำหรับทีมงาน19,800
            4.ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด และรางวัล10,000
            5.ค่าธรรมเนียมการให้บริการ 10% ทางเทใจ6,720
            รวมเป็นเงิน73,920