project สิ่งแวดล้อม

นักกู้ขยะข้างถนน Street's Hero

เปลี่ยนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะให้เป็นฮีโร่กู้ขยะ ด้วยรถเก็บขยะที่ออกแบบพิเศษสำหรับคนเร่รอน เพื่อให้เขามีรายได้ และมีส่วนช่วยสิ่งแวดล้อมด้วยการเก็บขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

ระยะเวลาโครงการ 4 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ กรุงเทพ

ยอดบริจาคขณะนี้

65,000 บาท

เป้าหมาย

65,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 55

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

2 วีรบุรษข้างถนน ได้รับซาเล้งเก็บขยะ ต้นแบบเริ่มชีวิตใหม่

24 ตุลาคม 2019

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 มูลนิธิอิสรชน ร่วมกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และเครือข่ายจากภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดงานแถลงข่าวในวัน World Homeless Day และดำเนินการมอบซาเล้งให้แก่ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะทั้ง 2 คน เป็นต้นแบบนำร่องดำเนินการกู้ขยะ และสร้างเงินออมให้ชีวิตคนเร่ร่อนได้มีเป้าหมาย และมีต้นทุนเพื่อเริ่มสิ่งใหม่ๆ ในชีวิต และพร้อมส่งต่อรถซาเล้งให้กับวีรบุรุษข้างถนนคนต่อไปได้ 

ขั้นตอนการทำงาน

  1. ลงพื้นที่รับสมัครผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ นำร่องที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการ วีรบุรุษข้างถนน เพื่อรับซาเล้งในการออกเก็บขยะ สร้างอาชีพ
  2. นักศึกษาที่ร่วมเป็นเครือข่ายในการออกแบบ รถซาเล้ง และผลิตรถซาเล้งมอบให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
  3. พิธีมอบซาเล้งและเริ่มดำเนินโครงการ วีรบุรุษข้างถนน โดยการลงทะเบียนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่จะเข้าร่วมโครงการ
  4. เปิดการออม ทุกปลายสัปดาห์ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่ได้รับมอบซาเล้ง นำเงินจากที่เก็บขยะสร้างรายได้ครึ่งหนึ่งมาออม เพื่อสะสมเป็นทุนในการเริ่มต้นชีวิตใหม่

มูลนิธิอิสรชน ร่วมกับเด็กนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมออกแบบซาเล้ง รถกู้ขยะ สำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ให้มีรายได้จากการเก็บ แยก ขายขยะ เพื่อให้มีทุนสะสมในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ กลุ่มนักศึกษาได้ออกแบบรถซาเล้งเก็บขยะ มีจุดประสงค์เพื่อรองรับน้ำหนักได้จริง แต่ไม่มีโครงหลังคา เนื่องจากความต้องการและความสะดวกในการดำเนินชีวิตเพราะถ้ามีโครงหลังคาจะถูกจัดระเบียบในเรื่องพื้นที่สาธารณะ อาจเสี่ยงต่อการให้ถูกทางเทศกิจกวาดจับได้ในเรื่องจอดในที่สาธารณะ ดังนั้นกลุ่มนักศึกษาจึงออกแบบมาในรูปแบบที่เน้นการรองรับน้ำหนักได้ปริมาณมาก และเพิ่มส่วนไม้ปูนอนพักหลังจากการเก็บขยะได้

ทีมงานช่วยขนซาเล้งมอบให้กับวีรบุรุษ

บรรยากาศภายในงาน

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่ได้รับซาเล้ง


ประวัติพี่กลอฟ (คนเสื้อแดง) ชายจากพิจิตร ด้วยสภาพครอบครัวที่ล้มเหลว ตัวเองเลยออกมาเป็นคนเร่ร่อนมานานกว่า 10 ปี โดยการเก็บของเก่าขาย เพื่อเลี้ยงตัวเองไปวันๆ แต่พี่กลอฟเป็นคนขยัน เก็บตั้งแต่เที่ยงคืนยันเที่ยงวัน บางวันได้ถึง 400-500 บาท ทางมูลนิธิฯ เห็นถึงความสม่ำเสมอของเขาในการทำอาชีพนี้ แต่ด้วยเขาไม่มีเป้าหมายชีวิต เขาหมดเงินไปกับสุรา เลี้ยงเพื่อน แต่ปัจจุบันเขามีหลาน และไม่อยากเป็นภาระลูก ทางมูลนิธิฯ จึงสร้างเป้าหมายให้เขาด้วยรถซาเล้งเก็บขยะ ทำให้พี่กลอฟดีใจมาก เพราะเขาอยากได้มานาน และตั้งเป้าให้เขาสามารถเก็บเงินให้กับหลานๆ ได้

