project ผู้พิการและผู้ป่วย

กระเป๋ายา(ใจ)แก่เพื่อนบนดอย

ระดมทุนเพื่อจัดหากระเป๋ายาและเวชภัณฑ์พื้นฐาน 120 ชุดให้กับพี่น้องปกาเกอญอใน 120 ชุมชนที่อาศัยอยู่ใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ใช้ในยามเจ็บป่วย ในช่วงที่ถนนทุกสายตัดขาดจากโลกภายนอก

ระยะเวลาโครงการ 8 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

166,524 บาท

เป้าหมาย

396,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 42%
จำนวนผู้บริจาค 146

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

อบรม อสม. เป็น Super อสม. 40 คน ใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

17 มีนาคม 2021

จากการดำเนินการใน เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2563 ดำเนินการโดยสาขาวิชามีเดียอาตส์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีกิจกรรม ดังนี้

ประเด็นที่ 1 สิ่งที่ทำไปแล้ว

โครงการได้มีการจัดทำกระเป๋ายาจำนวน 190 ใบ จำนวนเงิน 198,000 บาท โดยใช้งบประมาณจากการขอรับบริจาคผ่านมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยเพื่อเทใจดอทคอม เป็นเงิน 80,000 บาท และใช้งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและกองทุนเพื่อการศึกษาและพัฒนาอาชีพ เป็นเงิน 118,000 บาท พร้อมทั้งดำเนินการจัดส่งไปยัง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมอบให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อสม.) ในพื้นที่จำนวน 111 แห่ง (แห่งละ 2-3 ใบตามขนาดชุมชน) พร้อมทั้งขอรับการบริจาคยาจากองค์การเภสัชกรรม ด้านยาพื้นฐานเบื้องต้นประกอบด้วย ยาและอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วย 33 ชนิด ได้แก่ 1) ยารับประทาน เช่น ยาพาราเซ็ทตามอล ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ ฯลฯ 2) ยาใช้ภายนอก เช่น แอลกอร์ฮอล์ โพวีดิน ยาหม่อง ฯลฯ 3) อุปกรณ์สำหรับปฐมพยาบาล เช่น ที่เป่าปาก สำลี ผ้ายืด ผ้าก๊อซ และ 4) อุปกรณ์สำหรับวัดไข้ วัดความดัน สายวัดตัว เป็นต้น

ประเด็นที่ 2 สิ่งที่ดำเนินการอยู่

ภายหลังจากได้กระเป๋ายาพร้อมเวชภัณฑ์และยาบางส่วน รวมถึงนักศึกษาสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ได้จัดทำสื่อการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับการจัดอบรมการดูแลการเจ็บป่วยขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องให้แก่ อสม.

กิจกรรมทำสื่อปฐมพยาบาลและกระเป๋ายา

มหาวิทยาลัยได้ทำงานร่วมกับเครือข่ายการทำงานในและนอกพื้นที่ภาคเหนือทั้ง มหาวิทยาลัยรังสิต โรงพยาบาลอมก๋อยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) 10 แห่ง และสถานบริการสาธารณสุข (สสช.) 21 แห่ง เพื่อจัดอบรมการปฐมพยาบาลและการใช้ยาและเวชภัณฑ์ให้แก่กลุ่ม อสม. หัวก้าวหน้าที่เรียกว่าโครงการ ซุปเปอร์ อสม. เพื่อดูแลสุขภาพ และการเจ็บป่วยขั้นพื้นฐานให้แก่ชาวบ้านในชุมชน ทั้งนี้ได้อบรม อสม. ไปแล้วจำนวน 30 คน

มหาวิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ที่มีความต่อเนื่องเพิ่มเติมเพื่อความยั่งยืนโดยการเปิดบัญชีเพื่อขอรับบริจาคเป็นกองทุนยาเพื่อคนบนบนดอย โดยหาทุนในการสนับสนุนยาสำหรับชุมชนในอนาคตรวมถึงเสนอให้มีการบรรจุแผนการดำเนินงานเพื่อขอรับบริจาคยาไปยังโรงพยาบาลอมก๋อยและ รพ.สต. เพื่อกระจายต่อให้กับ อสม. ในชุมชนอย่างยั่งยืน


