project อื่นๆ

อนุรักษ์ตลาดโถงไม้แห่งสุดท้าย ณ เชียงใหม่

ร่วมรักษาสถาปัตยกรรมล้านนาและสืบสานคุณค่าความสัมพันธ์ทางสังคมแบบคนเมืองบะเก่า ให้กับคนรุ่นใหม่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้ซึมซับ เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสังคมที่มีเสน่ห์ของเมืองเชียงใหม่

ระยะเวลาโครงการ 4 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ เชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

3,483 บาท

เป้าหมาย

30,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 12%
จำนวนผู้บริจาค 8

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ความประทับใจและภาพบรรยากาศการดำเนินงานจากเจ้าของโครงการ

19 พฤษภาคม 2014

โครงการอนุรักษ์ตลาดโถงไม้แห่งสุดท้าย ณ เชียงใหม่ หลังจากที่ได้ปิดการระดมทุนไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 โดยมีเป้าหมาย 30,000 บาท เมื่อปิดการสนับสนุนลง รวมยอดตลอดโครงการเป็นจำนวน 4,500 บาท ทั้งนี้โครงการอนุรักษ์ตลาดโถงไม้แห่งสุดท้าย ณ เชียงใหม่ ก็ไม่สามารถระดมเงินสนับสนุนได้สำเร็จ แต่ทางเจ้าของโครงการได้จัดการดำเนินโครงการจนสำเร็จ โดยชาวเทใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ตลาดมิ่งเมืองนี้ด้วย 


 
การดำเนินโครงการ 
การจัดทำพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ตลาดมิ่งเมือง 
1. ทางกลุ่มได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ รูปถ่าย และเรื่องราวในความทรงจำจากผู้คนในย่าน 
2. มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าของตลาด พ่อค้าแม่ค้าและคณะกรรมการฟื้นฟูตลาดมิ่งเมือง เพื่อร่วมกันวางแผน แนวทางการพัฒนาพื้นที่ภายในตลาด การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ และรูปแบบของพิพิธภัณฑ์โดยกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม 
3. ทางโครงการได้ดำเนินการปรับปรุงห้องเช่าขนาดเล็ก เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ตามแผนงานและแบบก่อสร้างที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมกันวางแผนไว้
4. ได้จัดพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ตลาดมิ่งเมือง หลังการดำเนินการจัดสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 57 โดยได้เชิญนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ เป็นประธานในพิธี ร่วมกับชาวชุมชนล่ามช้าง และพ่อค้าแม่ค้า ชาวบ้านย่านตลาดสมเพชร-มิ่งเมือง พร้อมทั้งเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุนโครงการฯ 
5. ได้ดำเนินการสรุปประชุมการดำเนินการที่ผ่านมาร่วมกับคณะกรรมการฟื้นฟูตลาดมิ่งเมือง         
ได้ข้อสรุปในการดำเนินงานดังนี้ 
5.1 พิพิธภัณฑ์จะเปิดให้บริการทุกวัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ต้องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ของย่าน เรื่องราวของตลาดมิ่งเมือง และสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ 
5.2 ทางคณะกรรมการฟื้นฟูตลาดมิ่งเมือง เห็นสมควรให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษ โดยอาศัยความร่วมมือภายในของพ่อค้าแม่ค้า คนในย่าน และหน่วยงานภายนอกที่เข้าใจและสนับสนุนแนวคิดตามที่คณะกรรมการได้วางไว้ร่วมกัน 
สำหรับกิจกรรมวัฒนธรรมประจำเดือน ได้ออกแบบไว้ให้เดือน พ.ค. เป็นการสาธิตการประดิษฐ์กรวยดอกไม้โดยครูภูมิปัญญาในชุมชน, เดือน มิ.ย. เป็นการสาธิตการทำอาหาร และเปิดตัวเอกสารประชาสัมพันธ์ตลาด, และเดือน ก.ค. เป็นกิจกรรมหล่อเทียนพรรษา 
5.3 กิจกรรมกาดหมั้ว กาดเมือง (ตลาดอาหารพื้นเมือง) จะดำเนินต่อไปทุกเช้าวันอาทิตย์เช่นเดิม 
 
