project กลุ่มคนเปราะบาง สิ่งแวดล้อม

"สแกน-แลก-ป่า" ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน ม่อนแม่ถาง จังหวัดแพร่ ระยะที่ 1

ร่วมสนับสนุนการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนต้นน้ำ ม่อนแม่ถาง จังหวัดแพร่ เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ ลดพื้นที่การปลูกข้าวโพดเชิงเดี่ยว และ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมาอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยการ ปลูก และ ดูแลต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน โดยเป้าหมายของโครงการจะนำร่องปลูกต้นไม้จำนวน 200 ต้น ในพื้นที่ 1 ไร่ พร้อมพัฒนาระบบน้ำและการป้องกันไฟป่า พร้อมนำเทคโนโลยีติดตามผลการปลูกต้นไม้ (Tree Tracking) มาใช้ โดยมีการรายงานผลทุกๆ 6 เดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี และ ดูแลต่อเนื่องจนครบ 10 ปี

ระยะเวลาโครงการ 01 เม.ย. 2566 ถึง 31 ก.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 5400 (ม่อนแม่ถาง ห่างจากตัวเมืองแพร่ 38 กิโลเมตร ใกล้กับ อ่างเก็บน้ำแม่ถาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ แม่ถาง)

ยอดบริจาคขณะนี้

54,250 บาท

เป้าหมาย

52,800 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 103%
จำนวนผู้บริจาค 32

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

กิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน ม่อนแม่ถาง จังหวัดแพร่

10 ตุลาคม 2023

นับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการในเดือนเมษายน 2566 จนถึงปัจจุบัน ทางโครงการได้ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่วางเอาไว้ ได้แก่

  1. การลงสำรวจพื้นที่ พร้อมผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพพื้นที่ โดยได้มีการลงพื้นที่จำนวน 2 ครั้ง คือ
    ครั้งที่ 1 เป็นการลงพื้นที่พร้อมกับทีมโครงการ Care The Wild จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    ครั้งที่ 2 เป็นการลงพื้นที่ร่วมกับทีมผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่จากรมป่าไม้ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดแผนการปลูกต้นไม้ในพื้นที่
  2. ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงาน ร่วมระหว่างทีมงานบริษัทนายเน็ตจำกัดและผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และซักซ้อมความเข้าใจในการดำเนินงาน
  3. ด้านการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในโครงการ สร้างกลไกเครือข่ายในการระดมทุนในลักษณะของแพลตฟอร์มความร่วมมือผ่านภาคีองค์กรเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยคือ
    - การเปิดรับระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มเทใจ ซึ่งมีผู้ร่วมบริจาคทั้งหมด 32 คน ได้รับยอดเงินบริจาคทั้งหมด 54,250 บาท
    - การประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทนายเน็ตจำกัด ผ่านการใช้บริการแอปพลิเคชั่นนามบัตรดิจิทัล YourQR ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้นามบัตรกระดาษมาเป็นนามบัตรดิจิทัล ลดการใช้กระดาษ โดยทุกครั้งที่ใช้งานจะนับเป็นแต้มคะแนนสะสม โดยทุกๆ 1,000 ครั้ง เท่ากับการปลูกต้นไม้ 1 ต้น
    - การประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายและช่องทางต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น วิทยุ สื่ออนไลน์ สื่อประชาสัมพันธ์ เครือข่ายกลุ่มประชาชนพึ่งตนเอง
  4. รณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนผ่านการประกวดเรียงความในหัวข้อ “รักษ์ป่าเมืองแพร่” ซึ่งได้รับความสนใจเข้าร่วมโครงการจากเยาวชนเมืองแพร่จำนวนมาก และ คัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดได้จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่   
    รางวัลชนะเลิศ ด.ญ.พรชนิตว์ ฝั้นสุข เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
    รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ด.ญ. กานต์ธิชา ทองดี เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
    รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ด.ญ. ธัญรัตน์ ม้ายอง เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  5. ดำเนินการประสานงานชุมชน ในการจัดเตรียมความพร้อมของพื้นที่ปลูก โดยถางหญ้า กำจัดวัชพืชในพื้นที่แปลงปลูก และขุดหลุมปลูกต้นไม้ โดยใช้แรงงานชาวบ้านในพื้นที่กว่า 20 คน และใช้ระยะเวลาทำงานนานกว่า 1 สัปดาห์ เนื่องจากพื้นที่มีความลาดชันสูงทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก
  6. ดำเนินการปลูกต้นไม้ จำนวน 500 ต้น ในพื้นที่ 2 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนผ่านเทใจ 1 ไร่ 250 ต้น และพื้นที่ที่สนับสนุนโดยบริษัทนายเน็ตจำกัดและพันธมิตร จำนวน 1 ไร่ 250 ต้น) โดยเริ่มดำเนินการปลูกตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ใช้แรงงานชาวบ้านจำนวน 20 คน และมีพิธีปลูกป่าอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 ในเวลา 9.00 - 12.00 น. ณ จุดชมวิว 360 องศา ม่อนแม่ถาง 

