project โควิด-19 กลุ่มคนเปราะบาง

“Save แม่สอด” ร่วมด้วยช่วยบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลหน้าด่านสู้โควิด-19

จัดหาอุปกรณ์ป้องกันให้ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาลทุกแห่ง , โรงพยาบาลสนาม 12 แห่ง รวมถึง Home Isolation และ Community Isolation ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ต้องดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 1,432 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันโรคจำนวนมากอย่างเร่งด่วนในทุกวัน เพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจากความเสี่ยง

ระยะเวลาโครงการ 26 ก.ค. 2564 ถึง 25 ส.ค. 2564 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ยอดบริจาคขณะนี้

269,619 บาท

เป้าหมาย

342,100 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 79%
จำนวนผู้บริจาค 248

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ดำเนินการบริการ Migrant Home Isolation และ Migrant Community Isolation

11 พฤศจิกายน 2021

    มูลนิธิช่วยไร้พรมแดนได้ทำงานประสานร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนภารกิจ เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ไร้สถานะ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการด้วยทั้งปัญหาด้านการสื่อสารและสิทธิด้านการรักษาพยาบาล ทำให้โรงพบาบาลแม่สอดมีภาระงานที่หนักอยู่แล้วที่ต้องรักษาพยาบาลกลุ่มประชากรไทยแล้วยังต้องมาให้บริการกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ที่มีจำนวนสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับประชากรไทยในพื้นที่ รวมถึงด้านการจัดการทรัพยากรที่เป็นไปอย่างจำกัด ภาคีเครือข่ายองค์กรเอกชนจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งและสนับสนุนระบบการดูแลกลุ่มแรงงานข้ามชาติให้ได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ตรวจ และรักษาโรคโควิดอย่างทันท่วงทีเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต โดยการทำงานผ่านระบบดูแลสาธารณสุข 2 ช่องทางคือ

1. Migrant Home Isolation (HI) การสนับสนุนภารกิจร่วมกับภาคีเครือข่าย 4 องค์กรในการให้บริการดังนี้

  • จัดตั้งศูนย์ประสานงานแจ้งรับผู้ป่วยทางโทรศัพท์ (call center) โดยมีอาสาสมัครรับสายภาษาพม่า ป้อนข้อมูลเข้าระบบการรักษาและเชื่อมกับระบบของโรงพยาบาลแม่สอด
  • การบันทึกอาการและส่งต่อข้อมูล Tele-med ให้ พญ.ภมรรัตน์ คำปา แพทย์หัวหน้าโครงการ Migrant Home Isolation โดยสามารถสมัครจะโทรศัพท์สอบถามผู้ป่วยที่กักตัวที่บ้านทุกรายถึงค่าอุณภูมิในร่างกายและออกซีเจนในแต่ละวันเป็นเวลา 14 วัน และหากค่าอุณภูมิในร่างกายและออกซีเจนอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดหรือต้องส่งตัวเข้ารับการ x-ray ปอดหรือส่งต่อไปยังสถานพยาบาลทั้งโรงพยาบาลแม่สอดหรือโรงพยาบาลสนามต่างๆ แพทย์จะเป็นผู้สั่งส่งต่อได้อย่างทันท่วงที
  • การจัดส่งอุปกรณ์การดูแลรักษาตัวเองที่บ้านในระบบ Home Isolation โดยสนับสนุนอุปกรณ์ ปรอทวัดไข้แบบหลอด เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และยาสามัญประจำบ้านเบื้องต้น โดยการระดมทุนผ่านเทใจได้ใช้งบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ ปรอทวัดไข้แบบหลอดจำนวน 400 ตัว เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดจำนวน 400 เครื่อง และชุดหมี PPE จำนวน 100 ชุด
  • การจัดบริการรถรับ-ส่ง ผู้ป่วยที่ต้องมารับบริการ x-ray ปอดที่โรงพยาบาลรวมถึงการส่งชุดยังชีพเพื่อการกักตัวที่บ้าน
  • การสนับสนุนชุดอาหารยังชีพเพื่อผู้ป่วยสามารถกักตัวได้ที่บ้าน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มักทำงานรับจ้างรายวัน ไม่สามารถกักตุนหรือมีอาหารเพียงพอในการกักตัวที่บ้านได้ครบกำหนดเวลา รวมถึงผู้ป่วยบางคนเป็นหัวหน้าครอบครัวและเป็นเพียงคนเดียวที่มีรายได้ การส่งมอบชุดอาหารจึงช่วยให้ครอบครัวมีอาหารเพียงพอกับสมาชิดในครอบครัวทุกคน รวมถึงสามารถกักตัวได้ครบกำหนดระยะเวลาอีกด้วย

