ต้องแฉ-พื้นที่สื่อกลางแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน

ร่วมสนับสนุนเฟซบุ๊กเพจ “ต้องแฉ หรือ Must share” เพื่อทำหน้าที่เป็นหู เป็นตา รักษาผลประโยชน์ของสังคมด้วยการสนับสนุนให้มีพื้นที่ให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการต่อต้านการคอร์รัปชัน www.facebook.com/mustshareofficial
ระยะเวลาโครงการ 1ปี
ยอดบริจาคขณะนี้
21,900 บาทเป้าหมาย
440,000 บาท“ต้องแฉ” ทุกเรื่องราวความเคลื่อนไหวประเด็นทุจริตคอรัปชันการรับสินบน เรื่องร้องทุกข์ ปัญหาสาธารณูปโภคปัญหาสังคม
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเป็นภัยร้ายที่อยู่กับสังคมมานาน สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก
กลไกหนึ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหาคือการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของสังคม เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาชน และสื่อ แต่กลไกการทำงานนั้นก็มีอุปสรรค
เพราะสื่อสืบสวนสอบสวนและการนำเสนอข่าวการทุจริตคอร์รัปชันยังมีไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนและขนาดของปัญหา การสืบค้นเข้าถึงข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ เป็นไปอย่างยากลำบาก ขณะที่ภาคประชาชนนั้น คนจำนวนมากในสังคมยังมองเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องที่ไกลตัว ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวให้เบาะแสเพราะเสี่ยงต่อความปลอดภัย แต่หากเราไม่ร่วมมือกันแก้ไข การทุจริตคอร์รัปชันก็จะยังอยู่คู่สังคมต่อไปและจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
จะดีกว่าไหม...ถ้าทุกคนสามารถช่วยกันเฝ้าระวังสอดส่อง ดูแลผลประโยชน์สาธารณะ แจ้งเบาะแสเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน หรือเรื่องที่ส่อเค้าไปในทางทุจริตได้อย่างปลอดภัย เราจึงเปิดพื้นที่ให้ทุกคนเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลการทุจริตคอร์รัปชันที่พบเห็น เปิดโปงกลโกงให้สังคมรับรู้ และร่วมแก้ปัญหาไปด้วยกัน โดยใช้แนวความคิด “Crowdsourcing” มาใช้ในการทำงานผ่านแพลตฟอร์ม ชื่อว่า ต้องแฉ หรือ Must share ซึ่งในระยะแรกนี้ใช้ Facebook page : www.facebook.com/mustshareofficial เป็นแพลตฟอร์มความร่วมมือการทำงานต่อต้านการทุจริต
ผลงานต้องแฉตลอด 1 ปี
ตลาดประชารัฐ
ที่มาของประเด็น : สมาชิกเพจต้องแฉส่งข้อมูลมาแจ้งว่าหลังจากที่ตลาดประชารัฐปากเกร็ดเปิดให้บริการมาได้สักระยะแล้วไม่มีประชาชนมาใช้บริการมากเท่าที่ควร ร้านค้าน้อย อยากให้เพจต้องแฉช่วยลงพื้นที่ตรวจสอบ
การดำเนินงานของต้องแฉ : หลังจากต้องแฉได้เปิดประเด็นเรื่องบรรยากาศของตลาดประชารัฐปากเกร็ดไปในเบื้องต้นแล้ว ทำให้เป็นที่สนใจของประชาชนเนื่องจากมีการใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูงถึง 28 ล้านซึ่งเกิดความกังวลถึงความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณดังกล่าว จนนำไปสู่การได้รับข้อมูลประเด็นปัญหาอื่น ๆ จากสมาชิกเพจต้องแฉอีกหลากหลายประเด็น เช่น ห้องน้ำผู้พิการที่มีการปิดล็อคตลอดเวลาไม่สามารถใช้งานได้ ประเด็นการจัดสร้างซุ้มถ่ายภาพที่ระลึกหน้าตลาดซึ่งได้มีการเปรียบเทียบข้อมูลราคาการผลิตจากสมาชิกเพจแล้วพบว่าราคารับผลิตทั่วไปต่ำกว่ามาก จนนำไปถึงประเด็นการตรวจสอบบริษัทรับเหมาก่อสร้างซึ่งอาจจะมีความเกี่ยวพันกับข้าราชการระดับสูงซึ่งเสี่ยงต่อเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
ผลสรุป : ต้องแฉจึงร่วมกับสำนักข่าวอิศราเจาะลึกประเด็นตลาดประชารัฐปากเกร็ดอย่างต่อเนื่องและเป็นที่สนใจของประชาชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น จนทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงมาแก้ปัญหาเบื้องต้นเรื่องร้านค้าและประชาชนมาซื้อของในตลาดน้อย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินดำเนินการตรวจสอบอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้เรียกให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกับกรณีดังกล่าวมาตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่ออธิบายรายละเอียดต่อสาธารณะ
การลอกคลองราชบุรี
ที่มาของประเด็น : ทีมงานต้องแฉได้รับข้อมูลการร้องเรียนเรื่องการลอกคลองของตำบลท่าราบ จังหวัดราชบุรี โดยผู้ร้องเรียนให้ข้อมูลกับทีมงานต้องแฉว่าลำคลองในตำบลท่าราบ จังหวัดราชบุรีนั้นไม่มีการลอกคลอง และผู้ร้องเรียนยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าทางนายกอบต. แจ้งว่าไม่มีงบประมาณส่วนนี้ แต่กลับเอางบประมาณไปทำประตูกั้นน้ำแทน
การดำเนินงานของต้องแฉ : ทีมงานต้องแฉได้ดำเนินการโพสต์ประเด็นปัญหาโดยให้ข้อมูลตามที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามา ประกอบกับภาพของคลองในตำบลท่าราบ รวมไปถึงป้ายโครงการและประตูกั้นน้ำที่นายกอบต. จัดทำขึ้น