อุปสรรคปัญหาและแนวทางแก้ไข

  1. ระยะเวลาในการเปิดรับระดมทุนค่อนข้างกระชั้นชิด จึงปรับลดเป้าหมายในการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มเทใจเหลือเพียง 1 ไร่ แต่ก็สามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยการดำเนินงานในระยะต่อไปจะเปิดรับระดมทุนล่วงหน้าให้เร็วขึ้น
  2. ปรากฎการณีเอลนีโญ่ ส่งผลให้เกิดสภาวะแห้งแล้งอย่างหนักในปีนี้ ทำให้ปริมาณน้ำฝนที่เคยตกหนักในเดือนสิงหาคมถึงกันยายนลดลงอย่างมาก เพื่อเพิ่มโอกาสในการรอดของต้นไม้ กลุ่มชาวบ้านจึงดำเนินการแก้ปัญหาโดยการใช้ถังน้ำขนาดใหญ่ขนน้ำจากหมู่บ้านด้านล่างขึ้นไปและใช้แรงงานชาวบ้านในการรดน้ำจนทั่วพื้นที่

สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป

  1. พัฒนาระบบติดตามผลการปลูกและเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยใช้เทคโนโลยี Tree Tracking ที่เกษตกรชาวบ้านในพื้นที่สามารถสแกน QR Code เพื่อกรอกข้อมูล และผู้สนใจสามารถอ่านหรือติดตามข้อมูลได้ทันทีผ่านโทรศัพท์มือถือ
  2. ชุมชนพัฒนาระบบน้ำ และระบบป้องกันไฟป่าในพื้นที่
  3. จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ทุกๆ 6 เดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้ผู้สนับสนุนโครงการรับทราบผลการดำเนินงาน
  4. ขยายผลการทำงานต่อในพื้นที่ชุมชน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น การขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น และปลูกซ่อมเสริมสำหรับต้นที่ตาย เพื่อให้มั่นใจต้นไม้จะเจริญเติบโตกลายเป็นป่าภายในระยะเวลา 10 ปี
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 “ เราใช้เวลานานกว่าสิบปีกว่าจะทวงคืนผืนป่าแห่งนี้คืนมา และจัดตั้งเป็นป่าชุมชนม่อนแม่ถาง โครงการ "สแกน-แลก-ป่า" เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะดึงภาคเอกชนเข้ามาช่วย เพราะที่นี้ยังเหลือพื้นที่ที่ต้องปลูกต้นไม้อีกจำนวนมาก ” นายสำราญ กุณาหร่าย กำนันตำบลบ้านเวียง ประธานคณะกรรมการป่าชุมชนม่อนแม่ถาง

 “ แต่ก่อนสมัยป้าเป็นเด็ก ป่าแถวนี้สมบูรณ์มาก เคยเข้ามาหาเห็ด หาหน่อไม้ อยากให้ป่ากลับไปสมบูรณ์เหมือนเดิม ” นางเจนจิรา ฝาเรือนดี เกษตกรชาวบ้านในพื้นที่ ม่อนแม่ถาง จังหวัดแพร่

