project เด็กและเยาวชน

สร้างเด็กให้เชี่ยวชาญผ้าทอมือแห่งอีสาน

สร้างเด็กในชุมชน จ.สกลนครให้มีความรู้ของผ้าคราม-ผ้าทอมือพื้นบ้าน เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและพัฒนาสินค้าชุมชนเพื่อเกิดรายได้ในท้องถิ่น

ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ สกลนคร

ยอดบริจาคขณะนี้

4,900 บาท

เป้าหมาย

4,900 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 10

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

เด็กเรียนรู้การย้อมผ้าสีจากธรรมชาติ

6 กรกฎาคม 2018

โครงการได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ที่มาของคลาม ต้นคราม และสีที่ได้จากต้นไม้ตามธรรมชาติในชุมชน เช่น ประดู่ มะม่วง ขนุน เป็นต้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

1.เรียนรู้สีธรรมชาติ และการเกิดสี โดยเด็กและเยาวชนได้ไปเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้าน ที่ได้นำความรู้และภูมิปัญญามาปรับใช้

2.เรียนรู้เทคนิคการย้อมสีธรรมชาติ โดยได้จากต้นไม่ที่อยู่ในท้องถิ่นตามฤดูกาล

3.ในส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยังขาดความความชำนาญ จึงยังอยู่ขั้นตอนการเรียนรู้จากชาวบ้านที่มีทักษะ อีกทั้งเยาวชนหลายคนได้เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย จึงไม่ได้สานต่อกิจกรรมที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

ภาพประกอบ


ความประทับใจจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม


นางสาวกฤษติกาล ฮาบพนม (แจง)
"
เยาวชนแกนนำที่ได้ร่วมเรียนรู้ และขยายผลเชิญชวนน้องๆเยาวชนในหมู่บ้านเข้ามาร่วมในกิจกรรม การย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ โดยหลังจากที่ได้เรียนรู้ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับสีของต้นไม้ และทักษะการย้อมผ้าสีธรรมชาติให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ได้ "

นางสาวปรายระยา มั่นกิจ (ออน)
"หนึ่งในเยาวชนที่ได้เข้าร่วมและเป็นอาสาสมัครลงพื้นที่ไปเก็บตัวอย่างเปลือกต้นไม้ เพื่อนำมาทดลองและย้อมสีธรรมาชาติ โดยเริ่มการเรียนรู้ที่ทำลวดลายเสื้อ ผ้าเช็ดหน้า และกระเป๋าผ้า และได้ขยายผลการเรียนรู้ด้วยการไปสอนน้อง ๆ เยาวชนในหมู่บ้านได้เรียนรู้ด้วยเช่นกัน"

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

ชุมชนบ้านกลาง ตำบลโพนแพง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เป็นหนึ่งชุมชนที่มีภูมิปัญญาพื้นบ้านเรื่องของการทอผ้าและทำผ้าย้อมคราม
และผ้าครามที่ทอจากมือ ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสกลนคร แต่วันนี้การทอผ้าและทำผ้าครามเริ่มเหลือน้อยลงไป
เราจึงรวมตัวกันในชื่อ “ชุมชนคนหนุ่มสาว” โดยชักชวนคนรุ่นใหม่ให้เรียนรู้และสืบสานเรื่องการทำผ้าทอมือกับโครงการ "สร้างเด็กให้เชี่ยวชาญผ้าทอมือแห่งอีสาน" เพื่อให้เด็กได้รับการถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาจากผู้เฒ่าในท้องถิ่น พร้อมกับพวกเราจะเข้าไปพัฒนารูปแบบและลวดลายของผ้าทอ และการตัดเย็บของผ้าครมให้มีความน่าสนใจ สามารถเป็นที่ต้องการของตลาดหรือบุคคลทั่วไปได้รู้จักมากยิ่งขึ้น
 
