project อื่นๆ

เครื่องผสมอาหารไก่สมุนไพรเพิ่มคุณภาพไข่อินทรีย์

ระดมทุนซื้อเครื่องผสมอาหารจากธรรมชาติและสมุนไพรจากท้องถิ่นให้เกษตรกรในชนบท เพื่อให้ไข่ไก่อินทรีย์มีมาตราฐานเหมือนกัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรรายย่อยในชนบท และยกระดับให้อาหารของพวกเราปลอดภัย

ระยะเวลาโครงการ 2 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ จังหวัดบุรีรัมย์

ยอดบริจาคขณะนี้

1,260 บาท

เป้าหมาย

55,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 2%
จำนวนผู้บริจาค 7

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ความประทับใจจากโครงการเครื่องผสมอาหารไก่สมุนไพรเพิ่มคุณภาพไข่อินทรีย์

17 มกราคม 2018

โครงการเครื่องผสมอาหารไก่สมุนไพรเพิ่มคุณภาพไข่อินทรีย์

เจ้าของโครงการ : เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน

การดำเนินโครงการ : ทำการผลิตอาหารไก่ไข่อินทรีย์จากพืชและสมุนไพรในท้องถิ่น โดยใช้ทุนที่ได้รับการสนับสนุนเป็นเงินหมุนเวียนสำหรับการจัดซื้อวัตถุดิบในการผลิต

ความประทับใจถึงผู้บริจาค

ทางโครงการฯ ขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนทุกท่าน ที่ช่วยให้การพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ในพื้นที่ชนบทจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ขับเคลื่อนต่อไป การสนับสนุนในครั้งนี้ได้ส่งต่อแรงผลักดันและกำลังใจให้เราสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรรายย่อย รวมทั้งได้เสริมความเข้มแข็งให้กับกระบวนการผลิตไข่ไก่อินทรีย์อย่างยั่งยืน และส่งมอบคุณค่าทางอาหารไปพร้อมกับคุณประโยชน์ต่อสังคมไปยังผู้บริโภคในวงกว้าง

นาวี นาควีระ
ผู้ก่อตั้งเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

เพราะเราต้องการให้ชาวบ้านทำไข่ไก่อินทรีย์ที่มีคุณภาพดีเหมือนกันทุกฟอง

เราจึงอยากชวนทุกคนช่วยกันสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยในชนบท จ.บุรีรัมย์มีความตั้งใจที่จะผลิตไข่ไก่อินทรีย์ที่มีประโยชน์ รสชาติอร่อยและปลอดภัย

กลุ่มนวัตกรรมชาวบ้านชักชวนให้ชาวบ้านเลิกใช้สารเคมีหรืออาหารที่มีส่วนผสมของฮอร์โมรในทุกกรณี โดยเฉพาะการผลิตไข่ไก่เพื่อออกขายไปยังประชาชนทุกคน

เราจึงใช้กระบวนการผลิตไข่ไก่ ด้วยการกินอาหารธรรมชาติและสมุนไพร ซึ่งผ่านการบดผสมวัตถุดิบจากท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นรำข้าว, ปลายข้าว, มันสำปะหลัง ฯลฯ และพืชสมุนไพร เช่น ขมิ้นชัน, ฟ้าทะลายโจร ไพล, บอระเพ็ด ฯลฯ ซึ่งจะทำให้แม่ไก่แข็งแรง รวมถึงไข่ที่ได้ก็มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค

เกษตรกรจะเน้นให้ความสุขกับแม่ไก่ เพราะเชื่อว่า เมื่อแม่ไก่มีสุขภาพกายที่ดี สุขภาพจิตที่ดีแล้ว ผลผลิตก็ดีจะตามด้วย อย่างไรก็ตาม กระบวนการผลิตของกลุ่มเรายังมีข้อจำกัดที่ทำให้ไข่ไก่ของเรามีคุณภาพสีไม่เท่ากัน เปลือกหนา เปลือกบ้างไม่เท่ากัน นั่นก็เพราะ การบดวัตถุดิบอาหารแม่ไก่ของเราใช้แรงงานคนในการผสม ทำให้ส่วนผสมไม่ทั่วถึงและสม่ำเสมอ

ไข่ไก่ถูกเลี้ยงแบบปล่อยในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ เพื่อสร้างความสุขให้แม่ไก่

ยกตัวอย่างส่วนผสมบางอย่างมีปริมาณที่น้อยมาก เช่น ขมิ้นชัน ที่ต้องผสมลงไป 200 กรัม ( 0.02 กก. ) ต่อการผสมวัตถุดิบอื่นๆ 100 กิโลกรัม การใช้แรงงานคนในการบดผสมไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึง เมื่อนำไปให้แม่ไก่กินก็จะพบว่าคุณภาพของไข่ไก่ที่ได้มีความไม่สม่ำเสมอเช่น ไข่ไก่บางส่วนเปลือกบาง ในขณะที่ไข่ไก่บางส่วนเปลือกหนา หรือไข่ไก่บางส่วนมีไข่แดงสีเหลืองอ่อน ในขณะที่ไข่ไก่บางส่วนสีเหลืองเข้ม เป็นต้น

เกษตกรเก็บไข่ทุกวันในช่วงเวลาเย็น โดยคัดที่ไม่ได้คุณภาพออก

เราจึงอยากได้เครื่องจักรในการบดผสมอาหารไก่ไข่อินทรีย์ จะช่วยให้วัตถุดิบต่างๆที่อยู่ในอาหารไก่ไข่สามารถผสมเข้ากันอย่างทั่วถึง เมื่อแม่ไก่กินอาหารเข้าไปจะได้รับสารอาหารครบถ้วน และได้รับสมุนไพรที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีอย่างทั่วถึง อีกทั้งยังให้ไข่ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอตรงกับความต้องการของผูบริโภค ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการผสม ช่วยลดต้นทุนการผลิตอาหารไก่ไข่เนื่องจากสามารถจัดซื้อวัตถุดิบในการในแต่ละรอบการผลิตได้มากขึ้น ทำให้ราคาต่อหน่วยของวัตถุดิบแต่ละชนิดลดลง ลดการจ้างแรงงานและค่าขนส่งวัตถุดิบ ซึ่งส่งผลดีต่อการลดต้นทุนของเกษตรกรรายย่อย

กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 10 ครอบครัว

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. จัดซื้อเครื่องบดผสมอาหารไก่ไข่สำหรับปริมาณการผสมวัตถุดิบครั้งละ 100 กิโลกรัม ติดตั้งเครื่องจักรไว้ ณ สำนักงานกลางของเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน จ.บุรีรัมย์
  2. ผสมอาหารไก่ไข่จากวัตถุดิบในท้องถิ่น และจัดส่งให้กับเกษตรกกรรายย่อย ขณะเดียวกันก็ทำการสังเกตเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างการผสมอาหารไก่ไข่ด้วยมือและการใช้เครื่องจักร โดยการบันทึกระยะเวลาในการผสมอาหาร 100 กก., เวลาและค่าจ้างของแรงงาน, สุขภาพของแม่ไก่, คุณภาพของไข่ไก่อินทรีย์ ( ความหนาของเปลือกไข่, ความข้นของไข่ขาว, ความสม่ำเสมอของสีไข่แดง, น้ำหนักไข่ไก่ต่อฟอง )
  3. ติดตามความพึงพอใจของผู้บริโภค และตัวแทนจำหน่ายไข่ไก่อินทรีย์ โดยเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ไข่ไก่อินทรีย์ก่อนและหลังการใช้เครื่องจักรในการผสมอาหารไก่ไข่

ติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่ Facebook page : grassroot innovation network

ประโยชน์ของโครงการ

  1. ทำให้สามารถผลิตอาหารไก่ไข่อินทรีย์ที่มีคุณค่าอาหารครบถ้วนและผสมสมุนไพรช่วยสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับไก่ไข่ อันส่งผลให้แม่ไก่มีสุขภาพแข็งแรง และไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรือยาปฏิชีวนะต่างๆ
  2. ลดการใช้แรงงาน และลดต้นทุนการผลิตอาหารไก่ไข่อินทรีย์ ทำให้เกษตรกรมีเวลาในการดูแลไก่ไข่ในฟาร์มของตนเองมากขึ้น และมีกำไรจากการขายไข่ไก่มากขึ้น
  3. ผู้บริโภคที่ซื้อไข่ไก่อินทรีย์ ได้รับไข่ไก่ที่มีคุณภาพดีสม่ำเสมอ เปลือกไข่มีสีสวยงามไม่แตกง่าย เนื้อไข่ขาวข้นและสีไข่แดงที่เหลืองสดใสน่ารับประทาน

สมาชิกภายในทีม

นายนาวี นาควัชระ
จบการศึกษาปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ( NIDA ) มีประสบการณ์ในการทำงานพัฒนาชนบทมากว่า 15 ปี โดยเริ่มจากการเป็นอาสาสมัครที่ใช้ทักษะความรู้ด้าน ICT ในการถอดเก็บความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านในจังหวัดบุรีรัมย์ จนกระทั่งได้รวบรวมชาวบ้านในชุมชนจัดตั้ง “เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน” เพื่อพัฒนาความรู้ต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมให้กลายเป็นความรู้ใหม่ที่ใช้ได้จริงในพื้นที่ และตอบสนองกับการแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของคนชนบท ต่อมาได้มีการจัดตั้ง “บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด” โดยทั้งสององค์กรยังคงทำงานคู่ขนานร่วมกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน เคยได้รับทุนจาก JICA ( Japan International Cooperation Agency ) ไปศึกษาการจัดการองค์กรชุมชนและสหกรณ์การเกษตรที่ประเทศญี่ปุ่น และได้รับรางวัลผู้ประกอบการสังคม Ashoka Fellow ในปี 2009 จาก Ashoka Foundation 
Facebook : Nawee Nakwatchara

ความประทับใจจากโครงการเครื่องผสมอาหารไก่สมุนไพรเพิ่มคุณภาพไข่อินทรีย์

17 มกราคม 2018

โครงการเครื่องผสมอาหารไก่สมุนไพรเพิ่มคุณภาพไข่อินทรีย์

เจ้าของโครงการ : เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน

การดำเนินโครงการ : ทำการผลิตอาหารไก่ไข่อินทรีย์จากพืชและสมุนไพรในท้องถิ่น โดยใช้ทุนที่ได้รับการสนับสนุนเป็นเงินหมุนเวียนสำหรับการจัดซื้อวัตถุดิบในการผลิต

ความประทับใจถึงผู้บริจาค

ทางโครงการฯ ขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนทุกท่าน ที่ช่วยให้การพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ในพื้นที่ชนบทจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ขับเคลื่อนต่อไป การสนับสนุนในครั้งนี้ได้ส่งต่อแรงผลักดันและกำลังใจให้เราสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรรายย่อย รวมทั้งได้เสริมความเข้มแข็งให้กับกระบวนการผลิตไข่ไก่อินทรีย์อย่างยั่งยืน และส่งมอบคุณค่าทางอาหารไปพร้อมกับคุณประโยชน์ต่อสังคมไปยังผู้บริโภคในวงกว้าง

นาวี นาควีระ
ผู้ก่อตั้งเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน

แผนการใช้เงิน

รายการราคา(บาท)
1. เครื่องบดผสมอาหารไก่ไข่55,000
รวมเป็นเงิน55,000