project เด็กและเยาวชน

เปลี่ยนชีวิตน้องปากแหว่งเพดานโหว่ให้มีรอยยิ้ม

ร่วมกันแบ่งปันรอยยิ้มให้กับน้อง ๆ ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ จำนวน 10 คน ที่กำลังรอการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอนในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 กัน คุณสามารถช่วย “คืนรอยยิ้ม” ให้กับเด็กด้อยโอกาสนับพันในประเทศไทย

ระยะเวลาโครงการ 4 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ แม่ฮ่องสอน

ยอดบริจาคขณะนี้

325,328 บาท

เป้าหมาย

300,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 108%
จำนวนผู้บริจาค 124

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ออกหน่วยผ่าตัดให้ผู้ป่วยยากไร้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

12 กุมภาพันธ์ 2019


การเชื่อมช่องว่างที่ปาก คือ การเชื่อมโอกาสให้อนาคตของพวกเขา

นี่คือ ภารกิจของ มูลนิธิสร้างรอยยิ้มที่ต้องการมอบโอกาสในชีวิตให้กับทุกคนมีร้อยยิ้มที่สดใสอีกครั้ง

สัปดาห์นี้ ( 11-15 กุมภาพันธ์ 2562) มูลนิธิสร้างรอยยิ้มได้มาออกหน่วยเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนรอยยิ้มให้กับผู้ป่วยยากไร้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงแผลไฟไหม้ และความผิดปกติอื่น ๆ บนใบหน้า โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เราทราบมาว่า  ได้มีชาวบ้านเดินทางลงจากดอยมาตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ให้มาถึงโรงพยาบาลในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เพื่อให้พวกเขามาถึงโรงพยาบาลล่วงหน้า 1 วันก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการคัดกรองในช่วงเช้าวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 

การออกหน่วยปีละครั้งทำให้ชาวบ้านที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปในจังหวัดใกล้หรือกรุงเทพ มีความหวังมากขึ้น ภายในช่วงเช้ามีผู้เข้ากระบวนการคัดกรองราว 95 ราย 

หน้าตาที่อิ่มเอม เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง ผ่านกระบวนการซักถาม ตรวจร่างกายโต๊ะแล้ว โต๊ะเล่าโดยไม่ย่อท้อ ผลปรากฎว่า 

ทีมแพทย์ลงความเห็นว่ามีผู้ที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้เกือบทั้งหมด แต่บางคนที่ยังไม่สามารถเข้าการผ่าตัดได้เนื่องจาก ป่วย, น้ำหนักน้อยเกินเกณฑ์ หรือมีความผิดปกติหลายด้าน เห็นควรส่งตัวไปรักษาต่อที่กรุงเทพ เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องได้ร่วมพิจารณา

วันที่ 12 -15 กุมภาพันธ์ จากนี้ทีมแพทย์ พยาบาลได้แบ่งเป็น 3 ทีม เพื่อใช้ห้องผ่าตัดในการรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มที่ เพื่อมอบชีวิตใหม่ให้กับพวกเขา

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เหล่าอาสาสมัครเหล่านี้และเราขอนำภาพบรรยากาศมาให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ทุกๆ 3 นาที ทั่วโลกจะมีเด็กที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

เด็กทารกในประเทศไทยประมาณ 1 ใน 700 คน เกิดมาพร้อมกับอาการปากแหว่ง เพดานโหว่หรือทั้งสองอย่าง

น้อง ๆ เหล่านี้จะไม่สามารถดื่มนมแม่ หรือทานอาหารได้อย่างปกติ รวมถึงการออกเสียงและได้ยินก็ยากลำบากกว่าเด็กปกติ

ผลที่ตามมาคือ เด็กมีภาวะทุพโภชนาการ และปัญหาด้านสุขภาพกายและจิตใจ


มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงแผลไฟไหม้ และความผิดปกติอื่น ๆ บนใบหน้า โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ปัจจุบันได้มอบการผ่าตัดเปลี่ยนชีวิตจากมูลนิธิสร้างรอยยิ้มไปแล้วกว่า 12,000 ครั้ง  

ทำไมเรานับเป็นจำนวนครั้ง ?

เพราะการรักษาของเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แพทย์จำเป็นที่ต้องดูอาการของเด็กเหล่านี้ว่ามีภาวะอย่างใดบ้าง ทำให้การรักษาของบางคนไม่สามารถจบที่ครั้งเดียว 

เช่นบางกรณีปากเหว่งและเพดานโหว่ไปพร้อมๆ กัน แพทย์ต้องใช้การผ่าตัดหลายครั้งในหลายช่วงวัยเพื่อให้รองรับต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

ทว่า การผ่านตัดทุกครั้งก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้แล้ว เพราะการผ่าตัดเพียงแค่ 45 นาที กับค่าใช้จ่ายราว 30,000 บาท ต่อเคส ก็สามารถเปลี่ยนชีวิตเด็กคนหนึ่งได้ตลอดไป

วันที่ 11-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 มูลนิธิฯ จะจัดโครงการ “สร้างรอยยิ้ม” โดยนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปรักษาผู้ป่วย เพื่อแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ความผิดปกติอื่น ๆ บนใบหน้าจำนวน 80 ราย ที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

การรักษานี้ทำให้น้อง ๆ ทั้ง 80 คนได้มีรอยยิ้มที่สวยงาม เราจึงอยากชวนทุกท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการมอบรอยยิ้มให้น้องๆเหล่านี้


ตัวอย่างเรื่องราวสร้างรอยยิ้ม


"โฟล์คซอง" 

โฟล์คซองเกิดในจังหวัดอำนาจเจริญพร้อมภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ พ่อแม่ของเขาสาบานว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยลูกชาย แต่ก็กังวลว่าจะไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลราคาแพงได้  พวกเขาติดต่อมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม เพื่อขอรับความช่วยเหลือ

โฟล์คซองได้รับการผ่าตัดแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ที่จังหวัดอุบลราชธานีในปี 2556 หลังจากนั้น แม่ของเขาก็ร้องไห้ด้วยความสุขใจเพราะเธอรู้สึกว่าในที่สุดลูกชายก็มีโอกาสเหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ แล้ว เขาไม่ต้องกังวลอีกต่อไปแล้วว่าคนอื่นจะปฏิบัติต่อเขาผิดแผกแปลกไปเพียงเพราะความผิดปกติบนใบหน้า

แม่โฟล์คซอง เธอเขียนให้เรา  "ขอบคุณภารกิจทางการแพทย์ครั้งนี้ ฉันหวังว่าพวกคุณจะสร้างรอยยิ้มใหม่ให้เด็ก ๆ อย่างโฟล์คซองต่อไป ขอบคุณอาสา แพทย์ และทีมงานมูลนิธิสร้างรอยยิ้มทุกคนที่ได้ทำให้ชีวิตของโฟล์คซองสดใสขึ้นค่ะ 


ภารกิจของมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

โครงการผ่าตัด

1. โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้การผ่าตัดภายในหนึ่งสัปดาห์

ระดมบุคลากรแพทย์อาสาสมัครจากสาขาศัลยแพทย์ตกแต่ง วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลอาสาสมัครจากที่ต่างๆ เพื่อออกหน่วยมอบการผ่าตัดศัลยกรรมแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ความผิดปกติพิการบนใบหน้า และความพิการทางศัลยศาสตร์ตกแต่งอื่นๆ เช่น แผลเป็นหดรั้งจากไฟไหม้ น้าร้อนลวก นิ้วติด นิ้วเกิน ให้แก่คนไข้ในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ หรือขาดศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ทำการรักษาผู้ป่วย

2. โครงการผ่าตัดแบบต่อเนื่อง ไม่จำกัดระยะเวลา

การรักษาเพื่อรองรับผู้ป่วยให้ได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ด้วยการเปิดโครงการแบบต่อเนื่องไม่จำกัดระยะเวลา ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเครือข่ายของมูลนิธิสร้างรอยยิ้มทั่วโลก โดยมูลนิธิฯ จะขอเปิดโครงการกับโรงพยาบาลที่มีศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ขาดเงินทุนในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วย และระดมทุนเพื่อหางบประมาณสนับสนุนการผ่าตัดตามจำนวนผู้ป่วยที่ได้กาหนดกับทางโรงพยาบาล ผู้ป่วยจึงสามารถเข้ารับการรักษาตามเวลาที่สะดวก โดยมีศัลยแพทย์ประจำจากทางโรงพยาบาลให้การผ่าตัด และดูแลหลังการผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในช่วงเวลาที่สะดวกตั้งแต่เปิดโครงการจนกว่าจำนวนผู้ป่วยครบตามกำหนดที่ตั้งไว้