กิจกรรมนี้จะเริ่มตั้งแต่ให้เยาวชนจะได้เรียนรู้ที่มาของผ้าคราม การปั่นฝ้าย และทอผ้าพื้นเมืองต่างๆ โดยใช้ระยะเวลา 1 ปีเต็ม และระหว่างการทำงาน ทางกลุ่ม “ชุมชนคนหนุ่มสาว” ก็จะร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมืองเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 
 
เราเชื่อว่าการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนกว่า 30 ชีวิตช่วยรักษาวัฒนธรรมชุมชน และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนระหว่างวัยให้เข้าใจกันมากขึ้น

ประโยชน์ของโครงการ :

  1. เปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ เข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแสดงออกในกิจกรรมที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
  2. หนุนเสริมและต่อยอดการดำเนินกิจกรรมของเยาวชนให้หมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง  
  3. เสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับตนเองและรายได้ให้กับครอบครัว จากการทำกิจกรรมในโครงการปันฝัน ปั้นฝัน

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

มุ่งเน้นการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผ้าครามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านในท้องถิ่น พร้อมกันนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญของผ้าครามและผ้าทอมือพื้นบ้านและสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ พัฒนาและทอผ้าพื้นบ้านร่วมกับคนในชุมชน เพื่อให้เกิดรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ กลับเข้ามาในชุมชนและตัวเยาวชนมากขึ้น 
 
กลุ่มเป้าหมาย : เด็ก เยาวชน และคนในชุมชน จำนวน 30 คน
 
แนวทางการดำเนินกิจกรรม/ กิจกรรมย่อย
กิจกรรมย่อยที่ 1 อบรมการเรียนรู้เรื่องผ้าทอผ้าบ้านและผ้าคราม  วิธีการโดยเริ่มจากการให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้และที่มาของผ้าครามและผ้าแต่ละชนิดที่มีในท้องถิ่นด้วยตนเองโดยมีปราชญ์และชาวบ้านเป็นครูให้ความรู้ เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้พัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นต่อไป
กิจกรรมย่อยที่ 2 การเรียนรู้และปฏิบัติ  วิธีการโดยให้เยาวชนที่เข้าร่วมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการลงมือทำ / ผลิตผลงานผ้าทอพื้นบ้านขึ้น 
กิจกรรมย่อยที่ 3 การพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งหลังจากดำเนินการได้ระยะหนึ่งก็จะเชิญวิทยากรที่มีความรู้ในด้านต่างๆเข้ามาช่วยหนุนเสริมให้การทำกิจกรรมและผลงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ความรู้เรื่องการออกแบบรวดลาย, การทดลองออกแบบสีจากธรรมชาติ, พัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์, การต่อยอดเรื่องการตลาด เป็นต้น
กิจกรรมย่อยที่ 4 เปิดพื้นที่เรียนรู้และการสนับสนุน โดยการนำผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมานำเสนอและจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ พร้อมทั้งเปิดพื้นที่ให้บุคคลที่สนใจเข้ามาร่วมเรียนรู้ในพื้นที่ได้เช่นกัน

สมาชิกภายในทีม :

นายธนภัทร  แสงหิรัญ ชื่อเล่น ตั้ม  เบอร์โทร 088-0979715   จบการศึกษา คณะรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ประสบการณ์ดำเนินโครงการ
ปี 2553 เป็นเจ้าหน้าที่โครงการเรียนรู้และฟื้นฟูชุมชนหลังประสบอุทกภัย มูลนิธิโกมลคีมทอง
ปี 2554 เป็นผู้รับผิดชอบโครงการคนรุ่นใหม่ใจอาสา เพื่อผู้ประสบภัย (Gen-V) ภายใต้การสนับสนุนจาก สสส.
ปี 2556 ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนคนหนุ่มสาว (อยู่ระหว่างการจดทะเบียนองค์กรสาธารณะประโยชน์) และหัวหน้าโครงการฮักบ้านเกิดความสุขอยู่ที่บ้านเรา โดยทำกิจพัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนในด้าน กาย ใจ ปัญญา สังคม เพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนทำกิจกรรมในชุมชนของตนเองอย่างสร้างสรรค์
 