 “ ถ้าไม่มีโครงการดีๆแบบนี้เข้ามา เราคงไม่มีโอกาสเห็นป่ากลับมาได้ง่ายๆ เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านสู้เพียงลำพัง และ ขาดงบประมาณ เชื่อว่าอีกหน่อยถ้าเกษตกรรุ่นพ่อแม่แก่เฒ่าไป คนจะทำข้าวโพดน้อยลง ตนรุ่นใหม่ที่เห็นความสำคัญของป่า จะช่วยกันทำให้ป่ากลับมา ” นายสุวรรณ มีรส เกษตกรชาวบ้านในพื้นที่ ม่อนแม่ถาง จังหวัดแพร่

 “ ภูมิใจที่ครั้งหนึ่งหนูได้มีโอกาสมาร่วมปลูกต้นไม้ให้ที่นี้ ถ้ามีโอกาสหนูอยากพาเพื่อนๆมาปลูกต้นไม้เหมือนกับหนู และวันหนึ่งเมื่อหนูโตขึ้นหนูจะกลับมาดูป่าแห่งนี้ หนูอยากเห็นมันเติบโตเป็นป่าที่สมบูรณ์ ” ด.ญ.พรชนิตว์ ฝั้นสุข นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไผ่ล้อม ( สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมป์ )

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลบ้านเวียงและตำบลอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดแพร่10 คนเด็กและเยาวชนในพื้นทีเป้าหมายการดำเนินโครงการ ให้ความสนใจ และส่งผลงานเรียงความเข้าร่วมประกวด 10 ราย และ เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้จำนวน 3 ราย
ประชาชนทั่วไปประชาชนตำบลบ้านเวียง เกษตกรผู้ทำไร่ข้าวโพด20 ครัวเรือน ประมาณ 100 คนประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากการรับจ้างปลูกและดูแลตลอดระยะเวลา 3 ปี และยังมีรายได้เสริมจากการหาของป่ามาบริโภคและจำหน่ายอีกด้วย
พื้นที่ป่าพื้นที่ดำเนินการปลูกป่าในพื้นที่ป่าชุมชนม่อนแม่ถาง 
2 ไร่ 500 ต้น
ดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่แปลงปลูกจำนวน 2 ไร่ นับเป็นจำนวนต้นไม้ทั้งหมด 500 ต้น ในพื้นที่แปลงปลูกป่าชุมชน หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเวียง โดยต้นไม้ที่ปลูกดำเนินการคัดเลือกพันธุ์ไม้ ชาวบ้านในพื้นที่จะเน้นไม้พื้นถิ่นที่เคยมีอยู่เดิม เช่น สัก มะค่า หว้า มะขาม และ คำมอกหลวง 
โรงเรียน
20 โรงเรียนแบ่งออกเป็นโรงเรียนที่เข้าไป Visit เพื่อประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน จำนวน 10 โรงเรียน และ โรงเรียนที่ส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 10 โรงเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ม่อนแม่ถาง และอำเภอต่างๆ ของจังหวัดแพร่ ทั้งนี้เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนเกิดความรักและหวงแหนในผืนป่าตามแนวทาง “ปลูกป่าในใจคน”
อื่นๆพันธมิตรธุรกิจ และสื่อมวลชนในพื้นที่ 20 บริษัทโครงการ "สแกน-แลก-ป่า" ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรทางธุรกิจของ บริษัทนายเน็ตจำกัด ที่เล็งเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม จำนวนมากกว่า 20 บริษัท ที่สนับสนุนการเปลี่ยนจาก นามบัตรกระดาษมาเป็นนามบัตรดิจิทัล และมีสื่อมวลชนในท้องถิ่นและระดับประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมและนำเสนอข่าว จำนวน 10 สื่อ 
วิดีโอการทำกิจกรรม


รูปภาพการทำกิจกรรม

 ภาพ : ความร่วมมือจากพันธมิตรทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาสังคมและชุมชน คือกุญแจสำคัญในความสำเร็จของโครงการ "สแกน-แลก-ป่า" ระยะที่ 1

