project เด็กและเยาวชน

Saturday School Season 7

เปิดโอกาสให้เด็กไทย 500 คนได้พัฒนาความคิด ทักษะ และแรงกระตุ้นเพื่อดึงศักยภาพในตัวเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับSaturday School Season 7 เปิดสอนวิชาทักษะชีวิต 17 วิชาใน 8 พื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ

ระยะเวลาโครงการ 4 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ กรุงเทพมหานคร

ยอดบริจาคขณะนี้

510,000 บาท

เป้าหมาย

510,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 20

สำเร็จแล้ว

Saturday School เชื่อว่าเด็กไทยทุกคนควรได้รับโอกาสในการเรียนรู้ทักษะชีวิตเพื่อให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของเขาเอง

Who are We?

มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (Saturday School) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร มุ่งเน้นสร้างกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะ ความคิด และแรงกระตุ้นในการเรียนรู้ของนักเรียนด้อยโอกาส ภายใต้โครงการ Saturday School โดยในแต่ละ Season เราได้ร่วมมือกับโรงเรียนขยายโอกาสหลายแห่งทั่วกรุงเทพฯ และค้นหาอาสาหลากหลายความสามารถที่ต้องการแบ่งปัน มาร่วมสอนวิชาชีวิต และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสกว่า 500 คน


What Do we Offer?

ใน Season 7 นี้ เราเปิดสอนถึง 17 วิชาในทั้งหมด 33 ห้องเรียน คัดเลือกมาจากความต้องการของนักเรียนในพื้นที่ผสมผสานกับความสามารถของอาสาที่สมัครเข้ามา โดยเราพยายามครอบคลุมทักษะชีวิตที่จำเป็น ตัวอย่างเช่น

  • ทักษะด้านกายภาพ : วิชาฟุตซอล วิชาบาสเกตบอล วิชาเต้น
  • ทักษะความคิดสร้างสรรค์ : วิชาออกแบบ LINE Sticker วิชาทำหนังสั้น วิชาถ่ายภาพ
  • ทักษะด้านการวางแผน : วิชาออกแบบบอร์ดเกม วิชาต่อวงจรไฟฟ้า วิชาผจญภัย

How to We Do?

โครงการจะจัดติดต่อกันทุกวันเสาร์เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน 2561 ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2562 และวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 (สัปดาห์ที่ 11) นักเรียนจะได้แสดงความสามารถที่ตนเองได้เรียนมาในกิจกรรม Big Day โดยภายในกิจกรรมมีผู้เข้ามาชมงานกว่า 1,000 คน

Why Us?

Saturday School เรามุ่งเน้นการสร้างความเปลี่ยนแปลงในแก่นักเรียนที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ดังนั้น เราจึงมีกระบวนการมากมายเพื่อให้มั่นใจว่าการเรียน 10 สัปดาห์จะเกิดผล :

  • ก่อนที่จะลงพื้นที่ไปสอน ครูอาสาจะต้องผ่านการ training เพื่อฝึกทักษะการสอน การเตรียมแผนการสอน และการบริหารจัดการห้องเรียน โดยอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญทางคุรุศาสตร์
  • ในทุกสัปดาห์ของการเรียนการสอน เราจะมีระบบ After Action Review (AAR) การ ให้ constructive feedback เพื่อให้การเรียนการสอนตลอด 10 สัปดาห์เกิดคุณค่ามากที่สุด
  • กิจกรรม Big Day ที่ให้นักเรียนได้แสดงความสามารถของตนเองสามารถเพิ่มความทุ่มเทในการเรียน และก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างชัดเจน
  • ตลอดระยะเวลาของโครงการ เราจะมีทีมวิจัยและพัฒนา ที่จะทำการเก็บข้อมูลนักเรียนแต่ละคน นำมาวิจัย และสรุปเพื่อดูว่านักเรียนมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างหลังจากจบโครงการ