พี่วัตร (คนเสื้อเขียว) ชายหนุ่มจากโคราชที่มาอยู่สนามหลวงมานานเกือบ 20 ปี มีความหลังที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น "ปอป" ตามชุมชนชนบท เขาจึงเริ่มต้นชีวิตด้วยการเก็บขยะขาย ไปวันๆ และไม่คิดจะกลับบ้าน เพราะไม่เหลือใครแล้ว ชีวิตครอบครัวเขาพังทลาย จึงออกมากวาดถนนกับกวาดลานวัด และเดินแบกถุงเก็บขยะ เพื่อหากินไปวันๆ แต่ด้วยเขามีความตั้งใจและเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันคนเร่ร่อนคนอื่นๆ ทั้งการเป็นอาสาคนเร่ร่อนในพื้นที่ คอยช่วยเหลือเพื่อนที่เจ็บป่วยด้วยกัน ทางมูลนิธิฯ จึงมอบรถเข็นให้เขาได้ทำมาหากินอย่างเป็นระเบียบและสะดวกมากยิ่งขึ้น และยังสามารถส่งต่อรถซาเล้งคันใหม่เพื่อนักกู้ขยะคนต่อไป

ความประทับใจต่อผู้บริจาค

"ทางมูลนิธิอิสรชน ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทุกท่านที่เห็นถึงกิจกรรมที่ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาอาชีพคนไร้ที่พึ่ง ให้มีรูปแบบที่มั่นคงมากขึ้น พี่ๆ คนเร่ร่อนที่ได้รถต่างภูมิใจและได้เริ่มต้นใช้ชีวิตในการเก็บขยะเพื่อออมเงินส่งต่อให้คนรุ่นอื่นๆ ได้ มูลนิธิฯขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแบ่งปันเพื่อสร้างโอกาสการเริ่มชีวิตใหม่ให้คนไร้ที่พึ่งในครั้งนี้"

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ขยะกำลังจะล้นโลก!!!

ประเทศไทยมีขยะในทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยปล่อยขยะลงสู่ท้องทะเลถึงกว่า 1 ล้านตันต่อปี  

เราจึงพบเจอเสมอว่า มีเต่า และปลาในท้องทะเลตายจากการกลืนขยะพลาสติก 

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราทุกคนต้องมาเป็นฮีโร่กู้ขยะ พร้อมกับไม่สร้างขยะให้โลกใบนี้

มูลนิธิอิสรชน เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ (homeless) มากกว่า 10 ปี โดยมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะให้ดีขึ้น ตั้งแต่สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิในการเป็นพลเมือง การเยียวยาจิตใจ

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะบางคนไม่มีบัตรประชาชน ไม่มีเอกสารใด ไม่มีอาชีพที่ตายตัว  บางคนเปิดแผงนวด บางคนเดินเก็บขยะใส่ถุงนำไปขายเพื่อแลกของกินของใช้จำเป็น โดยคนเหล่านี้ใช้ทางเดินเท้า หรือซอกหลีบตามมุมตึกเป็นที่กิน ที่นอน ที่อยู่อาศัย

 เราอยากให้พวกเขามีอาชีพที่สุจริตพร้อมช่วยเหลือสังคม เราจึงมีไอเดียอยากสร้างให้พวกเขาเป็น Street hero นักกู้ขยะข้างถนน เพราะเรามองเห็นความสำคัญของการพัฒนาและช่วยสังคมไปพร้อมๆ กัน เราใช้เวลาตลอดสองเดือนมาเปลี่ยนทดลอง  ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะให้กลายเป็น Street's Hero นักกู้ขยะข้างถนน ด้วยการให้ให้พวกเขาเดินเก็บขยะรอบๆสนามหลาง คลองหลอดมาแลกของ แลกข้าวกับเรา  ทำให้เราทราบว่า แต่ละวันคนเหล่านี้เดินเก็บขยะได้ราว 8 กิโลกรัมต่อวัน โดยส่วนใหญ่จะเป็น ขยะประเภทขวดน้ำ กระป๋องน้ำ และเศษกระดาษบางส่วน