 ภาพ : แพลตฟอร์ม เทใจ พันธมิตรหลักที่ช่วยให้เราระดมทุนจากภาคประชาชนได้ตามเป้าหมาย 

 ภาพ : การปลูกป่าที่ยั่งยืนที่สุด ก็คือ การปลูกป่าในใจคน

 ภาพ : คุณวิชัย วรธานีวงศ์ นักจัดรายการและสื่อมวลชนอิสระ พิธีกรในวันงาน ถ่ายภาพร่วมกับผลงานเรียงความของน้องๆ เด็กและเยาวชนเมืองแพร่ 

 ภาพ :  คุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ ผู้จัดการบริษัทนายเน็ตจำกัด มอบรางวัลทุนการศึกษา ให้กับเด็กนักเรียนที่ได้รับรางวัลจากการประกวดเรียงความ 

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ป่าต้นน้ำแม่ถาง มีพื้นที่กว่า 1,300 ไร่ ในอดีตเคยเป็นผืนป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ แต่ถูกบุกรุกเพื่อทำการเกษตรเชิงเดี่ยวคือ ไร่ข้าวโพด จนพื้นที่ป่าเสียหายไปกว่า 500 ไร่ มีการใช้สารเคมีและปุ๋ยจำนวนมาก จนสภาพดินเสื่อมโทรม เกิดความแห้งแล้ง และ เกิดการกัดเซาะพังทลายของหน้าดิน จนตะกอนดินไหลลงไปในอ่างเก็บน้ำแม่ถางซึ่งอยู่ในพื้นที่ จนอ่างเก็บน้ำแม่ถางไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มความจุ 30.60 ล้านลูกบาศก์เมตร

ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชุมชน ที่เห็นความสำคัญของป่า จึงได้ร่วมมือกันทวงคืนผืนป่า เพื่อประกาศเป็นเขต ป่าชุมชน ตาม พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 และจัดแบ่งพื้นที่รับผิดชอบออกเป็น 14 หมู่ โดยดำเนินการปลูกไปแล้ว จำนวน 2 หมู่ พื้นที่ 91 ไร่ และยังเหลือพื้นที่ที่ต้องดำเนินการปลูกต่อจำนวนมากกว่า 250 ไร่

แนวทางการแก้ไขปัญหาป่าม่อนแม่ถาง ค่อนข้างมีความซับซ้อนและท้าทาย เนื่องจากเงื่อนไขด้านชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตกรในพื้นที่ ที่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพน้อย ประกอบกับ พื้นที่ม่อนแม่ถาง เป็นพื้นที่สูงชัน และ ขาดแหล่งน้ำ การปลูกพืชชนิดอื่นเป็นไปได้ยาก เมื่อมีบริษัทใหญ่เข้ามาส่งเสริมการปลูกข้าวโพด ชาวบ้านจึงพากันปลูก แม้จะเป็นการปลูกในแบบพันธะสัญญา และ ได้ผลตอบแทนที่ต่ำมากก็ตาม ดังนั้นทางออกที่สำคัญจึงไม่ได้จบเพียงแค่การปลูกต้นไม้ แต่ต้องทำให้ชาวบ้านในพื้นที่รักและเห็นความสำคัญของป่า สามารถอยู่ร่วมและใช้ประโยชน์จากป่าไปพร้อมๆกับการอนุรักษ์ป่าได้อย่างยั่งยืน 

พื้นที่ดำเนินโครงการ  สภาพผืนป่าม่อนแม่ถาง 1300 ไร่ แต่เดิมเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ แต่ปัจจุบันถูกบุกรุกจนพื้นที่บางส่วนกลายเป็นภูเขาหัวโล้น

เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ ลดพื้นที่การปลูกข้าวโพดเชิงเดี่ยว และ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมาอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยการ ปลูก และ ดูแลต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน โดยเป้าหมายของโครงการจะนำร่องปลูกต้นไม้พร้อมพัฒนาระบบน้ำและการป้องกันไฟป่า พร้อมนำเทคโนโลยีติดตามผลการปลูกต้นไม้ (Tree Tracking) มาใช้ โดยมีการรายงานผลทุกๆ 6 เดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี และ ดูแลต่อเนื่องจนครบ 10 ปี 