ความประทับใจต่อโครงการเทใจและผู้สนับสนุน
ขอขอบพระคุณทุกท่านๆ ที่สนับสนุนโครงการพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ตลาดมิ่งเมือง วันนี้ต้นทุนและแรงใจที่ได้รับได้แปลเปลี่ยนเป็นรูปธรรมที่เห็นชัดเจน และสร้างความภาคภูมิใจให้คนนับไม่ถ้วน พิพิธภัณฑ์ได้ถูกจัดสร้างขึ้น เสร็จเรียบร้อย สวยงาม และเป็นที่ปลาบปลื้มของชาวบ้านชาวชุมชนในย่าน เป็นความฝันที่ชาวบ้าน ชาวตลาดได้คิดฝันร่วมกันมาระยะหนึ่ง  แต่ด้วยการขาดการจัดการด้านทุนทรัพย์ และความมั่นใจ จึงทำให้โครงการนี้ และโครงการอื่นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ แต่หลังจากมีการเริ่มพูดคุยกัน มีการตั้งคณะกรรมการ มีการระดมทุน และความช่วยเหลือ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับจากผู้สนับสนุนผ่านเว็บโครงการเทใจ คณะกรรมการดำเนินงานก็รู้สึกมั่นใจมากขึ้น และสามารถดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย สำหรับชาวชุมชนแล้วถือได้ว่าเป็นก้าวย่างที่สำคัญ ในการรวมตัว ทำโครงการ และร่วมมือกันบริหารจัดการ เป็นโครงการนำร่องที่สำคัญ และสร้างแรงกระเพื่อมต่อความคิดถึงสถานะของตนเองในฐานพลเมือง ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง ดูแลรักษาย่านของตนเองได้อย่างแข็งแรง เป็นความเชื่อที่ยกระดับและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของชาวย่าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องครั้งสำคัญ  
 
ขอชื่นชมแนวคิดของทางโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ทำให้คนทั่วไปที่มีความคิดดีๆ และอยากทำกิจกรรมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้น สามารถบอกเล่าเรื่องราว และเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมากที่อยากสนับสนุนความคิด และการทำงานดีๆ ถือว่าเป็นการเติมช่องว่างที่ขาดหายไประหว่าง คนทำงาน และผู้ต้องการสนับสนุน 
 
ขอชื่นชมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ที่มีใจเปิดกว้าง ทำความเข้าใจ และให้กำลังใจผู้ดำเนินโครงการเสมอมา และขอเป็นกำลังใจสำหรับการทำงานหนุนเสริมกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
 
ภาพบรรยากาศการดำเนินงาน
 
  
การเก็บรวบรวมข้อมูลภาพเก่า และการประชุมวางแผนสรุปแบบการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์โดยปรับปรุงห้องเช่าเก่าภายในตลาด
 
  
การจัดเตรียมการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
 
ตัวอย่างภาพเก่าที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ฯ
 
นายกเทศมนตรี เทศบาลนครเชียงใหม่ ท่านอธิการอานนท์ วิสุทฺโธ เจ้าอาวาสวัดล่ามช้าง ร่วมเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้กาดมิ่งเมือง เมื่อวันที่ 6 เม.ย.57 
 
การแสดงดนตรีแจ๊สโดยวงนอร์ทเกต วงดนตรีจากร้านอาหารในชุมชนใกล้เคียงที่มาร่วมสนับสนุนงานเปิดพิพิธภัณฑ์
 
  
 
"กาดนี้คือความพูมใจ๋ของป้อและหมู่เฮาจาวกาดขอจ่วยกั๋นฮักษา"
 
สามารถ สุวรรณรัตน์
เจ้าของโครงการ
 
สามารถติดตามผลงานของกลุ่มคนใจบ้านได้ที่ : www.facebook.com/Konjaibaan
                                                              www.cmocity.com/fuenbaan
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

ที่ผ่านมาการทำงานร่วมกับชุมชน เช่น ชุมชนริมคลองแม่ข่า ชุมชนชาวนิมมานเหมินท์ ชุมชนวัดพวกแต้ม ชุมชนวัดทรายมูลเมือง ชุมชนริมทางรถไฟสามัคคี พื้นที่ตำบลแม่ทา จ.เชียงใหม่ และห้องสมุดฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ สิ่งที่ทำให้กลุ่มคนใจบ้าน ได้พบและประหลาดใจคือ การทำงานที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาชุมชนและมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ชาวบ้านอยากเข้ามามีส่วนร่วมจัดการและเป็นเจ้าของ

