project อื่นๆ

คืนครูให้โรงเรียนบ้านไกรเกรียง

ช่วยการหยุดปิดห้องเรียนสาขาไกรเกรียง ท้ายเขื่อนศรีสวัสดิ์ ด้วยการคืนครูให้เด็กในพื้นที่ห่างไกล

ระยะเวลาโครงการ 5 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ บ้านไกรเกรียง หมู่ 3 ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

ยอดบริจาคขณะนี้

82,894 บาท

เป้าหมาย

115,500 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 72%
จำนวนผู้บริจาค 85

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

คืนครูให้เด็กนักเรียนบ้านไกรเกรียง

6 กุมภาพันธ์ 2018

มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน ร่วมกับ สำนักส่งเสริมสังคมแห่งเรียนรู้ฯ (สสค.) และเว็บไซต์เทใจดอทคอม เปิดระดมทุนโครงการคืนครูให้โรงเรียรบ้านไกรเกรียง เพื่อนำเงินบริจาคไปใช้เพื่อสนับสนุนค่าครองชีพครูอาสา จำนวน 3 คน ในภาคเรียนที่ 2/2559 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงมีนาคม 2560 (5 เดือน) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ให้เด็กนักเรียนห้องเรียนสาขาบ้านไกรเกรียง โรงเรียนบ้านน้ำพุ ได้มีบุคลากรทางการศึกษาเข้าไปจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ที่โรงเรียนบ้านน้ำพุ สาขาบ้านไกรเกรียง จำนวน 3 คน ได้แก่  

1. นายชาคร วินากรณ์ (ครูอุ้ม)

2. นายพงศกร เรืองสา (ครูพงศ์)

3. น.ส.สุภาภรณ์ อำนวยพร (ครูไวน์)

สืบเนื่องจากครูอาสา 1 ใน 3 คน (ครูพงศ์) เคยทางานร่วมกับทางมูลนิธิฯ จึงได้นำกระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Problem base Learning (PBL) และจิตศึกษาไปปรับใช้ โดยครูอีก 2 คนได้เรียนรู้และพัฒนากระบวนการไปพร้อมกันด้วย

จากการที่มูลนิธิฯ ได้ติดตามลงพื้นที่เพื่อให้การสนับสนุนและช่วยเหลือการทำงานของครูอาสา พบว่าการจัดกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ PBL โดยครูอาสาได้บูรณาการสาระการเรียนเพื่อแก้ปัญหาไม่มีครูสอนครบทุกวิชา ส่วนการจัด “จิตศึกษา” เป็นกิจกรรมที่ทำทุกวัน เป็นกระบวนการในการบ่มเพาะปัญญาภายในให้ผู้เรียนสามารถรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง(รู้ตัว) รับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น มีความสามารถจัดการอารมณ์หรือปรับสมดุลทางอารมณ์ของตนเองได้ รวมทั้งการเห็นคุณค่าในตัวเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ รอบตัว

นอกจากนี้ครูอาสายังใช้จิตวิทยาเชิงบวก ลดการเปรียบเทียบ ลดการตีค่า การตัดสิน และการชี้โทษ ส่งเสริมเพิ่มพลังให้เด็กทุกคนพัฒนาตนเองตามศักยภาพของตนเองและครูอาสายังจัดกระบวนการเสริมศักยภาพให้สอดคล้องกับนักเรียนแต่ละคนได้เรียนรู้ร่วมกัน

หลังจากการดำเนินกระบวนการจิตศึกษาหนึ่งเดือน พบว่าเด็กทุกคนสงบได้ง่ายขึ้น จิตใจที่สงบก็จะนำมาซึ่งการรับฟังกันมากขึ้น เกิดการใคร่ครวญ สามารถรับรู้และเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ หรือสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งกิจกรรมจิตศึกษานี้ส่งผลโดยตรงทั้งครูและนักเรียนได้พัฒนาปัญญาภายในของตนเอง