ระยะที่ 1 แปลงนำร่อง จำนวน 1 ไร่ ต้นไม้จำนวน 200 ต้น ภายในเดือน สิงหาคม 2566 

ระยะที่ 2 แปลงขยายผล จำนวน 9 ไร่ ต้นไม้จำนวน 1800 ต้น ภายในเดือน มิถุนายน 2567


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. คณะทำงานลงสำรวจพื้นที่ พร้อมผู้นำชุมชนในพื้นที่ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพพื้นที่
  2. วางแผนสื่อสารความเข้าใจในโครงการและสร้างกลไกเครือข่ายในการระดมทุนในลักษณะของแพลตฟอร์มความร่วมมือที่เป็นกลไกเพื่อการระดมทุน เพื่อการปลูกต้นไม้ใหม่ ปลูกต้นไม้เสริม และส่งเสริมการดูแลต้นไม้ โดยผ่านภาคีองค์กรเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
  3. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายและช่องทางต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น วิทยุ สื่ออนไลน์ สื่อประชาสัมพันธ์ เครือข่ายกลุ่มประชาชนพึ่งตนเอง  
  4. ดำเนินการประสานงานชุมชนในการจัดเตรียมความพร้อมของพื้นที่ปลูก พัฒนาระบบน้ำ และ ระบบการป้องกันไฟป่า
  5. ดำเนินการปลูกต้นไม้ ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเริ่มในฤดูฝน ประมาณเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน เพื่อเพิ่มโอกาสในการรอดของต้นไม้
  6. พัฒนาระบบติดตามผลการปลูกและเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยใช้เทคโนโลยี Tree Tracking ที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับโครงการนี้โดยเฉพาะ
  7. จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ทุกๆ 6 เดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้ผู้สนับสนุนโครงการรับทราบผลการดำเนินงาน
  8. ขยายผลการทำงานต่อในพื้นที่ชุมชน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น การขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น และ ปลูกซ่อมเสริมสำหรับต้นที่ตาย เพื่อให้มั่นใจต้นไม้จะเจริญเติบโตกลายเป็นป่าภายในระยะเวลา 10 ปี



หมายเหตุ  นอกจากการสนับสนุนโครงการด้วยเงินทุน ทางโครงการยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป ผ่านการใช้บริการแอปพลิเคชั่นนามบัตรดิจิทัล YourQR ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทนายเน็ตจำกัด ที่ต้องการเปลี่ยนวัฒนธรรมการใช้นามบัตรกระดาษมาเป็นนามบัตรดิจิทัล เพื่อลดการใช้กระดาษ  สามารถดาวน์โหลดมาทดลองใช้งานได้ ฟรี โดยทุกครั้งที่ใช้งานไม่ว่าจะสแกนแจกนามบัตร รับนามบัตร หรือ ใช้งานฟังชั่นส์ใดๆ จะนับเป็นแต้มคะแนนสะสม โดยทุกๆ  1,000 ครั้ง เท่ากับ การปลูกต้นไม้ 1 ต้น ซึ่งทางโครงการจะดำเนินการปลูกให้จริงในพื้นที่โดยไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย 



ผู้รับผิดชอบโครงการ

1. คุณ ปรัชวินทร์ สมศักดิ์ ในฐานะคนในพื้นที่ ทำหน้าที่ผู้จัดการโครงการ รับผิดชอบการบริหารจัดการโครงการ 

2. คุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ ผู้บริหารบริษัท นายเน็ต จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นนามบัตรดิจิทัล YourQR รับผิดชอบให้คำปรึกษาโครงการ และ พัฒนาเทคโนโลยี

3. คุณ วิชัย วรธานีวงศ์ นักจัดรายการ และสื่อมวลชนอิสระ  รับผิดชอบแผนงานด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์โครงการ 

กิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน ม่อนแม่ถาง จังหวัดแพร่

10 ตุลาคม 2023

นับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการในเดือนเมษายน 2566 จนถึงปัจจุบัน ทางโครงการได้ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่วางเอาไว้ ได้แก่

