project เด็กและเยาวชน

โรงอาหารโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย

สร้างโรงอาหารที่มีหลังคา หลบแดด-ฝน ถูกสุขลักษณะให้กับโรงเรียนบนพื้นที่ดอยสูง จ.แม่ฮ่องสอน

ระยะเวลาโครงการ 1ปี 7เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ แม่ฮ่องสอน

ยอดบริจาคขณะนี้

153,000 บาท

เป้าหมาย

150,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 102%
จำนวนผู้บริจาค 98

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

โรงอาหารของเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่แพน้อยเฟส1 สำเร็จแล้ว

28 กันยายน 2017

หลังจากที่ได้ขึ้นโครงเหล็กของโรงอาหารโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย ตำบลกองก๋อย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้ว ทางโครงการก็ได้ดำเนินการสร้างโรงอาหารตามลำดับต่อไปนี้ 

  1. งานปรับพื้นที่บริเวณที่จะก่อสร้าง
  2. เทคอนกรีตฐานรากและเสาตอหม้อ
  3. ถมดินฐานรากทั้งหมด
  4. เทคอนกรีตคานรับพื้นชั้นที่ 1
  5. เทพื้นคอนกรีตชั้นที่ 1 (2 บล๊อค)
  6. เทเสาคอนกรีตรับโครงหลังคา
  7. เทคอนกรีตรับหลังคา
  8. ติดตั้งโครงสร้างหลังคาชั้นบน
  9. ติดตั้งโครงหลังคา
  10. งานมุงหลังคา

โรงอาหารของน้องๆ โรงเรียนบ้านแม่แพน้อย


นอกจากเด็กๆ โรงเรียนบ้านแม่แพน้อยจะมีโรงอาหารไว้ใช้เพื่อให้ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ถูกสุขลักษณะ สะดวก ปลอดภัยแล้ว ยังเป็นสนามฟุตบอลขนาดย่อมให้เด็กได้เล่นสนุกสนานอีกด้วย

หลังจากใช้พื้นที่แล้ว เด็กนักเรียนก็ช่วยกันเก็บ ทำความสะอาด

ความประทับใจ

ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู เด็กๆ นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่เงา อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน และชาวบ้านบ้านแม่แพน้อย ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้ใหญ่ใจดี ท่านผู้บริจาคและผู้ที่สนับสนุนโครงการก่อสร้างโรงอาหารโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย ทุกท่าน ที่ช่วยกันสนับสนุนและช่วยกันระดมความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เด็กๆ ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารได้มีความหวังในการที่จะได้มีโรงอาหารที่ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ที่ถูกสุขลักษณะ สะดวก และปลอดภัย มีโรงอาหารเป็นพื้นที่สำหรับทานอาหารที่เหมือนกับโรงเรียนอื่นๆ ขอขอบพระคุณมากครับ/ค่ะ

และหลังจากที่ทางโรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้าง มุงหลังคาและเทพื้นโรงอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางโรงเรียนจะได้วางแผนเพื่อดำเนินการเทพื้นคอนกรีตชั้นที่ 2 (2 บล็อกที่เหลือ) งานก่อผนัง กั้นห้องครัว ติดตั้งวงกบประตูหน้าต่าง ติดตั้งตะแกรงสำหรับป้องกันสัตว์ เทคอนกรีตพื้นรอบอาคา ทาสี ทำระเบียงและเก็บรายละเอียดและทดสอบการทำงานของระบบทั้งหมดให้เรียบร้อยต่อไป

นายไตรรงค์ บัวสุวรรณ
เจ้าหน้าที่ภาคสนาม 
กลุ่มงานคุ้มครองเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) 