ตลาดมิ่งเมือง หรือ กาดสมเพชร เป็นตลาดโถงไม้โบราณขนาดใหญ่แห่งสุดท้ายในเขตเมืองเก่าในเมืองเชียงใหม่ ดำเนินกิจการการค้าขายอย่างตลาดสด ที่คงรักษาอาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ทั้งตัวโถงตลาดและอาคารห้องแถวไม้และปูนอายุราว 80 ปี เอาไว้อย่างสมบูรณ์ พร้อมไปกับการสืบสานคุณค่าความสัมพันธ์ทางสังคมแบบคนเมืองบะเก๋า(คนเหนือ) ความเป็นเครือญาติ เป็นเพื่อนพี่น้อง การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน เช่น การรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันของแม่ค้า  ฯลฯ 

 

 
ตลาดมิ่งเมืองคือหนึ่งในสามโครงการนำร่อง เป็นโครงการที่ภายหลังได้เกิดกลุ่มคณะกรรมการฟื้นฟูตลาด ทำกิจกรรมตลาดวัฒนธรรม การสำรวจอาคารและย่านร่วมกัน การประชุมนับครั้งไม่ถ้วนอันนำซึ่ง โจทย์การฟื้นฟูตลาดมิ่งเมืองที่มิใช่แค่เรื่องกายภาพ หรือประโยชน์ของตลาด แต่เป็นการเก็บรักษา และดูแลพื้นที่รอบๆ บริเวณตลาด โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชน และวัดเป็นอย่างดี
ชาวตลาดและชาวย่านกำลังเริ่มต้นพูดคุย หาแนวทาง และเริ่มเก็บหาของเก่านำมาจัดแสดง และเปิดให้ผู้คน เยาวชน และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก ได้เรียนรู้และชื่นชม ทั้งเพื่อเป็นการฟื้นฟูบรรยากาศของตลาดที่ซบเซาให้กลับมีชีวิตชีวา การให้ความรู้ความเข้าใจถึงคุณค่าของย่าน และยังเป็นการสร้างกระแสการท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเคารพต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ย่านการค้าและที่อยู่อาศัยรายรอบตลาดกำลังเผชิญหน้ากับรูปแบบธุรกิจการท่องเที่ยวที่ไม่หมาะสมและเป็นมิตรกับย่าน
 
นี่เป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกคน.ใจ.บ้าน ได้พบระหว่างการสำรวจและเก็บข้อมูลชุมชน จากความรู้สึกนี้ทำให้เรา(กลุ่มคน.ใจ.บ้าน) เชื่อมั่น และเริ่มต้นการทำโครงการนำร่อง โดยยึดมั่นการทำงานในพื้นที่ที่มุ่งสร้างให้ผู้คนในพื้นที่ร่วมคิดร่วมทำ และเป็นเจ้าของ 

ประโยชน์ของโครงการ :

1. เกิดการฟื้นฟูรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของตลาดและย่าน ทั้งด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ด้านสังคม วิถีชีวิต ด้านคุณค่าทางสถาปัตยกรรม และการดำเนินงานฟื้นฟู และพัฒนาพื้นที่โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน นำเสนอในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ 

2.เกิดการเรียนรู้คุณค่ากระบวนการทำงานร่วมกันของพ่อค้าแม่ค้า เจ้าของตลาด ชุมชน วัด และสถาบันการศึกษา รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

3.เกิดพื้นที่กลางเพื่อทำกิจกรรมทางวัฒนธรรม สำหรับเด็กเยาวชนในชุมชน และผู้คนที่สนใจ 
 

 

ผลกระทบของโครงการ

 

1.เกิดพิพิธภัณฑ์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนและย่านตลาด ให้ผู้คนได้มาร่วมพบปะพูดคุย และร่วมดำเนินงานปรับปรุง ฟื้นฟูย่านต่อไปในอนาคต
2.พิพิธภัณฑ์เป็นศูนย์เรียนรู้แก่เยาวชน ผู้ที่สนใจ และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 
3.เกิดการเรียนรู้คุณค่าของมรดกที่ตนมีอยู่ และการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน 
4.เกิดการเรียนรู้การทำงานในพื้นที่จริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษา และเยาวชนที่ร่วมโครงการ
5.เกิดจุดท่องเที่ยวและให้ข้อมูลชุมชน ที่สร้างแนวทางการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ให้กับย่าน เป็นการสร้างแนวทางใหม่ๆ ที่เหมาะสมและออกแบบโดยผู้คนในพื้นที่  

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

กิจกรรมทั้งสามข้อจะทำงานโดยมีกลุ่มผู้ดำเนินโครงการทำงานร่วมกับนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)ร่วมกับ พ่อค้าแม่ค้า เจ้าของตลาด และเยาวชน ชาวบ้านในพื้นที่ 