    สรุปจำนวนผู้เข้ารับบริการ Migrant Home Isolation (HI) ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 26 ตุลาคม 2564 จำนวนทั้งสิ้น 253 ราย โดยได้ส่งต่อคนไข้ไปรับการรักษาพยาบาลต่อในระบบ โรงพยาบาลแม่สอด และ โรงพยาบาลสนาม จำนวน 48 ราย ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดมีผล ATK ลบ จำนวน 7 ราย โดยแยกเป็นเชื้อชาติ พม่า 67.19% กะเหรี่ยง 27.67% อิสลาม 1.58% และ มอญ กัมพูชา ปะโอ อเมริกัน นาคา อย่างละ 0.40%

อาสาสมัครส่งมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ป่วยกักตัวที่บ้าน

การลงมอบอุปกรณ์วัดไข้อุณภูมิร่างกายและออกซีเจนในเลือด และคัดกรองโควิดในชุมชนกลุ่มเ

สี่ยง

2. Migrant Community Isolation (CI)

    การสนับสนุนอาสาสมัครจำนวน 2 คน เพื่อเป็นผู้ช่วยในการสื่อสารและดูแลผู้ป่วยในสถานกักตัวรูปแบบชุมชนในกลุ่มประชากรข้ามชาติ จัดตั้งขึ้นที่วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย เพื่อแยกตัวผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองหรือส้มออกจากครอบครัว หรือกรณีผู้ป่วยไม่สามารถกักตัวในรูปแบบ Home Isolation ได้ อาจจะด้วยข้อจำกัด การอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นในบ้านหลังเดียว หรือไม่สามารถจัดแยกห้องพักห้องสุขาได้

    มูลนิธิช่วยไร้พรมแดนได้เริ่มให้การสนับสนุนตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2564 โดยหน้าที่อาสาสมัครได้แก่

  • ภารกิจในสถานกักตัว Migrant Community Isolation (CI)
  • อ่านข้อควรปฏิบัติในระหว่างการรักษาตัวในรูปแบบ Migrant Community Isolation (CI)
  • บันทึกอุณหภูมิร่างการ และ ค่า Oxygen ในเลือด
  • เขียนชื่อบัตรให้คนไข้ที่มาใหม่
  • ส่งสารให้ผู้ป่วย ส่งของใช้และยาไปให้ผู้ป่วย
  • รอรับสายโทรศัพท์จากผู้ป่วยที่ต้องการของใช้บางอย่างที่ขาดหรือลืมนำติดตัวมาจากที่บ้าน
  • เขียนบัตรให้กับคนไข้ที่มาใหม่
  • รายงานรายชื่อผู้ป่วยที่ต้องไปเอกซเรย์ประจำวัน
  • ภารกิจงานส่งเสริมป้องกันโรคในชุมชน
  • ตรวจคัดกรองโควิดในชุมชนอิสลาม
  • เป็นผู้ช่วยทั่วไปในงานการฉีดวัคซีนในชุมชน

    สรุปจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการจาก Migrant Community Isolation (CI) โพธิวิชชาลัย ระหว่างวันที่ 5 กันยายน – 8 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 378 คน

ส่งมอบถุงยังชีพให้แก้ผู้ป่วยหลังจากรักษาตัวที่ Community Isolation แล้วยังต้องกักตัวที่บ้านต่ออีก 14 วัน

อุปกรณ์ใช้ใน Community Home Isolation


Poster ประชาสัมพันธ์ช่องทางรับบริการผ่านสื่อ Online

เสียงจากผู้รับประโยชน์

ท่านที่ 1 คุณขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

คุณขนิษฐาหรือพี่ขม หัวหน้าคลินิกหมอครอบครัวทีมคุณภาพที่เป็นผู้ขับเคลื่อนงานการจัดตั้งศูนย์ Community Isolation หรือเรียกว่าศูนย์ CI ทั้งในแต่ละชุมชนโดยมีเจ้าภาพเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศูนย์ CI ที่จัดตั้งโดยชุมชน หรือแม้แต่ศูนย์ CI ที่บริหารจัดการโดย รพ.แม่สอดเอง

คุณขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล เสื้อสีน้ำเงินขณะลงเยี่ยมผู้ป่วยกักตัวที่บ้านและมอบอาหารเพื่อการกักตัวในชุมชน เขตเทศบาลอำเภอแม่สอด

ท่านที่ 2 แพทย์หญิงภมรรัตน์ คำปา, นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

พญ.ภมรรัตน์ หรือหมอกุ้ง ที่รับหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยกักตัวที่บ้าน Home Isolation และผู้ป่วยกักตัวในรูปแบบ Factory Isolation


แพทย์หญิงภมรรัตน์ คำปา ขณะปฏิบัติหน้าที่ ลงชุมชนให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เขตแม่สอด