ปัจจุบันได้จัดอบรม Super อสม. แล้ว 40 คน จาก 11 หย่อมบ้าน เรื่องการปฐมพยาบาล มอบกระเป๋ายาให้ Super อสม. ไปใช้แล้ว 19 ใบ (หย่อมบ้านละ 1-2 ใบ) มีรายละเอียดการอบรม คือ

  1. เดือนสิงหาคม 63 อบรม super อสม. หย่อมบ้านพะเบี้ยว บ้านราชา และบ้านมอคี ตำบลสบโขง จำนวน 7 คน มอบกระเป๋ายาไปใช้ 5 ใบ
  2. เดือนตุลาคม 63 อบรม Super อสม. หย่อมบ้านแม่ระมีดหลวง บ้านแม่ระมีดน้อย บ้านยองแหละ ตำบลอมก๋อย จำวน 12 คน มอบกระเป๋ายาไปใช้ 4 ใบ
  3. เดือนธันวาคม 63 อบรม Super อสม. หย่อมบ้านทีผะแหล่ บ้านมอโพคี บ้านวาเมทะ บ้านสะเรเด่คี บ้านทิตะอึคี ต.สบโขง จำนวน 20 คน มอบกระเป๋ายาไปใช้ 10 ใบ

การอบรมทักษะการใช้ยาพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

กิจกรรมให้ความรู้และฝึกทักษะซุปเปอร์ อสม.

ขณะเดียวกัน Super อสม. ได้จดบันทึกการใช้ยาและอุปกรณ์ในเป๋ายา เพื่อให้ทราบถึงจำนวนคนและอาการป่วยที่ชาวบ้านมาใช้บริการ รวมถึงปริมาณการใช้ยาและอุกรณ์ในกระเป๋ายา เพื่อวางแผนการเบิกยา/อุปกรณ์มาเติมในกระเป๋ายาให้มีใช้อย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อมูลเบื้องต้นหลังการอบรม พบว่า บ้านราชามีชาวบ้านมาขอใช้บริการจาก Super อสม.มากที่สุด จำนวน 57 คน รองลงมาเป็นบ้านพะเบี้ยว 45 คน และบ้านมอคี 37 คน ด้วยอาการ 1) ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ คัดจมูก ปวดหัว(มีไข้) และน้ำมูกไหล 2) ระบบกล้ามเนื้อ ได้แก่ ปวดหลัง ปวดขา ปวดแขน ปวดหัว(ไม่มีไข้) 3) ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก แสดงดังแผนภูมิ

**หมายเหตุ : หย่อมบ้านทีผะแหล่ ฯลฯ อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล

ประเด็นที่ 3 สิ่งที่จะทำในอนาคต

การวางแผนพัฒนาบุคลากรในชุมชนโดยเฉพาะกลุ่ม อสม. ที่จะเป็นตัวแทนทางสาธารณสุขในการดูแลรักษาสุขภาพคนในชุมชนเบื้องต้นก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาลเพื่อลดปัญหาการเดินทางที่ลำบากในช่วงหน้าฝนรวมถึงลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่คนในชุมชนและทำให้ชุมชนเข้าใจ และเห็นความสำคัญ การดูแลสุขภาพ

สรุปความท้าทายในการสร้างความยั่งยืน

ในอนาคตเราอยากเห็นชุมชนมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดีโดยเน้นในเรื่องของการพัฒนาและการกระจายความรู้แก่คนเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิต ลดการพึ่งพาปัจจัยด้านต่างๆ จากภายนอกสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีความรู้ในการดูแลลูกหลานต่อไปในอนาคต

จากการทำงานมาตลอดระยะเวลา 8 เดือน ในโครงการนี้ทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในชุมชนด้านสุขภาพในชุมชนพื้นที่สูง โดยเฉพาะในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” อ.อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ กว่า 111 แห่ง 500 หลังคาเรือน และจะยังคงพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่องควบคู่กับชุมชนต่อไป เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวไทยภูเขาในพื้นที่ประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น ขอขอบคุณการสนับสนุนการเป็นสื่อกลางของเทใจดอทคอม ในการช่วยประชาสัมพันธ์และเปิดรับบริจาคมา ณ ที่นี้