1.สร้างสืบค้น รวบรวมเก็บข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้ดำเนินโครงการ เยาวชน และผู้คนในย่าน 
2.การจัดทำบอร์ดนิทรรศการเพื่อสื่อความหมาย ในประเด็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และคุณค่าของตลาดและย่าน 
3.จัดทำโมเดลตัวอาคารตลาด และอาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมโดยรอบ 
 

ก่อน-หลัง ห้องเรียนรู้วิถีชีวิตกาดมิ่งเมือง 
 
กิจกรรมที่ผ่านมา
สถานที่ 1.ชุมชนริมคลองแม่ข่าจำนวน 8 ชุมชน(สนับสนุนโดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) 2.ชุมชนชาวนิมมานเหมินท์ (สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 3.ชุมชนวัดพวกแต้ม 4.ชุมชนวัดทรายมูลเมือง (สนับสนุนโดยโครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่) 5.ชุมชนริมทางรถไฟสามัคคี(สนับสนุนโดยเครือข่ายสลัม 4 ภาค) 6.พื้นที่ตำบลแม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนพอช.) 7.ห้องสมุดฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่(สนับสนุนโดยโครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่)  โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้ 
1.การประชุมร่วมกับกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้คนที่สนใจการทำงานฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ เพื่อกำหนดโจทย์การทำงานร่วมกับชุมชน 
2.เมื่อได้โจทย์ที่ทุกคนเห็นพ้อง แล้วจึงร่วมกันวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การวางแผนการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงการจัดการทรัพยากร โอกาสและความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงผู้คนที่มีศักยภาพอื่นๆเข้ามาร่วมในการดำเนินงาน 
3.การระดมทุนร่วมกัน ผ่าน การเขียนข้อเสนอของบประมาณสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ การรับบริจาค หรือจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมระดับชุมชน เพื่อการระดมทุน และการสื่อสารสาธารณะ 
4.การเริ่มโครงการนำร่องหรือเป้าหมายแรกที่ชุมชนและผู้ดำเนินโครงการได้วางแผนร่วมกัน 
5.สรุปผล ถอดองค์ความรู้ และวางแผนสู่การดำเนินโครงการในขั้นต่อไป 
หมายเหตุ โครงการทั้งหมดได้ดำเนินการครบทั้ง 5 กระบวนการ โดยโครงการจำนวน 6 พื้นที่ยกเว้นพื้นที่ย่านนิมมานเหมินท์ (ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ) ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมให้กับพื้นที่ พร้อมไปกับการสร้างบุคลากรในการทำงาน ที่อยู่ในรูปเครือข่ายคนจิตอาสาในทุกๆชุมชน 

สมาชิกภายในทีม :

 

มาตร (สามารถ สุวรรณรัตน์ / MART/ SAMART SUWANNARAT) เลขานุการกองทุนฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ ผู้ประสานงานกลุ่มสถาปนิกคน.ใจ.บ้าน และนักวิจัยประจำสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในทีมงานฟื้นฟูเมืองเก่าเมืองเชียงใหม่ร่วมกับโครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ เมื่อกลางปี 54  เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ชุมชนเมืองเก่า และกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน  ติดต่อ samart77@gmail.com / โทร 089-9809434
 
อ้อ (แพรวพร สุขัษเถียร  / OHR / PRAEWPORN SUKHISATHIAN) ผู้จัดการโครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียง เชียงใหม่ ปี ๒ (2556-2557) มหาบัณฑิตจากสถาบันอาศรมศิลป์ และผู้ดำเนินโครงการฟื้นฟูชุมชนริมน้ำจันทรบูร เชี่ยวชาญด้านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนและการบูรณะอาคารเก่า ติดต่อ praewponnz@gmail.com / โทร 085-902-5292
 
ตี๋ (ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร / TEE / SUPAWUT BOONMAHATHANAKORN) คณะกรรมการกองทุนฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ และสถาปนิกชุมชนประจำ มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย (ACHR) เชี่ยวชาญด้านการจัดอบรมเชิงปฎิบัติการสำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรม และกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ตี๋ทำงานพัฒนาที่อยู่อาศัยร่วมกับผู้มีรายได้น้อยในกลุ่มประเทศเอเชีย หลายประเด็น เช่น  กลุ่มประเทศอาเซียน อินเดีย เกาหลี และญี่ปุ่น 
 