คำถาม : สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดเป็นอย่างไรบ้างคะ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดในพื้นที่แม่สอด ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงระบาดรอบแรกประมาณเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันจาก 500 เป็น 3,000 คน ในเวลาเพียงไม่กี่วัน ทำให้โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ซึ่งเป็นสถานที่รับรักษาผู้ป่วยไม่เพียงพอ โรงพยาบาลแม่สอดหน่วยรักษาผู้ป่วยหลัก ได้ปรับตึกผู้ป่วย 8 ชั้น ให้เป็นตึกรักษาผู้ป่วยโควิดจากจำนวนเตียงสองร้อยกว่าเตียง แต่กลับต้องรับรักษาผู้ป่วยจำนวนห้าร้อยกว่าคน การรักษาตัวในโรงพยาบาลเน้นการรักษาชีวิตผู้ป่วย ในกลุ่มสีเหลืองและแดง โดยยังคงผู้ป่วยสีเขียวอีกกว่า 70-80% ที่ต้องมีวิธีการรักษาที่ไม่สามารถจัดบริการได้ที่โรงพยาบาล การรักษาผู้ป่วยในระบบ Community Isolation (CI) และ Home Isolation (HI) จึงเป็นทางออกของการลดการระบาดในกลุ่มประชากรทั้งไทยและประชากรข้ามชาติ

การจัดตั้งศูนย์รับดูแลในชุมชน Community Isolation (CI) เพื่อชะลอความแออัดใน รพ.จึงเกิดขึ้น โดยนำร่องที่พื้นที่ห้วยม่วง ตำบลท่าสายลวด ซึ่งก็เป็นพื้นที่ระบาดแรกๆ ของแม่สอด แต่ CI แห่งนี้ก็มีข้อจำกัด เพราะจัดตั้งโดยชุมชน ทรัพยากรระดมภายในชุมชน จึงไม่สามารถขยายหรือดูแลผู้ป่วยจากชุมชนอื่นได้ เมื่อสถานการณ์เริ่มระบาดไปทั่วแม่สอด เกิดการจัดตั้ง CI ขึ้นอีกหลายแห่ง และก็ยังคงข้อจำกัดของรับผิดชอบหลักที่เป็นหน่วยงานรัฐที่ยังคงเน้นการดูแลประชากรไทยเท่านั้น ทำให้ประชากรข้ามชาติมีอัตราการเสียชีวิตสูง ประกอบช่วงที่มีการระบาดในชุมชนอิสลาม ผู้นำชุมชนจึงพร้อมร่วมมือการจัดตั้งศูนย์ CI ขึ้นในชุมชนเพื่อดูแลผู้ป่วยสีเขียวไร้สิทธิ์การรักษาพยาบาล และเมื่อ CI อิสลามรับผู้ป่วยเต็มแต่ผู้ป่วยมีมากกว่าจำนวนเตียง ทาง รพ.แม่สอด จึงได้เปิด CI อีกแห่งที่โพธิวิชชาลัย เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดที่เป็นกลุ่มประชากรข้ามชาติที่ยังคงมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

การจัดตั้งระบบดูแลติดตามผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้าน Home Isolation (HI) เพื่อตอบโจทย์ผู้ป่วยที่สามารถดูแลตัวเองได้ที่บ้านและเป็นการลดการแออัดของระบบการรักษาที่โรงพบาลเนื่องจากเตียงไม่เพียงพอ และเป็นการหยุดการระบาดในระดับครอบครัวและชุมชนอีกด้วย คนไข้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มีความพร้อมในการดูแลตัวเองที่บ้าน จากตัวเลขการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่กักตัวที่บ้านทั้งหมดกว่า 4,000 คน ประสบความสำเร็จ เพราะหากต้องสร้างหรือมีสถานพยาบาลรองรับผู้ป่วยทั้งหมด คงต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ทั้งบุคลากรก็ไม่เพียงพอ ระบบ HI ช่วงแรกสำหรับกลุ่มคนไทย แต่ภายหลังได้ขยายบริการสู่กลุ่มประชากรข้ามชาติ โดยการสนับสนุนของเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในแม่สอด เพราะกลุ่มเป้าหมายมีข้อจำกัดเรื่องการสื่อสารการให้บริการจึงจำเป็นต้องมีล่ามแปลภาษาช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำงานได้สะดวกมากขึ้น

คำถาม : การจัดการศูนย์ CI และระบบ HI ความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค

ศูนย์ CI ที่จัดตั้งโดยชุมชนจะได้รับการสนับสนุนจากทางชุมชนทั้งเรื่องการจัดการและการสนับสนุนทรัพยากร ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นประชากรไทยจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย งบประมาณในการจัดการสามารถจัดสรรได้ แต่ในกลุ่มประชากรข้ามชาติที่ประสบปัญหาเรื่องการจัดสรรงบประมาณจากหน่วยราชการ การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและองค์กรภาคเอกชนจึงเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นในพื้นที่และถือเป็นจุดแข็งของอำเภอแม่สอด เช่นเดียวกับระบบ HI การสนับสนุนในกลุ่มประชากรข้ามชาติที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน ที่สุดแล้วการให้บริการดูแลด้านสุขภาพต้องเป็นแบบองค์กรรวมไม่สามารถทำแบบแยกส่วนได้แต่ละระบบเกื้อหนุนกันและกัน นำไปสู่เป้าระยะยาวคือ การรักษาผู้ป่วยโควิดให้เร็ว ลดระบาดในชุมชนโดยให้เป็นไปอย่างทั่วถึงทุกกลุ่ม ทุกชุมชนอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติด้วยความแตกต่างของสัญชาติหรือสถานะทางกฎหมาย เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทุกคนเข้าใจดีว่าโรคโควิดไม่ได้เลือกระบาดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาพการช่วยเหลือและการทำงานจึงเป็นการประสานความร่วมมือกัน