  1. การลงสำรวจพื้นที่ พร้อมผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพพื้นที่ โดยได้มีการลงพื้นที่จำนวน 2 ครั้ง คือ
    ครั้งที่ 1 เป็นการลงพื้นที่พร้อมกับทีมโครงการ Care The Wild จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    ครั้งที่ 2 เป็นการลงพื้นที่ร่วมกับทีมผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่จากรมป่าไม้ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดแผนการปลูกต้นไม้ในพื้นที่
  2. ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงาน ร่วมระหว่างทีมงานบริษัทนายเน็ตจำกัดและผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และซักซ้อมความเข้าใจในการดำเนินงาน
  3. ด้านการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในโครงการ สร้างกลไกเครือข่ายในการระดมทุนในลักษณะของแพลตฟอร์มความร่วมมือผ่านภาคีองค์กรเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยคือ
    - การเปิดรับระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มเทใจ ซึ่งมีผู้ร่วมบริจาคทั้งหมด 32 คน ได้รับยอดเงินบริจาคทั้งหมด 54,250 บาท
    - การประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทนายเน็ตจำกัด ผ่านการใช้บริการแอปพลิเคชั่นนามบัตรดิจิทัล YourQR ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้นามบัตรกระดาษมาเป็นนามบัตรดิจิทัล ลดการใช้กระดาษ โดยทุกครั้งที่ใช้งานจะนับเป็นแต้มคะแนนสะสม โดยทุกๆ 1,000 ครั้ง เท่ากับการปลูกต้นไม้ 1 ต้น
    - การประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายและช่องทางต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น วิทยุ สื่ออนไลน์ สื่อประชาสัมพันธ์ เครือข่ายกลุ่มประชาชนพึ่งตนเอง
  4. รณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนผ่านการประกวดเรียงความในหัวข้อ “รักษ์ป่าเมืองแพร่” ซึ่งได้รับความสนใจเข้าร่วมโครงการจากเยาวชนเมืองแพร่จำนวนมาก และ คัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดได้จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่   
    รางวัลชนะเลิศ ด.ญ.พรชนิตว์ ฝั้นสุข เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
    รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ด.ญ. กานต์ธิชา ทองดี เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
    รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ด.ญ. ธัญรัตน์ ม้ายอง เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  5. ดำเนินการประสานงานชุมชน ในการจัดเตรียมความพร้อมของพื้นที่ปลูก โดยถางหญ้า กำจัดวัชพืชในพื้นที่แปลงปลูก และขุดหลุมปลูกต้นไม้ โดยใช้แรงงานชาวบ้านในพื้นที่กว่า 20 คน และใช้ระยะเวลาทำงานนานกว่า 1 สัปดาห์ เนื่องจากพื้นที่มีความลาดชันสูงทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก
  6. ดำเนินการปลูกต้นไม้ จำนวน 500 ต้น ในพื้นที่ 2 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนผ่านเทใจ 1 ไร่ 250 ต้น และพื้นที่ที่สนับสนุนโดยบริษัทนายเน็ตจำกัดและพันธมิตร จำนวน 1 ไร่ 250 ต้น) โดยเริ่มดำเนินการปลูกตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ใช้แรงงานชาวบ้านจำนวน 20 คน และมีพิธีปลูกป่าอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 ในเวลา 9.00 - 12.00 น. ณ จุดชมวิว 360 องศา ม่อนแม่ถาง 

อุปสรรคปัญหาและแนวทางแก้ไข

  1. ระยะเวลาในการเปิดรับระดมทุนค่อนข้างกระชั้นชิด จึงปรับลดเป้าหมายในการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มเทใจเหลือเพียง 1 ไร่ แต่ก็สามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยการดำเนินงานในระยะต่อไปจะเปิดรับระดมทุนล่วงหน้าให้เร็วขึ้น
  2. ปรากฎการณีเอลนีโญ่ ส่งผลให้เกิดสภาวะแห้งแล้งอย่างหนักในปีนี้ ทำให้ปริมาณน้ำฝนที่เคยตกหนักในเดือนสิงหาคมถึงกันยายนลดลงอย่างมาก เพื่อเพิ่มโอกาสในการรอดของต้นไม้ กลุ่มชาวบ้านจึงดำเนินการแก้ปัญหาโดยการใช้ถังน้ำขนาดใหญ่ขนน้ำจากหมู่บ้านด้านล่างขึ้นไปและใช้แรงงานชาวบ้านในการรดน้ำจนทั่วพื้นที่

สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป

  1. พัฒนาระบบติดตามผลการปลูกและเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยใช้เทคโนโลยี Tree Tracking ที่เกษตกรชาวบ้านในพื้นที่สามารถสแกน QR Code เพื่อกรอกข้อมูล และผู้สนใจสามารถอ่านหรือติดตามข้อมูลได้ทันทีผ่านโทรศัพท์มือถือ
  2. ชุมชนพัฒนาระบบน้ำ และระบบป้องกันไฟป่าในพื้นที่
  3. จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ทุกๆ 6 เดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้ผู้สนับสนุนโครงการรับทราบผลการดำเนินงาน
  4. ขยายผลการทำงานต่อในพื้นที่ชุมชน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น การขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น และปลูกซ่อมเสริมสำหรับต้นที่ตาย เพื่อให้มั่นใจต้นไม้จะเจริญเติบโตกลายเป็นป่าภายในระยะเวลา 10 ปี
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 “ เราใช้เวลานานกว่าสิบปีกว่าจะทวงคืนผืนป่าแห่งนี้คืนมา และจัดตั้งเป็นป่าชุมชนม่อนแม่ถาง โครงการ "สแกน-แลก-ป่า" เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะดึงภาคเอกชนเข้ามาช่วย เพราะที่นี้ยังเหลือพื้นที่ที่ต้องปลูกต้นไม้อีกจำนวนมาก ” นายสำราญ กุณาหร่าย กำนันตำบลบ้านเวียง ประธานคณะกรรมการป่าชุมชนม่อนแม่ถาง

 “ แต่ก่อนสมัยป้าเป็นเด็ก ป่าแถวนี้สมบูรณ์มาก เคยเข้ามาหาเห็ด หาหน่อไม้ อยากให้ป่ากลับไปสมบูรณ์เหมือนเดิม ” นางเจนจิรา ฝาเรือนดี เกษตกรชาวบ้านในพื้นที่ ม่อนแม่ถาง จังหวัดแพร่

 “ ถ้าไม่มีโครงการดีๆแบบนี้เข้ามา เราคงไม่มีโอกาสเห็นป่ากลับมาได้ง่ายๆ เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านสู้เพียงลำพัง และ ขาดงบประมาณ เชื่อว่าอีกหน่อยถ้าเกษตกรรุ่นพ่อแม่แก่เฒ่าไป คนจะทำข้าวโพดน้อยลง ตนรุ่นใหม่ที่เห็นความสำคัญของป่า จะช่วยกันทำให้ป่ากลับมา ” นายสุวรรณ มีรส เกษตกรชาวบ้านในพื้นที่ ม่อนแม่ถาง จังหวัดแพร่

 “ ภูมิใจที่ครั้งหนึ่งหนูได้มีโอกาสมาร่วมปลูกต้นไม้ให้ที่นี้ ถ้ามีโอกาสหนูอยากพาเพื่อนๆมาปลูกต้นไม้เหมือนกับหนู และวันหนึ่งเมื่อหนูโตขึ้นหนูจะกลับมาดูป่าแห่งนี้ หนูอยากเห็นมันเติบโตเป็นป่าที่สมบูรณ์ ” ด.ญ.พรชนิตว์ ฝั้นสุข นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไผ่ล้อม ( สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมป์ )