นอกจากกิจวัตรประจำวันที่ครูอาสาจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนแล้ว ครูอาสายังมีการปฏิสัมพันธ์กับชุมชนได้เป็นอย่างดี ไปกิน ไปนอน ไปใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้าน ส่งผลให้ชาวชุมชนเข้ามาช่วยเหลืองานของโรงเรียนมากยิ่งขึ้น และมีการจัดประชุมผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง


ช่วงระยะเวลาที่ครูอาสาปฏิบัติงานก็ได้มีส่วนร่วมในการหาทางออกเกี่ยวกับประเด็นการยุบห้องเรียนบ้านไกรเกรียง ซึ่งทางเทศบาลตำบลเขาโจด โดยมีคุณสถาปนา ธรรมโมรา (ปลัดเทศบาล) เป็นกำลังสำคัญร่วมกับมูลนิธิฯ และชาวชุมชนบ้านไกรเกรียง ได้พยายามประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหลายแห่งเพื่อดำเนินการจดทะเบียนโรงเรียนบ้านไกรเกรียงขึ้นใหม่

ผลจากการดำเนินงานร่วมกันหลายฝ่าย ปัจจุบันทางออกของห้องเรียนสาขาบ้านไกรเกรียง ได้รับจัดตั้งเป็นโรงเรียนบ้านไกรเกรียงในสังกัดตำรวจตะเวนชายแดนเป็นผู้รับผิดชอบ โดยได้วางแผนงานจัดกำลังครู ตชด. เข้ามาจัดกระบวนการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2560 ดังนั้นบทบาทของครูอาสาจึงสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 และภายหลังจากทำการประเมินวัดผลผู้เรียนแล้วก็ได้นำส่งเอกสารต่างๆ มอบให้แก่โรงเรียนบ้านน้ำพุเป็นที่เรียบร้อย

ความประทับใจต่อผู้บริจาค

ในนามขององค์กรที่ร่วมกันจัดโครงการนี้ ขอขอบคุณต่อผู้บริจาคทุกท่านที่ได้ร่วมกันสนับสนุนโครงการ “คืนครูให้เด็กบ้านไกรเกรียง” ทำให้เด็ก ๆ นักเรียนเหล่านี้ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่กำลังเปลี่ยนผ่านหน่วยงานใหม่ที่จะมาดำเนินการจัดการศึกษาในชุมชน ระหว่างโรงเรียนบ้านน้ำพุ ในสังกัด สพฐ, เทศบาลตำบลเขาโจด และ โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

5 เดือนในบทบาทครูอาสาเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับคนหนุ่มสาว 3 คนที่เพิ่งจบการศึกษามาไม่นาน พวกเขาได้ใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า ใช้ประสบการณ์ของตนเองเพื่อผู้อื่น มอบความรักและความทุ่มเทให้แก่เด็กๆ ในหมู่บ้านท้ายเขื่อนที่ขาดแคลนทั้งน้ำกิน น้ำใช้ และไฟฟ้า

เงินบริจาคของท่านมิเพียงได้ช่วยให้เด็กๆ มีครูเท่านั้น แต่ยังเป็นประตูเปิดให้คนหนุ่มสาว 3 คนก้าวเดินออกไปเรียนรู้ในวิถีที่แตกต่างและยากลำบาก พวกเขาเติบโตขึ้น แกร่งขึ้นและเรียนรู้ที่จะแบ่งปันโอกาสเพื่อผู้อื่นเสมอๆ ระหว่างที่ครูอาสาทำงานก็ทำให้เกิดกระบวนการหาทางออกการยุบห้องเรียนสาขาบ้านไกรเกรียง และก็พบทางออกที่ทุกฝ่ายรวมทั้งครูอาสาด้วยได้ร่วมกันถางทางไปจนถึงปลายทาง

ทางมูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน ต้องขอขอบคุณจากใจจริงอีกครั้งที่ทุกท่านช่วยสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด
“ลูกคนโตของฉันต้องออกไปเรียนนอกหมู่บ้าน ไปอยู่โรงเรียนประจำ ปิดเทอมถึงจะได้เจอกัน เราก็เป็นห่วงสารพัดว่า เขาจะกิน นอน ซักเสื้อผ้าอย่างไร เพราะเขายังเล็กอายุเพียง 6 ขวบ ปีนี้ลูกคนเล็กของฉันก็ถึงเกณฑ์ต้องเข้าโรงเรียน ถ้ามีโรงเรียนที่หมู่บ้านฉันก็ไม่ต้องเสียลูกไป แต่วันนี้เขากำลังจะยุบโรงเรียน” เสียงสั่นเครือของคุณแม่ลูก 2 กล่าวในที่ประชุมหมู่บ้าน

มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนได้รับคำเชิญของคุณสถาปนา ธรรมโมรา ปลัดเทศบาลตำบลเขาโจด ซึ่งเคยทำงานด้านการศึกษาร่วมกันมายาวนานกว่า 10 ปี ให้ร่วมประชุมกับชาวไกรเกรียง ที่อาศัยอยู่ท้ายเขื่อนศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

พื้นที่แห่งนี้ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ เส้นทางสัญจรเข้าออกหมู่บ้านยากลำบากเป็นถนนดินลูกรังลัดเลาะไปตามภูเขาสูงชันในผืนป่าที่มีแนวเขตติดต่อกับ 2 อุทยาน 1 เขตรักษาพันธุ์ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเส้นทางจากสำนักงานเทศบาลตำบลเขาโจดถึงหมู่บ้านไกรเกรียง มีระยะทางประมาณ 70 ก.ม. ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง

เราทราบจากที่ประชุมว่า “โรงเรียนท้ายเขื่อนแห่งนี้จะถูกยุบไปรวมกับโรงเรียนในอำเภอที่ชื่อ บ้านน้ำพุ หมู่ 2 ต.เขาโจด เป็นโรงเรียนแม่ ระยะทางห่างกันรวม 31 ก.ม”.

ภาพการร่ำไห้ของพ่อกับแม่เมื่อพูดถึงการศึกษาที่พรากลูกไปจากอกจึงมีให้เห็นอยู่เนืองๆสถาบันครอบครัวและชุมชนในพื้นที่ห่างไกลกำลังถูกสั่นคลอนด้วยการศึกษา เด็กเล็กออกไปเรียนหนังสือนอกหมู่บ้านตั้งแต่วัยอนุบาล ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวและชุมชน

ทางเทศบาลเขาโจดจึงตั้งใจทำให้โรงเรียนยังอยู่ต่อด้วยการพยายามหางบประมาณดำเนินการเองในระยะยาว

อย่างไรก็ตามในระยะสั้นนี้เทศบาลได้รวมกับมูลนิธิส่งครูอาสา 2 คนไปสองที่ห้องเรียนแห่งนี้ทำให้มีเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 – ป.5 รวม 35 คน และในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษานี้ มูลนิธิได้จัดทำแผนจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนโดยจะส่งครูอาสา 3 คน เข้าไปจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ช่วงชั้น ได้แก่

  • ช่วงชั้นที่ 1 ระดับอนุบาล1-2
  • ช่วงชั้นที่ 2 ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3
  • ช่วงชั้นที่ 3 ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-5

ช่วงระหว่างช่องว่างการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนของเทศบาลตำบลเขาโจดยังไม่เรียบร้อย ส่งผลให้ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนค่าครองชีพให้กับครูอาสา (บุคลากรด้านการศึกษา) ดังนั้นมูลนิธิและเทศบาลตำบลเขาโจด จึงใคร่ขอเชิญชวนทุกภาคส่วนในสังคมร่วมกันช่วยเหลือสนับสนุนค่าครองชีพสำหรับครูอาสา เพื่อเป็นค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพื่อให้ครูอาสาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามสภาพ และสามารถจัดการเรียนการสอนให้แก่ลูกหลานชาวไกรเกรียงให้ได้เรียนหนังสืออย่างต่อเนื่อง