อ.แต๋ม (ชลิฎา นิภารักษ์ / TAM / SALIDA NIPARUK) คณะกรรมการเจ้าของตลาดมิ่งเมือง และอดีตอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทนคณะกรรมการตลาดเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการฟื้นฟูตลาดผ่านกิจกรรม กาดหมั้ว กาดเมือง และการปรับปรุงตลาดด้านกายภาพ รวมถึงเป็นกำลังหลักในการนำพาตลาดมิ่งเมืองและย่านสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวที่เป็นมิตร
 
อ.เอ (กรวรรณ สังขกร / A / KORAWAN SANGKHAKORN) นักวิจัยระดับชำนาญการ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิจัยผู้ชำนาญการด้านการวิจัยเรื่องการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวชุมชน และการวิจัยในประเด็นเรื่องเมืองสร้างสรรค์-ชุมชนสร้างสรรค์ และผู้สนับสนุน กิจกรรมการกาดหมั้ว กาดเมือง ณ กาดมิ่งเมือง เมื่อปีที่แล้ว

สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่

ภาคี :

 

1.โครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่   หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ถนนพระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200   
โทร/แฟ็กซ์ 053-217793
2.สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200  
โทร 053-942582 

ความประทับใจและภาพบรรยากาศการดำเนินงานจากเจ้าของโครงการ

19 พฤษภาคม 2014

โครงการอนุรักษ์ตลาดโถงไม้แห่งสุดท้าย ณ เชียงใหม่ หลังจากที่ได้ปิดการระดมทุนไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 โดยมีเป้าหมาย 30,000 บาท เมื่อปิดการสนับสนุนลง รวมยอดตลอดโครงการเป็นจำนวน 4,500 บาท ทั้งนี้โครงการอนุรักษ์ตลาดโถงไม้แห่งสุดท้าย ณ เชียงใหม่ ก็ไม่สามารถระดมเงินสนับสนุนได้สำเร็จ แต่ทางเจ้าของโครงการได้จัดการดำเนินโครงการจนสำเร็จ โดยชาวเทใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ตลาดมิ่งเมืองนี้ด้วย 


 
การดำเนินโครงการ 
การจัดทำพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ตลาดมิ่งเมือง 
1. ทางกลุ่มได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ รูปถ่าย และเรื่องราวในความทรงจำจากผู้คนในย่าน 
2. มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าของตลาด พ่อค้าแม่ค้าและคณะกรรมการฟื้นฟูตลาดมิ่งเมือง เพื่อร่วมกันวางแผน แนวทางการพัฒนาพื้นที่ภายในตลาด การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ และรูปแบบของพิพิธภัณฑ์โดยกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม 
3. ทางโครงการได้ดำเนินการปรับปรุงห้องเช่าขนาดเล็ก เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ตามแผนงานและแบบก่อสร้างที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมกันวางแผนไว้
4. ได้จัดพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ตลาดมิ่งเมือง หลังการดำเนินการจัดสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 57 โดยได้เชิญนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ เป็นประธานในพิธี ร่วมกับชาวชุมชนล่ามช้าง และพ่อค้าแม่ค้า ชาวบ้านย่านตลาดสมเพชร-มิ่งเมือง พร้อมทั้งเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุนโครงการฯ 
5. ได้ดำเนินการสรุปประชุมการดำเนินการที่ผ่านมาร่วมกับคณะกรรมการฟื้นฟูตลาดมิ่งเมือง         
ได้ข้อสรุปในการดำเนินงานดังนี้ 
5.1 พิพิธภัณฑ์จะเปิดให้บริการทุกวัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ต้องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ของย่าน เรื่องราวของตลาดมิ่งเมือง และสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ 
5.2 ทางคณะกรรมการฟื้นฟูตลาดมิ่งเมือง เห็นสมควรให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษ โดยอาศัยความร่วมมือภายในของพ่อค้าแม่ค้า คนในย่าน และหน่วยงานภายนอกที่เข้าใจและสนับสนุนแนวคิดตามที่คณะกรรมการได้วางไว้ร่วมกัน 
สำหรับกิจกรรมวัฒนธรรมประจำเดือน ได้ออกแบบไว้ให้เดือน พ.ค. เป็นการสาธิตการประดิษฐ์กรวยดอกไม้โดยครูภูมิปัญญาในชุมชน, เดือน มิ.ย. เป็นการสาธิตการทำอาหาร และเปิดตัวเอกสารประชาสัมพันธ์ตลาด, และเดือน ก.ค. เป็นกิจกรรมหล่อเทียนพรรษา 
5.3 กิจกรรมกาดหมั้ว กาดเมือง (ตลาดอาหารพื้นเมือง) จะดำเนินต่อไปทุกเช้าวันอาทิตย์เช่นเดิม 
 