ผศ.ดร.ศิริก้อย ชุตาทวีสวัสดิ์

อาจารย์สาขาวิชามีเดียอาตส์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ถ้าพูดถึง”อมก๋อย” สิ่งแรกที่คิดถึงคือป่าที่อุดมสมบูรณ์ และเส้นทางทุรกันดาร โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนจะเป็นช่วงที่ชาวบ้านต้องเดินทางด้วยเท้าอย่างเดียว

สาขาวิชามีเดียอาตส์ และมีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม สุขภาพและการศึกษาแก่กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอญอ เพื่อสร้างโอกาสและเปิดประตูสู่โลกภายนอกได้อย่างมีความรู้ และมีภูมิคุ้มกันจากโลกภายนอก มีการศึกษาสูงกว่ารุ่นพ่อแม่และทำให้คุณภาพชีวิตในภาพรวมของครอบครัวและชุมชนดีขึ้น โดยบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน การวิจัย นำพานักศึกษาเข้ามาทำงานเพื่อสังคมในทุกๆปี ต่อเนื่องมากว่า 8 ปี โดยกลุ่มมีความเชื่อว่า ความเสมอภาค ความเท่าเทียม และการลดช่องว่างในทุกๆ ด้านเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วม และเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญให้ทั้งประเทศสวยงามและน่าอยู่ไปด้วยกัน


ที่ผ่านมาเราพัฒนาการดูแลเรื่องการศึกษาและสุขภาพของชุมชนใน ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” จำนวน 120 แห่ง แห่งละ 30 ครัวเรือนครัวเรือนละ 5 คน ประมาณ 150คน/แห่ง หรือประมาณ 15,000 คน ที่กระจายอยู่บนพื้นที่สูง และห่างไกล พบว่า

"พวกเขาเข้าไม่ถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี โดยเฉลี่ยมีห้องน้ำ 1 แห่ง/1หมู่บ้าน ใช้ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งมีไฟฟ้าใช้ได้ไม่เกิน 2 ทุ่มเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีหมอกและฝนชุกกว่า 8 เดือน ช่วงเวลาที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ต่อวันจึงน้อยมาก"

ยิ่งการเข้าถึงการรักษาในช่วงหมอกและฝนชุกกว่า 8 เดือน ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากลำบาก โครงการนี้มีความต้องการที่จะระดมทุนจัดซื้อกระเป๋ายา ยาสามัญประจำบ้าน และเวชภัณฑ์พื้นฐานด้านการปฐมพยาบาล เพื่อให้ซุปเปอร์อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ประจำหมู่บ้าน สามารถดูแลและให้การปฐมพยาบาลแก่กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอญอ เพราะในช่วงหน้าฝนการเดินทางระหว่างหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) และโรงพยาบาลอำเภออมก๋อย มีขีดจำกัดไม่สามารถเดินทางไปมาได้ ถนนขาด ต้องอาศัยการเดินเท้าหลายวันจึงจะสามารถถึงที่หมายได้ คาดว่าโครงการนี้จะช่วยเหลือด้านสุขภาพและความเจ็บป่วยให้แก่พี่น้องปกาเกอญอได้เป็นอย่างดี

เราจะจัดระดมทุนเพื่อซื้อกระเป๋ายา ยาสามัญประจำบ้าน และเวชภัณฑ์พื้นฐานด้านการปฐมพยาบาล เพื่อให้ซุปเปอร์ อสม สามารถดูแลและให้การปฐมพยาบาลแก่กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอญอ เพื่อประจำการที่ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” 120 แห่ง  จำนวน 120 ชุด เฉลี่ยค่าใช้จ่าย 3,300 บาทต่อชุด โดยกระเป๋าประกอบไปด้วย กระเป๋ายา, เครื่องวัดความดัน, ปรอทวัดไข้, เซ็ตทำแผล,ยาสามัญต่าง ๆเช่น พาราเซตามอลสำหรับเด็กและผู้ใหญ่, เกลือแร่, ยาแก้แพ้ เป็นต้น