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. กิจกรรม Training Workshop วันที่ 2-4 พฤษจิกายน 2561 ให้กับครูอาสา เพื่อพัฒนาทักษะในการออกแบบหลักสูตรและวิธีการสอนนักเรียนในห้องเรียน
  2. กิจกรรมการสอนทุกวันเสาร์ ในพื้นที่ปฏิบัติการในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 แห่ง ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ถึง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีครูอาสา และเด็กๆเข้าร่วมโครงการประมาณ 150 คน และ 500 คน ตามลำดับ โดยมีครูอาสาเข้าไปสอนตามห้องเรียนในแต่ละพื้นที่การเรียนรู้ต่อเนื่องทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 น. ถึง 12.00 น. และสะท้อนการเรียนรู้ (After Action Review) กันต่อถึง 14.00 น.
  3. กิจกรรมวัน Big Day ในวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 โดยเด็กๆ จะได้แสดงผลงาน และความสามารถของตนเองหลังจากผ่านการเรียนกับครูอาสามาตลอด 10 สัปดาห์

ประโยชน์ของโครงการ

  1. พัฒนาห้องเรียนต้นแบบสำหรับการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาสำหรับนักเรียนในโรงเรียน และเยาวชนในชุมชน
  2. สร้างหลักสูตรการเรียนและวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและชุมชน
  3. ขยายและสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่สำหรับพัฒนาศักยภาพในผู้เรียนในทุกพื้นที่
  4. เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครปฏิบัติหน้าที่สร้างการเรียนรู้ในโรงเรียนและ ชุมชน
  5. สร้างพลังบวกและความรักในชุมชนให้เกิดขึ้นทั้งในโรงเรียน ชุมชน และอาสาสมัคร เพื่อการพัฒนาพื้นที่ อย่างยั่งยืน

สมาชิกภายในทีม

นาย สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร (ยีราฟ)     Founder and CEO
นาย จักริน บูรณะนิตย์ (อู๋)                  Project Manager 
นาย วรท ภานุเวศน์ (ต๊อบ)                  Assistant Project Manager 
นาย ทศพล ตันติวีรบุตร (ทศ)             Assistant Project Manager 
นาย วิศรุต นุชพงษ์ (ตี๋)                      หัวหน้าฝ่าย Research 
นางสาว สิยดา วิฑูรย์ (ว่าน)                หัวหน้าฝ่าย Social Impact Assessment 
นาย วินิทร เธียรงณิชพันธุ์ (ตี่)           หัวหน้าฝ่าย Learning Facilitator 
นางสาว นัจญมี อู่งามสิน (นัจ)            หัวหน้าฝ่าย Area Management 
นางสาว อมรรัตน์ สีหะปัญญา (ส้ม)    หัวหน้าฝ่าย Volunteer Capital 
นางสาว กุลนันท์ พันธุ์อนุกูล (แนน)    หัวหน้าฝ่าย Volunteer Recruitment 
นางสาว ลัษณ์วรรณภา เลิศนภาศิริ (นุ๊ก) หัวหน้าฝ่าย Training 
นางสาว กนกวรรณ โชว์ศรี (ใบเตย)   หัวหน้าฝ่าย Public Relations 
นาย นรุตม์ วสุนธรามาศ (ป๊อป)          หัวหน้าฝ่าย Crowdfunding 
นาย ศราวุฒิ เสาร์เทพ (แบงค์)           หัวหน้าฝ่าย Documentary

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน


รายการราคาต่อคน (บาท)จำนวน(คน)ราคา (บาท)
1.ค่าใช้จ่ายการเรียนการสอน (สัปดาห์ที่ 1 - 10)
พร้อมอุปกรณ์การเรียนการสอนของนักเรียน 
(33 ห้องเรียน)
500500250,000
2.2. ค่าใช้จ่ายจัดกิจกรรม Big Day (สัปดาห์ที่ 11) อาทิ ค่าสถานที่ ตกแต่งสถานที่ อุปกรณ์ไฟฟ้า และค่าธรรมเนียม
เด็ก 500 คน
ครูอาสา 150 คน
400650260,000
รวม

510,000