ความประทับใจต่อโครงการเทใจและผู้สนับสนุน
ขอขอบพระคุณทุกท่านๆ ที่สนับสนุนโครงการพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ตลาดมิ่งเมือง วันนี้ต้นทุนและแรงใจที่ได้รับได้แปลเปลี่ยนเป็นรูปธรรมที่เห็นชัดเจน และสร้างความภาคภูมิใจให้คนนับไม่ถ้วน พิพิธภัณฑ์ได้ถูกจัดสร้างขึ้น เสร็จเรียบร้อย สวยงาม และเป็นที่ปลาบปลื้มของชาวบ้านชาวชุมชนในย่าน เป็นความฝันที่ชาวบ้าน ชาวตลาดได้คิดฝันร่วมกันมาระยะหนึ่ง  แต่ด้วยการขาดการจัดการด้านทุนทรัพย์ และความมั่นใจ จึงทำให้โครงการนี้ และโครงการอื่นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ แต่หลังจากมีการเริ่มพูดคุยกัน มีการตั้งคณะกรรมการ มีการระดมทุน และความช่วยเหลือ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับจากผู้สนับสนุนผ่านเว็บโครงการเทใจ คณะกรรมการดำเนินงานก็รู้สึกมั่นใจมากขึ้น และสามารถดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย สำหรับชาวชุมชนแล้วถือได้ว่าเป็นก้าวย่างที่สำคัญ ในการรวมตัว ทำโครงการ และร่วมมือกันบริหารจัดการ เป็นโครงการนำร่องที่สำคัญ และสร้างแรงกระเพื่อมต่อความคิดถึงสถานะของตนเองในฐานพลเมือง ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง ดูแลรักษาย่านของตนเองได้อย่างแข็งแรง เป็นความเชื่อที่ยกระดับและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของชาวย่าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องครั้งสำคัญ  
 
ขอชื่นชมแนวคิดของทางโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ทำให้คนทั่วไปที่มีความคิดดีๆ และอยากทำกิจกรรมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้น สามารถบอกเล่าเรื่องราว และเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมากที่อยากสนับสนุนความคิด และการทำงานดีๆ ถือว่าเป็นการเติมช่องว่างที่ขาดหายไประหว่าง คนทำงาน และผู้ต้องการสนับสนุน 
 
ขอชื่นชมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ที่มีใจเปิดกว้าง ทำความเข้าใจ และให้กำลังใจผู้ดำเนินโครงการเสมอมา และขอเป็นกำลังใจสำหรับการทำงานหนุนเสริมกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
 
ภาพบรรยากาศการดำเนินงาน
 
  
การเก็บรวบรวมข้อมูลภาพเก่า และการประชุมวางแผนสรุปแบบการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์โดยปรับปรุงห้องเช่าเก่าภายในตลาด
 
  
การจัดเตรียมการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
 
ตัวอย่างภาพเก่าที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ฯ
 
นายกเทศมนตรี เทศบาลนครเชียงใหม่ ท่านอธิการอานนท์ วิสุทฺโธ เจ้าอาวาสวัดล่ามช้าง ร่วมเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้กาดมิ่งเมือง เมื่อวันที่ 6 เม.ย.57 
 
การแสดงดนตรีแจ๊สโดยวงนอร์ทเกต วงดนตรีจากร้านอาหารในชุมชนใกล้เคียงที่มาร่วมสนับสนุนงานเปิดพิพิธภัณฑ์
 
  
 
"กาดนี้คือความพูมใจ๋ของป้อและหมู่เฮาจาวกาดขอจ่วยกั๋นฮักษา"
 
สามารถ สุวรรณรัตน์
เจ้าของโครงการ
 
สามารถติดตามผลงานของกลุ่มคนใจบ้านได้ที่ : www.facebook.com/Konjaibaan
                                                              www.cmocity.com/fuenbaan

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนราคารวม (บาท)
1. ค่าวัสดุทำโมเดล โถงตลาดไม้ และอาคารสัญที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่รายรอบ

1

12,000
2. ขาตั้งโมเดล (โต๊ะไม้ 4 ขา)12,500
3. ค่าจัดทำบอร์ดนิทรรศการ บอร์ดไม่พริ้นท์จัดแสดงในห้อง69,000
4. ค่ารวบรวมและจัดทำข้อมูลสำหรับนิทรรศการ12,000
5. ค่าจัดทำป้ายพิพิธภัณฑ์14,500
รวม 30,000