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

จังหวัดแม่ฮ่องสอนขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวัดที่เดินทางยากลำบาก
ไม่น่าเชื่อว่าบางพื้นที่ระยะทาง 200-300 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาขับรถมากกว่า 6-8 ชั่วโมงกว่าจะถึงที่หมาย
ยิ่งโรงเรียนบนดอยสูงของจังหวัด ทางขึ้นเขาส่วนใหญ่ยังเป็นดินลูกรั้ง  การเดินทาง 10 กิโลเมตรบางครั้งใช้เวลาร่วมชั่วโมง เฉกเช่นโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนบ้านแม่แพน้อย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขาชนเผ่ากะเหรี่ยงโปว์ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม(ปลูกกะหล่ำปี) ฐานะยากจนและขาดโอกาสทางการศึกษา เด็กๆ นักเรียนของโรงเรียนส่วนใหญ่จึงเป็นเด็กยากจนและด้อยโอกาส 
โรงเรียนบ้านแม่แพน้อยเป็นโรงเรียนขนาดเล็กสอนในระดับอนุบาลถึงประถมจึงไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป มีนักเรียนอยู่ 56 คน เป็นชาย 36 คน หญิง 20 คน ประกอบกับงบประมาณที่ได้มาก็มีอย่างจำกัด วันนี้โรงเรียนยังขาดแคลนโรงอาหารสำหรับใช้ในการประกอบอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนรับประทาน และใช้สำหรับเป็นที่รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะของเด็กนักเรียน
 
 
 

 
 
โรงอาหารเป็นสถานที่ประกอบอาหารไว้สำหรับบริโภค  อาหารจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการบริโภคอาหารเพื่อให้ร่างกาย เจริญเติบโตและสามารถดำรงชีวิตอยู่โดยปกติสุขในการบริโภคอาหารสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณา  คือ ความสะอาด ความปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรคและสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายหรืออาจเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สุขภาพอนามัย และการดำรงชีวิตของผู้บริโภค การบริโภคที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารจึงไม่หมายความเพียงแต่บริโภคเข้าไปแล้ว  ไม่ก่อให้เกิดโรคหรือโทษในระยะเวลาปัจจุบันเท่านั้น ยังหมายถึงจะต้องไม่มีพิษภัยที่เป็นโทษหรือก่อให้เกิดโรคในระยะยาวหรือในอนาคตอีกด้วย การจัดการและการควบคุมอาหารให้สะอาดทำได้โดยการจัดการและการควบคุมปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารสกปรก รวมไปถึงสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโรงอาหารต้องสะอาดและถูกสุขลักษณะ โต๊ะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องอยู่ในสภาพดีและปลอดภัย 
 
จากสภาพปัจจุบันโรงอาหารของโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย ตำบลกองก๋อย อำเภอสบเมย   จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังไม่มีโรงอาหารใช้ เพราะขาดงบประมาณในการจัดสร้างเนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดเล็กจึงไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนการก่อสร้างอาคาร  จึงทำให้ไม่สะดวกต่อการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียนและทั้งยังไม่ถูกสุขาภิบาลสำหรับการดำเนินการประกอบอาหารกลางวันเพื่อรองรับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนอีกด้วย โรงเรียนบ้านแม่แพน้อย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีโรงอาหารไว้ใช้เพื่อให้ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข  ถูกสุขลักษณะ สะดวก ปลอดภัย  จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ประโยชน์ของโครงการ :

1.เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่แพน้อยมีโรงครัว โรงอาหารที่ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ไว้ใช้ประกอบอาหาร และใช้รับประทานอาหาร 
2.ชาวบ้านชุมชนบ้านแม่แพน้อย สามารถเข้ามาใช้บริการโรงอาหารของโรงเรียนในกิจกรรมต่างๆของชุมชน  
3.ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเด็กในเรื่องต่างๆ

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

1) ประชุมชี้แจงการทำโครงการก่อสร้างโรงอาหารร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน
2) แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน
3) จัดทำรายละเอียดประมาณการใช้จ่าย
4) การวางแผนและออกแบบสร้างโรงอาหาร
5) การจัดการสร้างโรงอาหาร
6) การประชุมเพื่อวางแผนการใช้งาน และร่วมกันตั้งคณะกรรมระหว่างโรงเรียนและชุมชนขึ้นมาช่วยกันดูแลโรงอาหาร
 
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ พร้อมกิจกรรม  
- ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ : เดือนเมษายน 2559 ถึง เดือนตุลาคม 2560
- วันที่เริ่มดำเนินการ : เมษายน 2559
- ระยะเวลาที่คาดว่าโครงการจะเห็นผลสำเร็จ : ช่วงเดือนเมษายน – ตุลาคม 2560
หมายเหตุ!  ทางโครงการเริ่มระดมใน เฟสที่ 1 ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนก่อน นั่นคือ 
1 งานปรับบริเวณที่จะก่อสร้าง เทคอนกรีตฐานรากและเสาตอหม้อพร้อมถมดินฐานรากทั้งหมด จากนั้นจะดำเนินการเทคอนกรีตคานรับพื้นชั้นที่ 1 และเทเสาคอนกรีตรับโครงหลังคา
2. ติดตั้งโครงหลังคา พร้อมมุงหลังคา
สำหรับการระดมทุนจะใช้เพื่อการจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการ
 
- ทรายหยาบ จำนวน 10 ลบ.ม.
 