ภาพประกอบ : ตัวอย่างกระเป๋ายา(ใจ) ขนาดกว้าง 7 นิ้วx สูง 9 นิ้วx ยาว 11 นิ้ว ทำจากวัสดุผ้ากันน้ำ กันฝุ่น กระเป๋าเล็กสามด้านสามารถถอดออกเพื่อแยกการใช้สอยที่สะดวก ทำความสะอาดได้ง่าย ใช้ผ้าตีนตุ๊กแกปิดฝากระเป๋า 3 ด้าน ทำให้สะดวกต่อการซ่อมบำรุงบนดอย ด้านในสามารถปรับพื้นที่ขนาดการใช้งานได้อย่างเหมาะสม น้ำหนักกระเป๋าราว 0.5 กิโลกรัม ราคาใบละ 900 บาท

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ศึกษาปัญหาบนดอยและพัฒนาให้โครงการแก่เพื่อนพ้องน้องพี่บนดอย จ.เชียงใหม่ นำมาสู่การจัดทำกระเป๋ายาที่ตอบโจทย์เพื่อความแข็งแรง ทนน้ำ ทนชื้น สมบุกสมบัน
  2. จัดทำกระเป๋าและจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์
  3. ทีมนักวิจัย มจธ. ในพื้นที่นำกระเป๋ายาพร้อมเวชภัณฑ์ให้ครู และ อสม. เพื่อใช้ภายในหมู่บ้าน
  4. ติดตามและรายงานผลการใช้กระเป๋ายาและเวชภัณฑ์ในแต่ละเดือน

ติดตามการดำเนินงานได้ที่ www.rsc.kmutt.ac.th หรือ FB: RSC KMUTT


ประโยชน์โครงการ

  1. ประชาชนกว่า 15,000 คนสามารถในการดูแลตนเองและมียาและเวชภัณฑ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ สร้างเสริมสุขภาวะให้ดีขึ้น
  2. มีปัจจัยสี่ที่เพียงพอให้แก่ชุมชน โดยใช้โรงเรียนและ อสม เป็นแกนในการขับเคลื่อนสุขภาพและอนามัยในชุมชน
  3. การตระหนักถึงการรักษาสุขภาพและการดูแลที่ถูกต้องทางการแพทย์

เจ้าของโครงการ


สมาชิกในทีม


ผศ.ดร.ศิริก้อย ชุตาทวีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชามีเดียอาตส์และมีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ.

อาจารย์สุเมธ ท่านเจริญ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ มจธ.

อาจารย์บวรศักดิ์ เพชรานนท์ ผู้จัดการพื้นที่ประสานงาน มจธ. ในเขตเชียงใหม่ ดูแลงานทุกด้านในพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

นางสาวธัญญ์วรา กติกาโชคสกุล นักวิจัย มจธ. ในพื้นที่ และเป็นชนชาติพันธุ์ปกาเกอญอ ทำงานใกล้ชิด ดูแลด้านสุขภาพและการศึกษาภายในชุมชน

นางสาวอัญชิสา หลำดารา นักศึกษาในโครงการ

นายสามารถ สรหงษ์ นักศึกษาในโครงการ

ภาคี 

โรงพยาบาลอมก๋อย

รพสต. จำนวน 10 แห่งใน อ.อมก๋อย

โรงเรียน ศศช ทั้ง 120 แห่ง

จัดซื้อกระเป๋ายาให้ครู และอสม. ตัวแทนหมู่บ้านใน อ.อมก๋อย

5 มกราคม 2021

โครงการได้ดำเนินกานเบิกเงินเพื่อจัดซื้อกระเป๋ายา ขนาดกว้าง 7 นิ้วx สูง 9 นิ้วx ยาว 11 นิ้ว ทำมาจากวัสดุผ้ากันน้ำ กันฝุ่น กระเป๋าเล็กสามด้านสามารถถอดออก เพื่อแยกการใช้สอยที่สะดวก ทำความสะอาดได้ง่าย ใช้ผ้าตีนตุ๊กแกปิดฝากระเป๋า 3 ด้าน ทำให้สะดวกต่อการซ่อมบำรุงบนดอย ด้านในสามารถปรับพื้นที่ขนาดการใช้งานได้อย่างเหมาะสม น้ำหนักกระเป๋าราว 0.5 กิโลกรัม ราคาประมาณ ใบละ 900 บาท