ผลสรุป : หลังจากมีการโพสต์ไปเพียง 1 วัน เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นทันที เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น แชร์ประเด็นที่ต้องแฉนำเสนอและแท็กไปที่เฟซบุ๊คของผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี จึงได้มีการดำเนินการลอกคลองเพื่อแก้ปัญหาให้ทันที
หมายเหตุ ดูผลงานเติมได้ที่ www.facebook.com/mustshareofficial
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. รวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหาที่ส่อไปในทางทุจริตคอร์รัปชัน หรือผลกระทบจากการทุจริตคอร์รัปชันจากสมาชิกแฟนเพจที่ส่งเข้ามาในอินบ็อกซ์ของเพจต้องแฉและจากประเด็นที่เป็นกระแสสังคมที่ถูกพูดถึงอยู่ในขณะนั้น
2. ออกแบบคำถาม / เจาะจงข้อมูลที่ต้องการเพื่อส่งต่อสู่สาธารณะผ่านแฟนเพจต้องแฉ
3. ประชาชนที่สนใจร่วมให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ผ่านทางคอมเมนต์หรืออินบ็อกซ์
4. ประมวลผลข้อมูลโดยทีมงานของเพจต้องแฉเพื่อส่งต่อถึงส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามประเด็นโดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
- นำข้อมูลส่งต่อให้ทีมนักวิจัย นักวิชาการในเครือข่าย ได้แก่ SIAM Lab และ TDRI เพื่อนำไปวิเคราะห์ประเด็นในระดับโครงสร้าง
- ข้อมูลถูกนำไปต่อยอดโดยสำนักข่าว และสื่อพลเมืองในเครือข่าย เช่น สำนักข่าวอิศรา ทีมปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน เพื่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง
- นำข้อมูลสรุปมาผลิตเป็นสื่อที่เข้าใจง่ายเพื่อส่งต่อถึงประชาชนเช่น Infographic, Clip เป็นต้น
5. ประชาชนได้รับข้อมูลสรุปตามประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงปัญหาและวิธีการป้องกัน รวมทั้งสร้างความตื่นรู้ให้ประชาชนได้
6. เกิดเครือข่ายความร่วมมือจากองค์กรที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โครงการข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) เป็นต้น เพื่อรับเรื่องไปดำเนินการแก้ปัญหา
7. ต้องแฉจะขยายช่องทางการรับสารของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มไปที่ทวิตเตอร์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นคนรุ่นใหม่ หรือเป็นวัยรุ่น โดยสนใจเรื่องราวการเคลื่อนไหวของสังคม และเว็บ 77 ข่าวเด็ดซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวที่เปิดตัวได้ไม่นานนัก แต่มีผู้ให้ความสนใจและติดตามอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ข่าวที่ทำข่าวในประเทศไทย ทั้ง 77 จังหวัด เป็นเรื่องใกล้ตัว และประชาชนให้ความสนใจ เพื่อเป็นการขยายกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างจากแฟนเพจบน Facebook และขยายฐานข้อมูลข่าวทุจริต
8. การขยายความร่วมมือของต้องแฉ เพื่อขยายช่องทางการรับสาร เนื่องจากทางทีมงานเล็งเห็นความสำคัญเรื่องการทำงานร่วมกันของนักข่าวสืบสวนสอบสวน (Investigative Journalist) ที่มีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคแต่ยังไม่ปรากฎชัดเจนว่ามีการทำงานร่วมกัน ผ่านสื่อต่าง ๆ
จากแนวคิด Crowdsourcing ที่เป็นการเปิดพื้นที่ให้ทุกคนเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลบนเพจต้องแฉ โดยจุดประสงค์หลักเพื่อเป็นตัวกลางหรือพื้นที่ให้สื่อ และบุคคลที่สนใจสามารถนำข้อมูลทุจริตคอร์รัปชัน หรือข้อมูลที่ส่อทุจริตที่เกิดขึ้นบนเพจต้องแฉไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ จึงเกิดการวางแผนเพื่อขยายความร่วมมือกับสื่ออื่น ๆ เพื่อให้เรื่องทุจริตคอร์รัปชันสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลง และสร้างผลกระทบได้
ประโยชน์ของโครงการ
1 ประชาชนมีพื้นที่ในการร่วมตรวจสอบและรักษาผลประโยชน์สาธารณะได้อย่างปลอดภัยผ่านแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านบริหารจัดการข้อมูล
2 สร้างระบบการทำงานร่วมกันระหว่างประชาชน สื่อมวลชน องค์กรทางวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรภาคเอกชน องค์กรที่ทำงานด้านต่อต้านคอร์รัปชัน และองค์กรรัฐบาล ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างเป็นระบบ
3 เป็นพื้นที่ให้ข้อมูล อธิบายความซับซ้อนในระดับโครงสร้างของปัญหาและอธิบายข้อสงสัยหรือความไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นในสังคม ให้ความรู้ในการบริโภคสื่อหรือรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน
สมาชิกภายในทีม
แผนการใช้เงิน
รายการ | จำนวน | บาท |
1.ทีมงาน Admin 2 คน (เต็มเวลา) คนละ 15,000 บาทต่อเดือน | 12 | 360,000 |
2.ผลิตสื่อในการสื่อสาร | 36,000 | |
3.ค่าดำเนินการเทใจ 10% | 44,000 | |
440,000 |