- หินคลุก จำนวน  15 ลบ.ม.
 
- ทรายละเอียด จำนวน  15 ลบ.ม.
 
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลน จำนวน  100 ถุง
 
- อิฐซีเมนต์บล็อก จำนวน  1,500 ก้อน
 
- เสาปูน ขนาด 15 ซม. X 5 เมตร จำนวน  10 ต้น
 
- ตาข่ายถักเหล็กขนาด 2 เมตร X 10 เมตร จำนวน 4 ม้วน
 
- สังกะสี(เมทัลชีท) จำนวน 250 ตรม.
 
- เหล็กโครงสร้างหลังคา จำนวน 1 หลัง

สมาชิกภายในทีม :

1.) นายจิรพัส  ปันดิษ  ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย    ผู้ประสานงาน : โทร 092-5654269
2.) นางรัชนี  พัสกาลปักษ์   ครูโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย
3.) นางขวัญจิตร์  คำแปง  ครูโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย

ภาคี :

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

ความคืบหน้าโรงอาหารโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย

28 กรกฎาคม 2016

โครงการโรงอาหารโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย รับผิดชอบโดยกลุ่มงานคุ้มครองเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ได้เริ่มจัดทำโรงอาหารให้แก่เด็กๆ โรงเรียนบ้านแม่แพน้อย ในช่วงระหว่างวันที่ 18-22 กรกฎาคม 2559 ทางโรงเรียนบ้านแม่แพน้อยได้ร่วมมือกับชาวบ้านในการดำเนินการขึ้นโครงของโรงอาหาร ตามแผนการที่วางไว้ตามลำดับ ได้แก่ ขึ้นโครง – มุงหลังคา – เทพื้น  ซึ่งการขึ้นโครงโรงอาหารนี้ล่าช้ากว่าแผนการที่วางไว้ เนื่องจากในพื้นที่มีฝนตก ทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องเชื่อมได้ จากเดิมที่วางแผนไว้ว่าจะดำเนินการเสร็จภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม นี้ จึงต้องเลื่อนไปให้เสร็จภายในกลางเดือนสิงหาคม

ภาพโครงโรงอาหารที่ขึ้นโครงโรงอาหารสำเร็จ
  
 
 
  
   
  
หลังจากการก่อสร้างโครงโรงอาหารสำเร็จ ขั้นตอนต่อไปทางโรงเรียนและชาวบ้านจะช่วยกันดำเนินการมุงหลังคาโรงอาหารและเทพื้นโรงอาหาร

นายไตรรงค์ บัวสุวรรณ
เจ้าหน้าที่ภาคสนาม 
กลุ่มงานคุ้มครองเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)
25 กรกฎาคม 2559

โรงอาหารของเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่แพน้อยเฟส1 สำเร็จแล้ว

28 กันยายน 2017

หลังจากที่ได้ขึ้นโครงเหล็กของโรงอาหารโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย ตำบลกองก๋อย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้ว ทางโครงการก็ได้ดำเนินการสร้างโรงอาหารตามลำดับต่อไปนี้ 

  1. งานปรับพื้นที่บริเวณที่จะก่อสร้าง
  2. เทคอนกรีตฐานรากและเสาตอหม้อ
  3. ถมดินฐานรากทั้งหมด
  4. เทคอนกรีตคานรับพื้นชั้นที่ 1
  5. เทพื้นคอนกรีตชั้นที่ 1 (2 บล๊อค)
  6. เทเสาคอนกรีตรับโครงหลังคา
  7. เทคอนกรีตรับหลังคา
  8. ติดตั้งโครงสร้างหลังคาชั้นบน
  9. ติดตั้งโครงหลังคา
  10. งานมุงหลังคา

โรงอาหารของน้องๆ โรงเรียนบ้านแม่แพน้อย


นอกจากเด็กๆ โรงเรียนบ้านแม่แพน้อยจะมีโรงอาหารไว้ใช้เพื่อให้ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ถูกสุขลักษณะ สะดวก ปลอดภัยแล้ว ยังเป็นสนามฟุตบอลขนาดย่อมให้เด็กได้เล่นสนุกสนานอีกด้วย