เจ้าของโครงการ


มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม 

http://www.operationsmile.or.th

สมาชิกภายในทีม

สหทัศน์ จันทร์ปรุง เจ้าหน้าที่ประสานงานฝ่ายบริหารพัฒนาแหล่งทุน (Mr. Sahathatna Chanprang, Resource Development Coordinator)

ภาคี


โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เว็บไซต์: http://wwwsrih.moph.go.th/



ออกหน่วยผ่าตัดให้ผู้ป่วยยากไร้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

12 กุมภาพันธ์ 2019


การเชื่อมช่องว่างที่ปาก คือ การเชื่อมโอกาสให้อนาคตของพวกเขา

นี่คือ ภารกิจของ มูลนิธิสร้างรอยยิ้มที่ต้องการมอบโอกาสในชีวิตให้กับทุกคนมีร้อยยิ้มที่สดใสอีกครั้ง

สัปดาห์นี้ ( 11-15 กุมภาพันธ์ 2562) มูลนิธิสร้างรอยยิ้มได้มาออกหน่วยเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนรอยยิ้มให้กับผู้ป่วยยากไร้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงแผลไฟไหม้ และความผิดปกติอื่น ๆ บนใบหน้า โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เราทราบมาว่า  ได้มีชาวบ้านเดินทางลงจากดอยมาตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ให้มาถึงโรงพยาบาลในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เพื่อให้พวกเขามาถึงโรงพยาบาลล่วงหน้า 1 วันก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการคัดกรองในช่วงเช้าวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 

การออกหน่วยปีละครั้งทำให้ชาวบ้านที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปในจังหวัดใกล้หรือกรุงเทพ มีความหวังมากขึ้น ภายในช่วงเช้ามีผู้เข้ากระบวนการคัดกรองราว 95 ราย 

หน้าตาที่อิ่มเอม เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง ผ่านกระบวนการซักถาม ตรวจร่างกายโต๊ะแล้ว โต๊ะเล่าโดยไม่ย่อท้อ ผลปรากฎว่า 

ทีมแพทย์ลงความเห็นว่ามีผู้ที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้เกือบทั้งหมด แต่บางคนที่ยังไม่สามารถเข้าการผ่าตัดได้เนื่องจาก ป่วย, น้ำหนักน้อยเกินเกณฑ์ หรือมีความผิดปกติหลายด้าน เห็นควรส่งตัวไปรักษาต่อที่กรุงเทพ เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องได้ร่วมพิจารณา

วันที่ 12 -15 กุมภาพันธ์ จากนี้ทีมแพทย์ พยาบาลได้แบ่งเป็น 3 ทีม เพื่อใช้ห้องผ่าตัดในการรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มที่ เพื่อมอบชีวิตใหม่ให้กับพวกเขา

มาร่วมเป็นกำลังใจให้เหล่าอาสาสมัครเหล่านี้และเราขอนำภาพบรรยากาศมาให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ


แผนการใช้เงิน


รายละเอียดคนบาท
1.ค่าผ่าตัดต่อเคส 30,00010300,000

ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดต่อคน


รายการบาท
ค่าเวชภัณฑ์14,700
ย่าสลบสำหรับเด็ก2,125
ท่อช่วยหายใจ360
แผ่นกรองอากาศของเครื่องช่วยหายใจ200
อุปกรณ์ช่วยระงับความรู้สึก800
ไหมเย็บแผล3,000
ค่ายา และการดูแลหลังการผ่าตัด500
ค่ารักษาอื่นๆ 8,315 
การรักษาผู้ป่วยต่อ 1 ราย30,000

***หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายต่อผู้ป่วย 1 ราย มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 25,000 ถึง 200,000 บาทต่อราย ขึ้นอยู่กับชนิดของการรักษาและผู้ป่วย โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจะอยู่ที่ 30,000 บาทต่อราย