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลบ้านเวียงและตำบลอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดแพร่10 คนเด็กและเยาวชนในพื้นทีเป้าหมายการดำเนินโครงการ ให้ความสนใจ และส่งผลงานเรียงความเข้าร่วมประกวด 10 ราย และ เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้จำนวน 3 ราย
ประชาชนทั่วไปประชาชนตำบลบ้านเวียง เกษตกรผู้ทำไร่ข้าวโพด20 ครัวเรือน ประมาณ 100 คนประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากการรับจ้างปลูกและดูแลตลอดระยะเวลา 3 ปี และยังมีรายได้เสริมจากการหาของป่ามาบริโภคและจำหน่ายอีกด้วย
พื้นที่ป่าพื้นที่ดำเนินการปลูกป่าในพื้นที่ป่าชุมชนม่อนแม่ถาง 
2 ไร่ 500 ต้น
ดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่แปลงปลูกจำนวน 2 ไร่ นับเป็นจำนวนต้นไม้ทั้งหมด 500 ต้น ในพื้นที่แปลงปลูกป่าชุมชน หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเวียง โดยต้นไม้ที่ปลูกดำเนินการคัดเลือกพันธุ์ไม้ ชาวบ้านในพื้นที่จะเน้นไม้พื้นถิ่นที่เคยมีอยู่เดิม เช่น สัก มะค่า หว้า มะขาม และ คำมอกหลวง 
โรงเรียน
20 โรงเรียนแบ่งออกเป็นโรงเรียนที่เข้าไป Visit เพื่อประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน จำนวน 10 โรงเรียน และ โรงเรียนที่ส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 10 โรงเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ม่อนแม่ถาง และอำเภอต่างๆ ของจังหวัดแพร่ ทั้งนี้เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนเกิดความรักและหวงแหนในผืนป่าตามแนวทาง “ปลูกป่าในใจคน”
อื่นๆพันธมิตรธุรกิจ และสื่อมวลชนในพื้นที่ 20 บริษัทโครงการ "สแกน-แลก-ป่า" ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรทางธุรกิจของ บริษัทนายเน็ตจำกัด ที่เล็งเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม จำนวนมากกว่า 20 บริษัท ที่สนับสนุนการเปลี่ยนจาก นามบัตรกระดาษมาเป็นนามบัตรดิจิทัล และมีสื่อมวลชนในท้องถิ่นและระดับประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมและนำเสนอข่าว จำนวน 10 สื่อ 
วิดีโอการทำกิจกรรม


รูปภาพการทำกิจกรรม

 ภาพ : ความร่วมมือจากพันธมิตรทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาสังคมและชุมชน คือกุญแจสำคัญในความสำเร็จของโครงการ "สแกน-แลก-ป่า" ระยะที่ 1

 ภาพ : แพลตฟอร์ม เทใจ พันธมิตรหลักที่ช่วยให้เราระดมทุนจากภาคประชาชนได้ตามเป้าหมาย 

 ภาพ : การปลูกป่าที่ยั่งยืนที่สุด ก็คือ การปลูกป่าในใจคน

 ภาพ : คุณวิชัย วรธานีวงศ์ นักจัดรายการและสื่อมวลชนอิสระ พิธีกรในวันงาน ถ่ายภาพร่วมกับผลงานเรียงความของน้องๆ เด็กและเยาวชนเมืองแพร่ 

 ภาพ :  คุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ ผู้จัดการบริษัทนายเน็ตจำกัด มอบรางวัลทุนการศึกษา ให้กับเด็กนักเรียนที่ได้รับรางวัลจากการประกวดเรียงความ 

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ระยะที่ 1 ดำเนินการปลูกต้นไม้ ทั้งหมด จำนวน 200 ต้น ในพื้นที่ 1 ไร่ ในพื้นที่ม่อนแม่ถาง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พร้อมกับวางระบบน้ำ และ แนวป้องกันไฟป่า พร้อมติดตามและดูแลโดยชุมชน เป็นระยะเวลา 10 ปี รวมเฉลี่ยค่้าใช้จ่าย ต้นละ 240 บาท ค่าใช้จ่าย 240 บาท ครอบคลุม ค่าใช้จ่าย - ค่ากล้าพันธุ์ไม้พื้นถิ่นที่คัดเลือกโดยชุมชน - ค่าเตรียมพื้นที่ - ค่าปุ๋ยอินทรีย์ - ค่าพัฒนาระบบน้ำ - ค่าดำเนินการเฝ้าระวังและจัดการไฟป่า - ค่าตอบแทนกลุ่มชาวบ้านในการปลูกและดูแล - ค่าพัฒนาระบบติดตามและประมวลผล Tree Tracking 200 ต้น 48,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
48,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
4,800.00

ยอดระดมทุน
52,800.00