หลังจากใช้พื้นที่แล้ว เด็กนักเรียนก็ช่วยกันเก็บ ทำความสะอาด

ความประทับใจ

ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู เด็กๆ นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่เงา อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน และชาวบ้านบ้านแม่แพน้อย ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้ใหญ่ใจดี ท่านผู้บริจาคและผู้ที่สนับสนุนโครงการก่อสร้างโรงอาหารโรงเรียนบ้านแม่แพน้อย ทุกท่าน ที่ช่วยกันสนับสนุนและช่วยกันระดมความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เด็กๆ ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารได้มีความหวังในการที่จะได้มีโรงอาหารที่ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ที่ถูกสุขลักษณะ สะดวก และปลอดภัย มีโรงอาหารเป็นพื้นที่สำหรับทานอาหารที่เหมือนกับโรงเรียนอื่นๆ ขอขอบพระคุณมากครับ/ค่ะ

และหลังจากที่ทางโรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้าง มุงหลังคาและเทพื้นโรงอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางโรงเรียนจะได้วางแผนเพื่อดำเนินการเทพื้นคอนกรีตชั้นที่ 2 (2 บล็อกที่เหลือ) งานก่อผนัง กั้นห้องครัว ติดตั้งวงกบประตูหน้าต่าง ติดตั้งตะแกรงสำหรับป้องกันสัตว์ เทคอนกรีตพื้นรอบอาคา ทาสี ทำระเบียงและเก็บรายละเอียดและทดสอบการทำงานของระบบทั้งหมดให้เรียบร้อยต่อไป

นายไตรรงค์ บัวสุวรรณ
เจ้าหน้าที่ภาคสนาม 
กลุ่มงานคุ้มครองเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) 

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงินต่อหน่วยค่าแรงราคารวม (บาท)
1.สังกะสี(เมทัลชีท)

250 ตรม.

87.22-21,805
2.บานประตูไม้เนื้อแข็งทึบ ขนาด 80 x 200 ซม.3 บาน14004084,608
3.อิฐซีเมนต์บล็อก1500 ก้อน8-12,000
4.ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลน100 ถุง129-12,900
5.วงกบประตูไม้เนื้อแข็งขนาด80 x 200 ซม.ขนาดไม้วงกบ2" x 4"3 ชุด980-2,940
6.ตาข่ายถักเหล็กขนาด2เมตร x 10 เมตร4 ม้วน250052010,520
7.เสาปูน ขนาด 15 ซม. X 5 เมตร10 ต้น4891,7606,650
8.หน้าต่างบานทึบไม้เนื้อแข็งขนาด 0.80 ซม. X1.20 เมตร4 บาน8003363,536
9.บานพับ ขนาด 4×3 นิ้ว8 ชุด40-320
10.กุญแจลูกบิดประตูสีสแตนเลสด้าน(ทั่วไป)3 ชุด3752401,365
11.เหล็กโครงสร้างหลังคา1 หลัง50,00010,00060,000
12.ปูพื้นกระเบื้องเคลือบ 12x12นิ้ว150 ตร.ม.24218,75055,050
13.ทรายหยาบ10 ลบ.ม.470.28-4,703
14.หินคลุก15 ลบ.ม.600-9,000
15.ทรายละเอียด15 ลบ.ม.646.03-9,690.45
16.วงกบหน้าต่างไม้เนื้อแข็ง ไม่มีช่องแสง ขนาด 80 x 120 ซม.4 ชุด7904003,560
รวมเป็นเงินทั้งหมด   218,647

 

รายการราคารวม (บาท)
1.ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง โดยยึดหลักการคำนวณแบบ Factor F คือ ค่าตัวเลขซึ่งกำหนดขึ้นตามมติคณะกรรมการควบคุมราคากลาง  (218,646x1.2726) 
รวมเป็นเงินทั้งหมด278,250

หมายเหตุ! เทใจร่วมระดมทุนเพสแรกเพื่อใช้ในการก่อสร้างฐานรากและหลังคาเพื่อให้โรงเรียนได้มีโรงอาหารสำหรับเด็กได้ใช้งานจริงก่อน จำนวน 150,000 บาท