คำถาม : สนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน

ด้วยการจัดสรรทรัพยากรจากหน่วยงานภาครัฐที่มีข้อจำกัดและล่าช้าไม่ทันต่อความเร็วของการระบาด การใช้ต้นทุนเดิมของการมีภาคีเครือข่ายทั้งภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนในการสร้าง สนับสนุนกลไกการคัดกรองผู้ป่วยในชุมชน การส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับบริการที่ตรงกับระดับความรุนแรงของโรค การสนับสนุนล่ามแปลภาษา รวมไปส่งการส่งต่อชุดอาหารที่ผู้ป่วยสามารถกักตัวได้ที่บ้านโดยไม่ลักลอบออกไปทำงานเพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดเพิ่มจึงเป็นผลสำเร็จของการทำงานร่วมกัน ทั้งภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีความเร็ว ยืดหยุ่นในการทำงานต่อการตอบสนองปัญหาซึ่งนับว่ามีส่วนช่วยลดการระบาดของโรคในพื้นที่ได้

คำถาม : คาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตอันใกล้นี้และการเตรียมความพร้อม

โรคโควิดจะยังอยู่กับทุกคน ความที่พื้นที่เป็นชายแดนย่อมมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคต่างๆ เป็นปัญหาเดิมอยู่แล้ว และด้วยโรคโควิดเป็นโรคระบาดใหม่ที่ทุกคนต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ในการจัดการแก้ปัญหาเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ควบคู่ไปกับการสรรหาวัคซีนที่ดี ผลข้างเคียงน้อยจะเป็นทางออกของอนาคต แต่สิ่งที่ทีมสาธารณสุขชายแดนได้เรียนรู้คือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ผ่านมา การทดลองระบบต่างๆ ว่าใช้ได้หรือมีอุปสรรค จะทำให้สามารถรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

จัดหาอุปกรณ์ป้องกันให้ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาลทุกแห่ง , โรงพยาบาลสนาม 12 แห่ง รวมถึง Home Isolation และ Community Isolation ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ต้องดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 1,432 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันโรคจำนวนมากอย่างเร่งด่วนในทุกวัน เพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจากความเสี่ยง

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

แม่สอดอำเภอเล็กๆ ติดชายแดนไทย-พม่า ที่ผู้คนอาศัยอย่างหลากหลายเชื้อชาติ จำนวนกว่า 200,000 คน ที่มีทั้งคนไทยและแรงงานข้ามชาติ เมืองหน้าด่านแห่งนี้ ต้องเผชิญปัญหาท้าทายทั้งก่อนการระบาดโควิด เป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองหน้าด่านที่ป้องกันปัญหาต่างๆ ก่อนจะทะลักสู่ตัวเมืองชั้นใน โดยเฉพาะโรคระบาดที่ประเทศไทยไม่มีแล้วเพราะได้รับวัคซีนทั่วถึงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศพม่า โรงพยาบาลแม่สอดและหน่วยงานสาธารณสุขชายแดนจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นเมืองกำแพงป้องกันโรคให้ประเทศไทย ที่ผ่านมามีทั้งบริการงานสาธารณสุข รักษาโรค และงานสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้คนในชุมชน

จากสถานการณ์โควิดที่กำลังระบาดหนักในแม่สอดขณะนี้ ที่ไม่ใช่เพียงโรงงานหรือสถานที่ปิดเท่านั้น ที่สามารถทำ Factory Isolation แต่ยังกระจายไปยังชุมชนต่างๆ ทั้งในตัวเมืองและหมู่บ้านรอบนอก โดยได้เริ่มทำ Community Isolation และ Home Isolation เพื่อลดความเสี่ยงในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยจะย้ายก็ต่อเมื่อผู้ป่วยกลายเป็นผู้ป่วยหนักที่ต้องอาศัยทีมแพทย์ดูแล จะถูกส่งไปยังโรงพยาบาลแม่สอด