รูปภาพกระเป๋า

ลองจัดวางของในกระเป๋า เพื่อส่งมอบให้ครู และอสม. ใช้ในหมู่บ้านต่อไป


อบรม อสม. เป็น Super อสม. 40 คน ใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

17 มีนาคม 2021

จากการดำเนินการใน เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2563 ดำเนินการโดยสาขาวิชามีเดียอาตส์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีกิจกรรม ดังนี้

ประเด็นที่ 1 สิ่งที่ทำไปแล้ว

โครงการได้มีการจัดทำกระเป๋ายาจำนวน 190 ใบ จำนวนเงิน 198,000 บาท โดยใช้งบประมาณจากการขอรับบริจาคผ่านมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยเพื่อเทใจดอทคอม เป็นเงิน 80,000 บาท และใช้งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและกองทุนเพื่อการศึกษาและพัฒนาอาชีพ เป็นเงิน 118,000 บาท พร้อมทั้งดำเนินการจัดส่งไปยัง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมอบให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อสม.) ในพื้นที่จำนวน 111 แห่ง (แห่งละ 2-3 ใบตามขนาดชุมชน) พร้อมทั้งขอรับการบริจาคยาจากองค์การเภสัชกรรม ด้านยาพื้นฐานเบื้องต้นประกอบด้วย ยาและอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วย 33 ชนิด ได้แก่ 1) ยารับประทาน เช่น ยาพาราเซ็ทตามอล ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ ฯลฯ 2) ยาใช้ภายนอก เช่น แอลกอร์ฮอล์ โพวีดิน ยาหม่อง ฯลฯ 3) อุปกรณ์สำหรับปฐมพยาบาล เช่น ที่เป่าปาก สำลี ผ้ายืด ผ้าก๊อซ และ 4) อุปกรณ์สำหรับวัดไข้ วัดความดัน สายวัดตัว เป็นต้น

ประเด็นที่ 2 สิ่งที่ดำเนินการอยู่

ภายหลังจากได้กระเป๋ายาพร้อมเวชภัณฑ์และยาบางส่วน รวมถึงนักศึกษาสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ได้จัดทำสื่อการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับการจัดอบรมการดูแลการเจ็บป่วยขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องให้แก่ อสม.

กิจกรรมทำสื่อปฐมพยาบาลและกระเป๋ายา

มหาวิทยาลัยได้ทำงานร่วมกับเครือข่ายการทำงานในและนอกพื้นที่ภาคเหนือทั้ง มหาวิทยาลัยรังสิต โรงพยาบาลอมก๋อยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) 10 แห่ง และสถานบริการสาธารณสุข (สสช.) 21 แห่ง เพื่อจัดอบรมการปฐมพยาบาลและการใช้ยาและเวชภัณฑ์ให้แก่กลุ่ม อสม. หัวก้าวหน้าที่เรียกว่าโครงการ ซุปเปอร์ อสม. เพื่อดูแลสุขภาพ และการเจ็บป่วยขั้นพื้นฐานให้แก่ชาวบ้านในชุมชน ทั้งนี้ได้อบรม อสม. ไปแล้วจำนวน 30 คน

มหาวิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ที่มีความต่อเนื่องเพิ่มเติมเพื่อความยั่งยืนโดยการเปิดบัญชีเพื่อขอรับบริจาคเป็นกองทุนยาเพื่อคนบนบนดอย โดยหาทุนในการสนับสนุนยาสำหรับชุมชนในอนาคตรวมถึงเสนอให้มีการบรรจุแผนการดำเนินงานเพื่อขอรับบริจาคยาไปยังโรงพยาบาลอมก๋อยและ รพ.สต. เพื่อกระจายต่อให้กับ อสม. ในชุมชนอย่างยั่งยืน


ปัจจุบันได้จัดอบรม Super อสม. แล้ว 40 คน จาก 11 หย่อมบ้าน เรื่องการปฐมพยาบาล มอบกระเป๋ายาให้ Super อสม. ไปใช้แล้ว 19 ใบ (หย่อมบ้านละ 1-2 ใบ) มีรายละเอียดการอบรม คือ