ดังนั้นจึงต้องการทำโครงการ  "Street's Hero นักกู้ขยะข้างถนน" ด้วยการชวนนักศึกษานักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาร่วมออกแบบรถกู้ขยะให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เพื่อให้เก็บขยะได้มากขึ้น และยังเป็นที่พักพิงหลบแดด หลบฝนให้คนเหล่านี้ด้วย



กระบวนการทำงาน

ขั้นตอนที่ 1 : เราจะนำซาเล้งปกติมาดัดแปลงเพิ่มหลังคาและพื้นที่เก็บของให้ได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ซาเล้งดังกล่าวสามารถจุขยะที่นำกลับมาใช้ได้ถึง 80 กิโลกรัม หรือเรียกได้ว่าเพิ่มเป็น 10 เท่าจากวิธีการเดิมที่เดินเก็บ

ขั้นตอนที่ 2 : รับสมัคร ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ 4 คน

ขั้นตอนที่ 3 : ส่งมอบซาเล้งให้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ

ขั้นตอนที่ 4 : เปิดธนาคารการออม โดยนักกู้ขยะเหล่านี้ จะต้องนำเงินที่ได้จากเก็บขยะไปขายครึ่งหนึ่งมาเข่าธนาคารเพื่อสะสมเป็นทุนในการเริ่มต้นชีวิตใหม่

ขั้นตอนที่ 5 : อิสรชนดูแลประเมินผลการทำงาน ก่อนขยายผลไปพื้นที่อื่น

*สำหรับพื้นที่ดำเนินงาน สนามหลวง ราชดำเนิน พาหุรัด สะพานพุทธ สวนลุม หัวลำโพง*


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ส่งเสริมอาชีพผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ให้มีอาชีพที่สามารถดูแลตัวเองได้

2. เปลี่ยนมุมมองต่อสังคม จากที่มองว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเป็นปัญหาสังคม เราสามารถทำให้สังคมองเห็นว่าเขาสามารถช่วยเหลือและเป็นพลังในสังคมได้

3. มี Street's Hero ที่ช่วยเก็บและขัดแยกขยะที่ยังใช้ได้ให้กลับมารีไซเคิลได้ ช่วยประเทศในการลดขยะเฉลี่ย 24,000 กิโลกรัมต่อเดือน

4.สร้างเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม

5. สร้างพื้นที่ให้นักศึกษาได้สร้างผลงานในการแบ่งปันสู่สังคม

6. ลดปัญหาขยะที่ทิ้งเปล่า แต่สร้างมาเปลี่ยนมาเป็นรายได้ให้คนด้อยโอกาสได้  





2 วีรบุรษข้างถนน ได้รับซาเล้งเก็บขยะ ต้นแบบเริ่มชีวิตใหม่

24 ตุลาคม 2019

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 มูลนิธิอิสรชน ร่วมกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และเครือข่ายจากภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดงานแถลงข่าวในวัน World Homeless Day และดำเนินการมอบซาเล้งให้แก่ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะทั้ง 2 คน เป็นต้นแบบนำร่องดำเนินการกู้ขยะ และสร้างเงินออมให้ชีวิตคนเร่ร่อนได้มีเป้าหมาย และมีต้นทุนเพื่อเริ่มสิ่งใหม่ๆ ในชีวิต และพร้อมส่งต่อรถซาเล้งให้กับวีรบุรุษข้างถนนคนต่อไปได้ 

ขั้นตอนการทำงาน

  1. ลงพื้นที่รับสมัครผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ นำร่องที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการ วีรบุรุษข้างถนน เพื่อรับซาเล้งในการออกเก็บขยะ สร้างอาชีพ
  2. นักศึกษาที่ร่วมเป็นเครือข่ายในการออกแบบ รถซาเล้ง และผลิตรถซาเล้งมอบให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
  3. พิธีมอบซาเล้งและเริ่มดำเนินโครงการ วีรบุรุษข้างถนน โดยการลงทะเบียนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่จะเข้าร่วมโครงการ
  4. เปิดการออม ทุกปลายสัปดาห์ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่ได้รับมอบซาเล้ง นำเงินจากที่เก็บขยะสร้างรายได้ครึ่งหนึ่งมาออม เพื่อสะสมเป็นทุนในการเริ่มต้นชีวิตใหม่

