project อื่นๆ

กิจกรรมวันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ

ร่วมสนับสนุนกิจกรรมรณรงค์วันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ (TDOV) จัดพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เพื่อร่วมเรียนรู้และส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ #TDOV2019Thailand

ระยะเวลาโครงการ 1 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ กรุงเทพ

ยอดบริจาคขณะนี้

650 บาท

เป้าหมาย

50,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 1%
จำนวนผู้บริจาค 1

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ขอบคุณการสนับสนุนกิจกรรมวันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ

11 เมษายน 2019

ตามที่ทุกท่านให้การสนับสนุนจัดกิจกรรมวันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ (International Transgender Day of Visibility: #TDOV2019Thailand) จัดขึ้นวันที่ 31 มีนาคม 2562 สถานที่ มณเฑียรมอลล์ อาคารลายไทย โรงแรม มณเฑียร สุรวงศ์ กิจกรรมได้เสร็จสิ้นลงอย่างน่าประทับใจ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน ทำให้เกิดการตระหนักถึงคนข้ามเพศอย่างเหมาะสมผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายในงานและทำให้เกิดการรับรู้ประเด็นทางสังคม เช่น การจ้างงานเท่าเทียม กระตุ้นการรับรองเพศ และภาคีเพื่อร่วมขับเคลื่อนสังคมเท่าเทียม 

ภาพประกอบ

ภาพการแสดงผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์


ทีมงานขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

  • สื่อหลัก - เผยแพร่ข่าวสาร: รายการไทยบันเทิง ThaiPBS
  • สื่อทางเลือก - เผยแพร่ข่าวสาร : เพจสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, เพจ Miss Queen Rainbow Sky, มูลนิธิสวิง, บีวิซิเบิลเอเชีย, PRISM แมกกาซีนออนไลน์, เพจ “ต่างก็ดี” ฯลฯ
  • ภาครัฐ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่งตัวแทนร่วมกล่าวเปิดงาน แสดงจุดยืน เกี่ยวกับ พรบ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ และสนใจร่วมมือทำงานเพื่อชุมชนคนข้ามเพศ และประเด็นความหลากหลายทางเพศ 
  • องค์กรพัฒนาเอกชน - เข้าร่วมจัด และร่วมกิจกรรม : สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, มูลนิธิสวิง, องค์กรพิ้งค์มังกี้ ลพบุรี, บีวิซิเบิลเอเชีย, เทใจดอทคอม, ทรานส์สไปเรชั่น พาวเวอร์ ฯลฯ
  • ภาคธุรกิจ - ร่วมสนับสนุน และร่วมกิจกรรม : Hardcover Book และ Gender Station, Swensen’s ไอศกรีม และ Pherone อาหารเสริม  

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของโครงการได้ที่ https://www.facebook.com/tdovthailand


ขอบคุณภาพ : Shane Suvikapakornkul และ Vittavat Kornmaneeroj

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

รายงานเฉพาะเจาะจงประเด็นคนข้ามเพศในเอเชีย แปซิฟิก ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (Lost in Transition, UNDP, 2012) ระบุว่ามีประชากรคนข้ามเพศประมาณ 9 - 9.5 ล้านคน

ทว่าประเทศไทยยังไม่มีการสำรวจจำนวนประชากรคนข้ามเพศอย่างเป็นระบบ มีเพียงข้อมูลเริ่มต้นจากบางแหล่งเช่น การเกณฑ์ทหารปี 2561 มีหญิงข้ามเพศต้องเข้าร่วมเกณฑ์ทหารตามกฎหมายกำหนดเป็นจำนวนประมาณ 1% ของชายที่มาเกณฑ์ทหารทั้งหมด 520,672 คน


อย่างไรก็ตามยังมีชายข้ามเพศ (ถูกกำหนดเพศกำเนิดเป็นหญิง) และ คนข้ามเพศในช่วงวัยต่างๆ อีก ซึ่งจากการเสนอภาพผ่านสื่อเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปในระดับนานาชาติว่าประเทศไทยเป็นชุมชนขนาดใหญ่อันดับต้น ที่มีการรวมกลุ่มของคนข้ามเพศ

ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนข้ามเพศที่มีตัวตนเห็นเด่นชัด ทว่าคนทั่วไปในสังคมไทยยังไม่เข้าใจคนกลุ่มนี้เท่าที่ควรเพราะติดภาพตายตัวว่ามีภาพลักษณ์ร่วมกันพื้นฐานเกี่ยวกับความตลก คนข้ามเพศในประเทศไทยยังต้องทำงานรณรงค์ต่อเนื่องในเรื่องความเท่าเทียมในโอกาสการจ้างงาน, ความเป็นมืออาชีพในสาขาวิชาชีพต่างๆ, เด็กและเยาวชนข้ามเพศต้องไม่ถูกรังแกในโรงเรียน และเป็นที่น่าสนใจว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งใหญ่อันดับต้นของโลกที่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับการผ่าตัดยืนยันตัวตนทางเพศและการแปลงเพศ แต่ประเทศไทยไม่มีกฎหมายรับรองสถานะบุคคลให้คนข้ามเพศแม้จะผ่านการแปลงเพศไปแล้ว ซึ่งสร้างปัญหาอุปสรรค และความไม่เท่าเทียมในการดำเนินชีวิตให้กับคนกลุ่มนี้อย่างมาก ทั้งในเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงิน, การติดต่อราชการ, การเดินทางต่างประเทศ, หรือแม้แต่การสมัครงานดังที่กล่าวไปข้างต้น


กิจกรรมที่จะนำสู่การทำความเข้าใจสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในสังคมจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารเรื่องความหลากหลายและเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งกิจกรรมวันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ (Trans Day of Visibility #TDOV2019Thailand) จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในประเทศไทย วันที่ 31 มีนาคม พร้อมกับเครือข่ายการทำงานเรื่องคนข้ามเพศทั่วโลก โดยเสมือนว่าเป็นประเพณีแล้วที่จะรวมตัวศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักแสดง รวมทั้งเพื่อนๆ มาร่วมชม ร่วมฟัง ร่วมพูดคุย เพื่อเฉลิมฉลองการมีตัวตนและไฮไลท์งานที่ผ่านมาที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนให้สังคมตระหนักถึงคนข้ามเพศในทิศทางที่เหมาะสม

#TDOV2019Thailand วางแผนจัดขึ้นโดย “บีวิซิเบิลเอเชีย” (Be Visible Asia) องค์กรไม่แสวงผลกำไร ด้านความหลากหลายทางเพศ ร่วมกับ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย; องค์กรแรกที่จดทะเบียนในประเทศไทยเพื่อทำงานด้านความหลากหลายทางเพศ และ องค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ อีกมากในเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ คณะทำงานได้ผ่านการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมและสิทธิทางเพศมาแล้วมากมาย เช่น วันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ คนรักสองเพศ (IDAHOT Thaiand, 17 May) ซึ่งตามที่กล่าวไป TDOV ถูกจัดโดยกลุ่มคนเหล่านี้มาแล้วถึง 2 ปีต่อเนื่องกัน โดยปีนี้จะจัดขึ้นที่ มณเฑียรมอลล์ อาคารลายไทย ชั้น 2, สุรวงศ์ กรุงเทพฯ


กิจกรรมในงานประกอบด้วย

  • 15.00 :  ลงทะเบียน และชมการออกบูธจากองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคี
  • 16.30 :  Pre-session เสวนาเธอคือตำนานและความสำเร็จ  คุณบอยไม่ดื่ม (TBC) และ คุณประภากมล หุ่นใย รองอันดับ 1 มีสอัลคาซ่าร์ 2001
  • 18.00  : พิธีเปิด คุณเปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา,คุณกิตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย และตัวแทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (TBC) 
  • 18.30 :  ฟังเพลงสไตล์แจ๊สกับ จอนนิเฟอร์ The Voice 
  • 19.00 : ชิน ภัธราปกรณ์ ชินอักษร หนุ่มเสียงเข้มจาก I can see your voice กับเพลงฟังสบายๆ
  • 19.45 : เดินชมศิลปะสะท้อนวิถีชีวิตคนข้ามเพศ โดย สุดาภรณ์ เตจา 
  • 20.00 : คุยเรื่องหนังสือแปล เกี่ยวกับคนข้ามเพศ และแนวโน้มการนำเสนอหนังสือเก่าเรื่องเพศ กับ คุณเชน สุวิกะปกรณ์กุล เจ้าของ Hardcover book 
  • 20.30  : ซีโมน เรปเปอร์สาว จากรายการ The Voice 
  • 21.00 : เจมมี่ กับการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 

หมายเหตุ : สำหรับการสนับสนุน

  • 10,000 บาท = ท่านจะได้ระบุชื่อ/ชื่อกิจการในฐานะผู้ร่วมจัด
  • 5,000 บาท   = ระบุชื่อ/ชื่อกิจการ ในฐานะผู้สนับสนุนงานรณรงค์ 
  • 3,000 บาท   = ระบุชื่อ/ชื่อกิจการ ในฐานะผู้สนับสนุนกิจกรรมย่อย
  • 650 บาท      = ได้เสื้อ T-Shirt : Be Visible Asia  

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ระดมทุน งบประมาณ แสวงหาทรัพยากร การสนับสนุน
  2. ประสานงานกับภาคีเครือข่ายให้เกิดความร่วมมือ พร้อมจัดตั้งคณะทำงาน 
  3. ระบุประเด็นหลักหรือธีมการรณรงค์ประจำปี
  4. ประสานงานหาสถานที่จัดงาน ศิลปินนักแสดง และอุปกรณ์ เครื่องเสียง การจัดแต่งสถานที่
  5. สื่อสารต่อเนื่องบนพื้นที่ออนไลน์
  6. สรุปและประเมินผล

สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่ https://www.facebook.com/tdovthailand

ประโยชน์ของโครงการ

  1. การสื่อสารและนำเสนอภาพลักษณ์คนข้ามเพศในทิศทางที่เหมาะสม นำโดยชุมชนคนข้ามเพศเอง
  2. เกิดกิจกรรมการรวมกลุ่มคนข้ามเพศ และภาคี ซึ่งเป็นประเพณีจัดขึ้นทุกปี พร้อมกันทั่วโลก
  3. การสนับสนุนให้ศิลปินข้ามเพศได้แสดงผลงานสร้างสรรค์ต่อกลุ่ม ชุมชน และสังคมวงกว้าง
  4. เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ในการนำเสนอและร่วมเรียนรู้ประเด็นความสำเร็จในการทำงานขับเคลื่อนทางสังคมในประเด็นคนข้ามเพศ และร่วมระบุก้าวต่อไป


สมาชิกภายในทีม

  • เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา
  • สราวุธ อิสลาม
  • ปุญชรัสมิ์ ตาเลิศ

ภาคี

  • สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย https://www.rsat.info/
  • Asia Pacific Coalition on Male Sexual Health (APCOM)
  • เครือข่ายสุขภาพและโอกาส พัทยา ชลบุรี https://www.facebook.com/hon.house
  • เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ
  • เครือข่ายการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน

ขอบคุณการสนับสนุนกิจกรรมวันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ

11 เมษายน 2019

ตามที่ทุกท่านให้การสนับสนุนจัดกิจกรรมวันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ (International Transgender Day of Visibility: #TDOV2019Thailand) จัดขึ้นวันที่ 31 มีนาคม 2562 สถานที่ มณเฑียรมอลล์ อาคารลายไทย โรงแรม มณเฑียร สุรวงศ์ กิจกรรมได้เสร็จสิ้นลงอย่างน่าประทับใจ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน ทำให้เกิดการตระหนักถึงคนข้ามเพศอย่างเหมาะสมผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายในงานและทำให้เกิดการรับรู้ประเด็นทางสังคม เช่น การจ้างงานเท่าเทียม กระตุ้นการรับรองเพศ และภาคีเพื่อร่วมขับเคลื่อนสังคมเท่าเทียม 

ภาพประกอบ

ภาพการแสดงผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์


ทีมงานขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

  • สื่อหลัก - เผยแพร่ข่าวสาร: รายการไทยบันเทิง ThaiPBS
  • สื่อทางเลือก - เผยแพร่ข่าวสาร : เพจสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, เพจ Miss Queen Rainbow Sky, มูลนิธิสวิง, บีวิซิเบิลเอเชีย, PRISM แมกกาซีนออนไลน์, เพจ “ต่างก็ดี” ฯลฯ
  • ภาครัฐ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่งตัวแทนร่วมกล่าวเปิดงาน แสดงจุดยืน เกี่ยวกับ พรบ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ และสนใจร่วมมือทำงานเพื่อชุมชนคนข้ามเพศ และประเด็นความหลากหลายทางเพศ 
  • องค์กรพัฒนาเอกชน - เข้าร่วมจัด และร่วมกิจกรรม : สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, มูลนิธิสวิง, องค์กรพิ้งค์มังกี้ ลพบุรี, บีวิซิเบิลเอเชีย, เทใจดอทคอม, ทรานส์สไปเรชั่น พาวเวอร์ ฯลฯ
  • ภาคธุรกิจ - ร่วมสนับสนุน และร่วมกิจกรรม : Hardcover Book และ Gender Station, Swensen’s ไอศกรีม และ Pherone อาหารเสริม  

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของโครงการได้ที่ https://www.facebook.com/tdovthailand


ขอบคุณภาพ : Shane Suvikapakornkul และ Vittavat Kornmaneeroj

แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนจำนวน (บาท)
ค่าจ้างเหมาประสานงานภาคีความร่วมมือ (รวมสื่อสารภาษาอังกฤษกับองค์กรระหว่างประเทศ)1 คน10,000
ค่าเช่าพื้นที่จัดงาน1 แห่ง 10,000
ค่าเช่าอุปกรณ์เครื่องเสียง/อุปกรณ์ไฟ 

1 ชุด

12,000
ค่าจัดกิจกรรมย่อยในวันรณรงค์ 4 กิจกรรม และค่าพาหนะสนับสนุนภาคีร่วมออกบูธ 3 บูธ1 วัน13,000
ค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจ 1 หน่วย 5,000
รวม
50,000