  1. มูลนิธิจัดประชุมวางแผนงานการจัดการศึกษาภาคเรียนที่ 2 ร่วมกับชาวชุมชนบ้านไกรเกรียง ครูอาสาและเทศบาลตำบลเขาโจด
  2. มูลนิธิและครูอาสาจัดทำแผนการเรียนการสอนแบบองค์รวม ในภาคเรียนที่ 2
  3. ประชุมชาวบ้าน และแนะนำครูอาสา
  4. ส่งครูเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่
  5. ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของครูในพื้นที่
  6. สรุปและถอดบทเรียนการพัฒนาการเรียนการสอนในพื้นที่ ที่ผ่านมา

เราสามารถที่จะร่วมกันสร้างรอยยิ้ม คืนครูให้เด็ก ๆ เหล่านี้ได้

ประโยชน์ของโครงการ

  1. นักเรียนมีครูผู้มีใจรักในการสอน มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ปรับตัวให้เข้ากับชุมชน มาช่วยพัฒนานักเรียนอย่างแท้จริง และนักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาการเรียนรู้ตามวัย
  2. นักเรียนได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวและชุมชน ก่อให้เกิดความผูกพันในครอบครัวและมีสำนึกรักชุมชน ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางทิศทางพัฒนาลูกหลานของตน
  3. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบองค์รวม บูรณาการสาระวิชาให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน โดยครูอาสาที่มีประสบการณ์ในการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ PBL (Problem Base Learning) โดยสร้างการมีส่วนร่วมกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนให้แก่เด็ก ๆ สร้างสภาวะที่ไร้แรงกดดันและใช้จิตวิทยาเชิงบวกในกระบวนการจัดการเรียนรู้
  4. ผู้ปกครองนักเรียน ชาวชุมชนบ้านไกรเกรียงและชุมชนใกล้เคียงมีความเชื่อมั่นต่อระบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่

สมาชิกโครงการ

  1. นายสถาปนา ธรรมโมรา : ปลัดเทศบาลตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
  2. นายวิทิต เติมผลบุญ : เลขานุการ และกรรมการมูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน
  3. นางสาวรวงทอง จันดา : เหรัญญิก และกรรมการมูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน
  4. นายปิยะ ไวยานิกรณ์ : เจ้าหน้าที่มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน
  5. นางสาวพิมพ์ชนก จอมมงคล : เจ้าหน้าที่มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน
  6. นายชาคร วินากรณ์ (ครูอุ้ม) : ครูอาสาบ้านไกรเกรียง สอนระดับชั้น อ.1-2
  7. นางสาวสุภาภรณ์ อำนวยพร (ครูไวน์) : ครูอาสาบ้านไกรเกรียง สอนระดับชั้น ป.1-3
  8. นายพงศกร เรืองสา (ครูพงษ์) : ครูอาสาบ้านไกรเกรียง สอนระดับชั้น ป.4-5 

หน่วยงานภาคี

  1. เทศบาลตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี : โทรศัพท์ 034-675526
  2. มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน
    Fecebook:  มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน 
    http://www.cyfthai.org
    E-mail : info@cyfathai.org
    ที่ตั้ง 161 ซอยประเสริฐมนูกิจ 14 แยก 19 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10230
    โทร (02) 105 4595 ต่อ 104 หรือ 202 , (085) 043 7878 , (098) 668 8099 โทรสาร (02) 105 4596
  3. องค์กรชุมชนบ้านไกรเกรียง
  4. วัดบ้านไกรเกรียง 

น้ำใจจากเจ้าของโครงการ

  • บริจาค 1,500 บาทขึ้นไป : เสื้อยืดสัญลักษณ์มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน จำนวน 1 ตัว
  • บริจาค 700 บาท ขึ้นไป : สมุดทำมือ หน้าปกมูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน
  • บริจาค 300 บาท ขึ้นไป : กระดาษโน้ต ลายมูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน

คืนครูให้เด็กนักเรียนบ้านไกรเกรียง

6 กุมภาพันธ์ 2018

มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน ร่วมกับ สำนักส่งเสริมสังคมแห่งเรียนรู้ฯ (สสค.) และเว็บไซต์เทใจดอทคอม เปิดระดมทุนโครงการคืนครูให้โรงเรียรบ้านไกรเกรียง เพื่อนำเงินบริจาคไปใช้เพื่อสนับสนุนค่าครองชีพครูอาสา จำนวน 3 คน ในภาคเรียนที่ 2/2559 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงมีนาคม 2560 (5 เดือน) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ให้เด็กนักเรียนห้องเรียนสาขาบ้านไกรเกรียง โรงเรียนบ้านน้ำพุ ได้มีบุคลากรทางการศึกษาเข้าไปจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ที่โรงเรียนบ้านน้ำพุ สาขาบ้านไกรเกรียง จำนวน 3 คน ได้แก่  

1. นายชาคร วินากรณ์ (ครูอุ้ม)

2. นายพงศกร เรืองสา (ครูพงศ์)

3. น.ส.สุภาภรณ์ อำนวยพร (ครูไวน์)

สืบเนื่องจากครูอาสา 1 ใน 3 คน (ครูพงศ์) เคยทางานร่วมกับทางมูลนิธิฯ จึงได้นำกระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Problem base Learning (PBL) และจิตศึกษาไปปรับใช้ โดยครูอีก 2 คนได้เรียนรู้และพัฒนากระบวนการไปพร้อมกันด้วย

จากการที่มูลนิธิฯ ได้ติดตามลงพื้นที่เพื่อให้การสนับสนุนและช่วยเหลือการทำงานของครูอาสา พบว่าการจัดกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ PBL โดยครูอาสาได้บูรณาการสาระการเรียนเพื่อแก้ปัญหาไม่มีครูสอนครบทุกวิชา ส่วนการจัด “จิตศึกษา” เป็นกิจกรรมที่ทำทุกวัน เป็นกระบวนการในการบ่มเพาะปัญญาภายในให้ผู้เรียนสามารถรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง(รู้ตัว) รับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น มีความสามารถจัดการอารมณ์หรือปรับสมดุลทางอารมณ์ของตนเองได้ รวมทั้งการเห็นคุณค่าในตัวเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ รอบตัว

นอกจากนี้ครูอาสายังใช้จิตวิทยาเชิงบวก ลดการเปรียบเทียบ ลดการตีค่า การตัดสิน และการชี้โทษ ส่งเสริมเพิ่มพลังให้เด็กทุกคนพัฒนาตนเองตามศักยภาพของตนเองและครูอาสายังจัดกระบวนการเสริมศักยภาพให้สอดคล้องกับนักเรียนแต่ละคนได้เรียนรู้ร่วมกัน

หลังจากการดำเนินกระบวนการจิตศึกษาหนึ่งเดือน พบว่าเด็กทุกคนสงบได้ง่ายขึ้น จิตใจที่สงบก็จะนำมาซึ่งการรับฟังกันมากขึ้น เกิดการใคร่ครวญ สามารถรับรู้และเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ หรือสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งกิจกรรมจิตศึกษานี้ส่งผลโดยตรงทั้งครูและนักเรียนได้พัฒนาปัญญาภายในของตนเอง

นอกจากกิจวัตรประจำวันที่ครูอาสาจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียนแล้ว ครูอาสายังมีการปฏิสัมพันธ์กับชุมชนได้เป็นอย่างดี ไปกิน ไปนอน ไปใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้าน ส่งผลให้ชาวชุมชนเข้ามาช่วยเหลืองานของโรงเรียนมากยิ่งขึ้น และมีการจัดประชุมผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง


ช่วงระยะเวลาที่ครูอาสาปฏิบัติงานก็ได้มีส่วนร่วมในการหาทางออกเกี่ยวกับประเด็นการยุบห้องเรียนบ้านไกรเกรียง ซึ่งทางเทศบาลตำบลเขาโจด โดยมีคุณสถาปนา ธรรมโมรา (ปลัดเทศบาล) เป็นกำลังสำคัญร่วมกับมูลนิธิฯ และชาวชุมชนบ้านไกรเกรียง ได้พยายามประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหลายแห่งเพื่อดำเนินการจดทะเบียนโรงเรียนบ้านไกรเกรียงขึ้นใหม่

ผลจากการดำเนินงานร่วมกันหลายฝ่าย ปัจจุบันทางออกของห้องเรียนสาขาบ้านไกรเกรียง ได้รับจัดตั้งเป็นโรงเรียนบ้านไกรเกรียงในสังกัดตำรวจตะเวนชายแดนเป็นผู้รับผิดชอบ โดยได้วางแผนงานจัดกำลังครู ตชด. เข้ามาจัดกระบวนการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2560 ดังนั้นบทบาทของครูอาสาจึงสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 และภายหลังจากทำการประเมินวัดผลผู้เรียนแล้วก็ได้นำส่งเอกสารต่างๆ มอบให้แก่โรงเรียนบ้านน้ำพุเป็นที่เรียบร้อย

ความประทับใจต่อผู้บริจาค

ในนามขององค์กรที่ร่วมกันจัดโครงการนี้ ขอขอบคุณต่อผู้บริจาคทุกท่านที่ได้ร่วมกันสนับสนุนโครงการ “คืนครูให้เด็กบ้านไกรเกรียง” ทำให้เด็ก ๆ นักเรียนเหล่านี้ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่กำลังเปลี่ยนผ่านหน่วยงานใหม่ที่จะมาดำเนินการจัดการศึกษาในชุมชน ระหว่างโรงเรียนบ้านน้ำพุ ในสังกัด สพฐ, เทศบาลตำบลเขาโจด และ โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

5 เดือนในบทบาทครูอาสาเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับคนหนุ่มสาว 3 คนที่เพิ่งจบการศึกษามาไม่นาน พวกเขาได้ใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า ใช้ประสบการณ์ของตนเองเพื่อผู้อื่น มอบความรักและความทุ่มเทให้แก่เด็กๆ ในหมู่บ้านท้ายเขื่อนที่ขาดแคลนทั้งน้ำกิน น้ำใช้ และไฟฟ้า

เงินบริจาคของท่านมิเพียงได้ช่วยให้เด็กๆ มีครูเท่านั้น แต่ยังเป็นประตูเปิดให้คนหนุ่มสาว 3 คนก้าวเดินออกไปเรียนรู้ในวิถีที่แตกต่างและยากลำบาก พวกเขาเติบโตขึ้น แกร่งขึ้นและเรียนรู้ที่จะแบ่งปันโอกาสเพื่อผู้อื่นเสมอๆ ระหว่างที่ครูอาสาทำงานก็ทำให้เกิดกระบวนการหาทางออกการยุบห้องเรียนสาขาบ้านไกรเกรียง และก็พบทางออกที่ทุกฝ่ายรวมทั้งครูอาสาด้วยได้ร่วมกันถางทางไปจนถึงปลายทาง

ทางมูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน ต้องขอขอบคุณจากใจจริงอีกครั้งที่ทุกท่านช่วยสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล

แผนการใช้เงิน


รายละเอียดจำนวนเงิน(บาท)
ค่าครองชีพครูอาสาประจำเดือน จำนวน 3 คน เดือนละ 10,000 บาท ระยะเวลา 5 เดือน 150,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบ้าน)

หมายเหตุ : งบประมาณจำนวน 150,000 บาทนี้ เทศบาลตำบลเขาโจดได้สมทบค่าครองชีพครูอาสา 9,000 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 45,000 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)  

มูลนิธิต้องการการสนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 105,000 บาท (หนึ่งแสนห้าพันบาท)

*** ค่าธรรมเนียม 10 เปอร์เซ็นต์ 115,500