  1. เดือนสิงหาคม 63 อบรม super อสม. หย่อมบ้านพะเบี้ยว บ้านราชา และบ้านมอคี ตำบลสบโขง จำนวน 7 คน มอบกระเป๋ายาไปใช้ 5 ใบ
  2. เดือนตุลาคม 63 อบรม Super อสม. หย่อมบ้านแม่ระมีดหลวง บ้านแม่ระมีดน้อย บ้านยองแหละ ตำบลอมก๋อย จำวน 12 คน มอบกระเป๋ายาไปใช้ 4 ใบ
  3. เดือนธันวาคม 63 อบรม Super อสม. หย่อมบ้านทีผะแหล่ บ้านมอโพคี บ้านวาเมทะ บ้านสะเรเด่คี บ้านทิตะอึคี ต.สบโขง จำนวน 20 คน มอบกระเป๋ายาไปใช้ 10 ใบ

การอบรมทักษะการใช้ยาพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

กิจกรรมให้ความรู้และฝึกทักษะซุปเปอร์ อสม.

ขณะเดียวกัน Super อสม. ได้จดบันทึกการใช้ยาและอุปกรณ์ในเป๋ายา เพื่อให้ทราบถึงจำนวนคนและอาการป่วยที่ชาวบ้านมาใช้บริการ รวมถึงปริมาณการใช้ยาและอุกรณ์ในกระเป๋ายา เพื่อวางแผนการเบิกยา/อุปกรณ์มาเติมในกระเป๋ายาให้มีใช้อย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อมูลเบื้องต้นหลังการอบรม พบว่า บ้านราชามีชาวบ้านมาขอใช้บริการจาก Super อสม.มากที่สุด จำนวน 57 คน รองลงมาเป็นบ้านพะเบี้ยว 45 คน และบ้านมอคี 37 คน ด้วยอาการ 1) ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ คัดจมูก ปวดหัว(มีไข้) และน้ำมูกไหล 2) ระบบกล้ามเนื้อ ได้แก่ ปวดหลัง ปวดขา ปวดแขน ปวดหัว(ไม่มีไข้) 3) ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก แสดงดังแผนภูมิ

**หมายเหตุ : หย่อมบ้านทีผะแหล่ ฯลฯ อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล

ประเด็นที่ 3 สิ่งที่จะทำในอนาคต

การวางแผนพัฒนาบุคลากรในชุมชนโดยเฉพาะกลุ่ม อสม. ที่จะเป็นตัวแทนทางสาธารณสุขในการดูแลรักษาสุขภาพคนในชุมชนเบื้องต้นก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาลเพื่อลดปัญหาการเดินทางที่ลำบากในช่วงหน้าฝนรวมถึงลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่คนในชุมชนและทำให้ชุมชนเข้าใจ และเห็นความสำคัญ การดูแลสุขภาพ

สรุปความท้าทายในการสร้างความยั่งยืน

ในอนาคตเราอยากเห็นชุมชนมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดีโดยเน้นในเรื่องของการพัฒนาและการกระจายความรู้แก่คนเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิต ลดการพึ่งพาปัจจัยด้านต่างๆ จากภายนอกสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีความรู้ในการดูแลลูกหลานต่อไปในอนาคต

จากการทำงานมาตลอดระยะเวลา 8 เดือน ในโครงการนี้ทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในชุมชนด้านสุขภาพในชุมชนพื้นที่สูง โดยเฉพาะในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” อ.อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ กว่า 111 แห่ง 500 หลังคาเรือน และจะยังคงพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่องควบคู่กับชุมชนต่อไป เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวไทยภูเขาในพื้นที่ประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น ขอขอบคุณการสนับสนุนการเป็นสื่อกลางของเทใจดอทคอม ในการช่วยประชาสัมพันธ์และเปิดรับบริจาคมา ณ ที่นี้

ผศ.ดร.ศิริก้อย ชุตาทวีสวัสดิ์

อาจารย์สาขาวิชามีเดียอาตส์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
1. กระเป๋าพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์เฉลี่ย  เฉลี่ย 3,000บาท/ใบ  120 ใบ 360,000
3.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

36,000
รวม
396,000