มูลนิธิอิสรชน ร่วมกับเด็กนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมออกแบบซาเล้ง รถกู้ขยะ สำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ให้มีรายได้จากการเก็บ แยก ขายขยะ เพื่อให้มีทุนสะสมในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ กลุ่มนักศึกษาได้ออกแบบรถซาเล้งเก็บขยะ มีจุดประสงค์เพื่อรองรับน้ำหนักได้จริง แต่ไม่มีโครงหลังคา เนื่องจากความต้องการและความสะดวกในการดำเนินชีวิตเพราะถ้ามีโครงหลังคาจะถูกจัดระเบียบในเรื่องพื้นที่สาธารณะ อาจเสี่ยงต่อการให้ถูกทางเทศกิจกวาดจับได้ในเรื่องจอดในที่สาธารณะ ดังนั้นกลุ่มนักศึกษาจึงออกแบบมาในรูปแบบที่เน้นการรองรับน้ำหนักได้ปริมาณมาก และเพิ่มส่วนไม้ปูนอนพักหลังจากการเก็บขยะได้

ทีมงานช่วยขนซาเล้งมอบให้กับวีรบุรุษ

บรรยากาศภายในงาน

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่ได้รับซาเล้ง


ประวัติพี่กลอฟ (คนเสื้อแดง) ชายจากพิจิตร ด้วยสภาพครอบครัวที่ล้มเหลว ตัวเองเลยออกมาเป็นคนเร่ร่อนมานานกว่า 10 ปี โดยการเก็บของเก่าขาย เพื่อเลี้ยงตัวเองไปวันๆ แต่พี่กลอฟเป็นคนขยัน เก็บตั้งแต่เที่ยงคืนยันเที่ยงวัน บางวันได้ถึง 400-500 บาท ทางมูลนิธิฯ เห็นถึงความสม่ำเสมอของเขาในการทำอาชีพนี้ แต่ด้วยเขาไม่มีเป้าหมายชีวิต เขาหมดเงินไปกับสุรา เลี้ยงเพื่อน แต่ปัจจุบันเขามีหลาน และไม่อยากเป็นภาระลูก ทางมูลนิธิฯ จึงสร้างเป้าหมายให้เขาด้วยรถซาเล้งเก็บขยะ ทำให้พี่กลอฟดีใจมาก เพราะเขาอยากได้มานาน และตั้งเป้าให้เขาสามารถเก็บเงินให้กับหลานๆ ได้

พี่วัตร (คนเสื้อเขียว) ชายหนุ่มจากโคราชที่มาอยู่สนามหลวงมานานเกือบ 20 ปี มีความหลังที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น "ปอป" ตามชุมชนชนบท เขาจึงเริ่มต้นชีวิตด้วยการเก็บขยะขาย ไปวันๆ และไม่คิดจะกลับบ้าน เพราะไม่เหลือใครแล้ว ชีวิตครอบครัวเขาพังทลาย จึงออกมากวาดถนนกับกวาดลานวัด และเดินแบกถุงเก็บขยะ เพื่อหากินไปวันๆ แต่ด้วยเขามีความตั้งใจและเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันคนเร่ร่อนคนอื่นๆ ทั้งการเป็นอาสาคนเร่ร่อนในพื้นที่ คอยช่วยเหลือเพื่อนที่เจ็บป่วยด้วยกัน ทางมูลนิธิฯ จึงมอบรถเข็นให้เขาได้ทำมาหากินอย่างเป็นระเบียบและสะดวกมากยิ่งขึ้น และยังสามารถส่งต่อรถซาเล้งคันใหม่เพื่อนักกู้ขยะคนต่อไป

ความประทับใจต่อผู้บริจาค

"ทางมูลนิธิอิสรชน ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทุกท่านที่เห็นถึงกิจกรรมที่ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาอาชีพคนไร้ที่พึ่ง ให้มีรูปแบบที่มั่นคงมากขึ้น พี่ๆ คนเร่ร่อนที่ได้รถต่างภูมิใจและได้เริ่มต้นใช้ชีวิตในการเก็บขยะเพื่อออมเงินส่งต่อให้คนรุ่นอื่นๆ ได้ มูลนิธิฯขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแบ่งปันเพื่อสร้างโอกาสการเริ่มชีวิตใหม่ให้คนไร้ที่พึ่งในครั้งนี้"

แผนการใช้เงิน


รายการต่อหน่วยบาท
1.รถกู้ขยะ 4 คัน10,00040,000
2.ค่าใช้งานในการติดตามการทำงานและธนาคารการออม
25,000
รวม
65,000