รพ.แม่สอด รับทั้งบทสถานพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยโควิด คู่กับผู้ป่วยทั่วไป ปัจจุบันแม่สอดมีสถานที่รักษาผู้ป่วยโควิด โรงพยาบาลทุกแห่งรับแบ่งเบาภาระผู้ป่วยโควิดที่ล้นเตียง โรงพยาบาลเอกชนทั้ง แม่สอด-ราม และโรงพยาบาลแม่สอดอินเตอร์ก็รับเคสโควิดจนเต็มศักยภาพ มีการจัดตั้ง รพ.สนามถึง 12 แห่ง แม้บางแห่งจะมีตัวเลขเป็น 0 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผู้ป่วยอีก ทั้งยังได้ทำการตรวจเชิงรุก การสืบสวนโรคที่ จนท.ต้องเผชิญความเสี่ยง เครื่องมือป้องกันโรคไม่เพียงพอ เพราะต้องใช้ทุกวัน รพ.ทุกแห่งรวม รพ.สนามต้องใช้ชุด PPE ประมาณวันละ 200 ชุด หน้ากาก N95 ให้บุคลากรด่านหน้าและอาสาสมัคร วันละเกือบ 500 ชิ้น เป็นภาระหนักของโรงพยาบาลที่ต้องหามาเพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่จากความเสี่ยง

หมอที่ต้องรับทุกหน้าที่ทั้งการรักษาผู้ป่วย การประสานงาน การจัดระบบต่างๆ และยังต้องระดมอุปกรณ์ป้องกันที่มีราคาแพงและต้องใช้เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระแพทย์และบุคลากรจึงต้องมีการระดมความช่วยเหลือเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็นยังและยังขาดแคลนอย่างเร่งด่วน

ในทุกวันต้องใช้ชุด PPE ประมาณวันละ 200 ชุด หน้ากาก N95 ให้บุคลากรด่านหน้าและอาสาสมัคร วันละเกือบ 500 ชิ้น เป็นภาระหนักของโรงพยาบาลที่ต้องหามาเพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจากความเสี่ยง โครงการต้องการระดม ชุด PPE หน้ากาก N95 เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด และ เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด เพื่อป้องกันให้บุคลาการด้านการแพทย์และอาสาสมัคร ร่วมฝ่าวิกฤติในครั้งนี้ไปให้ได้


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. รวบรวมความต้องการใช้อุปกรณ์ป้องกันในแต่ละโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และ เริ่มทำ Community Isolation และ Home Isolation

2. ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในท้องถิ่น

3. จัดซื้ออุปกรณ์ป้องกัน

4. ส่งมอบและบันทึกจำนวนผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ

5. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ และ วิเคราะห์ความต้องการหากต้องดำเนินโครงการในระยะต่อไป



ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

ดำเนินโครงการโดยมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กและเยาวชนบริเวณชายแดน ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา 

มูลนิธิช่วยไร้พรหมแดน มุ่งเน้นการทำงาน 5 ด้านหลัก คือ ด้านการศึกษา ด้านพัฒนาศักยภาพเยาวชน ด้านการคุ้มครองเด็ก ด้านสุขภาพ และด้านการพัฒนาชุมชน



โครงการนี้ดำเนินการร่วมกับ

1. โรงพยาบาลแม่สอด

2. เครือข่ายภาคประชาสังคมแม่สอด


ดำเนินการบริการ Migrant Home Isolation และ Migrant Community Isolation

11 พฤศจิกายน 2021

    มูลนิธิช่วยไร้พรมแดนได้ทำงานประสานร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนภารกิจ เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ไร้สถานะ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการด้วยทั้งปัญหาด้านการสื่อสารและสิทธิด้านการรักษาพยาบาล ทำให้โรงพบาบาลแม่สอดมีภาระงานที่หนักอยู่แล้วที่ต้องรักษาพยาบาลกลุ่มประชากรไทยแล้วยังต้องมาให้บริการกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ที่มีจำนวนสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับประชากรไทยในพื้นที่ รวมถึงด้านการจัดการทรัพยากรที่เป็นไปอย่างจำกัด ภาคีเครือข่ายองค์กรเอกชนจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งและสนับสนุนระบบการดูแลกลุ่มแรงงานข้ามชาติให้ได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ตรวจ และรักษาโรคโควิดอย่างทันท่วงทีเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต โดยการทำงานผ่านระบบดูแลสาธารณสุข 2 ช่องทางคือ