นางสาวนวรัตน์  สิงห์นิสัย ชื่อเล่น หงส์ เบอร์โทร  จบการศึกษาคระนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ประสบการณ์ดำเนินโครงการ
ปี 2552 – 2555  คณะกรรมการชมรมข้าว เหนียวปั้นน้อย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และร่วมโครงการต่างๆ ต่อเนื่อง
ปี 2553 ประธานโครงการสร้างสัมพันธ์ สานสายใยสร้างคนค่ายเพื่อสังคม ชมรมข้าวเหนียวปั้นน้อย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
นางสาวโสมนัส พวงจิตร ชื่อเล่น นัส เบอร์โทร 0917219563 กำลังศึกษาคณะกายภาพบำบัด ปี 5มหาวิทยาลัยมหิดล
ประสบการณ์ดำเนินโครงการ
ปี 2554 เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมส่งเสริมสุขภาพชุมชน คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ปี 2556 เป็นทีมหนุนเสริมโครงการฮักบ้านเกิด (ความสุขอยู่ที่บ้านเรา)
 

ภาคี :

สถานบันไทเลย จ.เลย
กลุ่มเยาวชนมดตะนอย จ.สุรินทร์
เทศบาลตำบลโพนแพง  อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

ความประทับใจจากเจ้าของโครงการสร้างเด็กให้เชี่ยวชาญ ผ้าทอมือแห่งอีสาน

12 พฤศจิกายน 2015

โครงการสร้างเด็กให้เชี่ยวชาญผ้าทอมือแห่งอีสาน เป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยเป็นเครื่องมือในการที่จะทำให้เด็กและเยาวชนในท้องถิ่นเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของผ้าย้อมคราม และผ้าทอมือ ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต รางเหง้าทางวัฒนธรรมให้ลูกหลานอีสานรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ และประยุกต์ใช้อย่างมีคุณค่า                                                           
จากการระดมทุนทางเว็บไซต์เทใจดอทคอม จะเป็นส่วนเติมเต็มและต่อยอดให้เด็กเละเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้และถ่ายทอดถึงคุณค่าและชีวิตของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการทอผ้าของอีสานต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะจัดขึ้นในโครงการสามารถเริ่มดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้
 
กิจกรรม ปันฝัน ปั้นฝัน ตอน เด็กปั่นฝ้าย ผู้ใหญ่ย้อมคราม สร้างสรรค์ชุมชน 
เป้าหมาย :  มุ่งเน้นการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผ้าครามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านในท้องถิ่น พร้อมกันนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญของผ้าครามและผ้าทอมือพื้นบ้านและสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ พัฒนาและทอผ้าพื้นบ้านร่วมกับคนในชุมชน เพื่อให้เกิดรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆกลับเข้ามาในชุมชนและตัวเยาวชนมากขึ้น 
กลุ่มเป้าหมาย : เด็ก เยาวชน และคนในชุมชน
 
แนวทางการดำเนินกิจกรรม/ กิจกรรมย่อย : 
กิจกรรมย่อยที่ 1 การเรียนรู้ โดยเริ่มจากการให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้และที่มาของผ้าครามและผ้าแต่ละชนิดที่มีในท้องถิ่นด้วยตนเองโดยมีปราชญ์และชาวบ้านเป็นครูให้ความรู้ เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้พัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นต่อไป
 กิจกรรมย่อยที่ 2 การเรียนรู้และปฏิบัติ ร่วมกันของเยาวชนที่เข้าร่วมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการลงมือทำ / ผลิตผลงานผ้าทอพื้นบ้านขึ้น 
กิจกรรมย่อยที่ 3 พัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งหลังจากดำเนินการได้ระยะหนึ่งก็จะเชิญวิทยากรที่มีความรู้ในด้านต่างๆเข้ามาช่วยหนุนเสริมให้การทำกิจกรรมและผลงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ความรู้เรื่องการออกแบบรวดลาย, การทดลองออกแบบสีจากธรรมชาติ, พัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์, การต่อยอดเรื่องการตลาด เป็นต้น
กิจกรรมย่อยที่ 4 เปิดพื้นที่เรียนรู้และการสนับสนุน โดยการนำผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมานำเสนอและจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ พร้อมทั้งเปิดพื้นที่ให้บุคคลที่สนใจเข้ามาร่วมเรียนรู้ในพื้นที่ได้เช่นกัน
 
"เราขอขอบพระคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านและทางเทใจ ในการสนับสนุนทุนข้างต้นซึ่งจะเป็นส่วนเติมเต็มและต่อยอดให้เด็กเละเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้และถ่ายทอดถึงคุณค่าและชีวิตของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการทอผ้าของอีสานต่อไป"
มีโอกาสมาร่วมเล่น เรียนรู้ และลงมือทำผ้าย้อมครามกับพวกเราได้นะครับ
 

เด็กเรียนรู้การย้อมผ้าสีจากธรรมชาติ

6 กรกฎาคม 2018

โครงการได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ที่มาของคลาม ต้นคราม และสีที่ได้จากต้นไม้ตามธรรมชาติในชุมชน เช่น ประดู่ มะม่วง ขนุน เป็นต้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

1.เรียนรู้สีธรรมชาติ และการเกิดสี โดยเด็กและเยาวชนได้ไปเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้าน ที่ได้นำความรู้และภูมิปัญญามาปรับใช้

2.เรียนรู้เทคนิคการย้อมสีธรรมชาติ โดยได้จากต้นไม่ที่อยู่ในท้องถิ่นตามฤดูกาล

3.ในส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยังขาดความความชำนาญ จึงยังอยู่ขั้นตอนการเรียนรู้จากชาวบ้านที่มีทักษะ อีกทั้งเยาวชนหลายคนได้เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย จึงไม่ได้สานต่อกิจกรรมที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

ภาพประกอบ


ความประทับใจจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม


นางสาวกฤษติกาล ฮาบพนม (แจง)
"
เยาวชนแกนนำที่ได้ร่วมเรียนรู้ และขยายผลเชิญชวนน้องๆเยาวชนในหมู่บ้านเข้ามาร่วมในกิจกรรม การย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ โดยหลังจากที่ได้เรียนรู้ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับสีของต้นไม้ และทักษะการย้อมผ้าสีธรรมชาติให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ได้ "

นางสาวปรายระยา มั่นกิจ (ออน)
"หนึ่งในเยาวชนที่ได้เข้าร่วมและเป็นอาสาสมัครลงพื้นที่ไปเก็บตัวอย่างเปลือกต้นไม้ เพื่อนำมาทดลองและย้อมสีธรรมาชาติ โดยเริ่มการเรียนรู้ที่ทำลวดลายเสื้อ ผ้าเช็ดหน้า และกระเป๋าผ้า และได้ขยายผลการเรียนรู้ด้วยการไปสอนน้อง ๆ เยาวชนในหมู่บ้านได้เรียนรู้ด้วยเช่นกัน"

แผนการใช้เงิน

 
รายการจำนวนราคารวม (บาท)
1. ค่าจัดซื้ออุปกรณ์ เช่น เมล็ดฝ้าย, เส้นฝ้าย/ใยฝ้าย, ไห, คราม, กี่(เครื่องทอผ้า) 25,000
2.ค่าอาหารเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ12 เดือน12,000
3ค่าตอบแทนวิทยากร2 คน4,000
4. สนับสนุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 3,000
5.จัดทำนิทรรศการและป้ายความรู้ 2,000
รวมทั้งหมด 46,000

*ทางเทใจดอทคอม ร่วมสนับสนุนค่าจัดซื้ออุปกรณ์ ตลอดโครงการ