1. Migrant Home Isolation (HI) การสนับสนุนภารกิจร่วมกับภาคีเครือข่าย 4 องค์กรในการให้บริการดังนี้

  • จัดตั้งศูนย์ประสานงานแจ้งรับผู้ป่วยทางโทรศัพท์ (call center) โดยมีอาสาสมัครรับสายภาษาพม่า ป้อนข้อมูลเข้าระบบการรักษาและเชื่อมกับระบบของโรงพยาบาลแม่สอด
  • การบันทึกอาการและส่งต่อข้อมูล Tele-med ให้ พญ.ภมรรัตน์ คำปา แพทย์หัวหน้าโครงการ Migrant Home Isolation โดยสามารถสมัครจะโทรศัพท์สอบถามผู้ป่วยที่กักตัวที่บ้านทุกรายถึงค่าอุณภูมิในร่างกายและออกซีเจนในแต่ละวันเป็นเวลา 14 วัน และหากค่าอุณภูมิในร่างกายและออกซีเจนอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดหรือต้องส่งตัวเข้ารับการ x-ray ปอดหรือส่งต่อไปยังสถานพยาบาลทั้งโรงพยาบาลแม่สอดหรือโรงพยาบาลสนามต่างๆ แพทย์จะเป็นผู้สั่งส่งต่อได้อย่างทันท่วงที
  • การจัดส่งอุปกรณ์การดูแลรักษาตัวเองที่บ้านในระบบ Home Isolation โดยสนับสนุนอุปกรณ์ ปรอทวัดไข้แบบหลอด เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และยาสามัญประจำบ้านเบื้องต้น โดยการระดมทุนผ่านเทใจได้ใช้งบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ ปรอทวัดไข้แบบหลอดจำนวน 400 ตัว เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดจำนวน 400 เครื่อง และชุดหมี PPE จำนวน 100 ชุด
  • การจัดบริการรถรับ-ส่ง ผู้ป่วยที่ต้องมารับบริการ x-ray ปอดที่โรงพยาบาลรวมถึงการส่งชุดยังชีพเพื่อการกักตัวที่บ้าน
  • การสนับสนุนชุดอาหารยังชีพเพื่อผู้ป่วยสามารถกักตัวได้ที่บ้าน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มักทำงานรับจ้างรายวัน ไม่สามารถกักตุนหรือมีอาหารเพียงพอในการกักตัวที่บ้านได้ครบกำหนดเวลา รวมถึงผู้ป่วยบางคนเป็นหัวหน้าครอบครัวและเป็นเพียงคนเดียวที่มีรายได้ การส่งมอบชุดอาหารจึงช่วยให้ครอบครัวมีอาหารเพียงพอกับสมาชิดในครอบครัวทุกคน รวมถึงสามารถกักตัวได้ครบกำหนดระยะเวลาอีกด้วย

    สรุปจำนวนผู้เข้ารับบริการ Migrant Home Isolation (HI) ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 26 ตุลาคม 2564 จำนวนทั้งสิ้น 253 ราย โดยได้ส่งต่อคนไข้ไปรับการรักษาพยาบาลต่อในระบบ โรงพยาบาลแม่สอด และ โรงพยาบาลสนาม จำนวน 48 ราย ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดมีผล ATK ลบ จำนวน 7 ราย โดยแยกเป็นเชื้อชาติ พม่า 67.19% กะเหรี่ยง 27.67% อิสลาม 1.58% และ มอญ กัมพูชา ปะโอ อเมริกัน นาคา อย่างละ 0.40%

อาสาสมัครส่งมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ป่วยกักตัวที่บ้าน

การลงมอบอุปกรณ์วัดไข้อุณภูมิร่างกายและออกซีเจนในเลือด และคัดกรองโควิดในชุมชนกลุ่มเ

สี่ยง

2. Migrant Community Isolation (CI)

    การสนับสนุนอาสาสมัครจำนวน 2 คน เพื่อเป็นผู้ช่วยในการสื่อสารและดูแลผู้ป่วยในสถานกักตัวรูปแบบชุมชนในกลุ่มประชากรข้ามชาติ จัดตั้งขึ้นที่วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย เพื่อแยกตัวผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองหรือส้มออกจากครอบครัว หรือกรณีผู้ป่วยไม่สามารถกักตัวในรูปแบบ Home Isolation ได้ อาจจะด้วยข้อจำกัด การอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นในบ้านหลังเดียว หรือไม่สามารถจัดแยกห้องพักห้องสุขาได้

    มูลนิธิช่วยไร้พรมแดนได้เริ่มให้การสนับสนุนตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2564 โดยหน้าที่อาสาสมัครได้แก่

  • ภารกิจในสถานกักตัว Migrant Community Isolation (CI)
  • อ่านข้อควรปฏิบัติในระหว่างการรักษาตัวในรูปแบบ Migrant Community Isolation (CI)
  • บันทึกอุณหภูมิร่างการ และ ค่า Oxygen ในเลือด
  • เขียนชื่อบัตรให้คนไข้ที่มาใหม่
  • ส่งสารให้ผู้ป่วย ส่งของใช้และยาไปให้ผู้ป่วย
  • รอรับสายโทรศัพท์จากผู้ป่วยที่ต้องการของใช้บางอย่างที่ขาดหรือลืมนำติดตัวมาจากที่บ้าน
  • เขียนบัตรให้กับคนไข้ที่มาใหม่
  • รายงานรายชื่อผู้ป่วยที่ต้องไปเอกซเรย์ประจำวัน
  • ภารกิจงานส่งเสริมป้องกันโรคในชุมชน
  • ตรวจคัดกรองโควิดในชุมชนอิสลาม
  • เป็นผู้ช่วยทั่วไปในงานการฉีดวัคซีนในชุมชน

    สรุปจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการจาก Migrant Community Isolation (CI) โพธิวิชชาลัย ระหว่างวันที่ 5 กันยายน – 8 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 378 คน

ส่งมอบถุงยังชีพให้แก้ผู้ป่วยหลังจากรักษาตัวที่ Community Isolation แล้วยังต้องกักตัวที่บ้านต่ออีก 14 วัน

อุปกรณ์ใช้ใน Community Home Isolation


Poster ประชาสัมพันธ์ช่องทางรับบริการผ่านสื่อ Online

เสียงจากผู้รับประโยชน์

ท่านที่ 1 คุณขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

คุณขนิษฐาหรือพี่ขม หัวหน้าคลินิกหมอครอบครัวทีมคุณภาพที่เป็นผู้ขับเคลื่อนงานการจัดตั้งศูนย์ Community Isolation หรือเรียกว่าศูนย์ CI ทั้งในแต่ละชุมชนโดยมีเจ้าภาพเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศูนย์ CI ที่จัดตั้งโดยชุมชน หรือแม้แต่ศูนย์ CI ที่บริหารจัดการโดย รพ.แม่สอดเอง

คุณขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล เสื้อสีน้ำเงินขณะลงเยี่ยมผู้ป่วยกักตัวที่บ้านและมอบอาหารเพื่อการกักตัวในชุมชน เขตเทศบาลอำเภอแม่สอด

ท่านที่ 2 แพทย์หญิงภมรรัตน์ คำปา, นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

พญ.ภมรรัตน์ หรือหมอกุ้ง ที่รับหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยกักตัวที่บ้าน Home Isolation และผู้ป่วยกักตัวในรูปแบบ Factory Isolation


แพทย์หญิงภมรรัตน์ คำปา ขณะปฏิบัติหน้าที่ ลงชุมชนให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เขตแม่สอด

คำถาม : สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดเป็นอย่างไรบ้างคะ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดในพื้นที่แม่สอด ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงระบาดรอบแรกประมาณเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันจาก 500 เป็น 3,000 คน ในเวลาเพียงไม่กี่วัน ทำให้โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ซึ่งเป็นสถานที่รับรักษาผู้ป่วยไม่เพียงพอ โรงพยาบาลแม่สอดหน่วยรักษาผู้ป่วยหลัก ได้ปรับตึกผู้ป่วย 8 ชั้น ให้เป็นตึกรักษาผู้ป่วยโควิดจากจำนวนเตียงสองร้อยกว่าเตียง แต่กลับต้องรับรักษาผู้ป่วยจำนวนห้าร้อยกว่าคน การรักษาตัวในโรงพยาบาลเน้นการรักษาชีวิตผู้ป่วย ในกลุ่มสีเหลืองและแดง โดยยังคงผู้ป่วยสีเขียวอีกกว่า 70-80% ที่ต้องมีวิธีการรักษาที่ไม่สามารถจัดบริการได้ที่โรงพยาบาล การรักษาผู้ป่วยในระบบ Community Isolation (CI) และ Home Isolation (HI) จึงเป็นทางออกของการลดการระบาดในกลุ่มประชากรทั้งไทยและประชากรข้ามชาติ

การจัดตั้งศูนย์รับดูแลในชุมชน Community Isolation (CI) เพื่อชะลอความแออัดใน รพ.จึงเกิดขึ้น โดยนำร่องที่พื้นที่ห้วยม่วง ตำบลท่าสายลวด ซึ่งก็เป็นพื้นที่ระบาดแรกๆ ของแม่สอด แต่ CI แห่งนี้ก็มีข้อจำกัด เพราะจัดตั้งโดยชุมชน ทรัพยากรระดมภายในชุมชน จึงไม่สามารถขยายหรือดูแลผู้ป่วยจากชุมชนอื่นได้ เมื่อสถานการณ์เริ่มระบาดไปทั่วแม่สอด เกิดการจัดตั้ง CI ขึ้นอีกหลายแห่ง และก็ยังคงข้อจำกัดของรับผิดชอบหลักที่เป็นหน่วยงานรัฐที่ยังคงเน้นการดูแลประชากรไทยเท่านั้น ทำให้ประชากรข้ามชาติมีอัตราการเสียชีวิตสูง ประกอบช่วงที่มีการระบาดในชุมชนอิสลาม ผู้นำชุมชนจึงพร้อมร่วมมือการจัดตั้งศูนย์ CI ขึ้นในชุมชนเพื่อดูแลผู้ป่วยสีเขียวไร้สิทธิ์การรักษาพยาบาล และเมื่อ CI อิสลามรับผู้ป่วยเต็มแต่ผู้ป่วยมีมากกว่าจำนวนเตียง ทาง รพ.แม่สอด จึงได้เปิด CI อีกแห่งที่โพธิวิชชาลัย เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดที่เป็นกลุ่มประชากรข้ามชาติที่ยังคงมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

การจัดตั้งระบบดูแลติดตามผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้าน Home Isolation (HI) เพื่อตอบโจทย์ผู้ป่วยที่สามารถดูแลตัวเองได้ที่บ้านและเป็นการลดการแออัดของระบบการรักษาที่โรงพบาลเนื่องจากเตียงไม่เพียงพอ และเป็นการหยุดการระบาดในระดับครอบครัวและชุมชนอีกด้วย คนไข้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มีความพร้อมในการดูแลตัวเองที่บ้าน จากตัวเลขการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่กักตัวที่บ้านทั้งหมดกว่า 4,000 คน ประสบความสำเร็จ เพราะหากต้องสร้างหรือมีสถานพยาบาลรองรับผู้ป่วยทั้งหมด คงต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ทั้งบุคลากรก็ไม่เพียงพอ ระบบ HI ช่วงแรกสำหรับกลุ่มคนไทย แต่ภายหลังได้ขยายบริการสู่กลุ่มประชากรข้ามชาติ โดยการสนับสนุนของเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในแม่สอด เพราะกลุ่มเป้าหมายมีข้อจำกัดเรื่องการสื่อสารการให้บริการจึงจำเป็นต้องมีล่ามแปลภาษาช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำงานได้สะดวกมากขึ้น

คำถาม : การจัดการศูนย์ CI และระบบ HI ความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค

ศูนย์ CI ที่จัดตั้งโดยชุมชนจะได้รับการสนับสนุนจากทางชุมชนทั้งเรื่องการจัดการและการสนับสนุนทรัพยากร ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นประชากรไทยจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย งบประมาณในการจัดการสามารถจัดสรรได้ แต่ในกลุ่มประชากรข้ามชาติที่ประสบปัญหาเรื่องการจัดสรรงบประมาณจากหน่วยราชการ การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและองค์กรภาคเอกชนจึงเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นในพื้นที่และถือเป็นจุดแข็งของอำเภอแม่สอด เช่นเดียวกับระบบ HI การสนับสนุนในกลุ่มประชากรข้ามชาติที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน ที่สุดแล้วการให้บริการดูแลด้านสุขภาพต้องเป็นแบบองค์กรรวมไม่สามารถทำแบบแยกส่วนได้แต่ละระบบเกื้อหนุนกันและกัน นำไปสู่เป้าระยะยาวคือ การรักษาผู้ป่วยโควิดให้เร็ว ลดระบาดในชุมชนโดยให้เป็นไปอย่างทั่วถึงทุกกลุ่ม ทุกชุมชนอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติด้วยความแตกต่างของสัญชาติหรือสถานะทางกฎหมาย เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทุกคนเข้าใจดีว่าโรคโควิดไม่ได้เลือกระบาดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาพการช่วยเหลือและการทำงานจึงเป็นการประสานความร่วมมือกัน

คำถาม : สนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน

ด้วยการจัดสรรทรัพยากรจากหน่วยงานภาครัฐที่มีข้อจำกัดและล่าช้าไม่ทันต่อความเร็วของการระบาด การใช้ต้นทุนเดิมของการมีภาคีเครือข่ายทั้งภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนในการสร้าง สนับสนุนกลไกการคัดกรองผู้ป่วยในชุมชน การส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับบริการที่ตรงกับระดับความรุนแรงของโรค การสนับสนุนล่ามแปลภาษา รวมไปส่งการส่งต่อชุดอาหารที่ผู้ป่วยสามารถกักตัวได้ที่บ้านโดยไม่ลักลอบออกไปทำงานเพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดเพิ่มจึงเป็นผลสำเร็จของการทำงานร่วมกัน ทั้งภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีความเร็ว ยืดหยุ่นในการทำงานต่อการตอบสนองปัญหาซึ่งนับว่ามีส่วนช่วยลดการระบาดของโรคในพื้นที่ได้

คำถาม : คาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตอันใกล้นี้และการเตรียมความพร้อม

โรคโควิดจะยังอยู่กับทุกคน ความที่พื้นที่เป็นชายแดนย่อมมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคต่างๆ เป็นปัญหาเดิมอยู่แล้ว และด้วยโรคโควิดเป็นโรคระบาดใหม่ที่ทุกคนต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ในการจัดการแก้ปัญหาเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ควบคู่ไปกับการสรรหาวัคซีนที่ดี ผลข้างเคียงน้อยจะเป็นทางออกของอนาคต แต่สิ่งที่ทีมสาธารณสุขชายแดนได้เรียนรู้คือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ผ่านมา การทดลองระบบต่างๆ ว่าใช้ได้หรือมีอุปสรรค จะทำให้สามารถรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้


แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด รุ่น LK87 ราคาเครื่องละ 410 บาท 500 205,000.00
2 ที่วัดอุณหภูมิแบบแท่ง ราคาเครื่องละ 210 บาท 400 84,000.00
3 ชุดหมี PPE ราคาชุดละ 220 บาท 100 22,000.00
4 หน้ากาก N95 ราคาชิ้นละ 15 บาท 3000 ได้รับบริจาคครบแล้ว
รวมเป็นเงินทั้งหมด
311,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
31,100.00

ยอดระดมทุน
342,100.00